ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๐ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
             [๔๙๖] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอธิปติปัจจัย
             มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ
             ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม
แล้วกระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา
             บุคคลกระทำกุศลทั้งหลายที่สั่งสมไว้แล้วแต่ก่อนๆ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
แล้วพิจารณา
             บุคคลออกจากฌานแล้ว กระทำฌานให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา
             พระเสขะทั้งหลาย กระทำโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา กระทำ
โวทานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา
             พระเสขะทั้งหลาย ออกจากมรรคแล้ว กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
แล้วพิจารณา
             ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่กุศลที่เป็นอธิบดีเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
โดยอธิปติปัจจัย
             [๔๙๗] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอธิปติปัจจัย
             มีอย่างเดียวคือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถ-
*กรรมแล้วกระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำกุศล
นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มีราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น
             บุคคลกระทำกุศลทั้งหลาย ที่สั่งสมไว้แล้วแต่ก่อนๆ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มี ราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น
             บุคคลออกจากฌาน แล้วกระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วยินดีเพลิด-
*เพลิน เพราะกระทำฌานนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มีราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น
             [๔๙๘] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม
             มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ
             ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่พระอรหันต์ออกจากมรรคแล้วกระทำมรรคให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา
             ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่กุศลที่เป็นอธิบดีเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดย
อธิปติปัจจัย
             กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดยอธิปติปัจจัย
             มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่กุศลที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอธิปติปัจจัย
             [๔๙๙] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอธิปติปัจจัย
             มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ
             ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่บุคคลกระทำราคะ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มี ราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น
กระทำทิฏฐิให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำทิฏฐินั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น มี ราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น
             ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่อกุศลที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
โดยอธิปติปัจจัย
             [๕๐๐] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอธิปติปัจจัย
             มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่กุศลธรรมที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่จิตต-
*สมุฏฐานรูป โดยอธิปติปัจจัย
             [๕๐๑] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม โดย
อธิปติปัจจัย
             มีอย่างเดียว คือ สหชาตตาธิปติ ได้แก่อกุศลที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
*ขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอธิปติปัจจัย
             [๕๐๒] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอธิปติปัจจัย
             มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ
             ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอรหันต์กระทำผลจิตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
แล้วพิจารณา กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์หนักแน่น แล้วพิจารณา
             นิพพานเป็นปัจจัยแก่ผลจิต โดยอธิปติปัจจัย
             ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่อัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา ที่เป็นอธิบดี เป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอธิปติปัจจัย
             [๕๐๓] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอธิปติปัจจัย
             มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่พระเสขะ กระทำผลจิตให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา
             นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน และมรรค โดยอธิปติปัจจัย
             [๕๐๔] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอธิปติปัจจัย
             มีอย่างเดียวคือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่บุคคลกระทำจักษุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำจักษุนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มีราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น
             บุคคลกระทำโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ
และขันธ์ที่อัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วยินดีเพลิดเพลิน
เพราะกระทำโสตะเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มี ราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๐ บรรทัดที่ ๕๙๐๐-๕๙๖๑ หน้าที่ ๒๓๑-๒๓๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=40&A=5900&Z=5961&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=40&A=5900&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=40&siri=44              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=40&i=496              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=40&A=3165              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=11357              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=40&A=3165              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=11357              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_40

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]