ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
ตัชชนียกรรม
[๒๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกัน อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น วรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียม ธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้อง ทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมเป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรม ต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที. [๒๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อความบาดหมาง ก่อการ ทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๑.

ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุม นั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ ในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม และพวกที่กล่าว อย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุม นั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที. [๒๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อความบาดหมาง ก่อการ ทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าว คัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรม กรรมเป็นวรรค โดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็น อันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมเป็นวรรคโดยธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที. [๒๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อความบาดหมาง ก่อการ ทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษา ตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้ เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๒.

กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่ กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที. [๒๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลาย ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุม นั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ ในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าว อย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.
นิยสกรรม
[๒๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นคนเขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุ ทั้งหลายปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แลเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติ มาก มีมรรยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร เอาละ พวกเรา จะลงนิยสกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น .... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม .... เป็นวรรคโดยธรรม .... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม .... พร้อม เพรียงกันโดยเทียมธรรม .... สงฆ์ผู้นั้นอยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดย ไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็น วรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๓.

เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที. ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.
ปัพพาชนียกรรม
[๒๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมประทุษร้ายสกุล มีความ ประพฤติเลวทราม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม เอาละ พวกเราจะลงปัพพาชนีย- *กรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น .... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม .... เป็นวรรคโดยธรรม .... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม .... พร้อม เพรียงกันโดยเทียมธรรม .... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่ เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดย เทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และ พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดา ภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที. ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.
ปฏิสารณียกรรม
[๒๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมด่า ย่อมบริภาษพวกคฤหัสถ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ย่อมด่า ย่อมบริภาษพวกคฤหัสถ์ เอาละ พวกเราจะลงปฏิสารณียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น .... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม .... เป็นวรรคโดยธรรม .... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม .... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม .... สงฆ์ผู้อยู่ ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่ เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดย เทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๔.

บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และ พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดา ภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที. ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.
อุกเขปนียกรรม
[๒๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะเห็น อาบัติ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ เอาละพวกเราจะลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ แก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุ รูปนั้น .... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม .... เป็นวรรคโดยธรรม .... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม .... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม .... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดย ไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรค โดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรม พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำ ไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที. ๕ วาระนี้ที่ท่าน ย่อไว้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัย ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ต้องอาบัติ แล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ เอาละ พวกเราจงลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนแก่อาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น .... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม .... เป็นวรรคโดยธรรม .... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม .... พร้อม เพรียงกันโดยเทียมธรรม .... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่ เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดย เทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรม

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๕.

พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำไม่ชอบ กรรม ต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที. ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาปในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ไม่ปรารถนาจะสละ ทิฏฐิบาป เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็น วรรคโดยไม่เป็นธรรม ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุรูปนั้น .... พร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม .... เป็นวรรคโดยธรรม .... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม .... พร้อมเพรียงกันโดย เทียมธรรม .... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้อง ทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียง กันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ บรรดา ภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที. ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.
ขอระงับตัชชนียกรรม
[๒๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้วประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับตัชชนียกรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลาย ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้วประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะ ระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ รูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อม เพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องการทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่ เป็นธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้อง ทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๖.

[๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้วประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับตัชชนียกรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลาย ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม ระงับตัชช- *นียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้อง ทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียง กันโดยไม่เป็นธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที. [๒๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้วประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับตัชชนียกรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลาย ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยธรรม ระงับตัชชนียกรรมแก่ ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้อง ทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมเป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้นสองพวกนี้เป็นธรรมวาที. [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้วประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับตัชชนียกรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลาย ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๗.

พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยเทียมธรรม ระงับตัชชนียกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที. [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับตัชชนียกรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลาย ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม แล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม ระงับตัชชนีย- *กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดย เทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้อง ทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที.
ขอระงับนิยสกรรม
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรม แล้วประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับนิยสกรรมในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลาย ได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรม แล้วประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับนิยสกรรม เอาละ พวกเราจะระงับ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๘.

นิยสกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น .... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม .... เป็นวรรคโดยธรรม .... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม .... พร้อม เพรียงกันโดยเทียมธรรม .... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็น ธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดย เทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็น อันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที. ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.
ขอระงับปัพพาชนียกรรม
[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรม แล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวไป จึงขอระงับปัพพาชนียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายว่าได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลง ปัพพาชนียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับ ปัพพาชนียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับปัพพาชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดย ไม่เป็นธรรม ระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น .... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม เป็นวรรค โดยธรรม .... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม .... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม .... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุม นั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ ในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าว อย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุม นั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที. ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๓๙.

ขอระงับปฏิสารณียกรรม
[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับปฏิสารณียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณีย- *กรรม แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับปฏิสารณียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับ ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น .... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม .... เป็นวรรคโดยธรรม .... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม .... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม .... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าว คัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็น วรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่ เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุม นั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที. ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.
ขอระงับอุกเขปนียกรรม
[๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็น อาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรมฐาน ไม่เห็นอาบัติ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ รูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ เอาละ พวกเราจะระงับ อุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขป- *นียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น .... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม .... เป็นวรรคโดย ธรรม .... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม .... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม .... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๐.

กล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็น วรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็น อันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่ เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้ เป็นธรรมวาที. ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนิยกรรมฐานไม่ทำคืน อาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรมฐาน ไม่ทำคืนอาบัติ ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ รูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติ เอาละ พวกเราจะระงับ อุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขป- *นียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น .... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม .... เป็นวรรคโดย ธรรม .... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม .... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม .... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรม เป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่ กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที. ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้. [๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมฐาน ไม่สละทิฏฐิบาป แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับ อุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาป ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๑.

อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาป แล้วประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาป เอาละ พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุรูปนั้น .... พร้อมเพรียงกันโดย ไม่เป็นธรรม .... เป็นวรรคโดยธรรม .... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม .... พร้อมเพรียงกันโดยเทียม ธรรม .... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อม เพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดย เทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้อง ทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที. ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.
จัมเปยยขันธกะ ที่ ๙ จบ.
ในขันธกะนี้มี ๓๘ เรื่อง.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๕๕๙๒-๕๘๖๑ หน้าที่ ๒๓๐-๒๔๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=5592&Z=5861&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=5&A=5592&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=56              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=-218              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=5&A=6036              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=5&A=6036              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd9/en/brahmali#pli-tv-kd9:7.15.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd9/en/horner-brahmali#Kd.9.7.15

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]