ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
             [๕๖๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามแห่ง
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ
             ก็สมัยนั้นแล บุตรแห่งนางพราหมณีคนหนึ่ง ชื่อพรหมเทวะ ออก
บวชในสำนักของพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้นแล ท่านพระพรหมเทวะเป็นผู้เดียว
หลีกออกแล้ว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้ว อยู่ไม่นานเท่าไร
ก็ได้กระทำให้แจ้งประโยชน์ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดย
ชอบต้องประสงค์อันนั้นอย่างยอดเยี่ยม เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ เพราะรู้แจ้งชัด
เองในปรัตยุบันนี้แหละเข้าถึงอยู่ ท่านได้ทราบว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่
จบแล้ว กิจที่จะต้องทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกมิได้มี ก็
แหละท่านพรหมเทวะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์แล้ว ฯ
             [๕๖๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระพรหมเทวะ ในเวลารุ่งเช้านุ่งห่มแล้ว ถือ
บาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ท่านเที่ยวบิณฑบาตในพระนคร
สาวัตถีตามลำดับตรอก เข้าไปยังนิเวศน์แห่งมารดาของตนแล้ว ฯ
             ก็สมัยนั้นแล นางพราหมณีผู้มารดาของท่านพระพรหมเทวะถือการบูชา
บิณฑะแก่พรหมมั่นคงเป็นนิตย์ ฯ
             ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมคิดว่า นางพราหมณีผู้มารดาของท่าน
พระพรหมเทวะนี้แล ถือการบูชาบิณฑะแก่พรหมมั่นคงเป็นนิตย์ ไฉนหนอ เราพึง
เข้าไปหานางแล้วทำให้สลดใจ ฯ
             [๕๖๕] ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมหายไปในพรหมโลกปรากฏแล้วใน
นิเวศน์ของมารดาแห่งท่านพระพรหมเทวะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียด
ออกซึ่งแขนที่คู้เข้าแล้ว หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออกแล้ว ฉะนั้น ฯ
             ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมลอยอยู่ในอากาศ ได้กล่าวกะนางพราหมณี
ผู้มารดาของท่านพระพรหมเทวะด้วยคาถาทั้งหลายว่า
                          ดูกรนางพราหมณี ท่านถือการบูชาด้วยก้อนข้าวแก่พรหมใด
                          มั่นคงเป็นนิตย์ พรหมโลกของพรหมนั้นอยู่ไกลจากที่นี้ ดูกร
                          นางพราหมณี ภักษาของพรหมไม่ใช่เช่นนี้ ท่านไม่รู้จักทางของ
                          พรหม ทำไมจึงบ่นถึงพรหม ฯ
                          ดูกรนางพราหมณี ก็ท่านพระพรหมเทวะของท่านนั้น เป็นผู้
                          หมดอุปธิกิเลส ถึงความเป็นอติเทพ ไม่มีกิเลสเป็นเครื่อง
                          กังวล มีปรกติขอ ไม่เลี้ยงดูผู้อื่น ท่านพระพรหมเทวะที่เข้าสู่
                          เรือนของท่านเพื่อบิณฑบาต เป็นผู้สมควรแก่บิณฑะที่บุคคล
                          พึงนำมาบูชา ถึงเวท มีตนอันอบรมแล้ว สมควรแก่ทักษิณา-
                          ทานของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ลอยบาปเสียแล้ว อัน
                          ตัณหาและทิฐิไม่ฉาบทาแล้ว เป็นผู้เยือกเย็นกำลังเที่ยวแสวงหา
                          อาหารอยู่ ฯ
                          อดีตอนาคตไม่มีแก่ท่านพระพรหมเทวะนั้น ท่านพระพรหม
                          เทวะเป็นผู้สงบระงับ ปราศจากควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ
                          หวัง วางอาชญาในปุถุชนผู้ยังมีความหวาดหวั่น และ
                          พระขีณาสพผู้มั่นคงแล้ว ขอท่านพระพรหมเทวะนั้นจงบริโภค
                          บิณฑบาตอันเลิศที่สำหรับบูชาพรหมของท่าน ฯ
                          ท่านพระพรหมเทวะซึ่งเป็นผู้มีเสนามารไปปราศแล้ว มีจิต
                          สงบระงับ ฝึกตนแล้ว เที่ยวไปเหมือนช้างตัวประเสริฐ ไม่
                          หวั่นไหว เป็นภิกษุมีศีลดี มีจิตพ้นวิเศษแล้ว ขอท่านพระ-
                          พรหมเทวะนั้น จงบริโภคบิณฑบาตอันเลิศที่สำหรับบูชาพรหม
                          ของท่าน ฯ
                          ท่านจงเป็นผู้เลื่อมใสในท่านพระพรหมเทวะนั้น เป็นผู้ไม่
                          หวั่นไหว ตั้งทักษิณาไว้ในท่านผู้เป็นทักษิเณยยบุคคล ดูกร
                          นางพราหมณี ท่านเห็นมุนีผู้มีโอฆะอันข้ามแล้วจงทำบุญ อัน
                          จะนำความสุขต่อไปมาให้ ฯ
                          ท่านจงเป็นผู้เลื่อมใสในท่าน พระพรหมเทวะนั้นเป็นผู้ไม่หวั่น
                          ไหว ตั้งทักษิณาไว้ในท่านผู้เป็นทักษิเณยยบุคคล ดูกร
                          นางพราหมณี ท่านเห็นมุนีผู้มีโอฆะอันข้ามแล้ว ได้ทำบุญอัน
                          จะนำความสุขต่อไปมาให้แล้ว ฯ
พกสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๔๕๓๖-๔๕๙๐ หน้าที่ ๑๙๖-๑๙๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=4536&Z=4590&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=174              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=563              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [563-566] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=563&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=5038              The Pali Tipitaka in Roman :- [563-566] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=563&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=5038              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i555-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/sn6.3/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :