ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
             [๓๖๕] พ. ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี
อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งหมดนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. เวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี
ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี
วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. ดูกรอานนท์ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ หยั่งรู้ว่า
หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๑๐.
จบ ทิฏฐิวรรคที่ ๕.
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัชฌัตติกสูตร ๖. สักกายทิฏฐิสูตร ๒. เอตังมมสูตร ๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร ๓. เอโสอัตตาสูตร ๘. อภินิเวสสูตรที่ ๑ ๔. โนจเมสิยาสูตร ๙. อภินิเวสสูตรที่ ๒ ๕. มิจฉาทิฏฐิสูตร ๑๐. อานันทสูตร.
จบ จุลปัณณาสก์.
-----------------------------------------------------
รวมวรรคที่มีในจุลปัณณาสก์นั้น คือ
๑. อันตวรรค ๔. กุกกุฬวรรค ๒. ธัมมกถิกวรรค ๕. ทิฏฐิวรรค ๓. อวิชชาวรรค
รวม ๕ วรรค ตติยปัณณาสก์และนิบาตก็เรียกในขันธสังยุตนั้น
รวมปัณณาสก์ที่มีในขันธสังยุต ๓ ปัณณาสก์.
จบ ขันธสังยุต.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๔๓๗๓-๔๔๐๓ หน้าที่ ๑๘๙-๑๙๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=4373&Z=4403&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=157              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=364              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [365] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=17&item=365&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=8066              The Pali Tipitaka in Roman :- [365] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=17&item=365&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=8066              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i346-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/sn22.159/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :