ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
             [๔๔๒] ๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลักษณะคนพาล นิมิตคนพาล ความ
ประพฤติไม่ขาดสายของคนพาล ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย คนพาลในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้คิดเรื่องที่คิดชั่ว ๑ พูดคำที่พูดชั่ว ๑
ทำกรรมที่ทำชั่ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนพาลจักไม่เป็นคนคิดเรื่องที่คิดชั่ว ๑
พูดคำที่พูดชั่ว ๑ ทำกรรมที่ทำชั่ว ๑ เช่นนั้น บัณฑิตจะพึงรู้เขาด้วยเหตุอย่างไร
ว่า ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะคนพาลย่อมเป็นผู้คิด
เรื่องที่คิดชั่ว พูดคำที่พูดชั่ว ทำกรรมที่ทำชั่ว ฉะนั้น บัณฑิตจึงรู้จักเขาว่า ผู้นี้
เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลักษณะคนพาล นิมิตคนพาล ความ
ประพฤติไม่ขาดสายของคนพาล ๓ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลักษณะบัณฑิต
นิมิตบัณฑิต ความประพฤติไม่ขาดสายของบัณฑิต ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็น
ไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้คิดเรื่องที่คิดดี ๑ พูดคำที่
พูดดี ๑ ทำกรรมที่ทำดี ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าบัณฑิตไม่เป็นคนคิดเรื่องที่คิดดี
พูดคำที่พูดดี และทำกรรมที่ทำดี เช่นนั้น บัณฑิตจะพึงรู้เขาได้ด้วยเหตุอะไรว่า
ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะบัณฑิตย่อมเป็นผู้คิดเรื่องที่
คิดดี พูดคำที่พูดดี และทำกรรมที่ทำดี ฉะนั้น บัณฑิตจึงรู้จักเขาว่า ผู้นี้เป็น
บัณฑิต เป็นคนดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลักษณะบัณฑิต นิมิตบัณฑิต ความ
ประพฤติไม่ขาดสายของบัณฑิต ๓ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น
แหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
เหล่าใด อันเขารู้ว่าเป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการนั้น บุคคล
ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขารู้ว่าเป็นบัณฑิต เราจักประพฤติ
สมาทานธรรม ๓ ประการนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
อัจจยสูตร

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๒๖๖๙-๒๖๙๐ หน้าที่ ๑๑๕-๑๑๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=2669&Z=2690&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=47              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=442              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [442-443] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=442&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=1747              The Pali Tipitaka in Roman :- [442-443] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=20&item=442&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=1747              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i440-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/an3.3/en/sujato https://suttacentral.net/an3.3/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :