ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
             [๔๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ย่อม
ถึงความมีโภคทรัพย์มากมายเหลือเฟือไม่นานเลย องค์ ๓ ประการเป็นไฉน ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้ เป็นคนที่มีตาดี ๑ มีธุระดี ๑ ถึงพร้อมด้วยบุคคล
ที่จะเป็นที่พึ่งได้ ๑ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็นคนมีตาดีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พ่อค้าในโลกนี้ย่อมรู้สิ่งที่จะพึงซื้อขายว่า สิ่งที่พึงขายนี้ ซื้อมาเท่านี้ ขายไป
เท่านี้ จักได้ทุนเท่านี้ มีกำไรเท่านี้ ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็น
คนมีตาดี ด้วยอาการอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่ามีธุระดีอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้ เป็นคนฉลาดที่จะซื้อและขายสิ่งที่ตนจะพึง
ซื้อขาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็นคนมีธุระดี ด้วยอาการอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคนซึ่งจะเป็นที่พึ่งได้อย่างไร ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้ อันคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้มั่งคั่ง ผู้มีทรัพย์มาก
มีโภคะมาก ทราบได้เช่นนี้ว่าท่านพ่อค้าผู้นี้แล เป็นคนมีตาดี มีธุระดี สามารถ
ที่จะเลี้ยงบุตรภรรยา และใช้คืนให้แก่เราตามเวลาได้ เขาต่างก็เชื้อเชิญพ่อค้า
นั้นด้วยโภคะว่า แน่ะท่านพ่อค้าผู้สหาย แต่นี้ไปท่านจงนำเอาโภคะไปเลี้ยงดู
บุตรภรรยา และใช้คืนให้แก่เราตามเวลา ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็น
ผู้ถึงพร้อมด้วยบุคคลซึ่งเป็นที่พึ่งได้ด้วยอาการอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้า
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ย่อมจะถึงความมีโภคะมากมายเหลือเฟือไม่
นานเลย ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมถึงความเป็นผู้มากมูนไพบูลย์ในกุศลธรรมไม่นานเลย ธรรม
๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจักษุ ๑
มีธุระดี ๑ ถึงพร้อมด้วยภิกษุพอจะเป็นที่พึ่งได้ ๑ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีจักษุอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินี-
*ปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีจักษุอย่างนี้แล ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีธุระดีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึง
พร้อมแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่น ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศล-
*ธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีธุระดีอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภิกษุพอจะเป็นที่พึ่งได้อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เธอเข้าไปหาภิกษุ ผู้เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย
ทรงมาติกา ตามเวลา แล้วไต่ถาม สอบสวนว่า ท่านผู้เจริญ พระพุทธพจน์นี้
อย่างไร ความแห่งพระพุทธพจน์นี้อย่างไร ท่านเหล่านั้น ย่อมเปิดเผยธรรมที่ยัง
ไม่เปิดเผย ย่อมทำธรรมที่ยังมิได้ทำให้ตื้นแล้วให้ตื้น และย่อมบรรเทาความสงสัย
ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมิใช่น้อยแก่ภิกษุนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภิกษุพอจะเป็นที่พึ่งได้อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมถึงความเป็นผู้มากมูนไพบูลย์ในกุศล
ธรรมทั้งหลายไม่นานเลย ฯ
จบรถการวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ญาตกสูตร ๒. สรณียสูตร ๓. ภิกขุสูตร ๔. จักกวัตติสูตร ๕. ปเจตนสูตร ๖. อปัณณกสูตร ๗. อัตตสูตร ๘. เทวสูตร ๙. ปาปณิก สูตรที่ ๑ ๑๐. ปาปณิกสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------
ปุคคลวรรคที่ ๓
สวิฏฐสูตร

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๐๖๖-๓๑๑๒ หน้าที่ ๑๓๓-๑๓๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=3066&Z=3112&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=64              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=459              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [459-460] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=459&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=2165              The Pali Tipitaka in Roman :- [459-460] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=20&item=459&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=2165              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i450-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an3.20/en/sujato https://suttacentral.net/an3.20/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :