ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
อัตตทัณฑสูตรที่ ๑๕
[๔๒๒] ภัยเกิดแล้วแต่อาชญาของตน ท่านทั้งหลายจงเห็นคน ผู้ทะเลาะกัน เราจักแสดงความสลดใจตามที่เราได้สลดใจ มาแล้ว เราได้เห็นหมู่สัตว์กำลังดิ้นรนอยู่ (ด้วยตัณหา และทิฐิ) เหมือนปลาในแอ่งน้ำน้อย ฉะนั้น ภัยได้เข้ามา ถึงเราแล้ว เพราะได้เห็นคนทั้งหลายผู้พิโรธกันและกัน โลก โดยรอบหาแก่นสารมิได้ ทิศทั้งปวงหวั่นไหวแล้ว เรา ปรารถนาความต้านทานแก่ตนอยู่ ไม่ได้เห็นสถานที่อะไรๆ อันทุกข์มีชราเป็นต้นไม่ครอบงำแล้ว เราไม่ได้มีความยินดี เพราะได้เห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้อันทุกข์มีชราเป็นต้นกระทบแล้ว ผู้ถึงความพินาศ อนึ่ง เราได้เห็นกิเลสดุจลูกศรมีราคะเป็นต้น ยากที่สัตว์จะเห็นได้ อันอาศัยหทัยในสัตว์เหล่านี้ สัตว์ถูก กิเลสดุจลูกศรมีราคะเป็นต้นใดเสียบติดอยู่แล้ว ย่อมแล่น ไปยังทิศทั้งปวง บัณฑิตถอนกิเลสดุจลูกศรมีราคะเป็นต้น นั้นออกได้แล้ว ย่อมไม่แล่นไปยังทิศและไม่จมลงในโอฆะ ทั้งสี่ (อารมณ์ที่น่ายินดีเหล่าใดมีอยู่ในโลก) หมู่มนุษย์ย่อม พากันเล่าเรียนศิลป เพื่อให้ได้ซึ่งอารมณ์ที่น่ายินดีเหล่านั้น กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิต ไม่พึงขวนขวายในอารมณ์ที่น่ายินดี เหล่านั้น พึงเบื่อหน่ายกามทั้งหลายโดยประการทั้งปวงแล้ว พึงศึกษานิพพานของตน มุนีพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนอง ไม่มีมายา ละการส่อเสียดเสีย เป็นผู้ไม่โกรธ พึงข้ามความ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖๓.

โลภอันลามกและความตระหนี่เสีย นรชนพึงครอบงำความ หลับ ความเกียจคร้าน ความท้อแท้เสีย ไม่พึงอยู่ร่วมด้วย ความประมาท ไม่พึงดำรงอยู่ในการดูหมิ่นผู้อื่น พึงมีใจน้อม ไปในนิพพาน ไม่พึงน้อมไปในการกล่าวมุสา ไม่พึงกระทำ ความเสน่หาในรูปและพึงกำหนดรู้ความถือตัว พึงเว้นเสียจาก ความผลุนผลันแล้วเที่ยวไป ไม่พึงเพลิดเพลินถึงอารมณ์ที่ล่วง มาแล้ว ไม่พึงกระทำความพอใจในอารมณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ไม่พึงเศร้าโศกถึงอารมณ์ที่กำลังละไปอยู่ ไม่พึงเป็นผู้อาศัย ตัณหา เรากล่าวความกำหนัดยินดีว่าเป็นโอฆะอันใหญ่หลวง กล่าวตัณหาว่า เป็นเครื่องกระซิบใจ ทำใจให้แล่นไปใน อารมณ์ต่างๆ กล่าวตัณหาว่าเป็นอารมณ์แอบใจทำใจให้ กำเริบ เปือกตมคือกามยากที่สัตว์จะล่วงไปได้ พราหมณ์ ผู้เป็นมุนี ไม่ปลีกออกจากสัจจะแล้ว ย่อมตั้งอยู่บนบก คือ นิพพาน มุนีนั้นแล สละคืนอายตนะทั้งหมดแล้วโดย- ประการทั้งปวง เรากล่าวว่า เป็นผู้สงบ มุนีนั้นแลเป็นผู้รู้ เป็นผู้ถึงเวท รู้สังขตธรรมแล้วอันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย เป็นอยู่ในโลกโดยชอบ ย่อมไม่ทะเยอทะยานต่ออะไรๆ ในโลกนี้ ผู้ใดข้ามกามทั้งหลาย และธรรมเป็นเครื่องข้องยาก ที่สัตว์จะล่วงได้ในโลกนี้ได้แล้ว ผู้นั้นตัดกระแสตัณหาขาด แล้ว ไม่มีเครื่องผูกพัน ย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่เพ่งเล็ง ท่านจงทำกิเลสชาติเครื่องกังวลในอดีตให้เหือดแห้ง กิเลส ชาติเครื่องกังวลในอนาคตอย่าได้มีแก่ท่าน ถ้าว่าท่านจักไม่ถือ เอาในปัจจุบันไซร้ ท่านจักเป็นผู้สงบเที่ยวไป ผู้ใดไม่มี ความยึดถือในนามรูปว่าเป็นของเราโดยประการทั้งปวง และ ไม่เศร้าโศกเพราะเหตุแห่งนามรูปอันไม่มี ผู้นั้นแลย่อมไม่

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖๔.

เสื่อมในโลก ผู้ใดไม่มีกิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา และว่า สิ่งนี้ของผู้อื่น ผู้นั้นไม่ประสบการยึดถือในสิ่งนั้น ว่าเป็นของเราอยู่ ย่อมไม่เศร้าโศกว่า ของเราไม่มี บุคคลใด ย่อมไม่เศร้าโศกว่า ของเราไม่มี เราเป็นผู้ถูกถามถึงบุคคล ผู้ไม่หวั่นไหว จะบอกอานิสงส์ ๔ อย่างในบุคคลนั้น ดังนี้ว่า บุคคลนั้นไม่มีความขวนขวาย ไม่กำหนัดยินดี ไม่มีความ หวั่นไหวเป็นผู้เสมอในอารมณ์ทั้งปวง ธรรมชาติเครื่องปรุง แต่งอะไรๆ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่หวั่นไหวผู้รู้แจ้ง ผู้นั้นเว้นแล้ว จากการปรารภมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น ย่อมเห็นความ ปลอดโปร่งในที่ทุกสถาน มุนีย่อมไม่กล่าวยกย่องตนใน บุคคลผู้เสมอกัน ผู้ต่ำกว่า ผู้สูงกว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมไม่ยึดถือ ไม่สละธรรมอะไรๆ ในบรรดาธรรมมีรูปเป็นต้น ฯ
จบอัตตทัณฑสูตรที่ ๑๕

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๐๖๗๕-๑๐๗๓๔ หน้าที่ ๔๖๒-๔๖๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=10675&Z=10734&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=280              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=422              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [422] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=422&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=9223              The Pali Tipitaka in Roman :- [422] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=25&item=422&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=9223              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i408-e.php#sutta15 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.4.15.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.4.15.olen.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.4.15.irel.html https://suttacentral.net/snp4.15/en/mills https://suttacentral.net/snp4.15/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :