บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬาฯ บาลีอักษรไทย PaliRoman |
[๗๔๑] คำว่า ภาวนาธิฏฺฐานชีวิตํ ความว่า บุคคลผู้ละกามฉันทะ เจริญเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา ย่อมอธิษฐานจิต ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อม ด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่เป็นอยู่ไม่สงบ เป็นอยู่ชอบ ไม่เป็นอยู่ผิด เป็นอยู่หมดจด ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนาถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อม ด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่ที่ประชุมใด คือ ที่ประชุมกษัตริย์ก็ดี ที่ประชุม พราหมณ์ก็ดี ที่ประชุมคฤหบดีก็ดี ที่ประชุมสมณะก็ดี ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้น เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วย อธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น บุคคลละพยาบาทเจริญความไม่พยาบาท ละถีนมิทธะเจริญอาโลกสัญญา ละอุทธัจจะเจริญความไม่ฟุ้งซ่าน ละวิจิกิจฉา เจริญธรรมววัตถาน ละอวิชชาเจริญญาณ ละอรติเจริญความปราโมทย์ ละนิวรณ์ เจริญปฐมฌาน ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวงเจริญอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ถึงพร้อมด้วยภาวนา บุคคลย่อมตั้งมั่นจิตด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน อย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่เป็นอยู่ไม่สงบ เป็นอยู่ชอบ เป็นอยู่ไม่ผิด เป็นอยู่หมดจด ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่ที่ประชุมใด คือ ที่ประชุมกษัตริย์ก็ดี ที่ประชุมพราหมณ์ก็ดี ที่ประชุม คฤหบดีก็ดี ที่ประชุมสมณะก็ดี ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วย อาชีวะอย่างนั้น ฉะนี้แล ฯจบมาติกากถา ปกรณ์ปฏิสัมภิทาจบบริบูรณ์ ----------------------------------------------------- รวมกถาที่มีในปกรณ์ปฏิสัมภิทานั้น คือ ๑. ญาณกถา ๒. ทิฏฐิกถา ๓. อานาปานกถา ๔. อินทรียกถา ๕. วิโมกขกถา ๖. คติกถา ๗. กรรมกถา ๘. วิปัลลาสกถา ๙. มรรคกถา ๑๐. มัณฑเปยยกถา ฯ ๑. ยุคนัทธกถา ๒. สัจจกถา ๓. โพชฌงคกถา ๔. เมตตากถา ๕. วิราคกถา ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๗. ธรรมจักรกถา ๘. โลกุตรกถา ๙. พลกถา ๑๐. สุญญกถา ฯ ๑. มหาปัญญากถา ๒. อิทธิกถา ๓. อภิสมยกถา ๔. วิเวกกถา ๕. จริยากถา ๖. ปาฏิหาริยกถา ๗. สมสีสกถา ๘. สติปัฏฐานกถา ๙. วิปัสสนากถา ๑๐. มาติกากถา ฯ วรรค ๓ วรรคในปกรณ์ปฏิสัมภิทา มีอรรถกว้างขวางลึกซึ้งในมรรคเป็น อนันตนัย เปรียบด้วยสาคร เหมือนนภากาศเกลื่อนกลาดด้วยดวงดาว และเช่น สระใหญ่ ความสว่างจ้าแห่งญาณของพระโยคีทั้งหลาย ย่อมมีได้โดยพิลาส แห่งคณะพระธรรมกถิกาจารย์ ฉะนี้แล ฯปฏิสัมภิทาจบด้วยประการฉะนี้ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๑๐๔๖-๑๑๐๘๖ หน้าที่ ๔๖๒-๔๖๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=11046&Z=11086&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=90 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=737 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [741] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=741&items=1 The Pali Tipitaka in Roman :- [741] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=31&item=741&items=1 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]