ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
             [๗๖๒] อัปปมัญญา ๔ คือ
             ๑. ภิกษุในศาสนานี้ แผ่เมตตาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น
ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง
ก็เช่นเดียวกันนี้ แผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร
ไม่มีพยาบาท ไปยังสัตวโลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่
             ๒. แผ่กรุณาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็
อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็เช่น
เดียวกันนี้ แผ่กรุณาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี
พยาบาท ไปยังสัตวโลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่
             ๓. แผ่มุทิตาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น
ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็เช่นเดียวกันนี้
แผ่มุทิตาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท
ไปยังสัตวโลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่
             ๔. แผ่อุเบกขาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็
อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็เช่น
เดียวกันนี้ แผ่อุเบกขาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี
พยาบาท ไปยังสัตวโลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
บรรดาอัปปมัญญา ๔ อัปปมัญญาไหน เป็นกุศล อัปปมัญญาไหน เป็น อกุศล อัปปมัญญาไหน เป็นอัพยากฤต ฯลฯ อัปปมัญญาไหน เป็นสรณะ อัปปมัญญาไหน เป็นอรณะ
ติกมาติกาวิสัชนา
[๗๖๓] อัปปมัญญา ๔ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี อัปปมัญญา ๓ เป็นสุขเวทนาสัมปยุต อุเบกขา เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต อัปปมัญญา ๔ เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี อัปปมัญญา ๔ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี อัปป- *มัญญา ๔ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ อัปปมัญญา ๓ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี อุเบกขา เป็นอวิตักกาวิจาระ อัปปมัญญา ๓ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะ กล่าวไม่ได้ว่าเป็นปีติสหคตะก็มี อุเบกขา เป็นอุเปกขาสหคตะ อัปปมัญญา ๔ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ อัปปมัญญา ๔ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพ- *เหตุกะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอาจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี อัปปมัญญา ๔ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ อัปปมัญญา ๔ เป็นมหัคคตะ กล่าวไม่ได้ ว่า แม้เป็นปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตารัมมณะ แม้เป็นอัปปมาณารัมมณะ อัปปมัญญา ๔ เป็นมัชฌิมะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอนิยตะ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น มัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติ อัปปมัญญา ๔ เป็น อุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี อัปปมัญญา ๔ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็น อนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี อัปปมัญญา ๔ เป็นพหิทธารัมมณะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ
ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๗๖๔] เมตตา เป็นเหตุ อัปปมัญญา ๓ เป็นนเหตุ อัปปมัญญา ๔ เป็นสเหตุกะ อัปปมัญญา ๔ เป็นเหตุสัมปยุต เมตตา เป็นเหตุสเหตุกะ อัปป- *มัญญา ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นแต่สเหตุกนเหตุ เมตตา เป็น เหตุเหตุสัมปยุต อัปปมัญญา ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต เป็นแต่ เหตุสัมปยุตตนเหตุ อัปปมัญญา ๓ เป็นนเหตุสเหตุกะ เมตตา กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุสเหตุกะ แม้เป็นนเหตุอเหตุกะ
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
[๗๖๕] อัปปมัญญา ๔ เป็นสัปปัจจยะ อัปปมัญญา ๔ เป็นสังขตะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอนิทัสสนะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอัปปฏิฆะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอรูป อัปปมัญญา ๔ เป็นโลกิยะ อัปปมัญญา ๔ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็น เกนจินวิญเญยยะ
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ เป็นโนอาสวะ อัปปมัญญา ๔ เป็นสาสวะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอาสววิปปยุต อัปปมัญญา ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ เป็นแต่สาสว- *โนอาสวะ อัปปมัญญา ๔ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็น อาสวสัมปยุตตโนอาสวะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ
๔,๕,๖,๗,๘,๙,๑๐,๑๑,๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ เป็น โนคันถะ ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ เป็น โนโยคะ ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ เป็นโนนีวรณะ ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ เป็น โนปรามาสะ ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ เป็นสารัมมณะ อัปปมัญญา ๔ เป็นโนจิตตะ อัปปมัญญา ๔ เป็นเจตสิกะ อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตตสัมปยุต อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐะ อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตตสมุฏฐานะ อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตต- *สหภู อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตตานุปริวัตติ อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏ- *ฐานะ อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตต- *สังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ อัปปมัญญา ๔ เป็นพาหิระ อัปปมัญญา ๔ เป็น นอุปาทา อัปปมัญญา ๔ เป็นอุปาทินนะก็มี เป็นอนุปาทินนะก็มี อัปปมัญญา ๔ เป็นนอุปาทานะ ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ เป็นโนกิเลสะ ฯลฯ
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
[๗๖๖] อัปปมัญญา ๔ เป็นนทัสสนปหาตัพพะ อัปปมัญญา ๔ เป็น นภาวนาปหาตัพพะ อัปปมัญญา ๔ เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะ อัปปมัญญา ๔ เป็นนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ อัปปมัญญา ๓ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี อุเบกขา เป็นอวิตักกะ อัปปมัญญา ๓ เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี อุเบกขา เป็นอวิจาระ อัปปมัญญา ๓ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี อุเบกขา เป็น อัปปีติกะ อัปปมัญญา ๓ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี อุเบกขา เป็น นปีติสหคตะ อัปปมัญญา ๓ เป็นสุขสหคตะ อุเบกขา เป็นนสุขสหคตะ อุเบกขา เป็นอุเปกขาสหคตะ อัปปมัญญา ๓ เป็นนอุเปกขาสหคตะ อัปปมัญญา ๔ เป็นนกามาวจร อัปปมัญญา ๔ เป็นรูปาวจร อัปปมัญญา ๔ เป็นนอรูปาวจร อัปปมัญญา ๔ เป็นปริยาปันนะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอนิยยานิกะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอนิยตะ อัปปมัญญา ๔ เป็นสอุตตระ อัปปมัญญา ๔ เป็นอรณะ ฉะนี้แล
ปัญหาปุจฉกะ จบ
อัปปมัญญาวิภังค์ จบบริบูรณ์
๑๔. สิกขาปทวิภังค์
อภิธรรมภาชนีย์
แจกสิกขาบท ๕ ด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ นัยที่ ๑

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๙๗๑๐-๙๗๙๗ หน้าที่ ๔๑๙-๔๒๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=9710&Z=9797&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=55              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=762              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [762-767] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=35&item=762&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=9628              The Pali Tipitaka in Roman :- [762-767] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=35&item=762&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=9628              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb13/en/thittila#pts-s699

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :