ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
อุปมาด้วยพะองขึ้นปราสาท
[๓๗๕] ดูกรวาเสฏฐะ เหมือนอย่างว่า บุรุษพึงทำพะองขึ้นปราสาทในหนทางใหญ่ สี่แพร่ง ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านทำพะองขึ้นปราสาทใด ท่านรู้จักปราสาทนั้นหรือว่าอยู่ในทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ สูง ต่ำ หรือพอปานกลาง เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า หามิได้ ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาว่า ท่านจะทำพะองขึ้นปราสาทที่ท่านไม่รู้จัก ไม่เคยเห็นหรือ เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า ถูกแล้ว ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนั้น คำกล่าวของบุรุษนั้น ย่อมถึงความเป็นคำไม่มีปาฏิหาริย์ มิใช่หรือ? ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น คำกล่าวของบุรุษนั้นย่อมถึงความเป็นคำไม่มี ปาฏิหาริย์. ดูกรวาเสฏฐะ ฉันนั้นเหมือนกัน ได้ยินว่า พวกพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชาก็ดี อาจารย์ ของพวกพราหมณ์นั้นก็ดี ปาจารย์ของอาจารย์แห่งพวกพราหมณ์นั้นก็ดี อาจารย์ที่สืบมาเจ็ดชั่ว อาจารย์ของพราหมณ์พวกนั้นก็ดี เหล่าฤาษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพราหมณ์พวกนั้นก็ดี ต่างก็มิได้ เห็นพรหมเป็นพยาน เมื่อเป็นเช่นนั้น ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา ย่อมถึงความเป็น ภาษิตไม่มีปาฏิหาริย์ มิใช่หรือ? ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา ย่อมถึงความ เป็นภาษิตไม่มีปาฏิหาริย์แน่นอน. ดีละ วาเสฏฐะ พราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชาเหล่านั้น ไม่รู้จักพรหม ไม่เห็นพรหม จักแสดง หนทางเพื่อความเป็นสหายแห่งพรหมนั้นว่า ทางนี้แหละเป็นมรรคาตรง เป็นทางตรง เป็นทาง นำออก นำผู้ดำเนินไปตามทางนั้นให้เป็นสหายแห่งพรหม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๘๗๐๕-๘๗๒๔ หน้าที่ ๓๖๔-๓๖๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=9&A=8705&Z=8724&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=14              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=365              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [375] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=9&item=375&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [375] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=9&item=375&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_9              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/09i365-e.php# https://suttacentral.net/dn13/en/sujato https://suttacentral.net/dn13/en/tw_rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :