พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์


: ค้นหาพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ :


320 อุปาทานขันธ์กับ “เรา”

ปัญหา “เรา” กับอุปาทานขันธ์ ๕ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?

พระเขมกะตอบ “.....ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ผมไม่กล่าว รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณว่าเป็นเรา ทั้งไม่กล่าวว่า เรามีนอกจาก รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ แต่ผมเข้าใจว่า เรามีในอุปาทานขันธ์ ๕ แต่ผมไม่ได้ถือว่าเราเป็น (ขันธ์ ๕ ) นี้ เปรียบเหมือนกลิ่นดอกอุบลก็ดี กลิ่นดอกปทุมก็ดี กลิ่นดอกบุณฑริกก็ดี ผู้ใดหนอจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่ากลิ่นกลิ่น กลิ่นสีหรือว่ากลิ่นเกสร...
“ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำ ๕ พระอริยสาวกละได้แล้วก็จริง แต่ท่านก็ยังถอนมานะ ฉันทะ อนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า “เรามีอยู่” ไม่ได้ ในสมัยต่อมา ท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ มานะ ฉันทะ อนุสัยที่ว่า “เรามีอยู่” นั้น ที่ยังถอนไม่ได้ ก็ย่อมถึงการเพิกถอนได้ ... เปรียบเหมือนผ้าเปื้อนเปรอะด้วยมลทินเจ้าของมอบผ้านั้นให้แก่ช่างซักฟอก ช่างซักฟอกขยี้ผ้านั้นในน้ำด่างขี้เถ้า ในน้ำต่างเกลือหรือในโคมัย แล้วเอาซักในน้ำใสสะอาด ผ้านั้นเป็นของสะอาด ขาวผ่องก็จริง แต่ยังไม่หมดกลิ่นน้ำด่างขี้เถ้า กลิ่นน้ำด่างเกลือหรือกลิ่นโคมัยที่ละเอียด ช่างซักฟอกมอบผ้านั้นให้แก่เจ้าของ เจ้าของเก็บผ้านั้นใส่ไว้ในหีบอบกลิ่น แม้กลิ่นนันก็หายไป”

เขมกสูตร ขันธ. สํ. (๒๒๙)
ตบ. ๑๗ : ๑๖๐-๑๖๑ ตท. ๑๗ : ๑๓๙-๑๔๐
ตอ. K.S. ๓ : ๑๐๙-๑๑๐

<หน้าก่อน<<< สารบัญ >>>หน้าถัดไป>

:: อธิบายอักษรย่อแหล่งอ้างอิง ::
:: ค้นหาความหมายของศัพท์ จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ::


: ถ้าหน้านี้มีการพิมพ์ผิดขอความกรุณาส่งข้อความถึง webmaster :