พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์


: ค้นหาพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ :


554 พระสาวกผู้เลิศในด้านต่างๆ

ปัญหา พระสาวกองค์ไหน ได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเลิศในทางไหนบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอัญญาโกณฑัญญะ
เป็นเอตทัคคะของบรรดาภิกษุสาวกผู้อาวุโส (รู้ราตรีนาน)
“พระสารีบุตร เป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุสาวกผู้มีปัญญาใหญ่
“พระมหาโมคคัลลานะ เป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้มีฤทธิ์
“พระมหากัสสปะ เป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ทรงธุดงค์
“พระอนุรุทธะ เป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้มีทิพยจักษุ
“พระภัททิยกาฬิโคธาบุตร เป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้เกิดในตระกูลสูง
“พระลกุณฏก ภัททิยะ เป็นเลิศในบรรดาผู้มีเสียงไพเราะ
“พระปิณโฑล ภารทวาชะ เป็นเลศในทางบันลือสีหนาท
“พระปุณณมันตานีบุตร เป็นเลิศในบรรดาพระธรรมกถึก
“พระมหากัจจานะ เป็นเลิศในบรรดาผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิตโดยย่อให้พิสดาร
“พระจุลลปันถกะ เป็นเลิศในบรรดาผู้นฤมิตกายอันสำเร็จด้วยใจ และผู้ฉลาดในวัฒนาการทางจิตใจ
“พระมหาปันถกะ เป็นเลิศในบรรดาผู้ฉลาดในวิวัฒนาการทางปัญญา
“พระสุภูติ เป็นเลิศในบรรดาผู้มีปกติอยู่ด้วยไม่มีกิเลส และผู้เป็นทักขิไณยบุคคล
“พระเรวต ขทิรวนิยะ เป็นเลิศในบรรดาผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
“พระกังขาเรวตะ เป็นเลิศในบรรดาผู้ยินดีในฌาน
“พระโสณโกฬิวิสะ เป็นเลิศในบรรดาผู้ปรารภความเพียร
“พระโสณกุฎิกัณณะ เป็นเลิศในบรรดาผู้มีถ้อยคำไพเราะ
“พระสีวลี เป็นเลิศในบรรดาผู้มีลาภมาก
“พระวักกลิ เป็นเลิศในบรรดาผู้พ้นกิเลสได้ด้วยศรัทธา
“พระราหุล เป็นเลิศในบรรดาผู้ใคร่ต่อการศึกษา
“พระรัฐปาละ เป็นเลิศในบรรดาผู้บวชด้วยศรัทธา
“พระกุณฑธานะ เป็นเลิศในบรรดาผู้ได้สลากอันดับหนึ่ง
“พระวังคีสะ เป็นเลิศในบรรดาผู้มีปฏิภาณ
“พระอุปเสน วังคันตบุตร เป็นเลิศในบรรดาผู้เป็นที่น่าเลื่อมใสรอบด้าน
“พระทัพพมัลลบุตร เป็นเลิศในบรรดาผู้จัดแจงเสนาสนะ
“พระปิลินทวัจฉะ เป็นเลิศในบรรดาผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลาย
“พระพาหิยะ ทารุจีริยะ เป็นเลิศในบรรดาผู้ตรัสรู้ได้เร็วพลัน
“พระกุมารกัสสปะ เป็นเลิศในบรรดาผู้แสดงธรรมได้วิจิตร
“พระมหาโกฏฐิตะ เป็นเลิศในบรรดาผู้บรรลุปฏิสัมภิทา
“พระอานนท์ เป็นเลิศในบรรดาผู้เป็นพหูสูต ผู้มีสติ ผู้มีคติ ผู้มีความเพียร ผู้เป็นอุปัฏฐาก
“พระอุรุเวลกัสสปะ เป็นเลิศในบรรดาผู้มีบริษัทมาก
“พระกาฬุทายี เป็นเลิศในบรรดาผู้ทำให้สกุลเลื่อมใส
“พระพักกุละ เป็นเลิศในบรรดาผู้มีอาพาธน้อย
“พระโสภิตะ เป็นเลิศในบรรดาผู้ระลึกชาติก่อนได้
“พระอุบาลี เป็นเลิศในบรรดาผู้ทรงพระวินัย
“พระนันทนะ เป็นเลิศในบรรดาผู้สั่งสอนนางภิกษุณี
“พระนันทะ เป็นเลิศในบรรดาผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
“พระมหากัปปินะ เป็นเลิศในบรรดาผู้สั่งสอนภิกษุ
“พระสาคต เป็นเลิศในบรรดาผู้ฉลาดในเตโชธาตุ
“พระราธะ เป็นเลิศในบรรดาผู้มีปฏิภาณแจ่มแจ้ง
“พระโมฆราชะ เป็นเลิศในบรรดาผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
“พระมหาปชาบดี โคตมี เป็นเลิศกว่าภิกษุณีผู้อาวุโส
“พระนางเขมาภิกษุณี เป็นเลิศในบรรดาผู้มีปัญญา
“พระอุบลวัณณาเถรี เป็นเลิศในบรรดาผู้มีฤทธิ์
“พระปฏาจาราภิกษุณี เป็นเลิศในบรรดาผู้ทรงวินัย
“พระธัมมทินนา เป็นเลิศในบรรดาพระธรรมกถึก
“พระนันทาภิกษุณี เป็นเลิศในบรรดาผู้ยินดีในฌาน
“พระโสณาภิกษุณี เป็นเลิศในบรรดาผู้ปรารภความเพียร
“พระสกุลาภิกษุณี เป็นเลิศในบรรดาผู้มีทิพยจักษุ
“พระภัททากปิลานี เป็นเลิศในบรรดาผู้ระลึกชาติก่อนได้
“พระภัททา กุณฑลเกสา เป็นเลิศในบรรดาผู้ตรัสรู้ได้เร็วพลัน
“พระภัททา กัจจานา เป็นเลิศในผู้บรรดาได้บรรลุอภิญญาใหญ่
“พระกีสาโคตมี เป็นเลิศในบรรดาผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
“พระสคาลมาตา เป็นเลิศในบรรดาพ้นกิเลสได้ด้วยศรัทธา
“พ่อค้าชื่อตปุสสะและภัลลิกะ เป็นเลิศกว่าอุบาสก อุบาสิกา ผู้ถึงสรณะก่อน
“สุทัตตอนาถปิณฑิกคฤหบดี เป็นเลิศในบรรดาผู้ถวายทาน
“จิตต คฤหบดีชาวเมืองมัจฉิกะสัณฑะ เป็นเลิศในบรรดาผู้เป็นธรรมกถึก
“หัตถก อุบาสกชาวเมืองอาฬวี เป็นเลิศในบรรดาผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยปัจจัย ๔
“เจ้ามหานามศากยะ เป็นเลิศในบรรดาผู้ถวายรสอันประณีต
“อุคคะ คฤหบดีชาวเมืองเวสาลี เป็นเลิศในบรรดาผู้ถวายโภชนะเป็นที่ชอบใจ
“อุคคะคฤหบดี เป็นเลิศในบรรดาผู้อุปัฏฐากสงฆ์
“สุรัมพัฏฐะ เศรษฐีบุตร เป็นเลิศในบรรดาผู้เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้น
“หมอชีวกโกมารภัจจ เป็นเลิศในบรรดาผู้คนเลื่อมใสแล้ว
“นกุลปิตาคฤหบดี เป็นเลิศในบรรดาผู้คุ้นเคย
“นางสุชาดา ธิดาของเสนานีกุฎมพี เป็นเลิศในบรรดาผู้ถึงสรณะก่อน
“นางวิสาขา บิดามารดา เป็นเลิศในบรรดาผู้ถวายทาน
“นางชุชชุตรา เป็นเลิศในบรรดาผู้เป็นพหูสูต
“นางสามาวดี เป็นเลิศในบรรดาผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา
“นางอุตตรา นันทมาดา เป็นเลิศในบรรดาผู้ยินดีในฌาน
“นางสุปปวาสา โกลยธีตา เป็นเลิศในบรรดาผู้ถวายรสอันประณีต
“นางสุปปิยา อุบาสิกา เป็นเลิศในบรรดาผู้อุปัฏฐากคนป่วย
“นางกาติยานี เป็นเลิศในบรรดาผู้เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้น
“นางนกุลมาตา คฤหปตานี เป็นเลิศในบรรดาผู้คุ้นเคย
“นางกาสี อุบาสิกาชาวกุรรฆระ เป็นเลิศในบรรดาผู้เลื่อมใสเพราะได้ยินได้ฟังตามคนอื่น.....”

(พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 12 อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอตทัคคบาลี วรรคที่ ๔)
เอตทัคคบาลี เอก. อํ. (๑๔๖-๑๕๒)
ตบ. ๒๐ : ๓๑-๓๔ ตท. ๒๐ : ๒๘-๓๓
ตอ. G.S. ๑ : ๑๖-๒๕

<หน้าก่อน<<< สารบัญ >>>หน้าถัดไป>

:: อธิบายอักษรย่อแหล่งอ้างอิง ::
:: ค้นหาความหมายของศัพท์ จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ::


: ถ้าหน้านี้มีการพิมพ์ผิดขอความกรุณาส่งข้อความถึง webmaster :
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;