ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 38 / 1อ่านอรรถกถา 38 / 6อรรถกถา เล่มที่ 38 ข้อ 23อ่านอรรถกถา 38 / 32อ่านอรรถกถา 38 / 1564
อรรถกถา ยมกปกรณ์ ภาค ๑
ขันธยมก ปัณณัตติวาร อุทเทสวาร

               อรรถกถาขันธยมก               
               วรรณนาอุทเทสวาระ               
               บัดนี้ เป็นการวรรณนาขันธยมก ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ในลำดับต่อจากมูลยมก เพราะทรงรวบรวมซึ่งธรรมทั้งหลายมีกุศลเป็นต้น อันพระองค์ทรงแสดงแล้วในมูลมก ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ พึงทราบการกำหนดพระบาลีในขันธยมกอย่างนี้ก่อน.
               ในขันธยมกนี้มีมหาวาระ ๓ คือ ปัณณัตติวาระ ปวัตติวาระและปริญญาวาระ.
               ในมหาวาระทั้ง ๓ นั้น ปัณณัตติวาระ ตรัสเรียกว่าปัณณัตติวาระ เพราะทรงกระทำด้วยอำนาจการชำระชื่อของขันธ์ทั้งหลาย.
               ปวัตติวาระ ตรัสเรียกว่าปวัตติวาระ เพราะทรงชำระความเป็นไปด้วยอำนาจการเกิดขึ้นและการดับไปของขันธ์ทั้งหลายที่พระองค์ทรงชำระชื่อแล้ว.
               ปริญญาวาระ ตรัสเรียกว่าปริญญาวาระ เพราะทรงแสดงปริญญา ๓ แห่ง ขันธ์ทั้งหลายอันเป็นไปแล้วตามลำดับ โดยสังเขป.
               ในมหาวาระเหล่านั้น ปัณณัติวาระ พระองค์ทรงกำหนดด้วยอาการ ๒ อย่างด้วยอำนาจอุทเทสและนิทเทส. ในอุเทสและนิทเทสแม้เหล่านี้ อุทเทสวาระไม่มีโดยแผนกหนึ่ง จำเดิมแต่ต้น พระองค์ทรงกำหนดนิทเทสโดยส่วนเดียวด้วยอำนาจปุจฉาและวิสัชนา บัณฑิตพึงทราบอุทเทสวาระแห่งปัณณัตติวาระตั้งแต่บทว่า ปญฺจกฺขนฺธา ดังนี้ ความว่า นี้เป็นอุทเทสของขันธ์ทั้งหลายที่พึงถามด้วยอำนาจของยมก.
               พึงทราบการกำหนดชื่อของขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น โดยประเภทว่า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์.
               บัดนี้ นัยวาระ ๔ คือ ปทโสธนวาระ, ปทโสธนมูลจักกะวาระ, สุทธักขันธวาระ, สุทธักขันมูลจักกวาระ ย่อมมีด้วยอำนาจของขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น.
               ในนัยวาระเหล่านั้น วาระที่ทำการชำระบทโดยนัยเป็นต้นว่า รูปํ รูปกฺขนฺโธ รูปกฺขนฺโธ รูปํ ดังนี้นั่นแหละ ชื่อว่าปทโสธนวาระ. ในปทโสธนวาระนั้นมี ๒ อย่างด้วยอำนาจอนุโลมและปฏิโลม ในปทโสธนวาระนั้น ในอนุโลกวาระมี ๕ ยมก คือ รูปํ รูปกฺขนฺโธ รูปกฺขนฺโธ รูปํ ดังนี้เป็นต้นถึงในปฏิโลมก็มี ๕ อย่าง คือ นรูปํ นรูปกฺขนฺโธ นรูปกฺขนฺโธ นรูปํ ดังนี้เป็นต้น.
               เบื้องหน้าแต่นี้ เป็นที่วาระที่ทรงผูกมูลแห่งขันธ์หนึ่งๆ แห่งขันธ์ทั้งหลาย อันพระองค์ทรงชำระแล้วในปทโสธนวาระเหล่านั้นนั่นแหละ ให้เป็นจักร ๔ โดยนัยเป็นต้นว่า รูปํ รูปกฺขนฺโธ, ขนฺธา เวทนากฺขนฺโธ ดังนี้ ชื่อว่าปทโสธนมูลจักกวาระ เพราะความที่แห่งจักรทั้งหลายอันเป็นมูลแห่งการชำระบทมีอยู่ แม้ในปทโสธนมูลจักกวาระนั้นก็มี ๒ อย่างด้วยอำนาจอนุโลมปฏิโลม ในอนุโลมและปฏิโลมเหล่านั้น ในอนุโลมวาระมียมก ๒๐ เพราะกระทำมูลแห่งขันธ์หนึ่งๆ ให้เป็น ๔ มี รูปํ รูปกฺขนฺโธ, ขนฺธา เวทนากฺขนฺโธ ดังนี้เป็นต้น แม้ในปฏิโลมก็มี ๒๐ เท่านั้น เพราะทำมูลแห่งขันธ์หนึ่งๆ ให้เป็น ๔ มี นรูปํ นรูปกฺขนฺโธ, นขนฺธา นเวทนากฺขนฺโธ ดังนี้เป็นต้น.
               เบื้องหน้าแต่นี้วาระที่ดำเนินไปแล้วด้วยอำนาจขันธ์ล้วนๆ โดยนัยเป็นต้นว่า รูปํ ขนฺโธ, ขนฺธา รูปํ ดังนี้ ชื่อสุทธักขันธวาระ.
               ในสุทธักขันธวาระนั้น ในปุจฉาว่า ขนฺธา รูปํ เป็นต้น พึงถือเอาเนื้อความว่า ขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่ารูปขันธ์ ใช่ไหม? ขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่าเวทนาขันธ์หรือ.
               ถามว่า เพราะเหตุไร ตอบว่า เพราะท่านจำแนกไว้ในนิทเทสวาระอย่างนี้.
               ก็ในนิทเทสวาระนั้น ถามว่า รูปชื่อว่าขันธ์หรือ ตอบว่า ใช่.
               ถามว่า ขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่ารูปขันธ์หรือ?
               ตอบว่า รูปขันธ์ ชื่อว่ารูปด้วย ชื่อว่ารูปขันธ์ด้วย ขันธ์ทั้งหลายที่เหลือไม่ชื่อว่ารูปขันธ์ ดังนี้ ท่านยกบทขึ้นจำแนกเนื้อความโดยนัยเป็นต้นว่า ขันธ์ทั้งหลายชื่อว่ารูปขันธ์หรือ แห่งบททั้งหลาย ว่าขันธ์ทั้งหลายชื่อว่ารูปหรือ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้ ก็ด้วยเหตุนั้น วาระนั้นท่านจึงเรียกว่าสุทธักขันธวาระ.
               ในสุทธักขันธวาระนี้ คำว่า น ขนฺธา เป็นคำที่มีประมาณ เหมือนในการชำระคำ ก็สุทธักขันธวาระย่อมได้โดยประการใดๆ เนื้อความเทียวเป็นประมาณ ย่อมได้โดยประการนั้นๆ แม้ในอายตนยมกเป็นต้นข้างหน้าก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
               ก็ในสุทธักขันธวาระมี ๒ อย่างด้วยอำนาจอนุโลมและปฏิโลม ในอนุโลมและปฏิโลมเหล่านั้น ในอนุโลมวาระมียมก ๕ อย่าง คือ รูปํ ขนฺโธ, ขนฺธา รูปํ เป็นต้น แม้ในปฏิโลมวาระก็มียมก ๕ อย่าง คือ นรูปํ นขนฺโธ, นขนฺธา นรูปํ ดังนี้เป็นต้น
               เบื้องหน้าแต่นั้นท่านกระทำการผูกมูลแห่งขันธ์หนึ่งๆ แห่งสุทธักขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นโดยนัยเป็นต้นว่า รูปํ ขนฺโธ, ขนฺธา เวทนา ให้เป็น ๔ ชื่อว่าสุทธักขันธมูลจักวาระ เพราะความที่จักรมีสุทธักขันธ์เป็นมูลมีอยู่ ในสุทธักขันธมูลจักกวาระนั้น พึงทราบเนื้อความโดยนัยเป็นต้นว่า ขันธ์ทั้งหลายชื่อว่าเวทนาขันธ์หรือ แห่งคำถามว่า ขนฺธา เวทนา เป็นต้น
               โดยประการนอกนี้ จึงมีความผิดกันกับนิทเทสวาระ แม้สุทธักขันธมูลจักกวาระนั้นก็มี ๒ อย่าง ด้วยอำนาจอนุโลมและปฏิโลม ในอนุโลมและปฏิโลมเหล่านั้น ในอนุโลมวาระมียมก ๒๐ เพราะกระทำมูลแห่งขันธ์หนึ่งๆ ให้เป็นจักร ๔ มีบทเป็นต้นว่า รูปํ ขนฺโธ, ขนฺธา เวทนา ดังนี้. แม้ในปฏิโลมวาระก็มี ๒๐ เหมือนกัน เพราะกระทำมูลแห่งขันธ์หนึ่งๆ ให้เป็น ๔ มีบทเป็นต้นว่า นรูปํ นขนฺโธ, นขนฺธา นเวทนา ดังนี้ พึงทราบอุทเทสวาระแห่งปัณณัตติวาระ อันประดับแล้วด้วยยมก ๑๐๐ ด้วยคำถาม ๒๐๐ และด้วยอรรถ ๔๐๐ เพราะกระทำอรรถทั้งหลายให้เป็นสองด้วยอำนาจสันนิฏฐานและสังสยะ เพื่อการถามในนัยหนึ่งๆ อย่างนี้ก่อน ด้วยประการฉะนี้.

               วรรณนาอุทเทสวาระ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ยมกปกรณ์ ภาค ๑ ขันธยมก ปัณณัตติวาร อุทเทสวาร จบ.
อ่านอรรถกถา 38 / 1อ่านอรรถกถา 38 / 6อรรถกถา เล่มที่ 38 ข้อ 23อ่านอรรถกถา 38 / 32อ่านอรรถกถา 38 / 1564
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=38&A=544&Z=647
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=7489
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=7489
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๑  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :