ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 40 / 1อ่านอรรถกถา 40 / 8อรรถกถา เล่มที่ 40 ข้อ 9อ่านอรรถกถา 40 / 10อ่านอรรถกถา 40 / 1767
อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
มาติกานิกเขปวาร ปัจจยวิภังควาร นิสสยปัจจัย

               วรรณนานิทเทสแห่งนิสสยปัจจัย               
               ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยในนิสสยปัจจัยนิทเทสต่อไป.
               พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงนัยแห่งสหชาตนิสสยปัจจัยด้วยอำนาจแห่งส่วนที่ ๕ ข้างต้น แห่งสหชาตปัจจัยนิทเทสแล้ว เพื่อจะทรงแสดงนัยแห่งปุเรชาตนิสสยปัจจัย ด้วยส่วนที่ ๖ อีก จึงทรงเริ่มคำว่า จกฺขายตนํ จกฺขุวิญฺญาณธาตุยา เป็นต้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ยํ รูปํ นิสฺสาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง วัตถุรูป.
               จริงอยู่ จิต ๗๕ เหล่านั้น คือมโนธาตุ ๓ มโนวิญญาณธาตุ ๗๒ เว้นอรูปวิบาก อาศัยหทัยวัตถุนั้นเป็นไป.
               พรรณนาบาลีในอธิการนี้เพียงเท่านี้.
               นิสสยปัจจัยว่าด้วยอำนาจชาติ จำแนกออกเป็น ๕ ชาติ โดยเป็นกุศลเป็นต้น. ใน ๕ อย่างนั้น กุศลว่าโดยภูมิมี ๔ ภูมิ อกุศลมีภูมิเดียวเท่านั้น วิบากมี ๔ ภูมิ กิริยามี ๓ ภูมิ รูปมีภูมิเดียวเท่านั้น.
               ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกโดยประการต่างๆ ในนิสสยปัจจัยนี้ ดังพรรณนามานี้.
               ในนิสสยปัจจัยซึ่งจำแนกแล้วอย่างนี้ กุศลที่เป็นไปได้ในภูมิ ๔ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตและรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย. อกุศลก็เหมือนกัน. ในนิสสยปัจจัยนี้ จิตใดเกิดขึ้นในอรูปภพ จิตนั้นเป็นนิสสยปัจจัยแก่อรูปธรรมเท่านั้น.
               กามาวจรวิบากและรูปาวจรวิบากเป็นนิสสยปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปวัตติกาล เป็นนิสสยปัจจัยแก่กัมมชรูปในปฏิสนธิกาล. อรูปาวจรวิบากเป็นนิสสยปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น. โลกุตตรวิบากเป็นนิสสยปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ เป็นนิสสยปัจจัยแก่อรูปธรรมเท่านั้นในจตุโวการภพ.
               กามาวจรกิริยาและอรูปาวจรกิริยาเป็นนิสสยปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ. เป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมเท่านั้นในจตุโวการภพ. รูปาวจรกิริยาเป็นนิสสยปัจจัยโดยส่วนเดียว แก่ธรรมที่สัมปยุตและรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ.
               สำหรับรูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ในรูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน มหาภูตรูป ๑ เป็นนิสสยปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ มหาภูตรูป ๓ เป็นนิสสยปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ มหาภูตรูป ๒ เป็นนิสสยปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ มหาภูตรูปเป็นนิสสยปัจจัยแก่อุปาทารูป ในปัญจโวการภพ วัตถุรูปเป็นนิสสยปัจจัยแก่ธรรม ๔ หมวดเหล่านี้ คือแก่กุศลในภูมิทั้ง ๔ แก่อกุศล แก่วิบากในภูมิสามที่เหลือ เว้นอรูปวิบาก และทวิปัญจวิญญาณจิต และแก่กิริยาในภูมิสาม.
               อายตนะ ๕ มีจักขายตนะเป็นต้น เป็นนิสสยปัจจัยแก่วิญญาณ ๕ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น พร้อมทั้งสัมปยุตตธรรม. ส่วนในบรรดารูปที่มีอุตุ จิตและอาหารเป็นสมุฏฐาน มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป และเป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.
               ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในนิสสยปัจจัยนี้ อย่างนี้แล.

               วรรณนานิทเทสแห่งนิสสยปัจจัย จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ มาติกานิกเขปวาร ปัจจยวิภังควาร นิสสยปัจจัย จบ.
อ่านอรรถกถา 40 / 1อ่านอรรถกถา 40 / 8อรรถกถา เล่มที่ 40 ข้อ 9อ่านอรรถกถา 40 / 10อ่านอรรถกถา 40 / 1767
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=40&A=133&Z=149
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=9506
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=9506
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๖  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :