ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ วิญญาณ ”             ผลการค้นหาพบ  20  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 20
[28] บัญญัติ 2 และ 6 (การกำหนดเรียก หรือ สิ่งที่ถูกกำหนดเรียก, การกำหนดตั้งหรือตราไว้ให้เป็นที่รู้กัน - designation; term; concept)
       1. ปัญญาปิยบัญญัติ หรือ อรรถบัญญัติ (บัญญัติในแง่เป็นสิ่งอันพึงให้รู้กัน, บัญญัติที่เป็นความหมาย, บัญญัติคือความหมายอันพึงกำหนดเรียก, ตัวความหมายที่จะพึงถูกตั้งชื่อเรียก - the Pannatti to be made Known or conveyed; concept)
       2. ปัญญาปนบัญญัติ หรือ นามบัญญัติ หรือ สัททบัญญัติ (บัญญัติในแง่เป็นเครื่องให้รู้กัน, บัญญัติที่เป็นชื่อ, บัญญัติที่เป็นศัพท์, ชื่อที่ตั้งขึ้นใช้เรียก - the Pannatti that makes Known or conveys; term; designation)

       ปัญญาปิยบัญญัติ เรียกเต็มว่า ปญฺญาปิยตฺตา ปญฺญตฺติ, ปัญญาปนบัญญัติ เรียกเต็มว่า ปญฺญาปนโต ปญฺญตฺติ

       ปัญญาปนบัญญัติ หรือ นามบัญญัติ แยกย่อยออกเป็น 6 อย่าง คือ
       1. วิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่มีอยู่ เช่น รูป เวทนา สมาธิ เป็นต้น - designation of reality; real concept)
       2. อวิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่ไม่มีอยู่ เช่น ม้า แมว รถ นายแดง เป็นต้น - designation of an unreality; unreal concept)
       3. วิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่ไม่มี ด้วยสิ่งที่มี เช่น คนดี นักฌาน ซึ่งความจริงมีแต่ดี คือภาวะที่เป็นกุศล และฌาน แต่คนไม่มี เป็นต้น - designation of an unreality by means of a reality; unreal concept by means of a real concept)
       4. อวิชชมาเนน วิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่มี ด้วยสิ่งที่ไม่มี เช่น เสียงหญิง ซึ่งความจริง หญิงไม่มี มีแต่เสียง เป็นต้น - designation of a reality by means of an unreality; real concept by means of an unreal concept)
       5. วิชชมาเนน วิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่มี ด้วยสิ่งที่มี เช่น จักขุสัมผัส โสตวิญญาณ เป็นต้น - designation of a reality by means of a reality; real concept by means of a real concept)
       6. อวิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่ไม่มี ด้วยสิ่งที่ไม่มี เช่น ราชโอรส ลูกเศรษฐี เป็นต้น - designation of an unreality by means of an unreality; unreal concept by means of an unreal concept)

Pug.A.171;
COMP.198
ปญฺจ.อ. 32;
สงฺคห. 49;
สงฺคห.ฏีกา 253

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 20
[105] วัฏฏะ 3 หรือ ไตรวัฏฏ์ (วน, วงเวียน, องค์ประกอบที่หมุนเวียน ต่อเนื่องกันของภวจักร หรือสังสารจักร — the triple round; cycle)
       1. กิเลสวัฏฏ์ (วงจรกิเลส ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน — round of defilements)
       2. กรรมวัฏฏ์ (วงจรกรรม ประกอบด้วยสังขารและกรรมภพ — round of Karma)
       3. วิปากวัฏฏ์ (วงจรวิบาก ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏที่เรียกว่า อุปปัตติภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น — round of results)

       สามอย่างนี้ ประกอบเข้าเป็นวงจรใหญ่แห่งปัจจยาการ เรียกว่า ภวจักร หรือ สังสารจักร ตามหลักปฏิจจสมุปบาท

Vism.581. วิสุทธิ. 3/198.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 20
[148] ธาตุ 6 (the six elements) ได้แก่ธาตุ 4 หรือมหาภูต 4 คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และ วาโยธาตุ นั้น กับเพิ่มอีก 2 อย่าง คือ
       5. อากาสธาตุ (สภาวะที่ว่าง โปร่งไป เป็นช่อง - the space-element)
       6. วิญญาณธาตุ (สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์, ธาตุรู้ ได้แก่ วิญญาณธาตุ 6 คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสต~ ฆาน~ ชิวหา~ กาย~ มโนวิญญาณธาตุ - element of consciousness; consciousness-element)

       ดู [39] มหาภูต 4 และ [146] ธาตุ 4.

M.III.31;
Vbh.82.
ม.อุ. 14/169/125;
อภิ.วิ. 35/114/101.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 20
[149] ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ได้แก่ ธาตุกัมมัฏฐาน 4 นั้น และเพิ่มอีก 2 อย่าง คือ
       5. อากาสธาตุ (the space-element) คือ ธาตุที่มีลักษณะเป็นช่องว่าง ภายในตัวก็มีภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะภายใน สำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์ เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องทวารหนัก ทวารเบา ช่องแห่งอวัยวะทั้งหลาย หรือที่อื่นใดที่มีลักษณะเป็นช่องว่างอย่างเดียวกันนี้
       6. วิญญาณธาตุ (the consciousness-element) คือ ธาตุที่มีลักษณะเป็นเครื่องรู้แจ้งอารมณ์ กล่าวคือ วิญญาณธาตุ 6.

       ดู [147] ธาตุกัมมัฏฐาน 4; [148] ธาตุ 6.

M.III.240. ม.อุ. 14/684-689/437-440.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 20
[207] อรูป หรือ อารุปป์ 4 (ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ คืออรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาน, ภพของอรูปพรหม - absorptions of the Formless Sphere; the Formless Spheres; immaterial states)
       1. อากาสานัญจายตนะ (ฌานอันกำหนดอากาศคือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of infinity of space)
       2. วิญญาณัญจายตนะ (ฌานอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of infinity of consciousness)
       3. อากิญจัญญายตนะ (ฌานอันกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of nothingness)
       4. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ฌานอันเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of neither perception nor non-perception)

D.III.224;
S.IV.227.
ที.ปา. 11/235/235;
สํ.สฬ. 18/519/326.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 20
[212] อาหาร 4 (สภาพที่นำมาซึ่งผลโดยความเป็นปัจจัยค้ำจุนรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย, เครื่องค้ำจุนชีวิต, สิ่งที่หล่อเลี้ยงร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดกำลังเจริญเติบโตและวิวัฒน์ได้ - nutriment)
       1. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว ได้แก่ อาหารสามัญที่กลืนกินดูดซึมเข้าไป หล่อเลี้ยงร่างกาย - material food; physical nutriment) เมื่อกำหนดรู้กวฬิงการาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ราคะที่เกิดจากเบญจกามคุณได้ด้วย
       2. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ ได้แก่ การบรรจบแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา พร้อมทั้งเจตสิกทั้งหลายที่จะเกิดตามมา - nutriment consisting of contact; contact as nutriment) เมื่อกำหนดรู้ผัสสาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้เวทนา 3 ได้ด้วย
       3. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา ได้แก่ ความจงใจ เป็นปัจจัยแห่งการทำ พูด คิด ซึ่งเรียกว่ากรรม เป็นตัวชักนำมาซึ่งภพ คือ ให้เกิดปฏิสนธิในภพทั้งหลาย - nutriment consisting of mental volition; mental choice as nutriment) เมื่อกำหนดรู้มโนสัญเจตนาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ตัณหา 3 ได้ด้วย.
       4. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ ได้แก่ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป - nutriment consisting of consciousness; consciousness as nutriment) เมื่อกำหนดรู้วิญญาณาหารได้แล้วก็เป็นอันกำหนดรู้นามรูปได้ด้วย.

D.III.228;
M.I.48;
S.II.101;
Vbh.401.
ที.ปา. 11/244/240;
ม.มู. 12/113/87;
สํ.นิ. 16/245/122;
อภิ.วิ. 35/1081/543.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 20
ปัญจกะ - หมวด 5
Groups of Five
(including related groups)
[***] กัลยาณธรรม 5 ดู [239] เบญจธรรม.
[***] กามคุณ 5 ดู [6] กามคุณ 5.
[***] กำลัง 5 ของพระมหากษัตริย์ ดู [230] พละ 5 ของพระมหากษัตริย์

[216] ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ (กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม 5 หมวด ที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นต้น, ส่วนประกอบ 5 อย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต — the Five Groups of Existence; Five Aggregates)
       1. รูปขันธ์ (กองรูป, ส่วนที่เป็นรูป, ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย, ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด, สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ — corporeality)
       2. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา, ส่วนที่เป็นการเสวยอารมณ์, ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ — feeling; sensation)
       3. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา, ส่วนที่เป็นความกำหนดหมาย, ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ 6 เช่นว่า ขาว เขียว ดำ แดง เป็นต้น — perception)
       4. สังขารขันธ์ (กองสังขาร, ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง, สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ, คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต — mental formations; volitional activities)
       5. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ, ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์, ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6 มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ได้แก่ วิญญาณ 6 — consciousness)

       ขันธ์ 5 นี้ ย่อลงมาเป็น 2 คือ นาม และ รูป; รูปขันธ์จัดเป็นรูป, 4 ขันธ์ นอกนั้นเป็นนาม. อีกอย่างหนึ่ง จัดเข้าในปรมัตถธรรม 4 : วิญญาณขันธ์เป็น จิต, เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ เป็น เจตสิก, รูปขันธ์ เป็น รูป, ส่วน นิพพาน เป็นขันธวินิมุต คือ พ้นจากขันธ์ 5

       เรื่องขันธ์ 5 พึงดูประกอบในหมวดธรรมอื่นๆ เช่น
       1. รูปขันธ์ ดู [38] รูป 2, 28; [39] มหาภูต 4; [40] อุปาทายรูป 24.
       2. เวทนาขันธ์ ดู [110] เวทนา 2; [111] เวทนา 3; [112] เวทนา 5; [113] เวทนา 6.
       3. สัญญาขันธ์ ดู [271] สัญญา 6.
       4. สังขารขันธ์ ดู [119] สังขาร 3; [120] สังขาร 3; [129] อภิสังขาร 3; [263] เจตนา 6.
       5. วิญญาณขันธ์ ดู [268] วิญญาณ 6.

       นอกนี้ ดู [356] จิตต์ 89; [355] เจตสิก 52

S.III.47;
Vbh.1.
สํ.ข. 17/95/58;
อภิ.วิ. 35/1/1.

[***] คติ 5 ดู [351] ภูมิ 4 หรือ 31.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 20
[266] ปิยรูป สาตรูป 6 x 10 (สิ่งที่มีสภาวะน่ารักน่าชื่นใจ เป็นที่เกิดและเป็นที่ดับของตัณหา — delightful and pleasurable things)
       หมวด 1 ดู [276] อายตนะภายใน 6
       หมวด 2 ดู [277] อายตนะภายนอก 6
       หมวด 3 ดู [268] วิญญาณ 6
       หมวด 4 ดู [272] สัมผัส 6
       หมวด 5 ดู [113] เวทนา 6
       หมวด 6 ดู [271] สัญญา 6
       หมวด 7 ดู [263] สัญเจตนา 6
       หมวด 8 ดู [264] ตัณหา 6
       หมวด 9 ได้แก่ วิตก 6 คือ รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก (ความตริตรึกเกี่ยวกับรูป ฯลฯ — thought conception concerning visual forms, etc.)
       หมวด 10 ได้แก่ วิจาร 6 คือ รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับรูป ฯลฯ — thought concerning visual forms, etc.)

D.II.308;
M.1.62.
ที.ม. 10/297/343;
ม.มู. 12/147/120

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 20
[268] วิญญาณ 6 (ความรู้แจ้งอารมณ์ — consciousness; sense-awareness)
       1. จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา รู้รูปด้วยตา, เห็น — eye-consciousness)
       2. โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู คือ รู้เสียงด้วยหู, ได้ยิน — ear-consciousness)
       3. ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางจมูก คือ รู้กลิ่นด้วยจมูก, ได้กลิ่น — nose-consciousness)
       4. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น คือ รู้รสด้วยลิ้น, รู้รส — tongue-consciousness)
       5. กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย คือ รู้โผฏฐัพพะด้วยกาย, รู้สึกสัมผัส — body-consciousness)
       6. มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ คือ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ, รู้ความนึกคิด — mind-consciousness)

D.III.243;
Vbh.180.
ที.ปา. 11/306/255;
อภิ.วิ. 35/120/105

[***] เวทนา 6 ดู [113] เวทนา 6.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 20
[272] สัมผัส หรือ ผัสสะ 6 (ความกระทบ, ความประจวบกันแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ — contact; sense-impression)
       1. จักขุสัมผัส (ความกระทบทางตา คือ ตา + รูป + จักขุวิญญาณ — eye-contact)
       2. โสตสัมผัส (ความกระทบทางหู คือ หู + เสียง + โสตวิญญาณ — ear-contact)
       3. ฆานสัมผัส (ความกระทบทางจมูก คือ จมูก + กลิ่น + ฆานวิญญาณ — nose-contact)
       4. ชิวหาสัมผัส (ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น + รส + ชิวหาวิญญาณ — tongue-contact)
       5. กายสัมผัส (ความกระทบทางกาย คือ กาย + โผฏฐัพพะ + กายวิญญาณ — body-contact)
       6. มโนสัมผัส (ความกระทบทางใจ คือ ใจ + ธรรมารมณ์ + มโนวิญญาณ — mind-contact)

D.III.243;
S.II.3.
ที.ปา. 11/307/255;
สํ.นิ. 16/12/4

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 20
[284] วิญญาณฐิติ 7 (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ — abodes or supports of consciousness)
       1. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า วินิปาติกะ (เปรต) บางเหล่า (beings different in body and in perception)
       2. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน (beings different in body, but equal in perception)
       3. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสสระ (beings equal in body, but different in perception)
       4. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ (beings equal in body and in perception)
       5. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ (beings reborn in the sphere of Boundless Space)
       6. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ (beings reborn in the sphere of Boundless Consciousness)
       7. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ (beings reborn in the sphere of Nothingness)

D.III.253;
A.IV.39.
ที.ปา. 11/335/265;
องฺ.สตฺตก. 23/41/41

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 20
[298] วิโมกข์ 8 (ความหลุดพ้น, ภาวะที่จิตปลอดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งเข้าไปในอารมณ์นั้นๆ อย่างปล่อยตัวเต็มที่ ซึ่งเป็นไปในขั้นตอนต่างๆ — liberations; the eight stages of release)
       1. ผู้มีรูป มองเห็นรูปทั้งหลาย (ได้แก่ รูปฌาน 4 ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณที่กำหนดวัตถุในกายของตน เช่น สีผม — Remaining in the fine-material sphere, one perceives corporeal forms.)
       2. ผู้มีอรูปสัญญาภายใน มองเห็นรูปทั้งหลายภายนอก (ได้แก่ รูปฌาน 4 ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณกำหนดอารมณ์ภายนอก — Not perceiving internal corporeal forms, one perceives corporeal forms externally)
       3. ผู้น้อมใจดิ่งไปว่า “งาม” (ได้แก่ ฌานของผู้เจริญวรรณกสิณ กำหนดสีที่งามหรือเจริญอัปปมัญญา — One is intent on the thought, ‘It is beautiful’.)
       4. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ โดยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ (One attains and abides in the Sphere of Unbounded Space.)
       5. เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ โดยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ (One attains and abides in the Sphere of Unbounded Consciousness.)
       6. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ โดยมนสิการว่า ไม่มีอะไรเลย (One attains and abides in the Sphere of Nothingness.)
       7. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ (One attatins and abides in the Sphere of Neither-Perception-Nor-Nonperception.)
       8. เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ (One attains and abides in the cessation of Perception and Feeling.)

D.III.262, 288;
A.IV.306.
ที.ปา. 11/350/276; 453/328;
องฺ.อฏฺฐก. 23/163/315.

[***] ศีล 8 ดู [240] ศีล 8.
[***] ศีล 8 ทั้งอาชีวะ ดู [241] ศีล 8 ทั้งอาชีวะ.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 20
[312] สัตตาวาส 9 (ภพเป็นที่อยู่แห่งสัตว์ — Abodes of Beings)
       ข้อ 1-4 ตรงกับ วิญญาณฐิติ 4 ข้อต้น
       5. สัตว์บางพวก ไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา เช่น เหล่าเทพจำพวกอสัญญีสัตว์ (beings without perception and feeling)
       ข้อ 6-8 ตรงกับ วิญญาณฐิติ ข้อที่ 5-7
       9. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ (beings reborn in the sphere of Neither-Perception-Nor-Nonperception)

       ดู [284] วิญญาณฐิติ 7

D.III.263; 288;
A.IV.401
ที.ปา. 11/353/277; 457/329;
องฺ.อฏฺฐก. 23/228/413

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 20
[315] กสิณ 10 (วัตถุอันจูงใจ, วัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ — meditation devices)
       ก. ภูตกสิณ 4 (กสิณคือมหาภูตรูป —Element-Kasina)
           1. ปฐวีกสิณ (กสิณคือดิน, กสิณที่ใช้ดินเป็นอารมณ์ — the Earth Kasina)
           2. อาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ — the Water Kasina)
           3. เตโชกสิณ (กสิณคือไฟ — the Fire Kasina)
           4. วาโยกสิณ (กสิณคือลม — the Air Kasina: Wind Kasina)
       ข. วรรณกสิณ 4 (กสิณคือสี — Color Kasina)
           5. นีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว — the Blue Kasina)
           6. ปีตกสิณ (กสิณคือสีเหลือง — the Yellow Kasina)
           7. โลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง — the Red Kasina)
           8. โอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว — the White Kasina)
       ค. กสิณอื่นๆ
           9. อาโลกกสิณ (กสิณคือแสงสว่าง — the Light Kasina)
           10. อากาสกสิณ (กสิณคือที่ว่างเปล่า, ช่องว่าง — the Space Kasina)

       กสิณที่มาในบาลี เช่น องฺ.ทสก. 24/25/48 (A.V. 46) ไม่มีอาโลกกสิณแต่มีวิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ -- the Consciousness Kasina) เป็นข้อที่ 10 และอากาสกสิณ เป็นข้อที่ 9

Vism.118-169. วิสุทธิ. 1/150-217.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 20
[329] สังโยชน์ 10 (กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล — fetters; bondage)
       ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 (สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพอันต่ำ — lower fetters)
           1. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น — personality-view of individuality)
           2. วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ — doubt; uncertainty)
           3. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร — adherence to rules and rituals)
           4. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ — sensual lust)
           5. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง — repulsion; irritation)

       ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5 (สังโยชน์เบื้องสูง เป็นอย่างละเอียด เป็นไปแม้ในภพอันสูง — higher fetters)
           6. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ — greed for fine-material existence; attachment to realms of form)
           7. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ — greed for immaterial existence; attachment to formless realms)
           8. มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ — conceit; pride)
           9. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน — restlessness; distraction)
           10. อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง — ignorance)

       สังโยชน์ 10 ในหมวดนี้ เป็นแนวพระสูตร หรือ สุตตันตนัย แต่ในบาลีแห่งพระสูตรนั้นๆ มีแปลกจากที่นี้เล็กน้อย คือ ข้อ 4 เป็น กามฉันท์ (ความพอใจในกาม — desire) ข้อ 5 เป็น พยาบาท (ความขัดเคือง, ความคิดร้าย — illwill) ใจความเหมือนกัน

       ลำดับการละสังโยชน์ 10 นี้ ให้ดู [164] มรรค 4.

S.V.61;
A.V.13;
Vbh.377
สํ.ม. 19/349/90;
องฺ.ทสก. 24/13/18;
อภิ.วิ. 35/976-977/509.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 20
[340] ปฏิจจสมุปบาท มีองค์หรือหัวข้อ 12 (การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยกัน, ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆ จึงเกิดมีขึ้น — the Dependent Origination; conditioned arising)
       1/2. อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขาร จึงมี
           (Dependent on lgnorance arise Kamma-Formations)
       3. สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี
           (Dependent on Kamma-Formations arise Consciousness)
       4. วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูป จึงมี
           (Dependent on Consciousness arise Mind and Matter)
       5. นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี
           (Dependent on Mind and Matter arise the Six Sense-Bases.)
       6. สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี
           (Dependent on the Six Sense-Bases arises Contact)
       7. ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา จึงมี
           (Dependent on Contact arise Feeling)
       8. เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี
           (Dependent on Feeling arise Craving.)
       9. ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี
           (Dependent on Craving arises Clinging.)
       10. อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพ จึงมี
           (Dependent on Clinging arises Becoming.)
       11. ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ จึงมี
           (Dependent on Becoming arises Birth.)
       12. ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ จึงมี
           (Dependent on Birth arise Decay and Death.)
       โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
       ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม
           (There also arise sorrow, lamentation, pain, grief and despair.)
       เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ.
       ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้
           (Thus arises this whole mass of suffering.)

       แสดงตามลำดับ จากต้นไปหาปลายอย่างนี้ เรียกว่า อนุโลมเทศนา (teaching in forward order) ถ้าแสดงย้อนกลับจากปลายมาหาต้น ว่า ชรามรณะเป็นต้น มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขาร มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เรียกว่า ปฏิโลมเทศนา (teaching in backward order)

       องค์ (factors) หรือหัวข้อ 12 นั้น มีความหมายโดยสังเขป ดังนี้
       1. อวิชชา ความไม่รู้ คือไม่รู้ในอริยสัจ 4 หรือตามนัยอภิธรรม ว่า อวิชชา 8 ดู [208] อวิชชา 4; [209] อวิชชา 8
       2. สังขาร (Kamma-formations) สภาพที่ปรุงแต่ง ได้แก่ [120] สังขาร 3 หรือ [129] อภิสังขาร 3
       3. วิญญาณ (consciousness) ความรู้แจ้งอารมณ์ ได้แก่ [268] วิญญาณ 6
       4. นามรูป (mind and matter) นามและรูป ได้แก่ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ หรือตามนัยอภิธรรมว่า นามขันธ์ 3 + รูป ดู [216] ขันธ์ 5 (ข้อ 2, 3, 4); [38] รูป 2, 28; [39] มหาภูต หรือ ภูตรูป 4; [40] อุปาทารูป หรือ อุปาทายรูป 24; [41] รูป 2
       5. สฬายตนะ (six sense-bases) อายตนะ 6 ได้แก่ [276] อายตนะภายใน 6
       6. ผัสสะ (contact) ความกระทบ, ความประจวบ ได้แก่ [272] สัมผัส 6
       7. เวทนา (feeling) ความเสวยอารมณ์ ได้แก่ [113] เวทนา 6
       8. ตัณหา (craving) ความทะยานอยาก ได้แก่ ตัณหา 6 มีรูปตัณหา เป็นต้น (ตัณหาในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัสทางกาย และในธัมมารมณ์) ดู [74] ตัณหา 3 ด้วย
       9. อุปาทาน (clinging; attachment) ความยึดมั่น ได้แก่ [214] อุปาทาน 4
       10. ภพ (becoming) ภาวะชีวิต ได้แก่ [98] ภพ 3 อีกนัยหนึ่งว่า ได้แก่ กรรมภพ (ภพคือกรรม — active process of becoming ตรงกับ [129] อภิสังขาร 3) กับ อุปปัตติภพ (ภพคือที่อุบัติ — rebirth-process of becoming ตรงกับ [98] ภพ 3)
       11. ชาติ (birth) ความเกิด ได้แก่ ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้อายตนะ
       12. ชรามรณะ (decay and death) ความแก่และความตาย ได้แก่ ชรา (ความเสื่อมอายุ, ความหง่อมอินทรีย์) กับมรณะ (ความสลายแห่งขันธ์, ความขาดชีวิตินทรีย์)

       ทั้ง 12 ข้อ เป็นปัจจัยต่อเนื่องกันไป หมุนเวียนเป็นวงจร ไม่มีต้นไม่มีปลาย เรียกว่า ภวจักร (วงล้อหรือวงจรแห่งภพ — wheel of existence) และมีข้อควรทราบเกี่ยวกับภวจักรอีกดังนี้
       ก. อัทธา (periods; times) คือ กาล 3 ได้แก่
           1) อดีต = อวิชชา สังขาร
           2) ปัจจุบัน = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
           3) อนาคต = ชาติ ชรา มรณะ (+ โสกะ ฯลฯ)

       ข. สังเขป หรือ สังคหะ 4 (sections; divisions) คือ ช่วง หมวด หรือ กลุ่ม 4 ได้แก่
           1) อดีตเหตุ = อวิชชา สังขาร
           2) ปัจจุบันผล = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
           3) ปัจจุบันเหตุ = ตัณหา อุปาทาน ภพ
           4) อนาคตผล = ชาติ ชรา มรณะ (+ โสกะ ฯลฯ)

       ค. สนธิ 3 (links; connection) คือ ขั้วต่อ ระหว่างสังเขปหรือช่วงทั้ง 4 ได้แก่
           1) ระหว่าง อดีตเหตุ กับ ปัจจุบันผล
           2) ระหว่าง ปัจจุบันผล กับ ปัจจุบันเหตุ
           3) ระหว่าง ปัจจุบันเหตุ กับ อนาคตผล

       ง. วัฏฏะ 3 ดู [105] วัฏฏะ 3
       จ. อาการ 20 (modes; spokes; qualities) คือองค์ประกอบแต่ละอย่าง อันเป็นดุจกำของล้อ จำแนกตามส่วนเหตุ (causes) และส่วนผล (effects) ได้แก่
           1) อดีตเหตุ 5 = อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน ภพ
           2) ปัจจุบันผล 5 = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
           3) ปัจจุบันเหตุ 5 = อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน ภพ
           4) อนาคตผล 5 = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
       อาการ 20 นี้ ก็คือ หัวข้อที่กระจายให้เต็ม ในทุกช่วงของสังเขป 4 นั่นเอง

       ฉ. มูล 2 (roots) คือ กิเลสที่เป็นตัวมูลเหตุ ซึ่งกำหนดเป็นจุดเริ่มต้นในวงจรแต่ละช่วง ได้แก่
           1) อวิชชา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงอดีต ส่งผลถึงเวทนาในช่วงปัจจุบัน
           2) ตัณหา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงปัจจุบัน ส่งผลถึงชรามรณะในช่วงอนาคต

       พึงสังเกตด้วยว่า การกล่าวถึงส่วนประกอบของภวจักรตามข้อ ก. ถึง ฉ. นี้ เป็นคำอธิบายในคัมภีร์รุ่นหลัง เช่น อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นต้น

       การแสดงหลักปฏิจจสมุปบาท ให้เห็นความเกิดขึ้นแห่งธรรมต่างๆ โดยอาศัยปัจจัยสืบทอดกันไปอย่างนี้ เป็น สมุทยวาร คือฝ่ายสมุทัย ใช้เป็นคำอธิบายอริยสัจข้อที่ 2 (สมุทัยสัจ) คือ แสดงให้เห็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ปฏิจจสมุปบาท ที่แสดงแบบนี้ เรียกว่า อนุโลมปฏิจจสมุปบาท — direct Dependent Origination)
       การแสดงในทางตรงข้ามกับข้างต้นนี้ เป็น นิโรธวาร คือฝ่ายนิโรธ ใช้อธิบายอริยสัจข้อที่ 3 (นิโรธสัจ) เรียกว่า ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท (reverse Dependent Origination ซึ่งความจริงก็คือ Dependent Extinction นั่นเอง) แสดงให้เห็นความดับไปแห่งทุกข์ ด้วยอาศัยความดับไปแห่งปัจจัยทั้งหลายสืบทอดกันไป ตัวบทของปฏิจจสมุปบาทแบบปฏิโลมนี้ พึงเทียบจากแบบอนุโลมนั่นเอง เช่น
       1/2. อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ
           (Through the total fading away and cessation of lgnorance, cease Kamma-Formations.)
       3. สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
           (Through the cessation of Kamma-Formations. ceases Consciousness.)
       ฯลฯ
       12. ชาตินิโรธา ชรามรณํ เพราะชาติดับ ชรามรณะ (จึงดับ)
           (Through the cessation go Birth, cease Decay and Death.)
       โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา นิรุชฺฌนฺติ
       ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจ ก็ดับ
           (Also cease sorrow, lamentation, pain, grief and despair.)
       เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ.
       ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
           (Thus comes about the cessation of this whole mass of suffering.)

       นี้เป็นอนุโลมเทศนาของปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท ส่วนปฏิโลมเทศนา ก็พึงแสดงย้อนว่า ชรามรณะ เป็นต้น ดับ เพราะชาติดับ ชาติดับเพราะภพดับ ฯลฯ สังขารดับเพราะอวิชชาดับ อย่างเดียวกับในอนุโลมปฏิจจสมุปบาท
       ปฏิจจสมุปบาทนี้ มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก ที่สำคัญคือ อิทัปปัจจยตา (ภาวะที่มีอันนี้ๆ เป็นปัจจัย — specific conditionality) ธรรมนิยาม (ความเป็นไปอันแน่นอนแห่งธรรมดา, กฎธรรมชาติ — orderliness of nature; natural law) และ ปัจจยาการ (อาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กัน — mode of conditionality; structure of conditions) เฉพาะชื่อหลังนี้เป็นคำที่นิยมใช้ในคัมภีร์อภิธรรม และคัมภีร์รุ่นอรรถกถา.

Vin.I.1;
S.II.1;
Vbh.135;
Vism.517;
Comp.188.
วินย. 4/1/1;
สํ.นิ. 16/1/1;
อภิ.วิ. 35/274/185;
วิสุทธิ. 3/107;
สงฺคห. 45.

[***] ปัจจยาการ 12 ดู [340] ปฏิจจสมุปบาท
[***] สันโดษ 12 ดู [122] สันโดษ 3, 12

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 20
[343] กิจ หรือ วิญญาณกิจ 14 (กิจของวิญญาณ, หน้าที่ของจิต — functions of consciousness; psychic functions)
       1. ปฏิสนธิ (หน้าที่สืบต่อภพใหม่ ได้แก่จิต 19 คือ อุเบกขาสันตีรณะ 2 มหาวิบาก 8 รูปวิบาก 5 อรูปวิบาก 4 — re-linking; rebirth-linking)
       2. ภวังคะ (หน้าที่เป็นองค์ของภพ ได้แก่จิต 19 อย่างเดียวกับปฏิสนธิ — life-continuum; factor for being)
       3. อาวัชชนะ (หน้าที่คำนึงอารมณ์ใหม่ ได้แก่ จิต 2 คือ ปัญจทวาราวัชชนะ และมโนทวาราวัชชนะ — apprehending; adverting)
       4. ทัสสนะ (หน้าที่เห็นรูป ได้แก่ จักขุวิญญาณ 2 — seeing)
       5. สวนะ (หน้าที่ได้ยินเสียง ได้แก่ โสตวิญญาณ 2 — hearing)
       6. ฆายนะ (หน้าที่รู้กลิ่น ได้แก่ ฆานวิญญาณ 2 — smelling)
       7. สายนะ (หน้าที่ลิ้มรส ได้แก่ ชิวหาวิญญาณ 2 — tasting)
       8. ผุสนะ (หน้าที่ถูกต้องโผฏฐัพพะ ได้แก่ กายวิญญาณ 2 — contacting; touching)
       9. สัมปฏิจฉนะ (หน้าที่รับอารมณ์ ได้แก่ สัมปฏิจฉนะ 2 — receiving)
       10. สันตีรณะ (หน้าที่พิจารณาอารมณ์ ได้แก่ สันตีรณะ 3 — investigating)
       11. โวฏฐัพพนะ หรือ โวฏฐปนะ (หน้าที่ตัดสินอารมณ์ ได้แก่ มโนทวาราวัชชนะ 1 — determining)
       12. ชวนะ (หน้าที่แล่นเสพอารมณ์ อันเป็นช่วงที่ทำกรรม ได้แก่ จิต 55 คือ กุศลจิต 21, อกุศลจิต 12, กิริยาจิต 18 คือเว้นอาวัชชนะทั้งสอง โลกุตตรผลจิต 4 — apperception; impulsion)
       13. ตทาลัมพนะ (หน้าที่รับอารมณ์ต่อจากชวนะก่อนตกภวังค์ ได้แก่ จิต 11 คือ มหาวิบาก 8 สันตีรณะ 3 — retention; registration)
       14. จุติ (หน้าที่เคลื่อนจากภพปัจจุบัน ได้แก่ จิต 19 อย่างเดียวกับในปฏิสนธิ — decease; death; shifting)

       จัดโดยฐานที่จิตทำกิจ 14 นี้ มี 10 คือ รวมข้อ 4-5-6-7-8 เป็นข้อเดียว คือ ปัญจวิญญาณฐาน (fivefold sense-impressions) นอกนั้นคงชื่อเดิม
       กิจ 14 นี้ ในวิสุทธิมรรคเรียกว่า วิญญาณปวัตติ หรือ วิญญาณปวัตติอาการ (อาการที่วิญญาณเป็นไป — modes of occurrence of consciousness)

       ดู [356] จิต 89.

Vism.457;
Comp 114.
วิสุทฺธิ. 3/29;
สงฺคห. 15.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 20
[348] ธาตุ 18 (สิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง ตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นไปตามธรรมนิยามคือกำหนดแห่งธรรมดา ไม่มีผู้สร้างผู้บันดาล และมีรูปลักษณะกิจอาการเป็นแบบจำเพาะตัว อันพึงกำหนดเอาเป็นหลักได้แต่ละอย่างๆ — elements)
       1. จักขุธาตุ (ธาตุคือจักขุปสาท — eye element)
       2. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์ — visible-data element)
       3. จักขุวิญญาณธาตุ (ธาตุคือจักขุวิญญาณ — eye-consciousness element)
       4. โสตธาตุ (ธาตุคือโสตปสาท — ear element)
       5. สัททธาตุ (ธาตุคือสัททารมณ์ — sound element)
       6. โสตวิญญาณธาตุ (ธาตุคือโสตวิญญาณ — ear-consciousness element)
       7. ฆานธาตุ (ธาตุคือฆานปสาท — nose element)
       8. คันธธาตุ (ธาตุคือคันธารมณ์ — odor element)
       9. ฆานวิญญาณธาตุ (ธาตุคือฆานวิญญาณ — nose-conscious-ness element)
       10. ชิวหาธาตุ (ธาตุคือชิวหาปสาท — tongue element)
       11. รสธาตุ (ธาตุคือรสารมณ์ — flavor element)
       12. ชิวหาวิญญาณธาตุ (ธาตุคือชิวหาวิญญาณ — tongue-consciousness element)
       13. กายธาตุ (ธาตุคือกายปสาท — body element)
       14. โผฏฐัพพธาตุ (ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์ — tangible-data element)
       15. กายวิญญาณธาตุ (ธาตุคือกายวิญญาณ — body-consciousness element)
       16. มโนธาตุ (ธาตุคือมโน — mind element)
       17. ธรรมธาตุ (ธาตุคือธรรมารมณ์ — mental-data element)
       18. มโนวิญญาณธาตุ (ธาตุคือมโนวิญญาณ — mind-consciousness element)

       ข้อควรสังเกต
           ก. ข้อ 3-6-9-12-15 ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณจิต รวมเป็นจิต = 10
           ข. ข้อ 16 มโนธาตุ ได้แก่ สัมปฏิจฉนะ 2 กับปัญจทวาราวัชชนะ 1 รวมเป็นจิต = 3
           ค. ข้อ 18 มโนวิญญาณธาตุ ได้แก่ จิตนอกเหนือจากนั้นอีก 76
                  รวมเป็นจิตทั้งสิ้น = 89

       ดู [356] จิต 89 หรือ 121.

Vbh.87;
Vism.484;
Comp.183.
อภิ.วิ. 35/124/108;
วิสุทธิ. 3/65;
สงฺคห. 44.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 20
[351] ภูมิ 4 หรือ 31 (ชั้นแห่งจิต, ระดับจิตใจ, ระดับชีวิต — planes of existence; planes of life)
       1. อบายภูมิ 4 (ภูมิที่ปราศจากความเจริญ — planes of loss and woe; unhappy planes)
           1) นิรยะ (นรก — woeful state; hell)
           2) ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดดิรัจฉาน — animal kingdom)
           3) ปิตติวิสัย (แดนเปรต — ghost-sphere)
           4) อสุรกาย (พวกอสูร — host of demons)

       2. กามสุคติภูมิ 7 (กามาวจรภูมิที่เป็นสุคติ, ภูมิที่เป็นสุคติซึ่งยังเกี่ยวข้องกับกาม — sensuous blissful planes)
           1) มนุษย์ (ชาวมนุษย์ — human realm)
           2) จาตุมมหาราชิกา (สวรรค์ชั้นที่ท้าวมหาราช 4 ปกครอง — realm of the Four Great Kings)
           3) ดาวดึงส์ (แดนแห่งเทพ 33 มีท้าวสักกะเป็นใหญ่ — realm of the Thirty-three Gods)
           4) ยามา (แดนแห่งเทพผู้ปราศจากความทุกข์ — realm of the Yama gods)
           5) ดุสิต (แดนแห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน — realm of satisfied gods)
           6) นิมมานรดี (แดนแห่งเทพผู้ยินดีในการเนรมิต — realm of the gods who rejoice in their own creations)
           7) ปรนิมมิตวสวัตดี (แดนแห่งเทพผู้ยังอำนาจให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่นนิรมิตให้ — realm of gods who lord over the creation of others)

       ภูมิทั้ง 11 ใน 2 หมวดนี้ รวมเป็น กามาวจรภูมิ 11 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม — sensuous planes)

       3. รูปาวจรภูมิ 16 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป, ชั้นรูปพรหม — form-planes)
       ก. ปฐมฌานภูมิ 3 (ระดับปฐมฌาน — first-Jhana planes)
           1) พรหมปาริสัชชา (พวกบริษัทบริวารมหาพรหม — realm of great Brahmas’ attendants)
           2) พรหมปุโรหิตา (พวกปุโรหิตมหาพรหม — realm of great Brahmas’ ministers)
           3) มหาพรหม (พวกท้าวมหาพรหม — realm of great Brahmas)

       ข. ทุติยฌานภูมิ 3 (ระดับทุติยฌาน — second-Jhana planes)
           4) ปริตตาภา (พวกมีรัศมีน้อย — realm of Brahmas with limited lustre)
           5) อัปปมาณาภา (พวกมีรัศมีประมาณไม่ได้ — realm of Brahmas with infinite lustre)
           6) อาภัสสรา (พวกมีรัศมีสุกปลั่งซ่านไป — realm of Brahmas with radiant lustre)

       ค. ตติยฌานภูมิ 3 (ระดับตติยฌาน — third-Jhana planes)
           7) ปริตตสุภา (พวกมีลำรัศมีงามน้อย — realm of Brahmas with limited aura)
           8) อัปปมาณสุภา (พวกมีลำรัศมีงามประมาณหามิได้ — realm of Brahmas with infinite aura)
           9) สุภกิณหา (พวกมีลำรัศมีงามกระจ่างจ้า — realm of Brahmas with steady aura)

       ง. จตุตถฌานภูมิ 3—7 (ระดับจตุตถฌาน — fourth-Jhana planes)
           10) เวหัปผลา (พวกมีผลไพบูลย์ — realm of Brahmas with abundant reward)
           11) อสัญญีสัตว์ (พวกสัตว์ไม่มีสัญญา — realm of non-percipient beings)

       (*) สุทธาวาส 5 (พวกมีที่อยู่อันบริสุทธิ์ หรือ ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือ ที่เกิดของพระอนาคามี — pure abodes) คือ
           12) อวิหา (เหล่าท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมบัติของตน หรือผู้ไม่ละไปเร็ว, ผู้คงอยู่นาน — realm of Brahmas who do not fall from prosperity)
           13) อตัปปา (เหล่าท่านผู้ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ใคร หรือผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร — realm of Brahmas who are serene)
           14) สุทัสสา (เหล่าท่านผู้งดงามน่าทัศนา — realm of Brahmas who are beautiful)
           15) สุทัสสี (เหล่าท่านผู้มองเห็นชัดเจนดี หรือผู้มีทัศนาแจ่มชัด — realm of Brahmas who are clear-sighted)
           16) อกนิฏฐา (เหล่าท่านผู้ไม่มีความด้อยหรือเล็กน้อยกว่าใคร, ผู้สูงสุด — realm of the highest or supreme Brahmas)

       4. อรูปาวจรภูมิ 4 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป, ชั้นอรูปพรหม — formless planes)
           1) อากาสานัญจายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีอากาศไม่มีที่สุด — realm of infinite space)
           2) วิญญาณัญจายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีวิญญาณไม่มีที่สุด — realm of infinite consciousness)
           3) อากิญจัญญายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะไม่มีอะไร — realm of nothingness)
           4) เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ — realm of neither perception nor non-perception)

       ปุถุชน พระโสดาบัน และพระสกทาคามี ย่อมไม่เกิดในสุทธาวาสภูมิ; พระอริยะไม่เกิดในอสัญญีภพ และในอบายภูมิ; ในภูมินอกจากนี้ ย่อมมีทั้งพระอริยะ และมิใช่อริยะไปเกิด.
       ในพระไตรปิฎก ไม่พบที่ใดแสดงรายชื่อภูมิทั้งหลายไว้ทั้งหมดในที่เดียว บาลีแสดงรายชื่อภูมิมากที่สุด (มีเฉพาะชั้นสุคติภูมิ) พบที่ ม.อุ. 14/318-332/216-225 (M.III. 99-103) กล่าวตั้งแต่มนุษย์ขึ้นไปจนถึงอรูปาวจรภูมิ.
       ในบาลีแห่งทีฆนิกาย เป็นต้น* แสดงคติ (ที่ไปเกิดของสัตว์, แบบการดำเนินชีวิต — destiny; course of existence) ว่ามี 5 คือ นิรยะ ติรัจฉานโยนิ เปตติวิสัย มนุษย์ และเทพ (พวกเทพ — heavenly world ได้แก่ภูมิ 26 ตั้งแต่จาตุมหาราชิกาขึ้นไปทั้งหมด) จะเห็นว่าภูมิ 31 สงเคราะห์ลงได้ในคติ 5 ทั้งหมด ขาดแต่อสุรกาย อย่างไรก็ดีในอรรถกถาแห่งอิติวุตตกะ** ท่านกล่าวว่า อสูร สงเคราะห์ลงในเปตตวิสัยด้วย จึงเป็นอันสงเคราะห์ลงได้บริบูรณ์ และในคติ 5 นั้น 3 คติแรกจัดเป็นทุคติ (woeful courses) 2 คติหลังเป็นสุคติ (happy courses).
* ที.ปา. 11/281/246; ม.มู 12/170/148; องฺ.นวก. 23/272/450 (D.III.234; M.I.73; A.IV.459)
** อุ.อ. 174; อิติ.อ. 168 (approx., UdA.140; ItA.101)

       อนึ่ง พึงเทียบภูมิ 4 หรือ ภูมิ 31 ข้อนี้ กับ [162] ภูมิ 4 ที่มาในพระบาลีด้วย กล่าวคือ ภูมิ 4 หรือ 31 ชุดนี้ จัดเข้าในภูมิ 3 ข้อต้นใน [162] ภูมิ 4 ดังนี้ อบายภูมิ 4 และกามสุคติภูมิ 7 รวมเข้าเป็นกามาวจรภูมิ (11) ส่วนรูปาวจรภูมิ (16) และ อรูปาวจรภูมิ (4) ตรงกัน รวมภูมิทั้งหมด 31 นี้ เป็นโลกียภูมิ พ้นจากนี้ไปเป็นโลกุตตรภูมิ

       ดู [162] ภูมิ 4; [198] อบาย 4; [207] อรูป 4; [270] สวรรค์ 6.

Comp.137. สงฺคห. 25.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 20
[356] จิต 89 หรือ 121 (ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ, วิญญาณ — mind; thought; consciousness; a state of consciousness)
       “จิต” มีไวพจน์ คือ คำที่ต่างเพียงรูป แต่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน ใช้แทนกันได้หลายคำ เช่น มโน มานัส หทัย บัณฑร มนายตนะ มนินทรีย์ และ วิญญาณ เป็นต้น (อภิ.สํ. 34/21/10; ฯลฯ) คำเหล่านี้มีความหมายเกยกัน มิใช่ตรงกันโดยสมบูรณ์ ใช้แทนกันได้ในบางโอกาส มิใช่เสมอไป
       เมื่อจัดแบ่งสภาวธรรมทั้งหลายเป็นประเภทๆ ที่เรียกว่า ขันธ์ 5 จิตได้แก่ วิญญาณขันธ์ แต่ในคัมภีร์อภิธรรมยุคต่อมา นิยมประมวลสภาวธรรมเข้าเป็น 4 อย่าง เรียกว่า ปรมัตถธรรม 4 จิต เป็นปรมัตถธรรมอย่างที่ 1; ดู [157] ปรมัตถธรรม 4; [216] ขันธ์ 5.
       คัมภีร์อภิธรรมรุ่นอรรถกถา ประมวลเรื่องจิตที่แสดงไว้ในพระอภิธรรมปิฎกแล้ว แจงนับสภาพจิตทั้งหลายไว้ว่ามีจำนวน 89 หรือโดยพิสดารมี 121 เรียกว่า จิต 89 หรือ 121
       เบื้องต้นนี้ จะประมวลจิตทั้งหมดไว้เป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ ก่อน เพื่อสะดวกในการศึกษากำหนดจดจำและทบทวนต่อไป ในที่นี้ พึงทราบวิธีจำแนกประเภท 2 แบบ เปรียบเทียบกัน ดังนี้ *
----------------------------------------------
* ท่านเรียบเรียงเป็นคาถาสรุปความไว้ ดังนี้
               ทฺวาทสากุสลาเนว กุสลาเนกวีสติ
               ฉตฺตึเสว วิปากานิ กฺริยาจิตฺตานิ วีสติ ฯ
               จตุปญฺญาสธา กาเม รูเป ปณฺณรสีริเย
               จิตฺตานิ ทฺวาทสารูเป อฏฺฐธานุตฺตเร ตถา ฯ
               อิตฺถเมกูนนวุติปฺ ปเภทํ ปน มานสํ
               เอกวีสสตํ วาถ วิภชนฺติ วิจกฺขณา ฯ

       ก. โดยชาติประเภท
           1. อกุศลจิต 12
               - โลภมูลจิต 8
               - โทสมูลจิต 2
               - โมหมูลจิต 2
           2. กุศลจิต 21 (37)
               - มหากุศลจิต 8
               - รูปาวจรกุศลจิต 5
               - อรูปาวจรกุศลจิต 4
               - โลกุตตรกุศลจิต 4 (20)
           3. วิปากจิต 36 (52)
               - อกุศลวิบากจิต 7
               - กุศลวิบากอเหตุกจิต 8
               - มหาวิบากจิต 8
               - รูปาวจรวิบากจิต 5
               - อรูปาวจรวิบากจิต 4
               - โลกุตตรวิบากจิต 4 (20)
           4. กิริยาจิต 20
               - อเหตุกกิริยาจิต 3
               - มหากิริยาจิต 8
               - รูปาวจรกิริยาจิต 5
               - อรูปาวจรกิริยาจิต 4

       ข. โดยภูมิประเภท
           1. กามาวจรจิต 54
               1) อกุศลจิต 12
                      - โลภมูลจิต 8
                      - โทสมูลจิต 2
                      - โมหมูลจิต 2
               2) อเหตุกจิต 18
                      - อกุศลวิบากจิต 7
                      - กุศลวิบากอเหตุกจิต 8
                      - อเหตุกกิริยาจิต 3
               3) กามาวจรโสภณจิต 24
                      - มหากุศลจิต 8
                      - มหาวิบากจิต 8
                      - มหากิริยาจิต 8
           2. รูปาวจรจิต 15
               1) รูปาวจรกุศลจิต 5
               2) รูปาวจรวิบากจิต 5
               3) รูปาวจรกิริยาจิต 5
           3. อรูปาวจรจิต 12
               1) อรูปาวจรกุศลจิต 4
               2) อรูปาวจรวิบากจิต 4
               3) อรูปาวจรกิริยาจิต 4
           4. โลกุตตรจิต 8 (x ฌาน 5 = 40)
               1) โลกุตตรกุศลจิต 4 (20)
               2) โลกุตตรวิบากจิต 4 (20)

       หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ ( ) หมายถึงจำนวนอย่างพิสดาร เมื่อนับจิตเป็น 121 (พึงสังเกตว่าจำนวนจะเพิ่มเฉพาะ โลกุตตรจิต อย่างเดียว คือ โลกุตตรจิต อย่างย่อมี 8 อย่างพิสดารจำแนกออกไปตามฌานทั้ง 5 เป็น 40)

       ต่อไปจะแสดง จิต 89 [122] ตามแบบภูมิประเภท (แบบชาติประเภทพึงกำหนดเอาจากแบบภูมิประเภทนี้ ตามหัวข้อที่แสดงไว้แล้ว)
       1. กามาวจรจิต 54 (จิตที่เป็นไปในกามภูมิ — consciousness of the Sense-Sphere)
           1) อกุศลจิต 12 (จิตอันเป็นอกุศล — immoral consciousness) อกุศลจิตมีแต่ที่เป็นกามาวจรนี้เท่านั้น คือ
               โลภมูลจิต 8 (จิตมีโลภะเป็นมูล — consc rooted in greed)
                      1. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      2. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      3. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      4. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      5. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      6. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      7. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      8. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

                      1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีการชักนำ
                      2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีการชักนำ
                      3. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีการชักนำ
                      4. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีการชักนำ
                      5. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีการชักนำ
                      6. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีการชักนำ
                      7. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีการชักนำ
                      8. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีการชักนำ

                      1. One consc, acc by joy, asso with wrong view, unprompted.*
* consc = consciousness; acc = accompanied; asso = associated; diss = dissociated; indif = indiffernce.

                      2. One consc, acc by joy, asso with wrong view, prompted.
                      3. One consc, acc by joy, disso from wrong view, unprompted.
                      4. One consc, acc by joy, disso from wrong view, prompted.
                      5. One consc, acc by indif, asso with wrong view, unprompted.
                      6. One consc, acc by indif, asso with wrong view, prompted.
                      7. One consc, acc by indif, disso from wrong view, unprompted.
                      8. One consc, acc by indif, disso from wrong view, prompted.

               โทสมูลจิต 2 (จิตมีโทสะเป็นมูล — consc rooted in hatred)
เรียก ปฏิฆสัมปยุตตจิต ก็ได้.

                      1. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      2. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

                      1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัสสเวทนา ประกอบด้วยปฏิฆะ ไม่มีการชักนำ
                      2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัสสเวทนา ประกอบด้วยปฏิฆะ มีการชักนำ

                      1. One consc, acc by grief, asso with resentment, unprompted.
                      2. One consc, acc by grief, asso with resentment, prompted.

               โมหมูลจิต หรือ โมมูหจิต 2 (จิตมีโมหะเป็นมูล — consc rooted in delusion)
                      1. อุเปกฺขาสหคตํ วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ
                      2. อุเปกฺขาสหคตํ อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตํ

                      1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยวิจิกิจฉา
                      2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยอุทธัจจะ

                      1. One consc, acc by indif, asso with uncertainty.
                      2. One consc, acc by indif, asso with restlessness.

           2) อเหตุกจิต 18 (จิตอันไม่มีสัมปยุตตเหตุ คือ ไม่ประกอบด้วยเหตุ 6 ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ — rootless consc)
                อกุศลวิบากจิต 7 (จิตที่เป็นผลของอกุศล — rootless resultant-of-immorality consc)
                      1. อุเปกฺขาสหคตํ จกฺขุวิญฺญาณํ
                      2. อุเปกฺขาสหคตํ โสตวิญฺญาณํ
                      3. อุเปกฺขาสหคตํ ฆานวิญฺญาณํ
                      4. อุเปกฺขาสหคตํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ
                      5. ทุกฺขสหคตํ กายวิญฺญาณํ
                      6. อุเปกฺขาสหคตํ สมฺปฏิจฺฉนฺนํ
                      7. อุเปกฺขาสหคตํ สนฺตีรณํ

                      1. จักขุวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      2. โสตวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      3. ฆานวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      4. ชิวหาวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      5. กายวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยทุกขเวทนา
                      6. สัมปฏิจฉันนจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      7. สันตีรณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา

                      1. Eye-consc, acc by indif.
                      2. Ear-consc, acc by indif.
                      3. Nose-consc, acc by indif.
                      4. Tongue-consc, acc by indif.
                      5. Body-consc, acc by pain.
                      6. Receiving-consc, acc by indif.
                      7. Investigating-consc, acc by indif.

               กุศลวิบากอเหตุกจิต 8 (จิตที่เป็นผลของกุศล ไม่มีสัมปยุตตเหตุ — rootless resultant-of-morality consc)
                      1. อุเปกฺขาสหคตํ จกฺขุวิญฺญาณํ
                      2. อุเปกฺขาสหคตํ โสตวิญฺญาณํ
                      3. อุเปกฺขาสหคตํ ฆานวิญฺญาณํ
                      4. อุเปกฺขาสหคตํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ
                      5. สุขสหคตํ กายวิญฺญาณํ
                      6. อุเปกฺขาสหคตํ สมฺปฏิจฺฉนฺนํ
                      7. โสมนสฺสสหคตํ สนฺตีรณํ
                      8. อุเปกฺขาสหคตํ สนฺตีรณํ

                      1. จักขุวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      2. โสตวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      3. ฆานวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      4. ชิวหาวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      5. กายวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยสุขเวทนา
                      6. สัมปฏิจฉันนจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      7. สันตีรณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา
                      8. สันตีรณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา

                      1. Eye-consc, acc by indif.
                      2. Ear-consc, acc by indif.
                      3. Nose-consc, acc by indif.
                      4. Tongue-consc, acc by indif.
                      5. Body-consc, acc by pleasure.
                      6. Receiving-consc, acc by indif.
                      7. Investigating-consc acc by joy.
                      8. Investigating-consc, acc by indif.

               อเหตุกกริยาจิต 3 (จิตที่เป็นเพียงกิริยา ไม่มีสัมปยุตตเหตุ — rootless functional consc)
                      1. อุเปกฺขาสหคตํ ปญฺจทฺวาราวชฺชนํ
                      2. อุเปกฺขาสหคตํ มโนทฺวาราวชฺชนํ
                      3. โสมนสฺสสหคตํ หสิตุปฺปาทจิตฺตํ

                      1. ปัญจทวาราวัชชนจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      2. มโนทวาราวัชชนจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      3. หสิตุปปาทจิต ที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา
----------------------------------------------
จิตที่รำพึงถึงอารมณ์ที่กระทบทวารทั้ง 5
จิตที่รำพึงถึงอารมณ์อันมาถึงคลองในมโนทวาร = โวฏฐัพพนะ
จิตที่ทำให้เกิดการแย้มยิ้มของพระอรหันต์

                      1. Five-sense-door adverting consc, acc by indif.
                      2. Mind-door adverting consc, acc by indif.
                      3. Smile-producing consc, acc by joy.

           3) กามาวจรโสภณจิต 24 (จิตดีงามที่เป็นไปในกามภูมิ — Sense-Sphere beautiful consc)
               มหากุศลจิต หรือ สเหตุกกามาวจรกุศลจิต 8 (จิตที่เป็นกุศลยิ่งใหญ่ หรือ กุศลจิตที่เป็นไปในกามภูมิ มีสัมปยุตตเหตุ — moral consc)
                      1. โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      2. โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      3. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      4. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      5. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      6. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      7. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      8. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

                      1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
                      2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
                      3. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
                      4. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
                      5. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
                      6. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
                      7. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
                      8. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ

                      1. One consc, acc by joy, asso with knowledge, unprompted.
                      2. One consc, acc by joy, asso with knowledge, prompted.
                      3. One consc, acc by joy, diss from knowledge, unprompted.
                      4. One consc, acc by joy, diss from knowledge, prompted.
                      5. One consc, acc by indif, asso with knowledge, unprompted.
                      6. One consc, acc by indif, asso with knowledge, prompted.
                      7. One consc, acc by indif, diss from knowledge, unprompted.
                      8. One consc, acc by indif, diss from knowledge, prompted.

               มหาวิบากจิต หรือ สเหตุกกามาวจรวิบากจิต 8 (จิตอันเป็นผลของมหากุศล หรือวิบากจิตที่เป็นไปในกามภูมิ มีสัมปยุตตเหตุ — resultant consc)
                      (เหมือนกับมหากุศลจิตทุกข้อ)

               มหากิริยาจิต หรือ สเหตุกกามาวจรกริยาจิต 8 (จิตอันเป็นกริยาอย่างที่ทำมหากุศล แต่ไม่มีวิบาก ได้แก่การกระทำมหากุศลของพระอรหันต์ หรือกิริยาจิตในกามภูมิ มีสัมปยุตตเหตุ — functional consc)
                      (เหมือนกับมหากุศลจิตทุกข้อ)

       2. รูปาวจรจิต 5 (จิตอันเป็นไปในภูมิ — Form-Sphere consciousness)
           1) รูปาวจรกุศลจิต 5 (กุศลจิตที่เป็นไปในภูมิ ได้แก่จิตของผู้เข้าถึงรูปฌาน — Form-Sphere moral consc)
               1. วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ปฐมชฺฌานกุสลจิตฺตํ
               2. วิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ทุติยชฺฌานกุสลจิตฺตํ
               3. ปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ตติยชฺฌานกุสลจิตฺตํ
               4. สุเขกคฺคตาสหิตํ จตุตฺถชฺฌานกุสลจิตฺตํ
               5. อุเปกฺเขกคฺคตาสหิตํ ปญฺจมชฺฌานกุสลจิตฺตํ

               1. ปฐมฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
               2. ทุติยฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
               3. ตติยฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา
               4. จตุตถฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
               5. ปัญจมฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา

               1. First Jhana consc with initial application, sustained application, rapture, happiness and one-pointedness.
               2. Second Jhana consc with sustained application, rapture, happiness and one-pointedness.
               3. Third Jhana consc with rapture, happiness and one-pointedness.
               4. Fourth Jhana consc with happiness and one-pointedness.
               5. Fifth Jhana consc with equanimity and one-pointedness.

           2) รูปาวจรวิบากจิต 5 (วิบากจิตที่เป็นไปในรูปภูมิ คือ จิตที่เป็นผลของรูปาวจรกุศล — Form-Sphere resultant consc)
               (เหมือนกับรูปาวจรกุศลจิตทุกข้อ เปลี่ยนแต่คำท้ายเป็น วิปากจิตฺตํ)

           3) รูปาวจรกิริยาจิต 5 (กิริยาจิตที่เป็นไปในรูปภูมิ คือ จิตของพระอรหันต์ผู้กระทำรูปาวจรกุศล — Form-Sphere resultant consc)
               (เหมือนกับรูปาวจรกุศลจิตทุกข้อ เปลี่ยนแต่คำท้ายเป็น กฺริยาจิตฺตํ)

       3. อรูปาวจรจิต 12 (จิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ — Formless-Sphere consc)
           1) อรูปาวจรกุศลจิต 4 (กุศลจิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ ได้แก่ จิตของผู้เข้าถึงอรูปฌาน — Formless-Sphere moral consc)
               1. อากาสานญฺจายตนกุสลจิตฺตํ
               2. วิญฺญาณญฺจายตนกุสลจิตฺตํ
               3. อากิญฺจญฺญายตนกุสลจิตฺตํ
               4. เนวสญฺญานาสญฺญายตนกุสลจิตฺตํ

               1. กุศลจิตประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌาน
               2. กุศลจิตประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน
               3. กุศลจิตประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌาน
               4. กุศลจิตประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

               1. Moral Jhana consc dwelling on the infinity of space.
               2. Moral Jhana consc dwelling on the infinity of consciousness.
               3. Moral Jhana consc dwelling on nothingness.
               4. Moral Jhana consc wherein perception neither is nor is not.

           2) อรูปาวจรวิบากจิต (วิบากจิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ คือ จิตที่เป็นผลของอรูปาวจรกุศล — Formless-Sphere resultant consc)
               (เหมือนกับอรูปาวจรกุศลจิตทุกข้อ เปลี่ยนแต่คำท้ายเป็น วิปากจิตฺตํ)

           3) อรูปาวจรกิริยาจิต (กิริยาจิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ คือ จิตของพระอรหันต์ ผู้กระทำอรูปาวจรกุศล — Formless-Sphere functional consc)
               (เหมือนกับอรูปาวจรกุศลจิตทุกข้อ เปลี่ยนแต่คำท้ายเป็น กฺริยาจิตฺตํ)

       4. โลกุตตรจิต 8 หรือ 40 (จิตที่เป็นโลกุตตระ — supermundane consc)
           1) โลกุตตรกุศลจิต 4 หรือ 20 (กุศลจิตที่เป็นโลกุตตระ คือ กุศลจิตที่ทำให้ข้ามพ้นอยู่เหนือโลก — moral supermundane consc)
               1. โสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ
               2. สกทาคามิมคฺคจิตฺตํ
               3. อนาคามิมคฺคจิตฺตํ
               4. อรหตฺตมคฺคจิตฺตํ

               1. จิตที่ประกอบด้วยโสตาปัตติมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงกระแสอันไหลไปสู่นิพพานธาตุ
               2. จิตที่ประกอบด้วยสกทาคามิมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี
               3. จิตที่ประกอบด้วยอนาคามิมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงความเป็นพระอนาคามี
               4. จิตที่ประกอบด้วยอรหัตตมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงความเป็นพระอรหันต์

               1. Consc belonging to the Path of Stream-Entry.
               2. Consc belonging to the Path of Once-Returning.
               3. Consc belonging to the Path of Non-Returning.
               4. Consc belonging to the Path of Arahantship.

           อย่างพิสดาร ให้แจกมัคคจิต 4 นี้ ด้วยฌาน 5 ตามลำดับ ก็จะได้จำนวน 20 ตามตัวอย่างดังนี้
               วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ปฐมชฺฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ ฯลฯ

           2) โลกุตตรวิบากจิต 4 หรือ 20 (วิบากจิตที่เป็นโลกุตตระ คือ จิตที่เป็นผลของโลกุตตรกุศล — resultant supermundane consc)
               1. โสตาปตฺติผลจิตฺตํ
               2. สกทาคามิผลจิตฺตํ
               3. อนาคามิผลจิตฺตํ
               4. อรหตฺตผลจิตฺตํ

               1. จิตที่ประกอบด้วยโสตาปัตติผลญาณ
               2. จิตที่ประกอบด้วยสกทาคามิผลญาณ
               3. จิตที่ประกอบด้วยอนาคามิผลญาณ
               4. จิตที่ประกอบด้วยอรหัตตผลญาณ

               1. Consc belonging to the Fruition of Stream-Entry.
               2. Consc belonging to the Fruition of Once-Returning.
               3. Consc belonging to the Fruition of Non-Returning.
               4. Consc belonging to the Fruition of Arahantship.

           อย่างพิสดาร ให้แจกผลจิต 4 นี้ ด้วยฌาน 5 ตามลำดับ ก็จะได้จำนวน 20 ตามตัวอย่างดังนี้
               วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ปฐมชฺฌานโสตาปตฺติผลจิตฺตํ ฯลฯ

Comp.81-93. สงฺคห. 1-6.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิญญาณ&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%C7%D4%AD%AD%D2%B3&detail=on


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]