ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ คติ ”             ผลการค้นหาพบ  13  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 13
กามสุคติภูมิ กามาวจรภูมิที่เป็นสุคติ คือ มนุษย์และสวรรค์ ๖
       (จะแปลว่า “สุคติภูมิที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม” ก็ได้)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 13
กายคตาสติ, กายคติ สติที่เป็นไปในกาย, สติอันพิจารณากายให้เห็นตามสภาพที่มีส่วนประกอบ ซึ่งล้วนเป็นของไม่สะอาด ไม่งาม น่ารังเกียจ ทำให้เกิดความรู้เท่าทัน ไม่หลงใหลมัวเมา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 13
คติ
       1. การไป, ทางไป, ความเป็นไป, ทางดำเนิน, วิธี, แนวทาง, แบบอย่าง
       2. ที่ไปเกิดของสัตว์, ภพที่สัตว์ไปเกิด, แบบการดำเนินชีวิต มี ๕ คือ
           ๑. นิรยะ นรก
           ๒. ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน
           ๓. เปตติวิสัย แดนเปรต
           ๔. มนุษย์ สัตว์มีใจสูงรู้คิดเหตุผล
           ๕. เทพ ชาวสวรรค์ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงอกนิฏฐพรหม
       (ท่านว่าในที่นี้ จัดอสูรเข้าในเปตตวิสัยด้วย)
       ๓ คติแรกเป็น ทุคติ (ที่ไปเกิดอันชั่ว หรือแบบดำเนินชีวิตที่ไม่ดี)
       ๒ คติหลังเป็น สุคติ (ที่ไปเกิดอันดี หรือแบบดำเนินชีวิตที่ดี)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 13
จันทรคติ การนับวันโดยถือเอาการเดินของพระจันทร์เป็นหลัก
       เช่น ๑ ค่ำ ๒ ค่ำ และเดือนอ้าย เดือนยี่ เดือน ๓ เป็นต้น
       คู่กับ สุริยคติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 13
ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่ (ข้อ ๑ ในอคติ ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 13
ทิฏฐานุคติ การดำเนินตามสิ่งที่ได้เห็น, แบบอย่าง, ตัวอย่าง, การทำตามอย่าง, ทางดำเนินตามที่ได้มองเห็น, เช่นพระผู้ใหญ่ปฏิบัติตนชอบ ก็เป็นทิฏฐานุคติของพระผู้น้อย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 13
ทุคติ คติชั่ว, ภูมิชั่ว, ทางดำเนินที่มีความเดือดร้อน, สถานที่ไปเกิดอันชั่ว,
       ที่เกิดที่ไม่ดีมากไปด้วยความทุกข์ ได้แก่ นรก ดิรัจฉาน เปรต
       (บางทีรวม อสุรกาย ด้วย);
       ตรงข้ามกับ สุคติ;
       ดู คติ, อบาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 13
โทสาคติ ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน, ลำเอียงเพราะชัง
       (ข้อ ๒ ในอคติ ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 13
ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว (ข้อ ๔ ในอคติ ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 13
โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา (ข้อ ๓ ในอคติ ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 13
สุคติ คติดี, ทางดำเนินที่ดี, สถานที่ที่ดีที่สัตว์โลกซึ่งทำกรรมดีตามแล้วไปเกิด ได้แก่ มนุษย์และเทพ;
       ตรงข้ามกับ ทุคติ; ดู คติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 13
สุริยคติ การนับวันโดยถือเอาการเดินของพระอาทิตย์เป็นหลัก เช่นวันที่ ๑, ๒, ๓ เดือนเมษายน เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 13
อคติ ฐานะอันไม่พึงถึง, ทางความประพฤติที่ผิด,
       ความลำเอียง มี ๔ คือ
           ๑. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรัก
           ๒. โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง
           ๓. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา
           ๔. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=คติ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%A4%B5%D4


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]