ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ รณ ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กรณียะ เรื่องที่ควรทำ, ข้อที่พึงทำ, กิจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
กรรณ หู

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
กรรมกรณ์ เครื่องลงอาชญา, ของสำหรับใช้ลงโทษ เช่น โซ่ ตรวน ขื่อ คา เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยหมดสงสัยในนามรูป คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้ว่า เพราะอะไรเกิดนามรูปจึงเกิด เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
กิงกรณีเยสุ ทักขตา ความเป็นผู้ขยันช่วยเอาใจใส่ในกิจธุระของเพื่อนภิกษุ สามเณร
       (ข้อ ๕ ในนาถกรณธรรม)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
กิจจาธิกรณ์ การงานเป็นอธิกรณ์ คือ เรื่องที่เกิดขึ้นอันสงฆ์ต้องจัดต้องทำ หรือกิจธุระที่สงฆ์จะพึงทำ;
       อรรถกถาพระวินัยว่า หมายถึงกิจอันจะพึงทำด้วยประชุมสงฆ์ ได้แก่ สังฆกรรม ทั้ง ๔ คือ
       อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
คำไวยากรณ์ คำร้อยแก้ว; ดู ไวยากรณ์ 2.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
จรณะ เครื่องดำเนิน, ปฏิปทา คือข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชา มี ๑๕ คือ
       สีลสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศีล
       อปัณณกปฏิปทา ๓
       สัทธรรม ๗ และ
       ฌาน ๔

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
ฉัพพรรณรังสี รัศมี ๖ ประการ ซึ่งเปล่งออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า คือ
       ๑. นีล เขียวเหมือนดอกอัญชัน
       ๒. ปีต เหลืองเหมือนหรดาลทอง
       ๓. โลหิต แดงเหมือนตะวันอ่อน
       ๔. โอทาต ขาวเหมือนแผ่นเงิน
       ๕. มัญเชฐ สีหงสบาท เหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่
       ๖. ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
ติสรณคมนูปสัมปทา อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์
       เป็นวิธีบวชพระที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสาวกบวชกุลบุตรในครั้งต้นพุทธกาล ต่อมาเมื่อทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมแล้ว ก็ทรงอนุญาตการบวชด้วยไตรสรณคมน์นี้ ให้เป็นวิธีบวชสามเณรสืบมา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
ตีรณปริญญา กำหนดรู้ขั้นพิจารณา
       คือ กำหนดรู้สังขารด้วยการพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ ว่าสิ่งนั้นๆ มีลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
       (ข้อ ๒ ในปริญญา ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
ไตรสรณะ ที่พึ่งสาม คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
ไตรสรณคมน์ การถึงสรณะสาม, การถึงรัตนะสาม คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
       คำถึงไตรสรณะดังนี้ :
           “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” (ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ),
           “ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ” (ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นสรณะ),
           “สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ” (ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ);
           “ทุติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” (ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒),
           “ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ” (ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒),
           “ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ” (ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒);
           “ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” (ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓),
           “ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ” (ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓),
           “ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ” (ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
ทวดึงสกรรมกรณ์ วิธีลงโทษ ๓๒ อย่าง ซึ่งใช้ในสมัยโบราณ
       เช่น โบยด้วยแส้ โบยด้วยหวาย ตีด้วยกระบอง ตัดมือ ตัดเท้า ตัดหู ตัดจมูก ตัดศีรษะ เอาขวานผ่าอก เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
ทวัตติงสกรรมกรณ์ ดู ทวดึงสกรรมกรณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๑๐ ดู อภิณหปัจจเวกขณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
ธรรมวิจารณ์ การใคร่ครวญพิจารณาข้อธรรมต่างๆ ว่าแต่ละข้อมีอรรถ คือความหมายอย่างไร ตื้นลึกเพียงไร แล้วแสดงความคิดเห็นออกมาว่า ธรรมข้อนั้นข้อนี้มีอรรถ คือความหมายอย่างนั้นอย่างนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
นาถกรณธรรม ธรรมทำที่พึ่ง, ธรรมสร้างที่พึ่ง,
       คุณธรรมที่ทำให้พึ่งตนได้ มี ๑๐ อย่าง คือ
           ๑. ศีล มีความประพฤติดี
           ๒. พาหุสัจจะ ได้เล่าเรียนสดับฟังมาก
           ๓. กัลยาณมิตตตา มีมิตรดีงาม
           ๔. โสวจัสสตา เป็นคนว่าง่าย ฟังเหตุผล
           ๕. กิงกรณีเยสุ ทักขตา เอาใจใส่กิจธุระของเพื่อนร่วมหมู่คณะ
           ๖. ธัมมกามตา เป็นผู้ใคร่ธรรม
           ๗. วิริยะ ความขยันหมั่นเพียร
           ๘. สันตุฏฐี มีความสันโดษ
           ๙. สติ มีสติ
           ๑๐. ปัญญา มีปัญญาเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
นิวรณ์, นิวรณธรรม ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี,
       สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม มี ๕ อย่าง คือ
           ๑. กามฉันท์ พอใจในกามคุณ
           ๒. พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น
           ๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซา
           ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ
           ๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
นิวรณูปกิเลส โทษเครื่องเศร้าหมองคือนิวรณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยออกไปเสีย หรือสลัดออกได้
       เป็นการพ้นที่ยั่งยืนตลอดไป ได้แก่ นิพพาน,
       เป็นโลกุตตรวิมุตติ
       (ข้อ ๕ ในวิมุตติ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
นิสสารณา การไล่ออก, การขับออกจากหมู่ เช่น
       นาสนะสามเณรผู้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าออกไปเสียจากหมู่ (อยู่ในอปโลกนกัมม์)
       ประกาศถอนธรรมกถึกผู้ไม่แตกฉานในธรรมในอรรถ
       คัดค้านคดีโดยหาหลักฐานมิได้ ออกเสียจากการระงับอธิกรณ์ (อยู่ในญัตติกัมม์);
       คู่กับ โอสารณา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
บุพกรณ์ ธุระอันจะพึงทำในเบื้องต้น, งานที่จะต้องกระทำทีแรก,
       เรื่องที่ควรตระเตรียมให้เสร็จก่อน เช่น
           บุพกรณ์ของการทำอุโบสถ ได้แก่ เมื่อถึงวันอุโบสถ
               พระเถระลงอุโบสถก่อน
               สั่งภิกษุให้ปัดกวาดโรงอุโบสถตามไฟ
               ตั้งน้ำฉันน้ำใช้
               ตั้งหรือปูลาดอาสนะไว้;
           บุพกรณ์แห่งการกรานกฐิน คือ
               ซักผ้า ๑
               กะผ้า ๑
               ตัดผ้า ๑
               เนาหรือด้นผ้าที่ตัดแล้ว ๑
               เย็บเป็นจีวร ๑
               ย้อมจีวรที่เย็บแล้ว ๑
               ทำกัปปะคือพินทุ ๑
       ดังนี้เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
บุรณะ, บูรณะ ทำให้เต็ม, ซ่อมแซม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
บุรณมี วันเพ็ญ, วันกลางเดือน, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
บูรณะ ดู บุรณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
โบกขรณี สระบัว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
ใบปวารณา ใบแจ้งแก่พระว่าให้ขอได้
       ตัวอย่าง
           “ข้าพเจ้าขอถวายจตุปัจจัยอันควรแก่สมณบริโภค แด่พระคุณเจ้า เป็นมูลค่า....บาท......สต.
           หากพระคุณเจ้าต้องประสงค์สิ่งใดอันควรแก่สมณบริโภคแล้ว ขอได้โปรดเรียกร้องจากกัปปิยการก ผู้ปฏิบัติของพระคุณเจ้า เทอญ”

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
ปกรณ์ คัมภีร์, ตำรา, หนังสือ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
ปกิรณกะ ข้อเบ็ดเตล็ด, ข้อเล็กๆ น้อยๆ, ข้อปลีกย่อย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
ปฏิญญาตกรณะ “ทำตามรับ” ได้แก่ ปรับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับเป็นสัตย์
       การแสดงอาบัติก็จัดเข้าในข้อนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
ปฏิสังขรณ์ ซ่อมแซมทำให้กลับดีเหมือนเดิม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
ปฏิสารณียกรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงให้กลับไป
       หมายถึง การที่สงฆ์ลงโทษให้ภิกษุไปขอขมาคฤหัสถ์ กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุปากกล้า ด่าว่าคฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เป็นทายก อุปฐากสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ เป็นทางจะยังคนผู้ยังไม่เลื่อมใสมิให้เลื่อมใส จะยังคนผู้เลื่อมใสอยู่แล้วให้เป็นอย่างอื่นไปเสีย;
       ปฏิสาราณียกรรม ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
ปวารณา
       1. ยอมให้ขอ, เปิดโอกาสให้ขอ
       2. ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน, เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือน,
           ชื่อสังฆกรรมที่พระสงฆ์ทำในวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษา คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่าวันมหาปวารณา โดยภิกษุทุกรูปจะกล่าวปวารณา คือ เปิดโอกาสให้กันและกันว่ากล่าวตักเตือน ได้ดังนี้
           “สงฺฆมฺภนฺเต ปวาเรมิ, ทิฏฺเฐน วา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา; วทนฺตุ มํ, อายสฺมนฺโต อนุกมฺปํ อุปาทาย; ปสฺสนฺโต ปฏิกฺกริสฺสามิ. ทุติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ ปวาเรมิ,.... ตติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ ปวาเรมิ,....”
           แปลว่า “ข้าพเจ้าขอปวารณกะสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ตาม ด้วยได้ยินก็ตาม ด้วยน่าระแวงสงสัยก็ตาม, ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงว่ากล่าวกะข้าพเจ้าด้วยอาศัยความหวังดี, เอ็นดู, เมื่อข้าพเจ้ามองเห็น จักแก้ไข แม้ครั้งที่สอง... แม้ครั้งที่สาม...” (ภิกษุผู้มีพรรษาสูงสุดในที่ประชุมว่า อาวุโส แทน ภนฺเต)
       ปวารณาเป็นสังฆกรรมประเภทญัตติกรรม คือ ทำโดยตั้งญัตติ (คำเผดียงสงฆ์) อย่างเดียว ไม่ต้องสวดอนุสาวนา (คำขอมติ); เป็นกรรมที่ต้องทำโดยสงฆ์ปัญจวรรค คือ มีภิกษุตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป
       ปวารณา ถ้าเรียกชื่อตามวันที่ทำแบ่งได้เป็น ๓ อย่าง คือ
           ๑. ปัณณรสิกา ปวารณา (ปวารณาที่ทำโดยปกติในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ คือวันออกพรรษา)
           ๒. จาตุททสิกา ปวารณา (ในกรณีที่มีเหตุสมควร ท่านอนุญาตให้เลื่อนปวารณาออกไปปักษ์หนึ่งหรือเดือนหนึ่งโดยประกาศให้สงฆ์ทราบ ถ้าเลื่อนออกไปปักษ์หนึ่งก็ตกในแรม ๑๔ ค่ำ เป็นจาตุททสิกา แต่ถ้าเลื่อนไปเดือนหนึ่งก็เป็นปัณณรสิกาอย่างข้อแรก)
           ๓. สามัคคีปวารณา (ปวารณาที่ทำในวันสามัคคี คือ ในวันที่สงฆ์ซึ่งแตกกันแล้ว กลับปรองดองเข้ากันได้ อันเป็นกรณีพิเศษ)
       ถ้าแบ่งโดยการก คือ ผู้ทำปวารณาแบ่งเป็น ๓ อย่าง คือ
           ๑. สังฆปวารณา (ปวารณาที่ทำโดยสงฆ์คือมีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป)
           ๒. คณปวารณา (ปวารณาที่ทำโดยคณะคือมีภิกษุ ๒-๔ รูป)
           ๓. ปุคคลปวารณา (ปวารณาที่ทำโดยบุคคลคือมีภิกษุรูปเดียว)
       และ โดยนัยนี้ อาการที่ทำปวารณาจึงมี ๓ อย่าง คือ
           ๑. ปวารณาต่อที่ชุมนุม (ได้แก่ สังฆปวารณา)
           ๒. ปวารณากันเอง (ได้แก่ คณปวารณา)
           ๓. อธิษฐานใจ (ได้แก่ ปุคคลปวารณา)
       ในการทำสังฆปวารณา ต้องตั้งญัตติคือ ประกาศแก่สงฆ์ก่อน แล้วภิกษุทั้งหลายจึงจะกล่าวคำปวารณาอย่างที่แสดงไว้ข้างต้น ตามธรรมเนียมท่านให้ปวารณารูปละ ๓ หน แต่ถ้ามีอันตรายคือเหตุฉุกเฉินขัดข้องจะทำอย่างนั้นไม่ได้ตลอด (เช่น แม้แต่ทายกมาทำบุญ) จะปวารณารูปละ ๒ หน หรือ ๓ หน หรือ พรรษาเท่ากันว่าพร้อมกันก็ได้ ทั้งนี้ จะปวารณาอย่างไรก็พึงประกาศให้สงฆ์รู้ด้วยญัตติก่อน
       โดยนัยนี้ การตั้งญัตติในสังฆปวารณา จึงมีต่างๆ กัน ดังมีอนุญาตไว้ดังนี้
           ๑. เตวาจิกา ญัตติ คือ จะปวารณา ๓ หน พึงตั้งญัตติว่า :
               “สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ, อชฺช ปวารณา ปณฺณรสี, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ, สงฺโฆ เตวาจิกํ ปวาเรยฺย”
               แปลว่า “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ปวารณาวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณาอย่างกล่าววาจา ๓ หน”
               (ถ้าเป็นวันแรม ๑๔ ค่ำ หรือวันสามัคคีก็พึงเปลี่ยน ปณฺณรสี เป็น จาตุทฺทสี หรือ สามคฺคี ตามลำดับ)
           ๒. เทฺววาจิกาญัตติ คือจะปวารณา ๒ หน ตั้งญัตติอย่างเดียวกัน แต่เปลี่ยน เตวาจิกํ เป็น เทฺววาจิกํ
           ๓. เอกวาจิกา ญัตติ คือจะปวารณาหนเดียว ตั้งญัตติอย่างเดียวกันนั้น แต่เปลี่ยน เตวาจิกํ เป็น เอกวาจิกํ
           ๔. สมานวัสสิกา ญัตติ คือ จัดให้ภิกษุที่มีพรรษาเท่ากัน ปวารณาพร้อมกัน ตั้งญัตติก็เหมือน แต่เปลี่ยน เตวาจิกํ เป็น สมานวสฺสิกํ (๓ หน ๒ หน หรือ หนเดียวได้ทั้งนั้น)
           ๕. สัพพสังคาหิกา ญัตติ คือ แบบตั้งครอบทั่วไป ไม่ระบุว่ากี่หน ตั้งญัตติคลุมๆ โดยลงท้ายว่า.....สงฺโฆ ปวาเรยฺย (ตัดคำว่า เตวาจิกํ ออกเสีย และไม่ใส่คำใดอื่นแทนลงไป อย่างนี้จะปวารณากี่หนก็ได้);
       ธรรมเนียมคงนิยมแต่แบบที่ ๑,๒ และ ๔ และท่านเรียกชื่อปวารณาตามนั้นด้วยว่า เตวาจิกา ปวารณา, เทฺววาจิกา ปวารณา, สมานวัสสิกา ปวารณา ตามลำดับ
       ในการทำคณปวารณา ถ้ามีภิกษุ ๓-๔ รูป พึงตั้งญัตติก่อนว่า:
           “สุณนฺตุ เม อายสฺมนฺโต, อชฺช ปวารณา ปณฺณรสี, อทายสฺมนฺตานํ ปตฺตกลฺลํ, มยํ อญฺญมญฺญํ ปวาเรยฺยาม”
           แปลว่า “ท่านเจ้าข้า ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ปวารณาวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว เราทั้งหลายพึงปวารณากันเถิด”
           (ถ้า ๓ รูปว่า อายสฺมนฺตา แทน อายสฺมนฺโต)
       จากนั้นแต่ละรูปปวารณา ๓ หน ตามลำดับพรรษาดังนี้:
           มี ๓ รูปว่า “อหํ อาวุโส อายสฺมนฺเต ปวาเรมิ ฯเปฯ วทนฺตุ มํ อายสฺมนฺตา อนุกมฺปํ อุปาทาย, ปสฺสนฺโต ปฏิกฺกริสฺสามิ. ทุติยมฺปิ อาวุโส ฯเปฯ ตติยมฺปิ อาวุโส ฯเปฯ ปฏิกฺกริสฺสามิ” (ถ้ารูปอ่อนกว่าว่า เปลี่ยน อาวุโส เป็น ภนฺเต) ;
           มี ๔ รูป เปลี่ยน อายสฺมนฺเต และ อายสฺมนฺตา เป็น อายสฺมนฺโต อย่างเดียว;
           ถ้ามี ๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติ คำปวารณาก็เหมือนอย่างนั้น เปลี่ยนแต่ อายสฺมนฺเต เป็น อายสฺมนฺตํ, อายสฺมนฺตา เป็น อายสฺมา และ วทนฺตุ เป็น วทตุ
       ถ้าภิกษุอยู่รูปเดียว เธอพึงตระเตรียมสถานที่ไว้ และคอยภิกษุอื่นจนสิ้นเวลา เมื่อเห็นว่าไม่มีใครอื่นแล้ว พึงทำ ปุคคลปวารณา โดยอธิษฐาน คือกำหนดใจว่า
           “อชฺช เม ปวารณา” แปลว่า “ปวารณาของเราวันนี้”
       เหตุที่จะอ้างเพื่อเลื่อนวันปวารณาได้ คือ จะมีภิกษุจากที่อื่นมาสมทบปวารณาด้วย โดยหมายจะคัดค้านผู้นั้นผู้นี้ให้เกิดอธิกรณ์ขึ้น หรืออยู่ด้วยกันผาสุก ถ้าปวารณาแล้วต่างก็จะจาริกจากกันไปเสีย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
ปัจจัตถรณะ ผ้าปูนอน,
       บรรจถรณ์ก็ใช้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
ปัจจุทธรณ์ ถอนคืน คือถอนคืนผ้าที่อธิษฐานไว้ เช่น
       อธิษฐานสบง คือ ตั้งใจกำหนดไว้ให้เป็นสบงครอง ภายหลังไม่อยากให้เป็นสบงครอง ก็ถอนคืนสบงนั้น เรียกว่า ปัจจุทธรณ์สบง,
       ตัวอย่าง ปัจจุทธรณ์สบงว่า “อิมํ อนฺตรวาสกํ ปจฺจุทฺธรามิ”
       (เปลี่ยน อนฺตรวาสกํ เป็น สงฺฆาฏึ เป็น อุตฺตราสงฺคํ เป็นต้น สุดแต่ว่าจะถอนอะไร)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
ปุรณมี วันเพ็ญ, วันพระจันทร์เต็มดวง, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
ผรณาปีติ ความอิ่มใจซาบซ่าน เมื่อเกิดขึ้นทำให้รู้สึกซาบซ่านทั่วสารพางค์
       (ข้อ ๕ ในปีติ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
พยากรณ์ ทาย, ทำนาย, คาดการณ์;
       ทำให้แจ้งชัด, ตอบปัญหา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
พยากรณศาสตร์ วิชาหรือตำราว่าด้วยการทำนาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
พรรณนา เล่าความ, ขยายความ, กล่าวถ้อยคำให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
มโนรถปูรณี ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในอังคุตตรนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก
       พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงจากอรรถกถาภาษาสิงหฬ เมื่อ พ.ศ. ใกล้จะถึง ๑๐๐๐

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
มรณะ ความตาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
มรณธรรม มีความตายเป็นธรรมดา, ธรรมคือความตาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
มรณภัย ภัยคือความตาย, ความกลัวต่อความตาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
มรณสติ ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาให้ใจสงบจากอกุศลธรรม เกิดความไม่ประมาท และไม่หวาดกลัว คิดเร่งขวนขวายบำเพ็ญกิจ และทำความดี
       (ข้อ ๗ ในอนุสติ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
มรณัสสติ ดู มรณสติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
มหรรณพ ห้วงน้ำใหญ่, ทะเล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
มหาบุรุษลักษณพยากรณศาสตร์ วิชาว่าด้วยการทำนายลักษณะของมหาบุรุษ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
มหาปวารณา ดู ปวารณา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
รูปพรรณ เงินทองที่ทำเป็นเครื่องใช้หรือเครื่องประดับ, ลักษณะ, รูปร่าง และสี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
ลักษณะพยากรณศาสตร์ ตำราว่าด้วยการทายลักษณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
วรรณะ ผิว, สี, เพศ, ชนิด, พวก, เหล่า, หนังสือ, คุณความดี, ความยกย่องสรรเสริญ;
       ชนชั้นที่จัดแบ่งออกไปตามหลักศาสนาพราหมณ์เรียกว่า วรรณะ ๔
       คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
วรรณนา คำพรรณนา,
       คำอธิบายความ คล้ายกับคำว่า อรรถกถา
       แต่คำว่า อรรถกถา ใช้หมายความทั้งคัมภีร์
       คำว่า วรรณนา ใช้เฉพาะคำอธิบายเป็นตอนๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
วิจารณ์
       1. พิจารณา, ไตร่ตรอง
       2. สอบสวน, ตรวจตรา
       3. คิดการ, กะการ, จัดเตรียม, จัดแจง, ดูแล, จัดดำเนินการ
       4. ในภาษาไทย มักหมายถึง ติชม, แสดงความคิดเห็นในเชิงตัดสินคุณค่า ชี้ข้อดีข้อด้อย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
วิจารณญาณ ปัญญาที่ไตร่ตรองพิจารณาเหตุผล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ประกอบด้วยวิชชา ๓ หรือวิชชา ๘ และจรณะ ๑๕ อันเป็นปฏิปทาเครื่องบรรลุวิชชานั้น, มีความรู้ประเสริฐ ความประพฤติประเสริฐ
       (ข้อ ๓ ในพุทธคุณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
วิวาทาธิกรณ์ วิวาทที่จัดเป็นอธิกรณ์,
       การวิวาทซึ่งเป็นเรื่องที่สงฆ์จะต้องเอาธุระดำเนินการพิจารณาระงับ ได้แก่การเถียงกันปรารภพระธรรมวินัย เช่นเถียงกันว่า สิ่งนี้เป็นธรรม เป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย ข้อนี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ข้อนี้ไม่ได้ตรัสไว้ ดังนี้เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
วิศาขปุรณมี วันเพ็ญเดือน ๖, วันกลางเดือน ๖, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖, ดิถีมีพระจันทร์เต็มดวง ประกอบด้วยวิศาขฤกษ์ (วิศาขนักษัตร)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
วิสาขปุรณมี วันเพ็ญเดือน ๖, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
       ดู วิศาขปุรณมี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
เวสารัชชกรณธรรม ธรรมทำความกล้าหาญ, ธรรมเป็นเหตุให้กล้าหาญ,
       คุณธรรมที่ทำให้เกิดความแกล้วกล้า มี ๕ อย่าง คือ
           ๑. ศรัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ
           ๒. ศีล มีความประพฤติดีงาม
           ๓. พาหุสัจจะ ได้สดับหรือศึกษามาก
           ๔. วิริยารัมภะ เพียรทำกิจอยู่อย่างจริงจัง
           ๕. ปัญญา รู้รอบและรู้ชัดเจนในสิ่งที่ควรรู้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
ไวยากรณ์
       1. ระเบียบของภาษา, วิชาว่าด้วยระเบียบแห่งภาษา
       2. คำหรือข้อความที่เป็นร้อยแก้ว, ความร้อยแก้ว; คู่กับ คาถา 1.
       3. พุทธพจน์ที่เป็นคำร้อยแก้ว (ข้อ ๓ ในนวังคสัตถุศาสน์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
สดับปกรณ์ “เจ็ดคัมภีร์” หมายถึง คัมภีร์พระอภิธรรมทั้ง ๗ ในพระอภิธรรมปิฎก
       เขียนเต็มว่า สัตตัปปกรณ์ (ดู ในคำว่า ไตรปิฎก)
       แต่ในภาษาไทยคำนี้ความหมายกร่อนลงมา เป็นคำสำหรับใช้ในพิธีกรรม เรียกกิริยาที่พระภิกษุกล่าวคำพิจารณาสังขารเมื่อจะชักผ้าบังสุกุลในพิธีศพเจ้านายว่า สดับปกรณ์ ตรงกับที่เรียกในพิธีศพทั่วๆ ไปว่า บังสุกุล (ซึ่งก็เป็นศัพท์ที่มีความหมายกร่อนเช่นเดียวกัน);
       ใช้เป็นคำนาม หมายถึง พิธีสวดมาติกาบังสุกุลในงานศพ ปัจจุบันใช้เฉพาะศพเจ้านาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
สรณะ ที่พึ่ง, ที่ระลึก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
สรณคมน์ การถึงสรณะ, การยึดเอาเป็นที่พึ่ง, การยึดเอาเป็นที่ระลึก;
       ดู ไตรสรณคมน์, รัตนตรัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
สรณคมนอุปสัมปทา วิธีอุปสมบทด้วยการเปล่งวาจาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ
       เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสาวกใช้อุปสมบทกุลบุตรในตอนปฐมโพธิกาล
       ต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมแล้ว การบวชด้วยสรณคมน์ ก็ใช้สำหรับการบรรพชาสามเณรสืบมา
       ติสรณคมนูปสัมปทา ก็เรียก;
       ดู อุปสัมปทา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
สรณตรัย ที่พึ่งทั้งสาม คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์;
       ดู รัตนตรัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
สังวรรณนา พรรณนาด้วยดี, อธิบายความ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
สัจฉิกรณะ การทำให้แจ้ง, การประสบ, การเข้าถึง,
       การบรรลุ เช่น ทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน คือ บรรลุนิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
สัตตบรรณคูหา ชื่อถ้ำที่ภูเขาเวภารบรรพต ในกรุงราชคฤห์
       เป็นที่พระพุทธเจ้าเคยทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์ และเป็นที่ทำ สังคายนาครั้งแรก;
       เขียน สัตตปัณณิคูหา หรือ สัตตบัณณคูหา ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
สัตตาหะ สัปดาห์, เจ็ดวัน;
       มักใช้เป็นคำเรียกย่อ หมายถึง สัตตาหกรณียะ

สัตตาหกรณียะ ธุระเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดในระหว่างพรรษาได้ ๗ วัน ได้แก่
       ๑. ไปเพื่อพยาบาลสหธรรมิกหรือมารดาบิดาผู้เจ็บไข้
       ๒. ไปเพื่อระงับสหธรรมิกที่กระสันจะสึก
       ๓. ไปเพื่อกิจสงฆ์ เช่น ไปหาทัพพสัมภาระมาซ่อมวิหารที่ชำรุดลงในเวลานั้น
       ๔. ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของทายกซึ่งส่งมานิมนต์เพื่อการบำเพ็ญกุศลของเขา และธุระอื่นจากนี้ที่เป็นกิจลักษณะอนุโลมตามนี้ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
สาธารณ์ ทั่วไป, ทั่วไปแก่หมู่, ของส่วนรวม ไม่ใช่ของใครโดยเฉพาะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
สาธารณสถาน สถานที่สำหรับคนทั่วไป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
สาธารณสิกขาบท สิกขาบทที่ทั่วไป, สิกขาบทที่ใช้บังคับทั่วกันหรือเสมอเหมือนกัน
       หมายถึง สิกขาบทสำหรับภิกษุณี ที่เหมือนกันกับสิกขาบทของภิกษุ
       เช่น ปาราชิก ๔ ข้อต้นในจำนวน ๘ ข้อของภิกษุณีเหมือนกันกับสิกขาบทของภิกษุ;
       เทียบ อสาธารณสิกขาบท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
สามัคคีปวารณา กรณีอย่างสามัคคีอุโบสถนั่นเอง เมื่อทำปวารณา เรียกว่าสามัคคีปวารณา และวันที่ทำนั้นก็เรียก วันสามัคคี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
สารณา การให้ระลึก ได้แก่ กิริยาที่สอบถามเพื่อฟังคำให้การของจำเลย, การสอบสวน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
สาราณียธรรม ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง, ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำให้มีความเคารพกัน ช่วยเหลือกัน และสามัคคีพร้อมเพรียงกันมี ๖ อย่างคือ
       ๑. ตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร
       ๒. ตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร
       ๓. ตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร
       ๔. แบ่งปันลาภที่ได้มาโดยชอบธรรม
       ๕. รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกับเพื่อนภิกษุสามเณร (มีสีลสามัญญตา)
       ๖. มีความเห็นร่วมกันได้กับภิกษุสามเณรอื่นๆ (มีทิฏฐิสามัญญตา);
           สารณียธรรม ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
สิงคิวรรณ ผ้าเนื้อเกลี้ยงสีดังทองสิงคี บุตรของมัลลกษัตริย์ชื่อปุกกุสะ ถวายแด่พระพุทธเจ้าในวันที่จะปรินิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
สุวรรณภูมิ “แผ่นดินทอง”, “แหลมทอง”,
       ดินแดนที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระโสณะและพระอุตตระ หัวหน้าพระศาสนทูตสายที่ ๘ (ใน ๙ สาย) ไปประกาศพระศาสนา
       ปราชญ์หลายท่านสันนิษฐานว่า ได้แก่ดินแดนบริเวณจังหวัดนครปฐม
       (พม่าว่า ได้แก่เมืองสะเทิมในประเทศพม่า)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
อกรณียะ กิจอันบรรพชิตไม่ควรทำ ๔ อย่าง ทำแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ คือ
       ๑. เสพเมถุน
       ๒. ลักของเขาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป
       ๓. ฆ่ามนุษย์
       ๔. อวดคุณพิเศษ (อุตริมนุสธรรม) ที่ไม่มีในตน
           (สำหรับภิกษุณี มี ๘);
       ดู อนุศาสน์


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=รณ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C3%B3


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]