ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ุก ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กัตตุกัมยตาฉันทะ ความพอใจคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ, ความต้องการที่จะทำ
       ได้แก่ ฉันทะที่เป็นกลางๆ ดีก็ได้ ชั่วก็ได้
       ต่างจากกามฉันทะที่เป็นแต่ฝ่ายชั่ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
กายุชุกตา ความซื่อตรงแห่งนามกาย, ธรรมชาติที่ทำนามกายคือเจตสิกทั้งหลายให้ซื่อตรง
       (ข้อ ๑๘ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
กุกกุจจะ ความรำคาญใจ,
       ความเดือดร้อนใจ เช่นว่า
           สิ่งดีงามที่ควรทำ ตนมิได้ทำ
           สิ่งผิดพลาดเสียหายไม่ดีไม่งาม ที่ไม่ควรทำ ตนได้ทำแล้ว,
       ความยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ,
       ความรังเกียจหรือกินแหนงในตนเอง,
       ความระแวงสงสัย เช่นว่า
           ตนได้ทำความผิดอย่างนั้นๆ แล้วหรือมิใช่
           สิ่งที่ตนได้ทำไปแล้วอย่างนั้นๆ เป็นความผิดข้อนี้ๆ เสียแล้วกระมัง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
กุกฺกุจฺจปกตตา อาการที่จะต้องอาบัติด้วยสงสัยแล้วขืนทำลง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
ข้าวสุก ในโภชนะ ๕ อย่างคือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑ ขนมแห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑
       ข้าวสุกในที่นี้ หมายถึงธัญญชาติทุกชนิด ที่หุงให้สุกแล้ว เช่นข้าวเจ้าข้าวเหนียว หรือที่ตกแต่งเป็นของต่างชนิด เช่น ข้าวมัน ข้าวผัด เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
ครุกกรรม ดู ครุกรรม

ครุกรรม กรรมหนักทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล
       ในฝ่ายกุศล ได้แก่ ฌานสมาบัติ
       ในฝ่ายอกุศล ได้แก่ อนันตริยกรรม
       กรรมนี้ให้ผลก่อนกรรมอื่น เหมือนคนอยู่บนที่สูงเอาวัตถุต่างๆ ทิ้งลงมาอย่างไหนหนักที่สุด อย่างนั้นถึงพื้นก่อน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
ครุกาบัติ อาบัติหนัก ได้แก่
       อาบัติปาราชิก เป็นอาบัติที่แก้ไขไม่ได้ ภิกษุต้องแล้วจำต้องสึกเสีย และ
       อาบัติสังฆาทิเสส อยู่กรรมจึงจะพ้นได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
จตุกกะ หมวด ๔

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
จตุกกัชฌาน ฌานหมวด ๔ คือ รูปฌานที่แบ่งเป็น ๔ ขั้น อย่างที่รู้จักกันทั่วไป;
       ดู ฌาน ๔;
       เทียบ ปัญจกัชฌาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
จิตตลหุกา ความเบาแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำให้จิตเบาพร้อมที่จะเคลื่อนไหวทำหน้าที่
       (ข้อ ๑๑ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
จิตตุชุกตา ความซื่อตรงแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำให้จิตซื่อตรงต่อหน้าที่การงานของมัน
       (ข้อ ๑๙ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
ชตุกัณณีมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
ชนมายุกาล เวลาที่ดำรงชีวิตอยู่แต่ปีที่เกิดมา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
ชาติปุกกุสะ พวกปุกกุสะ เป็นคนชั้นต่ำพวกหนึ่งในระบบวรรณะของศาสนาพราหมณ์ มีอาชีพคอยเก็บกวาดขยะดอกไม้ตามสถานที่บูชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
ฐานานุกรม ลำดับตำแหน่งยศที่พระภิกษุผู้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์แล้ว มีอำนาจตั้งให้แก่พระภิกษุชั้นผู้น้อยตามทำเนียบ เช่น พระปลัด พระสมุห์ พระใบฎีกา เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
ถือบังสุกุล ใช้ผ้าเฉพาะที่ได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อ
       คือ ผ้าที่เขาทิ้งแล้วมาทำเครื่องนุ่งห่ม ไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย;
       ดู ปังสุกูลิกังคะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง, การแก้ไขปรับปรุงความคิดเห็นให้ถูกต้อง
       ข้อ ๑๐ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
ทุกะ หมวด ๒

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
ทุกกฏ “ทำไม่ดี” ชื่ออาบัติเบาอย่างหนึ่ง เป็นความผิดถัดรองลงมาจากปาฏิเทสนียะ
       เช่น ภิกษุสวมเสื้อ สวมหมวก ใช้ผ้าโพกศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ;
       ดู อาบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
ทุกข์
       1. สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง
           (ข้อ ๒ ในไตรลักษณ์)
       2. อาการแห่งทุกข์ที่ปรากฎขึ้นหรืออาจปรากฎขึ้นได้แก่คน
           (ได้ในคำว่า ทุกขสัจจะ หรือ ทุกขอริยสัจจ์ ซึ่งเป็นข้อที่ ๑ ในอริยสัจจ์ ๔)
       3. สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา,
           ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกาย คือทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ)
           แต่ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา ๓) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
ทุกขขันธ์ กองทุกข์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
ทุกขขัย สิ้นทุกข์, หมดทุกข์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
ทุกขตา ความเป็นทุกข์, ภาวะที่คงทนอยู่ไม่ได้;
       ดู ทุกขลักษณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
ทุกขนิโรธ ความดับทุกข์ หมายถึง พระนิพพาน
       เรียกสั้นๆ ว่า นิโรธ
       เรียกเต็มว่า ทุกขนิโรธอริยสัจจ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หมายถึงมรรคมีองค์แปด
       เรียกสั้นๆ ว่า มรรค
       เรียกเต็มว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
ทุกขลักษณะ เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่าเป็นทุกข์,
       ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์คือ
           ๑. ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา
           ๒. ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
           ๓. เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์
           ๔. แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข;
       ดู อนิจจลักษณะ, อนัตตลักษณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
ทุกขเวทนา ความรู้สึกลำบาก, ความรู้สึกเจ็บปวด, ความรู้สึกเป็นทุกข์, การเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย
       (ข้อ ๒ ในเวทนา ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
ทุกขสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ หมายถึง ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
       เรียกสั้นๆ ว่า สมุทัย (ข้อ ๒ ในอริยสัจจ์ ๔)
       เรียกเต็มว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
ทุกขสัญญา ความหมายรู้ว่าเป็นทุกข์, การกำหนดหมายให้มองเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
ทุกรกิริยา กิริยาที่ทำได้โดยยาก, การทำความเพียรอันยากที่ใครๆ จะทำได้ ได้แก่
       การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรมวิเศษ ด้วยวิธีการทรมานตนต่างๆ
       เช่น กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะและอดอาหาร เป็นต้น
       ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติก่อนตรัสรู้ อันเป็นฝ่ายอัตตกิลมถานุโยค และได้ทรงเลิกละเสียเพราะไม่สำเร็จประโยชน์ได้จริง;
       เขียนเต็มเป็น ทุกกรกิริยา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
ธาตุกถา ชื่อคัมภีร์ที่ ๓ แห่งพระอภิธรรมปิฎก
       ว่าด้วยการสงเคราะห์ธรรมทั้งหลายเข้ากับ ขันธ์ อายตนะ และธาตุ
       (พระไตรปิฎกเล่ม ๓๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
ธาตุกัมมัฏฐาน กรรมฐานที่พิจารณาธาตุเป็นอารมณ์,
       กำหนดพิจารณาร่างกายแยกเป็นส่วนๆ ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันอยู่ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
นิพัทธทุกข์ ทุกข์เนืองนิตย์, ทุกข์ประจำ, ทุกข์เป็นเจ้าเรือน
       ได้แก่ หนาวร้อน หิวกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
บังสุกุล ผ้าบังสุกุล หรือ บังสุกุลจีวร;
       ในภาษาไทยปัจจุบัน มักใช้เป็นคำกริยา หมายถึงการที่พระสงฆ์ชักเอาผ้าซึ่งเขาทอดวางไว้ที่ศพ ที่หีบศพหรือที่สายโยงศพ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
บังสุกุลจีวร ผ้าที่เกลือกกลั้วด้วยฝุ่น, ผ้าที่ได้มาจากกองฝุ่น, กองหยากเยื่อ ซึ่งเขาทิ้งแล้ว ตลอดถึงผ้าห่อคลุมศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ไม่ใช่ผ้าที่ชาวบ้านถวาย,
       ปัจจุบันมักหมายถึง ผ้าที่พระชักจากศพโดยตรงก็ตาม จากสายโยงศพก็ตาม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ แท่นหินมีสีดุจผ้ากัมพลเหลือง เป็นที่ประทับของพระอินทร์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
       (อรรถกถาว่า สีแดง)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
ปกิณณกทุกข์ ทุกข์เบ็ดเตล็ด, ทุกข์เรี่ยราย,
       ทุกข์จร ได้แก่ โศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
ปังสุกูลิกังคะ องค์แห่งผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, ใช้เฉพาะแต่ผ้าบังสุกุล คือ ไม่รับจีวรจากทายก เที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกุลมาเย็บย้อมทำจีวรเอง;
       (ข้อ ๑ ในธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
ปัณฑุกะ ชื่อภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในพวกภิกษุเหลวไหลทั้ง ๖ ที่เรียกว่า ฉัพพัคคีย์
       (พระพวก ๖ ที่ชอบก่อเรื่องเสียหายทำให้พระพุทธเจ้าต้องทรงบัญญัติสิกขาบทหลายข้อ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
ปาทุกา รองเท้าประเภทหนึ่ง แปลกันมาว่า “เขียงเท้า”
       เป็นรองเท้าที่ต้องห้ามทางพระวินัย อันภิกษุไม่พึงใช้;
       ดู รองเท้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
ปุกกุสะ บุตรของกษัตริย์มัลละ เป็นศิษย์ของอาฬารดาบส กาลามโคตร ได้ถวายผ้าสิงคิวรรณแด่พระพุทธเจ้า ในวันปรินิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
ปุนัพพสุกะ ชื่อภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในภิกษุเหลวไหล ๖ รูป ที่เรียกว่าพระฉัพพัคคีย์
       คู่กับพระอัสสชิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
ผ้าบังสุกุล ดู บังสุกุล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
ผาสุก ความสบาย, ความสำราญ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
พาหิรทุกข์ ทุกข์ภายนอก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
พินทุ จุด, วงกลมเล็กๆ ในที่นี้หมายถึง พินทุกัปปะ

พินทุกัปปะ การทำพินทุ, การทำจุดเป็นวงกลม อย่างใหญ่เท่าแววตานกยูง อย่างเล็กเท่าหลังตัวเรือด ที่มุมจีวร ด้วยสีเขียวคราม โคลน หรือดำคล้ำ เพื่อทำจีวรให้เสียสีหรือมีตำหนิตามวินัยบัญญัติ และเป็นเครื่องหมายช่วยให้จำได้ด้วย;
       เขียนพินทุกัป ก็ได้, คำบาลีเดิมเป็นกัปปพินทุ, เรียกกันง่ายๆ ว่า พินทุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
มธุกะ มะทราง, น้ำคั้นมะทรางเจือน้ำแล้ว เรียกมธุกปานะ เป็นสัตตาหกาลิกอย่างหนึ่ง;
       ดู ปานะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
มุจจิตุกัมยตาญาณ ดู มุญจิตุกัมยตาญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย,
       ความหยั่งรู้ที่ทำให้ต้องการจะพ้นไปเสีย คือ ต้องการจะพ้นไปเสียจากสังขารที่เบื่อหน่ายแล้ว ด้วยนิพพิทานุปัสสนาญาณ
       (ข้อ ๖ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
ยุกติ ชอบ, ถูกต้อง, สมควร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
รุกข์, รุกขชาติ ต้นไม้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
รุกขมูลิกังคะ องค์แห่งผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร ไม่อยู่ในที่มุงบัง
       (ข้อ ๙ ในธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
ลหุกาบัติ อาบัติเบา คือ อาบัติที่มีโทษเล็กน้อย
       ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต;
       คู่กับ ครุกาบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
วัตถุกาม พัสดุอันน่าใคร่ ได้แก่ กามคุณ ๕
       คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าใคร่ น่าปรารถนา น่าชอบใจ;
       ดู กาม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
วิปากทุกข์ ทุกข์ที่เป็นผลของกรรมชั่ว เช่น ถูกลงอาชญาได้รับความทุกข์หรือตกอบาย หรือเกิดวิปฏิสารคือเดือดร้อนใจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
วิวาทมูลกทุกข์ ทุกข์มีวิวาทเป็นมูล, ทุกข์เกิดเพราะการทะเลาะกันเป็นเหตุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
ศุกลปักษ์ “ฝ่ายขาว, ฝ่ายสว่าง” หมายถึง ข้างขึ้น;
       ชุณหปักษ์ ก็เรียก;
       ตรงข้ามกับ กัณหปักษ์ หรือ กาฬปักษ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
สงสารทุกข์ ทุกข์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
สภาวทุกข์ ทุกข์ที่เป็นเองตามคติแห่งธรรมดา
       ได้แก่ ทุกข์ประจำสังขาร คือ ชาติ ชรา มรณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
สหคตทุกข์ ทุกข์ไปด้วยกัน, ทุกข์กำกับ ได้แก่ทุกข์ที่พ่วงมาด้วยกับผลอันไพบูลย์ มีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นต้น แต่ละอย่างย่อมพัวพันด้วยทุกข์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
สังขารทุกข์ ทุกข์เพราะเป็นสังขาร คือเพราะเป็นสภาพอันถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น จึงต้องผันแปรไปตามเหตุปัจจัย เป็นสภาพอันปัจจัยบีบคั้นขัดแย้ง คงทนอยู่มิได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
สัญเจตนิกา มีความจงใจ, มีเจตนา;
       เป็นชื่อสังฆาทิเสสสิกขาบทที่หนึ่ง ข้อที่จงใจทำอสุจิให้เคลื่อน
       เรียกเต็มว่า สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
สัตตุผง สัตตุก้อน ข้าวตู เสบียงเดินทางที่ ๒ พ่อค้า คือ ตปุสสะกับภัลลิกะถวายแด่พระพุทธเจ้า ขณะที่ประทับอยู่ใต้ต้นราชายตนะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
สันตาปทุกข์ ทุกข์ คือความร้อนรุ่ม,
       ทุกข์ร้อน ได้แก่ความกระวนกระวายใจ เพราะถูกไฟกิเลส คือราคะ โทสะ และโมหะแผดเผา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
สาธุการ การเปล่งวาจาว่า สาธุ (แปลว่า “ดีแล้ว” “ชอบแล้ว”) เพื่อแสดงความเห็นชอบด้วย ชื่นชม หรือยกย่องสรรเสริญ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
สามุกกังสิกา แปลตามอรรถกถาว่า “พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นถือเอาเอง” คือ ทรงเห็นด้วยพระสยัมภูญาณ (ตรัสรู้เอง) ได้แก่ อริยสัจจเทศนา,
       ตามแบบเรียน แปลว่า ธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง คือไม่ต้องปรารภคำถามเป็นต้นของผู้ฟัง ได้แก่เทศนาเรื่องอริยสัจจ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
สุกกะ น้ำกาม, น้ำอสุจิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
สุกโกทนะ กษัตริย์ศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๒ ของพระเจ้าสีหหนุ
       เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระบิดาของพระอานนท์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
สุกขวิปัสสก พระผู้เจริญวิปัสสนาล้วนสำเร็จพระอรหัต มิได้ทรงคุณวิเศษอย่างอื่นอีก
       เช่น ไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญา เป็นต้น;
       ดู อรหันต์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
สุกรขาตา ชื่อถ้ำ อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ พระนครราชคฤห์
       ณ ที่นี้ พระสารีบุตรได้สำเร็จพระอรหัต เพราะได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปริพาชกชื่อทีฆนขะ;
       ดู ทีฆนขะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
อทุกขมสุข (ความรู้สึก)ไม่ทุกข์ไม่สุข, ความรู้สึกเฉยๆ (ข้อ ๓ ในเวทนา ๓)
       บางทีเรียก อุเบกขา (คือ อุเบกขาเวทนา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ
       คือ ความเห็นผิดว่า คนเราจะได้ดีหรือชั่วตามคราวเคราะห์ ถึงคราวจะดี ก็ดีเอง ถึงคราวจะร้าย ก็ร้ายเอง ไม่มีเหตุอื่นจะทำให้คนดีคนชั่วได้
       (ข้อ ๒ ในทิฏฐิ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
อาคันตุกะ ผู้มาหา, ผู้มาจากที่อื่น, ผู้จรมา, แขก;
       (ในคำว่า “ถ้าปรารถนาจะให้อาคันตุกะได้รับแจกด้วย”) ภิกษุผู้จำพรรษามาจากวัดอื่น,
       ถ้าภิกษุผู้มีหน้าที่เป็นจีวรภาชกะ (ผู้แจกจีวร) ปรารถนาจะให้อาคันตุกะมีส่วนได้รับแจกจีวรด้วย ต้องอปโลกน์ คือ บอกเล่าขออนุมัติต่อภิกษุเจ้าถิ่น คือผู้จำพรรษาในวัดนั้น (ซึ่งเรียกว่าวัสสิกะ หรือ วัสสาวาสิกะ แปลว่า “ภิกษุผู้อยู่จำพรรษา”)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
อาคันตุกภัต อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุอาคันตุกะ คือผู้จรมาจากต่างถิ่น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
อาคันตุกวัตร ธรรมเนียมที่ภิกษุควรปฏิบัติต่ออาคันตุกะ คือภิกษุผู้จรมา เช่น
       ขวนขวายต้อนรับ
       แสดงความนับถือ
       จัดหรือบอกให้น้ำให้อาสนะ
       ถ้าอาคันตุกะจะมาพักมาอยู่ พึงแสดงเสนาสนะ
       บอกที่ทางและกติกาสงฆ์ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
อายุกษัย, อายุขัย การสิ้นอายุ, ความตาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
อายุกัป, อายุกัปป์ การกำหนดแห่งอายุ, กำหนดอายุ, ช่วงเวลาแต่เกิดถึงตายตามปกติ หรือที่ควรจะเป็น ของสัตว์ประเภทนั้นๆ ในยุคสมัยนั้นๆ;
       ดู กัป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
อาหารปริเยฏฐิทุกข์ ทุกข์เกี่ยวกับการแสวงหาอาหาร, ทุกข์ในการหากิน
       ได้แก่ อาชีวทุกข์ คือ ทุกข์เนื่องด้วยการเลี้ยงชีพ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
อุกกลชนบท ชื่อชนบทที่พ่อค้า ๒ คน คือ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะ เดินทางจากมาแล้ว
       ได้พบพระพุทธเจ้าขณะที่ประทับอยู่ภายใต้ต้นราชายตนะ ภายหลังตรัสรู้ใหม่ๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
อุกโกฏนะ การรื้อฟื้น, การฟื้นเรื่อง, ฟื้นคดี


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ุก
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D8%A1


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]