ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก  หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
มิลินทปัญหา
ตถาคตัสส ผรุสวาจานัตถีติปัญหา ที่ ๒
             ราชา สมเด็จบรมกษัตริย์จึงมีพระราชโองการถามอรรถปัญหาสืบไปเล่าว่า ภนฺเต นาคเสน สธุสะพระผู้เป็นเจ้าพระนาคเสนผู้ปรีชาชาติพรหมจารีย์รุ่งเรืองในศีล ภาสิตํ เจตํ ถ้อยคำอันนี้ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรอัครสาวกเบื้องขวากล่าวไว้ว่า อาวุโส ดูรกอาวุโส ตถาคโต สมเด็จพระพุทธองค์เจ้าทรงไว้ซึ่งกายสมาจารและวจีสมาจาร พระกายก็อ่อนน้อม พระพุทธภาษิตก็อ่อนหวาน สมเด็จพระพิชิตมารจะได้ประพฤติเป็นการกายทุจริตวจีทุจริต อันหยาบช้าทารุณหาบ่มิได้ ยํ ตถาคโต รกฺเขยฺย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้ามิได้เป็นกาย- ทุจริตวจีทุจริต ผู้ใดฟังพระพุทธาภาษิตแล้วอย่างติเตียนนครหา ปุน จ ปรํ ครั้นมาใหม่เล่า พระธรรมเสนาบดีเจ้ากล่าวว่า ตถาคโต สมเด็จพระตถาคตทศพลเจ้าเมื่อพระสุทินกลันท- บุตรเสพเมถุนด้วยบุราณทุติยิกานั้น ทรงบัญญัติสิกขาบทปาราชิก เรียกพระสุทินด้วยคำอัน หยาบช้าว่า โมฆบุรุษ เหตุฉะนี้พระกลันทบุตรได้ฟังผรุสวาทของสมเด็จบรมนาถก็มีจิตสะดุ้ง อุตตราสหวาดหวั่นนักหนา เดือดร้อนกินแหนงน้ำใจจึงมิอาจได้ซึ่งอริยมรรค นี่แหละคำ เป็นสองอยู่ฉะนี้ ไม่รู้ที่จะฟังข้างไหน ครั้นจะเชื่อคำภายหลังที่ว่าสมเด็จพระบรมโลกนาถตรัส ผรุสวาทกับพระสุทินนั้น คำเดิมที่ว่าสมเด็จพระสัพพัญญูเป็นกายสมาจารวจีสมาจารนี้ ก็ผิด เป็นมิจฉา ครั้นจะเชื่อเอาคำเดิม คำภายหลังจะเป็นมิจฉา อยํ ปญฺโห อันว่าปัญหานี้ อุภโต โกฏิโก เป็นอุภโตโกฏิ ตฺวานุปฺปตฺโต มาถึงพระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าจงวิสัชนา ณ กาลบัดนี้ พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้เป็นเจ้าธรณี ซึ่งถ้อยคำพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรว่า สมเด็จพระมหากรุณาธิคุณเจ้าเป็นกายสมาจารวจี สมาจาร จะได้ประพฤติเป็นการกายทุจริตวจีทุจริตหาบ่มิได้นั้น คำนี้ก็จริงอยู่ และอีกข้อหนึ่ง ่่ว่าสมเด็จพระสัพพัญญูเมื่อจะบัญญัติสิกขาบทปาราชิก เหตุพระสุทินกระทำการเมถุนธรรม ด้วยถ้อยคำว่าเป็นโมฆบุรุษนี้ สมเด็จพระพิชิตมารมุนีก็มีพระพุทธฎีกาตรัสจริง แต่ทว่าจะได้ เป็นวจีทุจริตหาบ่มิได้ เพราะเหตุว่าสมเด็จพระศาสดามิได้มีน้ำพระทัยโกรธโปรดจริงๆ จะ เอาเท็จมิจริงมาใส่โทษแกล้งว่าอวดเขาเล่นหาบ่มิได้ ประการหนึ่ง คำว่าโมฆบุรุษนี้แปลว่า บุรุษ เปล่า คือว่าจะรู้จตุราริยสัจในอัตภาพเกิดมานี้หาบ่มิได้ ถึงมาตรว่าจะจำเริญเมตตาภาวนาสัก เท่าใด และจะกระทำบุญสักเท่าไรก็ดี จะได้สำเร็จจตุราริยสุจหาบ่นมิได้เป็นอันขาด เหตุฉะนี้แล จึงชื่อว่าโมฆบุรุษ นี่แหละสมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าเรียกพระสุทินกลันทบุตรว่า ดูกรโมฆบุรุษดัง นี้ด้วยสภาวะจริงแท้ จะกล่าวเป็นอภูตวาทคำอันไม่จริงนั้นหาบ่มิได้ นะบพิตรพระราชสมภาร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ ปรีชา กฎหมายฆราวาสว่าบุคคลด่าเขาแม้เก็บเอาความจริงมากล่าวก็มีโทษ จะต้องถูกปรับสิน ไหม เพราะถึงเรื่องที่ยกขึ้นด่าว่าเขานั้น จะเป็นเรื่องจริงก็ใช่เหตุที่จะถือเอาเป็นเลศด่าเขาเล่น เป็นการไม่สมควรเลย              พระนาคเสนมีเถรวาจาถามวา มหาราช ขอถวายพระพร บุคคลกระทำผิดนี้ ควรที่ จะไหว้จะบูชาให้บรรณาการเงินทองไม่ต้องโทษหรือประการใด              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่ พระนาคเสนผู้ปรีชา ซึ่งว่าคนกระทำโทษผิดนั้น จะได้รับรางวัลเงินทองหาบ่มิได้ แต่ไหนแต่ไร มาไม่มีเลย              พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพร ถ้าแม้ว่าบพิตรมีพระราช- โองการตรัสฉะนั้น กิริยาที่พระมหากรุณาตรัสเรียกพระสุทินนั้น เป็นกิริยาที่พระองค์กระทำ ถูกทีเดียวจะเป็นผิดหามิได้ เพราะพระสุทินกระทำไม่ดี กระทำผิดควรจะติเตียนกล่าวโทษ พระองค์จึงตรัสตามที่กระทำไม่ดีกระทำผิด ใช่ว่าพระสุทินน์กระทำดี กระทำถูกเมื่อไรเล่า              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่ พระนาคเสนผู้ปรีชา ตถาคโต สมเด็จพระมหากรุณาธิคุณเจ้าผู้ประเสริฐนี้ เป็นที่เคารพ ยำเกรงกลัวละอายแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ที่พระพฤติสมควรจึงจะเข้าไปหามสู่ได้ ถ้าผู้ใดกระทำผิด สมเด็จพระพิชิตมารเจ้าก็สั่งสอนให้ละพยศอันร้าย พระองค์หมั่นเอาพระทัย ใส่ดูแลสัตว์ทั้งหลาย มิให้กระทำผิดทุจริตลามกโกหกมารยา กระนี้หรือพระผู้เป็นเจ้า              พระนาคเสนจึงอุปมาเปรียบอีกเล่าว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรผู้ประเสริฐ เปรียบปานดุจหนึ่งว่าแพทย์อันพยาบาลโรคที่มีเสมหะโทษในโกฐประเทศลำไส้ วิเรจนานิ เทติ แพทย์นั้นจะวางยาถ่ายเพื่อให้กัดเสมหะอันร้ายในลำไส้เสียให้โรคนั้นระงับ หรือจะทำอย่างไร มหาบพิตร              พระเจ้ามิลินท์จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อาโรคฺย- กาโม แพทย์ผู้ใคร่จะพยาบาลรักษาโรคนั้นให้หาย จะต้องวางยาปัดให้กัดถ่ายเสมหะโทษใน ลำไส้เสียให้หมดนะซี พระผู้เป็นเจ้า              พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ สมเด็จพระบรม- โลกนาถเจ้าผู้เลิศศาสดา ก็ทรงพระกรุณาถ่ายสัตว์ทั้งหลายที่ควรจะรุถ่าย ด้วยธรรมเภสัช บำบัดเสียซึ่งโรคคือกิเลสอันหนา ถึงพระองค์จะต้องเจรจาผรุสวาทก็ตรัสประภาษด้วยรักสัตว์ เอ็นดูสัตว์ กรุณาสัตว์ ตั้งพระทัยปรารถนาจะบำบัดเสียซึ่งโรคร้ายคือกิเลสแห่งสัตว์ในสนิทสนม และทำสัตว์ให้อ่อนโยนได้ เหมือนยาถ่ายถึงจะเป็นยาปัดก็เป็นประโยชน์แก่โรคฉะนั้น อนึ่ง ขอ ถวายพระพร เปรียบดุจอุทกังแม้ร้อนก็คุมสิ่งที่ร่านอันควรจะติดกันได้ แม้แข็งกระด้างก็ให้ติด กันเข้าเป็นก้อนเดียวดุจติดด้วยยาง สิ่งที่หยาบคายกระด้างมิอ่อนต้องน้ำร้อนนั้นก็จะกลับอ่อนไป ความนี้มีครุวนาฉันใด พระวาจาสมเด็จพระโลกนายกเจ้าถึงจะเป็นผรุสวาท อตฺถวนฺตี สามารถที่จะให้เป็นประโยชน์โสตถิผลกแก่สาธุชนทั่วโลกา การุญฺญสหคตา ย่อมสหรตระคน ปนไปด้วยพระกรุณา มหาราช ขอถวายพระพรเปรียบดุจถ้อยคำบิดา อตฺถวนฺตํ มีแต่ว่าให้ เป็นประโยชน์โสตถิผลแก่บุตร การุญฺญสหคตํ สหรคตระคนปนเจือไปด้วยความกรุณา ยถา มีครุวนาฉันใด วาจาของสมเด็จพระบรมครูผู้ประเสริฐเจ้านี้ อตฺถวนฺตี มีประโยชน์โสตถิผล ระคนปนเจือไปด้วยพระกรุณาแก่สัตว์ทั้งหลาย เหมือนบิดาอภิปรายสอนบุตรฉะนั้น              อนึ่งเล่า มหาราช ขอถวายพระพร วาจาของสมเด็จพระมหากรุณา ผรุสาปิ แม้จะ หยาบช้า กิเลสานํ นาสนา กิริยาบำบัดตัดเสียซึ่งกิเลสแห่งสรรพสัตว์อันเวียนว่ายในวัฏ- สงสาร มหาราช ขอถวายพระพร อมตํ ปานประดุจน้ำอมฤตธารา สีตํ อันเย็นนักหนา ปายิตํ บุคคลผู้ใดได้ดื่มกินเข้าไป พฺยาธึ หนติ อาจกำจัดบำบัด พยาธิโรคาไข้ในกายให้หายเป็นสุขสืบ ชันษา ยถา มีครุวนาอุปมาฉันใด พระวาจาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อาจสามารถจะดับทุกข์ ให้สุขสโมสร น กสฺสจิ ทุกฺขํ บ่ห่อนจะให้ทุกข์แก่ผู้ใด มหาราช ขอถวายพระพร จะเปรียบฉันใด อุปมาเหมือนปุยนุ่นอันใหญ่ กาเย นิปติตฺวา ตกต้องตัวผู้ใด น รุชํ กโรติ มิได้เสียบแทงให้เจ็บ ปวดเวทนา ยถา มีครุวนาฉันใด พระวาจาสมเด็จพระบรมไตรโลกจะเสียบแทงบุคคล ให้เจ็บใจ หาบ่มิได้ ขอถวายพระพร              ราชา สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร ได้ฟังก็ทรงพระสโมสรสาธุการซึ่งคำแก้ ปัญหาในกาลนั้น
ตถาคตัสส ผรุสวาจานัตถีติปัญญา คำรบ ๒ จบเพียงนี้

             เนื้อความมิลินทปัญหา หน้าที่ ๒๗๕ - ๒๗๘. http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=116              สารบัญมิลินทปัญหา http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=0#item_116

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]