ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก  หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
มิลินทปัญหา
ภควโต อัปปาพาธปัญหา ที่ ๙
             สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการ ตรัสถามอรรถเป็นปริศนาสืบไปเล่าว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ มีพระ พุทธฎีกาตรัสว่า ตถาคตนี้ พฺราหฺมโณ เป็นพราหมณ์ ยาจโยโค ผู้ควรซึ่งยาจกจะพึงขอ ปยต- ปาณี ล้างมือไว้คอยท่าจะให้ทาน อนฺติมเทหธโร ทรงไว้ซึ่งกายอันเป็นที่สุดชาติเดียว อนุตฺตโร เป็นผู้ยิ่งหาสิ่งเปรียบมิได้ ภึสโก เป็นหมอรักษาไข้ทั้งปวง นี่แหละ พระองค์ตรัสยกยอพระ องค์ว่าประเสริฐกว่าสรรพสัตว์สิ่งทั้งปวง พระพุทธองค์เจ้าตรัสฉะนี้แล้วกลับมีพระพุทธฎีกา ตรัสสรรเสริญยกย่องพระพากุลเถระในตำแหน่งเอตทัคคะว่า พระพากุลภิกษุนี้ มีอาพาธน้อย ประเสริฐกว่าภิกษุทั้งหลายบรรดาที่เป็นสาวกของพระองค์ ดังนี้ และพระผู้ทรงพระภาคก็ ได้ทรงประชวรเป็นหลายครั้ง เห็นปรากฏอยู่ โยมนี้สงสัยแคลงใจนัก ไม่รู้ว่าจะเชื่อคำไหน จะ เชื่อคำต้น คำหลังจะก็ผิดไป ครั้นจะเชื่อคำหลังไซร้ คำต้นก็จะผิด โยมคิดๆ ดูก็หารู้ที่จะกำหนด ไม่ ไฉนพระพุทธฎีกาจึงเป็นสองไม่ต้องกัน อยํ ปญฺโห ปริศนานี้ อุภโต โกฏิโก มีที่สุดเป็นสอง เงื่อน ตฺวานุปฺปตฺโต มาถึงพระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าจงวิสัชนาให้โยมแจ้งก่อน              เถโร อาห พระนาคเสนผู้ทรงอริยสังวรจึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร พระราชสมภารผู้ประเสริฐ พระอสีติมหาสาวกทั้งหลาย ๘๐ รูปมีคุณวิเศษต่างๆ กัน สมเด็จ พระสัพพัญญูบรมครูเจ้าก็ยกเป็นเอตทัคคะ ตามคุณวิเศษต่างๆ กัน ใช่ว่าพระองค์เจ้าจะยกย่อง พระพากุลเถระว่า พระพากุลเถระนี้เป็น อนุตฺตโร ไม่มีผู้อื่นจะยิ่งกว่าหรือเสมอเหมือนพระ องค์ก็หามิได้              ซึ่งสมเด็จพระองค์เจ้าตรัสว่า พฺราหฺมโณ พระองค์เป็นพราหมณ์นั้น ด้วยพระองค์ทรง เที่ยวบิณฑบาตโปรดสัตว์โลกทั้งปวง ดุจพราหมณ์ยาจกอันเข้าทุกตรอกออกทุกบ้าน เที่ยวขอ ทานเลี้ยงชีวิต ประการหนึ่ง สมเด็จพระพิชิตมารตรัสว่า ภึสโก พระองค์เหมือนหมอยารักษาไข้ นั้น ด้วยฝูงสรรพสัตว์ทั้งปวงประกอบด้วยทุกข์ ๔ กอง คือชาติที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดานี้ ลำบากเหมือนหนึ่งว่าตกนรก จะหาสุขสักหน่อยให้มีความสบายเท่าปลายเข็มนั้นก็ไม่ได้ จึงจัด ว่าเป็นทุกข์กองใหญ่ประการ ๑ ชราทุกข์นั้นเกิดมาแล้ว เมื่อจำเริญวัยก็ดูผ่องใสโสภา ครั้น แล้วก็ชราภาพมีกายสั่นระเทิมเทา มีเกสาขาว ขณฺฑนฺตา ฟันก็หลุดหล่นไป อาหารที่เคย เคี้ยวได้นั้นก็เคี้ยวไม่ได้ เสื่อมรสไป จะพูดจาเขฬะก็ไหลออกปาก ขณะเมื่อนอนนั้นก็ดี มีน้ำ เขฬะไหลเหตุหาฟันจะกันมิได้ เนื้อหนังเหี่ยวแห้งไป เท้ามือไม่เป็นใหญ่ง่อนแง่นนักหนา ทณฺฑ- ปรายโน ถือไม่เท้าจดจ้องไปข้างหน้า ถึงซึ่งสภาวะเป็นที่เกลียดชังยิ่งนัก จะว่าไปนักจะยาวความ เหตุฉะนี้แหละจึงชื่อว่าชราทุกข์ เป็นทุกข์ใหญ่กอง ๑ พยาธิทุกข์นั้น คือฉันนวุติกโรค ๙๖ จำพวก จำพวกใดจำพวกหนึ่งเกิดขึ้นในกายแล้วเจ็บปวดเสียดแทงทนเวทนาสาหัสเป็นทุกข์ ใหญ่กอง ๑ และมรณทุกข์เมื่อตนจะตายนั้น เป็นห่วงด้วยทรัพย์สมบัติห่วงบุตรห่วงภรรยา น้ำตาไหลตกตะลึงไปไม่รู้ว่าจะไปเกิดที่ไหน เลยเจ็บปวดจนขาดใจดังนี้ จึงว่าเป็นกองทุกข์ ใหญ่กอง ๑ สิริเป็นกองทุกข์ ๔ กอง มีในสันดานของสัตว์โลกหญิงชาย สัตว์โลกทั้งหลายนี้ ไม่พ้นจากทุกข์ ๔ กองนี้ ทุกตัวตนเปรียบเหมือนคนไข้ สมเด็จพระบรมโลกนาถจึงประทานยา คือตรัสพระสัทธรรมเทศนาโปรดนิกรสาธุชนให้พ้นจากชาติชราพยาธิมรณะ เข้านิพพานดับทุกข์ ๔ กองนี้ได้เหมือนหมอวางยารักษาไข้ให้หาย อันนี้เป็นอธิบายในคำว่าพระองค์เป็นหมอ              ข้อที่ตรัสยกพระพากุลเถระว่า ยิ่งเป็นเอตทัคคะนั้น คือยิ่งโดยอาพาธน้อยกว่าสาวก ทั้งหลาย พระพากุลเถระที่จะยิ่งสมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ หามิได้เป็นอันขาด              มหาราช ขอถวายพระพร ที่สมเด็จพระมุนินทราบรมสุคตเจ้าตรัสยกย่องพระสาวกว่า เป็นเอตทัคคะนั้น พระองค์ทรงหมายเอานิกายและโลกุตรธรรมอันมีอยู่ในตน ฐานจงฺกมิตาย สาวกทั้งหลายของสมเด็จพระบรมครูเจ้า ให้กาลล่วงไปด้วยยินและจงกรม ทั้งในกลางวันและ กลางคืนมีอยู่ บรรทมบ้าง ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน มหาราช ขอถวายพระพร พระสาวกเหล่าใด เป็นผู้ให้กาลล่วงไปด้วยยืนและจงกรม พระสาวกเหล่านั้นเป็นผู้ยิ่งพิเศษโดยฐานคือเป็นผู้ยืน และจงกรมนั้น              สนฺติ โข ปน มหาราช ขอถวายพระพร ประการหนึ่ง สาวกของพระบรมครูเจ้าทั้งหลาย ที่ถือเอกาสนะฉันจังหันละหน แม้จะถึงแก่ความตายก็ไม่ฉันหนที่ ๒ ก็มีอยู่ ส่วนสมเด็จพระ บรมครูเสวยวันละสองครั้งก็มี สามครั้งก็มี มหาราช ขอถวายพระพร พระสาวกเหล่าใดเป็นผู้ ถือเอกาสนะได้ พระสาวกเหล่านั้นเป็นผู้ยิ่งพิเศษโดยฐานนั้น              มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ เหตุที่จะทำให้เป็นผู้ยิ่งเป็นผู้พิเศษ มีอยู่เป็นอันมาก หลายอย่างหลายประการ ที่พระบรมโลกุตตมาจารย์ตรัสยกย่องพระสาวกทั้งหลายว่า เป็น เอตทัคคะฝ่ายใดๆ พระองค์ก็ทรงหมายเอาองคคุณฝ่ายนั้นๆ อันเป็นเหตุมีอยู่เป็นอย่างยิ่ง              ส่วนสมเด็จพระสัพพัญญูนั้นเป็นผู้ยื่งหาผู้ใดจะเสมอมิได้โดยศีลสมาธิปัญญาและวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ พลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ พุทธธรรม ๑๘ อสาธารณญาณ ๖ และ พุทธวิสัยธรรมทั้งสิ้น สมเด็จพระมุนินทรบรมสุคตเจ้าตรัสว่าพระองค์เป็นผู้ประเสริฐเลิศล้น หา คนผู้ใดจะเสมอมิได้นั้น ก็ทรงหมายธรรมทั้งหลายเหล่านี้              มหาราช ขอถวายพระพร ในหมู่มนุษย์นิกรทั้งหลาย คนหนึ่งเป็นผู้มีชาติ คนหนึ่งมี ทรัพย์ คนหนึ่งมีวิชา คนหนึ่งมีศิลปะ คนหนึ่งกล้า คนหนึ่งมีปัญญา สมเด็จพระบรมกษัตริย์ ขัตติยาธิบดีย่อมประเสริฐล่วงเสียซึ่งมนุษย์นิกรเหล่านี้ได้ เป็นผู้สูงสุดแต่พระองค์เดียวฉันใด สมเด็จพระจอมไตรบรมโลกนาถเจ้าก็ประเสริฐกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย มีอุปไมยฉันนั้น พระ พากุลเถระนั้นจะประเสริฐยิ่งไปกว่าสมเด็จพระบรมศาสดานั้นเป็นอันไม่ได้              มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ ซึ่งพระพากุลเถระเป็นผู้มีอาพาธน้อยนั้นด้วยอานิ- สงส์ที่ได้ปฏิบัติอุปฐากพระอโนมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า อันประชวรอาพาธซึ่งเกิดขึ้นด้วยสามารถ ลมเสียดแทงพระอุทรให้เสื่อมหาย ครั้นภายหลังในอปรชาติเป็นอาบสประพฤติพรตอิสิเพศ ได้ถวายยาแก่พระภิกษุสงฆ์ทั้งลาย ๒๘ แสน ซึ่งเป็นสาวกของพระวิปัสสีสัมพุทธเจ้าผู้อา- พาธด้วยโรคลมดังก่อน พฺยาธึ อปเนตฺวา บำบัดพยาธิให้เสื่อมคลายหายไปกลับมีร่างกาย เป็นปรกติดี ผลานิสงส์นี้ตามส่งผลให้มีโรคน้อยมาหลายสิบชาติ ตราบเท่าถึงชาติเป็นพระพากุลนี้ ก็เป็นผู้มีโรคน้อยนักหนา จนสมเด็จพระบรมศาสดาทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ เอกกว่าสาวก ทั้งหลายฝ่ายข้างอาพาธน้อย แต่หายิ่งไปกว่าพระองค์ไม่              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระบรมโลกุตตมาจารย์เจ้านั้น จะประชวรก็ดี ไม่ประชวรก็ดี สมาทานธุดงค์ก็ดี ไม่สมาทานก็ดี จะมีสัตว์ผู้หนึ่งเสมอเหมือน พระองค์เป็นอันว่าหามิได้ แม้พระองค์เองก็ได้มีพระพุทธฎีกาตรัสไว้ในคัมภีร์สังยุตตนิกายเป็น ใจความว่า ภิกฺขเว ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดไม่มีเท้าก็ตาม สองเท้าก็ตาม สี่เท้าก็ตาม มีเท้ามากก็ตาม มีรูปก็ตาม ไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญาก็ตาม หาสัญญามิได้ก็ตาม จะว่ามีสัญญาก็ มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ตาม พระตถาคตผู้อรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า เตสํ อคฺคมกฺขายติ บัณฑิตย่อมกล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้@-              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ได้ทรงสดับก็สิ้นสงสัย ทรงโสมนัสซ้องสาธุการสรรเสริญพระ นาคเสนว่ามีปรีชาในกาลบัดนี้
ภควโต อัปปาพาธปัญหา คำรบ ๙ จบเพียงนี้
@- ปัญหานี้ซ้ำย้ำกับยาจโยคปัญหาที่ ๑๐ ในจตุตุถวรรค แต่เห็นว่าในปัญหานี้กล่าวต่างจากปัญหานั้นเล็ก น้อยกับท่านผู้แปลได้แสดงโวหาร อธิบายเป็นพิเศษไว้บ้าง จึงคงปล่อยไว้ไม่ต้องเอาออก

             เนื้อความมิลินทปัญหา หน้าที่ ๓๓๙ - ๓๔๑. http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=143              สารบัญมิลินทปัญหา http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=0#item_143

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]