ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก  หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
มิลินทปัญหา
ฉัฏฐวรรค
ปฏิปทาโทสปัญหา ที่ ๑
             สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นพิภพสาคลราชธานี จึงมีพระราชโองการถามต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนเถระผู้ปรีชาญาณ สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ได้ทรงกระทำทุกร- กิริยาอันเป็นกรรมที่บุคคลจะพึงทำได้ด้วยยากแล้ว ในที่อื่นพระองค์มิได้ทรงปรารภความเพียร ปราบปรามกิเลสกำจัดเสนามารเช่นนั้นอีก เพราะพระองค์ทรงกระทำทุกรกิริยานั้นจะได้ความ ชื่นบานสักหน่อยหนึ่งก็หามิได้ จึงกลับพระทัยเลิกการทรงกระทำทุกรกิริยานั้นเสียแล้ว ยังมี พระพุทธฎีกาตรัสไว้ว่า เราผู้ตถาคตมิได้บรรลุคุณวิเศษ เป็นอุตริมนุสธรรมที่รู้แจ้งเห็นจริง ของพระอริยะเพราะทุกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้เลย ต่อเมื่อเราผู้ตถาคตมากลับจิตคิดว่า อาตมา กระทำทุกรกิริยาอย่างนี้หาได้ธรรมวิเศษไม่ ทางที่จะปฏิบัติเพื่อโพธิญาณพึงมีโดยทางอื่น ดังนี้ แล้วพระองค์ก็ละเสียซึ่งความเพียรในอันกระทำทุกรกิริยา กระทำอย่างอื่นต่อไปจึงได้สำเร็จแก่ พระสร้อยสรรเพชญโพธิญาณ มาภายหลังกลับทรงบัญญัติให้พระภิกษุภิกษุณีปฏิบัติทางปฏิบัติ ที่พระองค์เหนื่อยหน่ายแล้วด้วยพระคาถานี้ว่า                           อารภถ นิกฺขมถ ยุญฺชถ พุทฺธสาสนํ                           ธุนาถ มจฺจุโน เสนํ นฬาคารํว กุญฺชโร ดังนี้              กระแสความในพระคาถานี้ว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งปวงจงปรารภ ความเพียร จงออกจากหมู่และคณะ อย่าอยู่ในหมู่ในคณะ จงเป็นสัลเลขสันโดษ ไปอยู่ในไพร สัณฑ์ประเทศ ถืออรัญญิกธุดงค์อยู่ในรุกขมูลต้นใดต้นหนึ่ง ยุญฺชถ จงมาประกอบอุตสาหะเพียร ภาวนาซึ่งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ในพระบวรพุทธศาสนาของตถาคต ธุนาถ จงกำจัดเสียซึ่งเสนา มจฺจุโน แห่งพระยามัจจุราช กุญฺขโร อิว ประดุจพระยากุญชรชาติช้างใหญ่ อันเมามัน นฬาคารํ ฉีกเสียพังเสียซึ่งเรือนมีฝาอันบุคคลกระทำด้วยไม้อ้อ อย่าได้ละความ เพียรในกาลนั้น นี่แหละพระผู้เป็นเจ้าสมเด็จพระบรมครูสัพพัญญูผู้ประเสริฐ เหนื่อยหน่าย๙ึ่ง มหาปธานวิริยะเป็นเพียรอันเคร่งครัด ขณะเมื่อกระทำทุกรกิริยา พระองค์มาติเตียนและวาง เสียแล้ว ก็ไฉนจึงตรัสบัญญัติให้ภิกษุปฏิบัติกระทำปธานวิริยอุตสาหะที่พระองค์เหนื่อย หน่ายละวางเสียเล่า              พระนาคเสนเถระผู้ปรีชาเฉลิมปราชญ์จึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร พระราชสมภารพระองค์ผู้ประเสริฐ ไม่เป็นอย่างนั้น ความนี้แฝงกันอยู่ เมื่อสมเด็จพระบรมครู สัพพัญญูเจ้าได้ตรัสนี้ ก็เป็นทางปฏิบัติอันเดียวกันกับที่บอกพระภิกษุนั้น เมื่อพระองค์กระทำ มหาปธานวิริยะนั้น และมาทรงพระดำริว่า อาตมาจะกระทำให้ยิ่งเถิดให้เป็นทุกรกิริยา ยากที่ บุคคลจะกระทำได้ ครั้นดำริดังนี้ พระองค์ก็บริโภคพระอาหารให้น้อยถอยไปให้เพียรนั้นกล้า จึงสิ้นพระแรงถอยกำลังโรยราลง น้ำพระทัยของพระองค์ก็ทุพพลภาพนัก มิอาจจะกำจัดตัว บาปธรรม สำเร็จแก่พระสรรเพชญดาญาณได้ พระองค์ก็ทิ้งทางปฏิบัติที่ตัดอาหารเสีย เสวนฺโต กลับเสวยพระอาหารแล้วก็ได้สำเร็จแก่พระสัพพัญญุตญาณ เพราะตั้งไว้ซึ่งเพียรเป็นมหาปธาน ทางเดียวนั้น ใช่จะสำเร็จด้วยปฏิบัตินอกจากเพียรนี้หามิได้ อย่าว่าแต่สมเด็จพระสัพพัญญู บรมครูเจ้าของเราท่านี้เลย สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าพระองค์อื่น แต่บรรดาได้ตรัสรู้ล่วงลับ ไปแล้วนั้น ก็สำเร็จทางเดียวกัน อาศัยตั้งซึ่งมหาปธานวิริยะทุกพระองค์มาเป็นธรรมดา              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารพระองค์ผู้ประเสริฐ อาหาโร อันว่า อาหารนี้ อุปตฺถมฺโถ เป็นเครื่องอุปถัมนาเลี้ยงสัตว์ไว้ ฝูงนิกรสรรพสัตว์ทั้งหลายในแผ่นภพ นี้ จะมีซึ่งความสุขก็เพราะอาศัยอาหารฉันใด เอวเมว โข สมเด็จพระสัพพัญญูบรมครูเจ้า ก็ ได้ตรัสรู้แก่พระอนุตรสัมโพธิญาณด้วยมหาปธานวิริยะนั้น มีอุปไมยฉันนั้น ซึ่งพระบรมครูเจ้า ไม่ได้ตรัสรู้ จะเป็นโทษของมหาปธานวิริยะหรือเป็นโทษของการปราบกิเลสอย่างใด ก็หามิได้ เป็นโทษของการที่ทรงอดพระอาหารโดยแท้ ปฏิปทาคือมหาปธานวิริยะนั้น เป็นธรรมชาติอัน ธรรมดาตกแต่งได้ทุกเมื่อง มิได้มีโทษอย่างใดเลย              อนึ่งเล่า พระองค์เจ้า เมื่อปฏิบัติกระทำมหาปธานวิริยะกระทำซึ่งทุกรกิริยานั้น น้ำพระ ทัยนี้ด่วนที่จะได้ตรัสแก่พระสร้อยสรรเพชรญดาญาณ จึงดำริว่าอาตมาจะไม่บริโภคอาหารให้ เป็นปรกติอยู่ จะบริโภคให้น้อยถอยไปทุกวัน เห็นว่าจะสำเร็จแก่พระสัพพัญญุตญาณเร็ว ครั้น พระองค์ดำริฉะนี้แล้ว พระองค์ก็บริโภคเสวยพระอาหารแต่น้อย น้อยลงไปทุกวัน จนสิ้นพระ กำลังล้มลงแทบที่สุดที่จงกรม ก็ไม่ได้สมดังพระทัยปรารถนาที่ว่าจะได้ตรัสแก่พระบรมโพธิ สมภาร จึงกลับดำริว่า อาตมานี้ไม่สำเร็จแก่พระสร้อยสรรเพชญดาญาณ ก็เพราะอาตมาละ อาหารที่เคยบริโภคเป็นปรกติเสีย บริโภคอาหารน้อยจึงตกถอยจากพระกำลัง ไม่ได้ตรัสสมดัง พระทัยปรารถนา ก็ทีนี้แหละอาตมาจะทิ้งเสียซึ่งทางปฏิบัติอันนี้ แล้วกลับบริโภคอาหารให้ เป็นปกติไปเหมือนเก่า คงจะสำเร็จแก่พระสัพพัญญูตญาณกระมัง ครั้นดำริดังนี้แล้ว ก็เหนื่อย หน่ายคลายเสียซึ่งการบริโภคอาหารอันน้อย ทรงปฏิบัติด้วยเสวยพระอาหารให้เป็นปรกติแล้ว ทรงตั้งมหาปธานวิริยะไปก็ได้สำเร็จแก่พระสร้อยสรรเพชญดาญาณ ที่ว่าบริโภคอาหาร น้อยมักไม่เกิดคุณชักให้ช้าพาเป็นโทษ บรรดาจะเร็วกลับเนิ่นช้าไปนั้น เปรียบเหมือนบุรุษเดิน ทางไกล อติเวเคน วิ่งไปด้วยกำลัง สิ้นกำลังล้าไปบ้าง เป็นง่อยเป็นเปลี้ยเพลียไปบ้าง เดิน ทางต่อไปไม่ได้ อย่างนี้จะโทษเอาปบพีแผ่นดินว่า แผ่นดินนั้นให้ล้าให้บาทาของตนที่วิ่งไปเปลี้ย เพลียไป หรือกระไรนะบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ นาคเสนผู้ปรีชาญาณ จะโทษเอาแผ่นดินจะพาลเอาแผ่นดินอย่างไรได้ โทษที่บุรุษนั้นใจเร็วเร่ง ไปด่วนวิ่งไป จึงสิ้นกำลังล้าลง เป็นง่อยเปลี้ยเพลียไป              พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า ความข้อนี้ฉันใดก็ดี มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสม ภาร พระบรมครูอดอาหารเสวยพระอาหารน้อย จึงถอยกำลังไป พาให้เป็นโทษเหมือนบุรุษผู้ เดินทางฉะนั้น              อนึ่งเล่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ปานดุจบุรุษผู้หนึ่งนุ่งผ้าสาฎก เศร้าหมองมลทินติดอยู่ บุรุษผู้นั้นหาซักอุทกังไม่ ผ้านั้นก็เศร้าหมองนัก จะไปโทษเอาอุทกังว่า อุทกังกระทำให้ผ้าเศร้าหมองไปหรือกระไร นะบพิตรพระราชสมภาร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ นาคเสนผู้ปรีชาญาณ บุรุษชายนั้นเป็นพาลเกียจคร้านชั่วนักหนา ผ้านุ่งเศร้าหมองเป็นมลทินก็ หาซักให้สิ้นราคีไม่ จะโทษอุทกังกระไรเล่า              พระนาคเสนจึงมีเถรวาจารว่า มหาราช ขอถวายพระพร ที่พระโพธิสัตว์เจ้าไม่เสวย พระอาหาร จะโทษเอามหาปธานทางปฏิบัติกระไรได้ เป็นโทษที่ไม่เสวยอาหารให้เป็นปรกติ เหมือนบุรุษมีผ้าเศร้าหมองมลทินไม่ซักน้ำนั้น ขอถวายพระพร              ฝ่ายว่าสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ก็มีน้ำพระทัยชื่นบานหรรษาสิ้นสุดพระวิมัติ กังขา ซ้องสาธุการแก่พระนาคเสนวิสุทธิสงฆ์องค์อรหันต์ ก็มีในกาลนั้น
ปฏิปทาโทสปัญหา คำรบ ๑ จบเพียงนี้

             เนื้อความมิลินทปัญหา หน้าที่ ๓๔๕ - ๓๔๗. http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=145              สารบัญมิลินทปัญหา http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=0#item_145

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]