ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก  หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
มิลินทปัญหา
สัตตมวรรค
อรหโต กายิกเจตสิกเวทนาปัญหา ที่ ๑
             สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชาอติสสราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าพระนาคเสน โยมจะขอถามสักหน่อย ตุมฺเห ภณถ พระผู้เป็น เจ้ากล่าวดังนี้ว่า ธรรมดาพระอรหันต์เจ้า เมื่อจะเสวยทุกขเวทนานั้น จะได้เสวยเป็นสองดุจ ปุถุชนหามิได้ อันปุถุชนนี้มีทุกขเวทนาเป็นสอง คือทุกขเวทนาอันประกอบในกายและทุกขเวทนา อันประกอบในจิต ส่วนพระอรหันต์เจ้าทั้งหลายมีแต่ทุกขเวทนาเกิดแต่กาย ทุกขเวทนาจะ ได้มีในจิตหามิได้ โยมมารำพึงดู ถ้ากระนั้นจิตของพระอรหันต์ย่อมเป็นแต่อาศัยกายเป็นไป พระอรหันต์ไม่เป็นใหญ่ไม่เป็นเจ้าของกายนั้น แต่ท่านไม่เป็นไปในอำนาจของกายดังนี้หรือ ผู้ เป็นเจ้า              พระนาคเสนรับคำว่า จริงเหมือนทรงพระดำริ จิตพระอรหันต์ไม่เป็นใหญ่เป็นเจ้า ของกาย              พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงตรัสต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ โยมยังสงสัยนักหนา ซึ่งว่าจิตอาศัยในกายและจะไม่เป็นเจ้าแห่งกาย ไม่เป็นใหญ่แห่งกายนั้น โยมยังแคลงอยู่นักหนา ได้ยินแล้วยิ่งสงสัยให้เคลือบแคลงแหนงในใจนัก จิตนี้อาศัยกาย เหมือนนกทั้งหลายอาศัยรัง ย่อมจะเป็นเจ้ารัง              พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร กายานุค- ตา ธมฺมา อันว่าธรรมที่จะเนื่องด้วยกายจะตามภายไปในภพนั้น มี ๑๐ ประการ สีตํ คือความ เย็นความหนาว อุณฺหํ คือความร้อน ชิฆจฺฉา คือความหิว ปิปาสา คือความกระหาย อุจฺจาโร คือถ่ายอุจจาระ ปสฺสาโว คือถ่ายปัสสาวะ ถีนมิทฺธํ คือความง่วงเหงาหาวนอน ชรา คือความ แก่ พฺยาธิ คือเจ็บไข้ มรณํ คือความตาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ย่อมเวียนไปตามกาย อันจะเที่ยว ท่องไปในภพ ๓ คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ อรหา อันว่าพระอรหันต์จะได้เป็นใหญ่ในกาย จะได้เป็นไปในอำนาจแห่งกาย หามิได้              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามพระนาคเสนว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยปรีชาญาณ ถ้าว่าพระอรหันต์ไม่เป็นใหญ่ในกาย จะบังคับกาย จะห้ามกาย สำรวมกายอย่างใดเล่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาให้แจ้งก่อน              พระนาคเสนถวายพระพร มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ เย เกจิ ชนา อันว่าคนทั้งหลายนอกจากพระอรหันต์ ปฐวินิสฺสิตา บรรดาที่อาศัยอยู่ในพื้นแผ่นดิน สถิตเที่ยวอยู่บนภูมิภาคพื้นแผ่นดิน จะประกอบการสิ่งไรก็อาศัยพื้นแผ่นดิน เพราะตั้งอยู่บน พื้นแผ่นดิน จะปลูกจะหว่านอะไรได้สิ้น นุ โข ดังอาตมาถามสมเด็จบรมบพิตร เมื่อคน ทั้งหลายกระทำการสำเร็จกิจสิ้น คนทั้งหลายจะบังคับบัญชาพสุธาดลแผ่นดิน ให้กระทำการจ้าง จะได้หรือไม่ได้ นะบพิตรพระราชสมภาร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่ พระนาคเสนผู้ปรีชา พื้นพสุธาดลแผ่นดินมีจิตวิญญาณอะไรเล่า คนทั้งหลายเขาจะได้ใช่แผ่นดิน ให้ทำการจ้าง เหตุว่าแผ่นดินไม่มีจิตไม่มีวิญญาณ              พระนาคเสนจึงมีเถรวาจารว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ ประเสริฐในราชศฤงคาร ข้อความเปรียบประการนี้ ยถา มีครุวนาฉันใด พระอรหันต์มิได้เป็น ใหญ่ในกาย มิได้มีอาญาแผ่ไปในกาย เปรียบดุจมนุษย์ทั้งหลายทั้งสิ้นอันสถิตอยู่เหนือภูมิภาค พื้นแผ่นดิน มิได้มีอาญาบังคับบัญชาแผ่นดิน มิได้เป็นอิสรภาพปราบแผ่นดิน นะบพิตรพระ ราชสมภาร จงทรงทราบพระญาณเถิดว่า กายพระอรหันต์เหมือนกันกับแผ่นดิน              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสถามอีกเล่าว่า ภนฺเต นาค- เสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าประกอบด้วยญาณปรีชา อันว่าปุถุชน ไฉนจึงเสวยเวทนา กายและจิตเล่า              พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า ดูกรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ปุถุชนย่อมเสวย เวทนาเป็นไปทางกายและจิตทั้งสองนั้น เพราะตนมีจิตมิได้อบรมภาวนา มหาราช ขอถวาย พระพรบพิตรอดิศรผู้ประเสริฐ ปุถุนชนนั้นเปรียบเสมือนหนึ่งว่าโคอันอยากน้ำและหญ้าที่เคยกิน ้เป็นอาหาร ต้องทรมานด้วยคนใจพาลผูกด้วยเครือเขาเถาลดาวัลย์ โคนั้นก็ดิ้นรนด้วยหากำลัง มิได้ ก็ทุรนทุรายอยู่แต่ในใจ ยถา มีครุวนาฉันใด จิตปุถุชนนี้ไซร้ถ้ามิได้จำเริญให้ถึงมรรคถึงผล ถึงหนทางพระโลกุตระ ก็ได้แต่ทุกข์ร้อนเหมือนโคหิวอ่อนที่เขาผูกไว้ด้วยเถาวัลย์อันน้อย ฉะนั้น ครั้นจิตกำเริบแล้วก็พากายกำเริบกลับกลอกดิ้นโดดไป เสวยเวทนานักสุดที่จะกลั้นจะทน พ้นกำลัง ก็ระเหระหนร้องครางไปด้วยความทุกขเวทนา พระอรหันต์เจ้านั้นเป็นภาวิตจิตฝึกฝน อยู่เป็นอันดี ดุจสินธพพาชีชาติอาชาไนยอันฝึกหัดทรมานไว้เป็นอันดี เมื่อทุกขเวทนามาถึงตัว นั้น พระผู้เป็นเจ้าก็ผูกพันจิตของตนเข้าไว้กับเสาประโคนคือพระสมาธิ ถือไว้ให้มั่นคง ปลงปัญญา เห็นว่าเวทนาซึ่งเสวยทุกข์นี้ย่อมเป็นพระอนิจจัง เป็นพระทุกขัง เป็นพระอนัตตา กระทำจิตของ อาตมามิให้หวาดหวั่นกำเริบฟุ้งซ่าน ถึงมาตรว่ากายนั้นจะมีทุกขเวทนาน้อยมากประการใดก็มิ ได้เอาใจใส่ เห็นมั่นในพระไตรลักษณ์คือ พระอนิจจัง พระทุกขัง พระอนัตตา ด้วยจิตผูกจิตไว้ กับเสาประโคนคือพระสมาธิ เหตุดังนั้นจะว่าพระอรหันต์เจ้าเสวยเวทนาอันเกิดแต่กายสิ่งเดียว มิได้เสวยเวทนาอันเกิดแต่จิต บพิตรพระราชสมภารพึงเข้าพระทัยด้วยประการดังนี้              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีได้ทรงฟังดังนี้ ก็มีพระทัยสิ้นพระกังขา จึงซ้องสาธุ การดุจนัยหนหลัง
อรโห กายิกเจตสิกเวทนาปัญหา คำรบ ๑ จบเพียงนี้

             เนื้อความมิลินทปัญหา หน้าที่ ๓๗๖ - ๓๗๘. http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=155              สารบัญมิลินทปัญหา http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=0#item_155

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]