ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก  หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
มิลินทปัญหา
คีหิปัพพชิตานัง ขีณาสวปัญหา ที่ ๖
             ราชา อาห สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีบรมกษัตริย์มีพระราชโองการตรัสถาม ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ประเสริฐ ตุมฺเห ภณถ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้กับโยมว่า โย คีหิ อรหตฺตํ ปตฺโต คฤหัสถ์ผู้ใดถ้าสำเร็จแก่พระอรหัตแล้ว จะมีคติ ๒ ประการ คือให้บรรพชา เป็นภิกษุเสียในวันสำเร็จพระอรหัตนั้น ๑ ถ้าไม่บรรพชาก็จะเข้าพระนิพพานไม่อาจล่วงวันนั้นไปได้ ๑ นี่แหละโยมจะถาม ที่ว่าท่านเป็นคฤหัสถ์ได้พระอรหัตในวันนั้นก็จะบวชแล แต่ทว่าบางทีจะ ขัดบาตรและจีวรด้วยหามิได้ทัน บางทีจะขัดพระอุปัชฌาย์อาจารย์หาไม่ทันกาลเพลาวันนั้น คฤหัสถ์นั้นจะบวชตัวเอาได้หรือจะต้องรอให้พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์อื่นมาบวชให้หรือจะปรินิพ- พาน เป็นประการใด              พระนาคเสนแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ชื่อว่าท่านผู้เป็น คฤหัสถ์ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์แล้ว จะบรรพชาเอาเองหาอุปัชฌาย์อาจราย์มิได้ สยํ ปพฺพชนฺโต เมื่อบรรพชาเอาเองเช่นนั้นไซร้ เถยฺยํ อาปชฺเชยฺย ก็จะถึงซึ่งไถยเพศ ข้อหนึ่งที่ว่าจะคอยพระ อรหันต์มีฤทธิ์ ถ้าว่าล่วงวันไปก็จะสิ้นอายุลุแก่พระนิพพานสิ้น              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาค- เสนผู้ปรีชาญาณ ถ้ากระนั้นภูมิพระอรหันต์มิร้อนนักหรือ ผู้เป็นเจ้า              พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร พระอรหัตจะร้อน หามิได้ ภูมิคฤหัสถ์ต่ำไม่ควรที่จะทรงภูมิพระอรหัตอันบริสุทธิ์ อนึ่งโสด เปรียบเหมือนโภชนะ อายุปาลกํ อันจะรักษาอายุสัตว์ ชีวิตรกฺขกํ เป็นของเลี้ยงชีวิต เมื่อเตโชธาตุในกายสัตว์สำหรับที่ จะเผาอาหารในลำไส้ให้ย่อยยับวิกลอ่อนไป สัตว์บริโภคอาหารโภชนะเข้าไปตกลงถึงลำไส้แล้ว เตโชธาตุมิอาจเผาอาหารให้ย่อยยับไปได้ สัตว์ที่บริโภคนั้นก็ถึงซึ่งชีวิตตักษัยกระทำกาล- กิริยาตาย จะเหมาว่าโภชนะกินตายหรือ อติทุพฺพลตา เหตุทั้งนี้เพราะเตโชธาตุทุพพลภาพอ่อน ไปฉันใด ดูรานะบพิตร พระอรหัตเล่าเมื่อคฤหัสถ์ได้ไม่บรรพชาเสียในวันนั้นจะเข้าพระนิพพาน คีหิทุพฺพลตาย ด้วยภูมิคฤหัสถ์ทุพพลภาพ จะเหมาว่าพระอรหัตจะร้อนกระไรได้ อุปไมย เหมือนบุคคลบริโภคโภชนะ เตโชธาตุอ่อนเผาไม่ได้ ไม่ควรจะเหมาเอาโภชนะว่ากินตายฉะนั้น มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อีกประการหนึ่ง เปรียบดังกำหญ้าอันน้อย บุคคลปักไว้ที่ภูมิภาคแผ่นดิน ยังมีบุคคลผู้หนึ่งเอาศิลาใหญ่มาทับลง กำหญ้าน้อยมิอาจทาน ศิลาใหญ่ไว้ได้ ย่อมจะบี้แบนย่อยยับไป ยถา มีครุวนาฉันใด พระอรหัตสิสมควรจะทรงได้แต่ภูมิ บรรพชาเป็นภูมิใหญ่ ภูมิคฤหัสถ์ต่ำนักมิอาจทรงได้ อุปไมยเหมือนกำหญ้านั้น อีกประการหนึ่ง ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ถ้ามิฉะนั้นเปรียบดุจบุรุษอันเป็นหินชาติต่ำโคตรต่ำวงศ์พงศ์พันธุ์ ต่ำตระกูล ปริตฺตปุญฺโญ มีบุญอันน้อยถอยทั้งสติปัญญา ครั้นราชสมบัติมาถึงเข้าได้เป็นเจ้า จอมกษัตริย์ เสวยราชสมบัติก็มิอาจเสวยได้นาน มักจะต้องประหารถึงแก่กาลกิริยา ด้วยเหตุ ว่าบุญนั้นน้อย ชาติต่ำไม่สมควรที่จะทรงความเป็นใหญ่ไว้ได้ฉันใดก็ดี เพศภูมิคฤหัสถ์นี้ ต่ำช้า มิอาจสามารถที่ว่าจะทรงไว้ซึ่งพระอรหัตไว้นาน ปานดุจบุรุษหินชาติมิอาจเสวยราชสมบัติบวร เศวตฉัตรนั้น              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีได้ทรงฟังพระนาคเสนวิสัชนาฉะนี้ก็ชื่นชมปรีดา สาธุการ สรรเสริญพระนาคเสนต่างๆ ในกาลบัดนั้น
คีหิปัพพชิตานัง ขีณาสวปัญหา คำรบ ๖ จบเพียงนี้

             เนื้อความมิลินทปัญหา หน้าที่ ๓๘๙ - ๓๙๐. http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=160              สารบัญมิลินทปัญหา http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=0#item_160

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]