ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก  หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
มิลินทปัญหา
อนุมานปัญหา ที่ ๘(๑)
             อถ โข ในกาลนั้นแท้จริง โส มิลินฺโท ราชา อันว่าสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ มีพระราชโองการตรัสปราศรัยถ้อยคำเป็นสาราณียกถา กับด้วยพระนาคเสนผู้จอมปราชญ์แล้ว มีพระหฤทัยใครจะทรงทราบสิ่งที่ยังไม่ทรงทราบและเพื่อทรงจำไว้กระทำให้แจ้ง เห็นแสงสว่าง แห่งญาณทำลายอวิชชา ยังปัญญาให้เกิดขึ้น ก้าวล่วงกระแสแห่งสงสารและตัดกระแสแห่ง ตัณหา ดื่มซึ่งน้ำอมฤตรสคือพระนิพพาน จึงทรงตั้งพระฉันทอัธยาศัยและพระวายามปัญญา อุตสาหะตั้งสติสัมปชัญญะให้มั่งคงเป็นอันดีแล้ว ตรัสถามพระยาคเสนต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา พุทฺโธ อันว่าองค์สมเด็จพระพุทธเจ้านั้น ตยา ทิฏฺโฐ อันพระผู้เป็น เจ้าได้เห็นหรือประการใด              พระนาคเสนวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อาตมาจะได้ทัศนาการ เห็นมามิได้ (๑) คัมภีร์มิลินทปัญหานี้ ตอนอารัมภกถาแบ่งปัญหาไว้เป็นประเภทใหญ่ ๕ ประเภท คือประเภทที่ ๑ มิลินทปัญหา ประเภทที่ ๒ เมณฑกปัญหา ประเภทที่ ๓ อนุมานปัญหา ประเภทที่ ๔ ลักขณปัญหา ประเภทที่ ๕ อุปมากถาปัญหา แต่มาในตอนที่แบ่งปัญหาประเภทใหญ่ออกเป็นวรรณคดีเป็นเรื่อง ประเภทที่ ๓ ที่ ๔ หายไป ชื่ออนุมานปัญหายังปรากฏอยู่ แต่เอาบวกเข้าเป็นเรื่องที่ ๘ ในวรรคที่ ๙ ของเมณฑกปัญหา สังเกต ดูรูปความ เห็นว่าเป็นอนุมานปัญหาประเภทใหญ่นั้นเอง แต่หากไม่ได้แบ่งเป็นวรรคเป็นเรื่อง ผู้รวมเรื่องใน ชั้นเดิมจึงจัดเอาเป็นปัญหาหนึ่ง รวมเข้าใจเสียในเมณฑกปัญหา ที่ถูกคงเป็นปัญหาประเภทใหญ่ที่ ๓ นั้นเอง จึงแยกออกพิมพ์เป็นประเภท ๑ ต่างหาก คงแต่คำว่าวรรคและเรียงจำนวนเลขไว้ตามบาลี บอกไว้สำหรับ พิจารณาเท่านั้น ส่วนปัญหาประเภทใหญ่นั้นเอง แต่หากไม่ได้แบ่งเป็นวรรคเป็นเรื่อง ผู้รวมเรื่องใน ชั้นเดิมจึงจัดเอาเป็นปัญหาหนึ่ง รวมเข้าเสียในเมณฑกปัญหา ที่ถูกคงเป็นปัญหาประเภทใหญ่ที่ ๓ นั้นเอง จึงแยกออกพิมพ์เป็นประเภท ๑ ต่างหาก คงแต่คำว่าวรรคและเรียงจำนวนเลขที่ไว้ตามบาลี บอกไว้สำหรับ พิจารณาเท่านั้น ส่วนปัญหาประเภทใหญ่ที่ ๔ คือลักขณปัญหานั้นหายสูญชื่อไปทีเดียว แต่เมื่อตรวจดู รูปความ เห็นว่าธุตังคปัญหาเรื่องที่ ๙ ต่อจากอนุมานปัญหานี้แหละเป็นลักขณปัญหา เพราะกล่าวลักษณะ ต่างๆ มาก แต่เนื้อเรื่องกล่าวด้วยธุดงค์ ผู้ให้ชื่อจึงเขียนลงไว้ว่าธุตังคปัญหา ได้พิมพ์แยกไว้เป็นแผนกหนึ่ง เหมือนกัน จะผิดถูกอย่างไรแล้วแต่นักปราชญ์จะวินิจฉัย สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่ พระนาคเสนผู้ปรีชา พุทฺโธ อันว่าสมเด็จพระพุทธสัพพัญญู พระผู้เป็นเจ้าไม่เห็น ก็อาจารย์ ของพระผู้เป็นเจ้าเห็นหรือไม่เล่า              พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อาจารย์ของอาตมา ก็ไม่ได้เห็น              พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาค- เสนผู้ปรีชา โยมคิดว่าตัวพระผู้เป็นเจ้าไม่เห็น อาจารย์ของพระผู้เป็นเจ้าจะเห็น นี่อาจารย์ก็หา เห็นไม่ ถ้าเช่นนั้นพระพุทธเจ้าก็ไม่มี เพราะไม่มีใครเห็นปรากฏ จะมีอย่างไรได้              พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาถามว่า มหาราช ขอถวายพระพร พระมหากษัตริย์ที่เป็น ต้นพระวงศ์ของพระองค์มีอยู่หรือ มหาบพิตรพระราชสมภาร              พระเจ้ามิลินท์จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา พระผู้เป็นเจ้าสงสัยอะไร พระมหากษัตริย์ที่เป็นต้นพระวงศ์ของโยมนี้ มีซิ พระผู้เป็นเจ้า              พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาถามว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร กษัตริย์ที่เป็นต้นพระวงศ์ของมหาบพิตรนั้น มหาบพิตรได้เห็นหรือ              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ นาคเสนผู้ปรีชา พระมหากษัตริย์ที่เป็นต้นพระวงศ์ของโยม โยมไม่เห็น              พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพร ปุโรหิตผู้เฒ่า เสนาบดีผู้เฒ่าได้ เห็นหรือ หรือว่าหามิได้ประการใด              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า หามิได้              พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อาตมา นี้มาใส่ใจว่ากษัตริย์ที่เป็นต้นพระวงศ์นั้น มหาบพิตรไม่เห็นกับพระเนตรของมหาบพิตร เสนาบดีและปุโรหิตผู้เฒ่าท่านจะเห็นบ้าง นี่ก็หาเห็นไม่ เออจะเอาอะไรเป็นที่อ้างเล่า นี่กษัตริย์ ที่เป็นต้นพระวงศ์ก็เป็นไป ไม่มีนั่นซี บพิตรพระราชสมภาร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่ พระนาคเสนผู้ปรีชา กษัตริย์ที่เป็นต้นพระวงศ์มีถึง ๕ พระองค์ แม้ดับสูญไปแล้วก็จริงแล แต่ทว่าเครื่องราชกกุธภัณฑ์ยังมีเป็นที่อ้าง อีกหลายสิ่งหลายอัน เสยฺยถียทํ คือสิ่งอะไรบ้าง เสตฉตฺตํ คือเศวตฉัตร ๒ อุณฺหิสํ คือพระมงกุฏ ๒ วาลวีชนี คือพัดวาลวิชนี ๑ มหารหานิ สยนานิ คือพระแท่นที่บรรทม มีราคามากครามครัน ๑ ขคฺคญฺจ คือพระขรรค์แก้ว ๑ นี่แหละ โยมเห็นเครื่องทรงเข้าแล้ว ก็รู้ว่ากษัตริย์ที่เป็นต้นพระวงศ์มี เพราะของต่างๆ นั้นเป็นพยาน              พระนาคเสนจึงพระเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพร ซึ่งพระองค์สมเด็จพระ ศรีสุคตทศพลญาณนั้น อาตมาก็ไม่เห็น อาจารย์ของอาตมาก็ไม่เห็น แต่อาตมาเห็นเครื่องทรง ที่สมเด็จพระพุทธองค์เจ้าประดิษฐานไว้ยังมีอยู่ สาวกทั้งปวงผู้รู้ผู้เห็นได้รับประทานต่อๆ มา เสยฺยีถทํ คือสิ่งไรบ้าง จตฺตาโร สติปฏฺฐานา คือพระสติปัฏฐานทั้ง ๔ จตฺตาโร สมฺมปฺปธานา คือพระสัมมัปปธาน ๔ จตฺตาโร อิทฺธิปาทา คือพระอิทธิบาท ๔ ปญฺจินฺทฺริยานิ คืออินทรีย์ ๕ ปญฺจ พลานิ คือพละ ๕ สตฺต โพชฺฌงฺคา คือพระโพชฌงค์ ๗ อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค คือพระ อัฏฐังคิกมรรค ๘ ประกอบอันอุดม อาตมาก็ประนมมืออภิวาทไหว้ด้วยน้ำใจเชื่อแม้ ด้วยเห็น ธรรมประจักษ์แก่ตา ก็รู้ด้วยอนุมานปัญญาว่า อตฺถิ โส ภควา สมเด็จพระศาสดาผู้ทรงพระ ภาคเป็นอันงามนี้มีจริง ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรมีสุนทรราชโองการดำรัสตรัสว่า ภนฺต นาคเสน ข้า แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อุปมํ กโรหิ พระผู้เป็นเจ้าจงกระทำซึ่งอุปมาอุปไมยให้แจ้งก่อน              พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปานดัง นคร- วฑฺฒกี นายช่างพระนครผู้หนึ่ง ปรารถนาจะสร้างพระนคร จึงพิจารณาดูซึ่งที่ชัยภูมิแห่งหนึ่งซึ่ง เสมอเป็นอันดี จะได้มีก้อนกรวดและแผ่นศิลาหามิได้ เป็นภูมิภาคน่าร่มรื่นชื่นบาน ปราศจาก อันตรายและโทษซึ่งจะเกิดขึ้นทางใจ ปสฺสิตฺวา ครั้นพิจารณาดูซึ่งสิ่งทั้งปวงนั้นแล้ว วิสมํ สมํ การาเปตฺวา จึงใช้ให้คนทั้งหลายทำที่ที่ไม่เสมอให้เสมอ ให้ชำระซึ่งหลักตอไม้หนามแล้ว จึง สร้างเมืองงามควรจะทัศนาการเล็งแลดูในที่นั้น วิภชฺชฺตํ เมืองนั้นอันนายช่างจำแนกดีแล้ว โอกิณฺณปริกฺขํ รอบนอกมีคูกั้น ปาการทฬฺหํ ในคูกำแพงมีหอรบเชิงเทินอันมั่นคง จตุกฺกณฺ- ณสนฺธิ มีที่ต่อตามมุมกำแพงทั้ง ๔ มีถนน ๔ แจง ถนน ๓ แจงและถนนหลวง ร้านตลาดทั้ง ปวงและสวนหลวงอุทยานสำราญใจ สระน้อยสระใหญ่ สระโบกขรณีและท่อน้ำ แล้วจึงทำเป็น นิเวศน์วังใน ประกอบไปด้วยราชเรือนหลวงปราสาทราชมนเทียรทั้งปวงทั้งคลังและฉางต่างๆ สร้างเป็นเรือนกระทำด้วยหญ้าไว้ให้คนอาศัย ตํ นครํ พระนครนั้นไซร้ นิราศทุกข์แสน สุขสบายหาอันตรายมิได้ ประกอบด้วยสุขสโมสร โส วฑุฒกี นายช่างนั้นครั้นสร้างนครลงแล้ว หาอยู่ไม่ อญฺญํ ปเทสํ คจฺเฉยฺย ก็ไปสู่ประเทศที่อื่นตามปรารถนา อปเรน สมเยน โดยสมัยอื่น ตํ นครํ อันว่าพระนครนั้น สุภิกฺขํ ข้าวถูกลูกไม้มีผล สารพัดอาหารเลี้ยงชนมีทุกสิ่ง สุเขมํ เป็นเมืองยิ่งเกษมศานต์ สุสมิทฺธํ สิวํ มั่งคั่งเย็นสำราญแสนสบาย อนีติกํ นิรุปทฺทวํ มิได้ ปราศจากระเบียงกฎหมายและหาอุปัทวันตรายมิได้ นานาชนสมากุลํ อากูลมูลไปด้วย ไพร่ฟ้าประชากรอยู่อื้ออึง คือกษัตริย์และพราหมณ์ และพ่อค้า ชาวนา และพ่อครัว นายช้าง นายม้า นายรถ บทจรเดินเท้า และนายขมังธนู หมู่บัณเฑาะก์ และกระเทย และลูกหลวง ลูกอำมาตย์ราชเสนา และทหารโยธา สมควรจะวิ่งเต้นเข่นฆ่าหมู่อรินท์ทั้งหลายให้พินาศ อนึ่ง ประกอบด้วยบุตรทาส บุตรคนมั่งมีและบุตรคนปล้ำคนมวยต่างๆ มีทั้งช่างถมช่างประสะ ช่างเขียนทุกสิ่งสรรพ์ ช่างกระทำจุณจันทน์ ช่างทองคำ ช่างเงิน ช่างดีบุก ช่างทองแดงทองเหลือง ช่างแก้ว ช่างเจียระไน ช่างไม้ ช่างหม้อ ช่างทอ ช่างปั้น ช่างเกลา ช่างเกลา ช่างพระขรรค์ ช่างทำดาบ หอกน้อยหอกใหญ่ ช่างไม้ ช่างกระบี่ ช่างประดับประดา ช่างทำดินทำทราย ช่างคราม ช่างครั่ง ช่างปิ้งมังสัง ช่างทำสำรับกับข้าว สารพัดจะมีทุกสิ่งไป สิ่งไรที่จะไม่มีในพระนครนั้นเป็นว่าหามิได้ ประกอบไปด้วยตลาดพิศาลโรงร้านเรียงราย ฝูงมนุษย์นิกรหญิงชายผู้ใดเที่ยงไป ได้เห็นพระ นครอันเป็นสุขสนุกสำราญดังนั้น ก็ชมด้วยอนุมานปัญญาว่า ช่างผู้นี้ฉลาดนักหนามาสร้าง พระนครไว้ ยถา มีครุวนาอุปมาฉันใด มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร โส ภควา อันว่าสมเด็จพระศาสดาจารย์ ผู้ทรงพระภาคนั้น อสมสโม บุคคลผู้ใดจะเปรียบเสมอพระองค์ หามิได้ ทรงพระพุทธคุณและพระบารมีคุณจะนับมิได้ อนนฺตเตโช มีเดชจะนับมิได้ อนนฺนพโล มีพระกำลังจะนับมิได้ ทรงไว้ซึ่งพระพุทธพลบารมีกิริยาอันถึงที่สุดจะนับมิได้ อนนฺตวิริโย มี เพียงจะนับมิได้ อนนฺตพลมารํ นีหริตฺวา พระองค์มากำจดเสียซึ่งมารอันจะนับมิได้ ยังมาร กับเสนาให้อัปราชัย พระองค์มาทำลายเสียซึ่งข่ายคือทิฐิให้กระจักกระจาย ทำลายเสียงซึ่ง อวิชชาและกามตัณหาอันข้องอยู่ ยังวิชชาให้บังเกิดแล้ว ทรงไว้ซึ่งพระธรรมจักรอันประเสริฐ สำเร็จแก่พระสัพพัญญุตญาณ วิชิตสงฺคาโม มีสงครามกับมารอันชนะแล้ว ธมฺมนครํ มาเปสิ พระองค์ก็มาตบแต่งธรรมนครสร้างธรรมนครลงไว้ เหมือนนายช่างสร้างนครขึ้นไว้ในกาลนั้น ภควโต โข มหาราช ธมฺมนครํ ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าธรรมนคร ของสมเด็จพระพุทธองค์เจ้าผู้ทรงพระภาคเป็นอันงามนั้น สีลปาการํ มีศีลเป็นกำแพง หิริ ปริกฺขํ มีละอายบาปเป็นคู สติโทวาริกํ มีสติเป็นนายประตู ญาณทฺวารโกฏฺฐกํ มีพระญาณ เป็นซุ้มประตู วิริยอฏฺฏลาก มีเพียรเป็นหอรบ สทฺธาอีสกํ มีศรัทธาเป็นยอดปราสาท ปญฺญาปาสาทํ มีปัญญาเป็นตัวปราสาท สุตฺตนฺตปจฺจรํ มีพระสุตตันตปิฎกเป็นถนนหลวง อภิธมฺมสิงฺฆาฏกํ มีพระอภิธรรมเป็นตะแลงถนนสามแจง วินยวินิจฺฉยํ มีพระวินัยเป็นโรง ราชวินิจฉัย สติปฏฺฐานวิถิกํ มีพระสติปัฏฐานเป็นถนนใหญ่อันสำราญ มหาราช ขอถวาย พระพรบพิตรพระราชสมภาร ลำดับถนนมีร้านตลาดต่างๆ เสยฺยถีทํ คือสิ่งไรบ้าง ปุปฺผาปณํ คือร้านตลาดดอกไม้ คนฺธาปณํ ร้านตลอดของหอม ผลาปณํ ร้านตลาดผลไม้ อคทาปณํ ร้านตลาดยาดับพิษงู โอถาปณํ ร้านตลาดยาต่างๆ อมาปณํ ร้านตลาดน้ำอมฤตอันหวาน รตนาปณํ ร้านขายแก้ว สพฺพาปณํ ร้านตลาดของเบ็ดเตล็ดสารพัดมี สิริเป็น ๘ ตลาดด้วยกัน ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ปุปฺผาปณํ อันว่าร้านตลาดดอกไม้นั้นประการใด              พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่า ร้านตลาดดอกไม้นั้น ได้แก่อสุภสัญญา อันสมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ ผู้รู้เห็นเป็น องค์พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ขาย สัญญาทั้งหลายคือ อนิจสัญญาทุกขสัญญา อนัตตสัญญา มรณสัญญา อสุภสัญญา อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา วิราคสัญญา นิโรธสัญญา สัพพโลเก อนภิรตสัญญา สัพพสังขาเรสุ อนิจจสัญญา อัฏฐิกสัญญา ปุลุวกสัญญา วินีลกสัญญา โลหิตกสัญญา และพระเมตตาสัญญา กรุณาสัญญา มุทิตาสัญญา อุเปกขาสัญญา อานาปานสติ มรณานุสสติ กายคตาสติ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อิมา สญฺญา อันว่าสัญญาทั้งหลายนี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนาไว้ว่า เป็นตลาดขายดอกไม้ โยคาวจรเจ้าทั้งหลายถือเอาสัญญาเป็นอารมณ์แล้ว จะพ้นจากราคะโทสะโมหะมานะทิฐิ จะ ข้ามพ้นสงสาร ห้ามเสียซึ่งกระแสตัณหา จะตัดเสียซึ่งความสงสัย จะกำจัดเสียซึ่งกิเลส จะกระ เวศเข้าสู่พระนครนิพพาน นครุตฺตมํ เป็นพระนครอันอุดมบรมล้ำเลิศประเสริฐกว่านครทั้งปวง เมื่อนิพพานนั้นล่วงเสียซึ่งภัย ประกอบไปด้วยสุขปรีดาโดยสภาวะแท้ อชาตํ อชรํ อมรณํ ไม่รู้เกิด ไม่รู้แก่ ไม่รู้ตาย ประเสริฐเป็นนิจสินปราศจากราคะมลทิน มหาราช ขอถวายพระพร นี่แหละ เป็นร้านตลาดดอกไม้ของสมเด็จพระบรมศาสดา ยุติด้วยกระแสพระพุทธฎีกาว่า บุคคลถือเอา บริกรรมอันเป็นมูลค่าเข้ามาร้านตลาด ซื้อเอาอารมณ์อันเป็นเพียงดังดอกไม้ ย่อมจะรื่นรมย์ หอมชื่นเบิกบานใจ ด้วยวิมุตติธรรมอันประเสริฐดังนี้ ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่ พระนาคเสนผู้ปรีชา กลฺโลสิ ผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้สมควรนักหนาดังนี้ แล้วตรัสถามต่อไปว่า คนฺธา- ปณํ อันว่าร้านตลาดของหอมได้แก่สิ่งไร              พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ร้านตลาดของหอมได้แก่ศีล ธรรมดาว่าสมณพราหมณ์สาธุสัตบุรุษผู้ใดถือศีลมั่น ศีลนั้น เธียรย่อมจะมีกลิ่นฟุ้งไป ตลอดมนุษยโลกและเทวโลก ทั้งทิศน้อยทิศใหญ่ ธรรมดาว่ากลิ่นดอก ไม้ย่อมจะหอมไปได้แต่ตามลม กลิ่นศีลนี้ไซร้ หอมไปตามลมก็ได้ ทวนลมก็ได้ ศีลนั้นคือ ไตรสรณคมน์ และศีล ๕ ประการ ศีล ๘ ประการ ศีล ๑๐ ประการ ศีลที่นับเนื่องในอุทเทศ ทั้ง ๔ และปาติโมกขสังวรศีล ศีลทั้งปวงนี้ มหาราช ขอถวายพระพร นี้แหละเป็นร้านตลาดของ หอมของสมเด็จพระบรมศาสดา ยุติด้วยกระแสพระพุทธฎีกา อันสมเด็จพระมหากรุณาผู้เป็น เทวดาอันประเสริฐกว่าเทวดาทั้งหลาย ตรัสพระสัมธรรมเทศนาไว้ว่า จนฺทนํ ตครํ อันว่า จันทร์และกฤษณาอันหอมนักหนา มลฺลิกา คือดอกไม้มีมะลิเป็นต้น และกลิ่นอุบลบุปผาที่ ว่ากลิ่นหอม ประเสริฐกว่าคันธชาติทั้งปวงนั้น จะมีกลิ่นหอมไปได้ก็แต่ตามลมจะหอมทวนลม และหอมไปทั่วทิศเหมือนกลิ่นศีลนี้หามิได้ กลิ่นศีลนี้ไซร้ เทเวสุ อุตฺตโม อุดมกว่าทิพยสุคนธ์ใน เทวโลก ล้ำเสิศนักหนาดังนี้ ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรมีพระราชโองการตรัสว่า ผู้เป็นเจ้าวิสัชนาสมควร นักหนา แล้วตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่าร้านตลาดผลไม้ได้ แก่สิ่งไรเล่า พระผู้เป็นเจ้า              พระนาคเสนจึงเข้าใจว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าผลไม้ ที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถศาสาดาจารย์ตั้งร้านวางไว้ เสยฺยถีทํ คือสิ่งใด โสตาปตฺติผลํ คือพระโสดาปัตติผล สกิทาคามิผลํ คือ พระสกิทาคามิผล อนาคามิผลํ คือพรอนาคมิผล อรหตฺตผลํ คือพระอรหัตผล สุญฺญตผลํ คือสุญญตผล สมาปตฺติผลํ คือสมาบัติผล อนิมิตฺต- ผลสมาปตฺติ คืออนิมิตผลสมาบัติ อปฺปณิหิตผลสมาปตฺติ คืออัปปณิหิตผลสมาบัติ อเนญฺช- ผลสมาปตฺติ คืออเนญชผลสมาบัติ อุเปกฺขาผลสมาปตฺติ คืออุเบกขาผลสมาบัติ จัดเป็นร้านตลาดผลไม้ ผู้ใดปรารถนาพึงกระทำการบุญ ชื่อว่าให้มูลค่าก็จะได้ซึ่งผลตาม ปรารถนา มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ปานดังบุรุษผู้หนึ่ง มีมะม่วงทรงผล อยู่เป็นนิรันดร์ บุรุษผู้นั้นก็ตกแต่ง หวังว่าจะขายแก่คนทั้งหลายอันมาซื้อ เมื่อใครเอาราคา ผลมะม่วงมาให้แล้วก็เลือกเอาได้โดยสมควรแก่ราคา สุดแต่จะรักแก่อ่อนเข้าไคลประการใด ให้มูลค่าสมควรเลือกเอาได้ตามปรารถนา ตกว่าผลมะม่วงนั้นจะรู้สิ้นสุดไปนั้นหามิได้ ด้วยว่า มีผลไปทั่วหน้าตาปี ยถา มีครุวนาฉันใด อันว่าร้านตลาดผลไม้ ที่สมเด็จพระบรมไตรโลก- นาถพระราชทานไว้ บุคคลผู้ใดให้มูลค่า กล่าวคือบำเพ็ญเพียรบริกรรมภาวนาก็จะได้ผลไม้มี โสดาปัตติผลเป็นต้น สมดังความปรารถนา มีอุปไมยเหมือนต้นมะม่วงอันมีผลเป็นนิตย์ ฉะนั้น มหาราช ขอถวายพระพร นี่แหละเป็นร้านตลาดผลไม้ของสมเด็จพระบรมศาสดา ยุติด้วย กระแสพระพุทธฎีกาว่า ชนทั้งหลายมาให้มูลค่า กล่าวคือบริกรรมภาวนาแล้ว ย่อมซื้อเอาได้ซึ่ง อมตผล ผู้ที่ซื้ออมตผลด้วยบริกรรมภาวนานั้น ย่อมเป็นผู้รู้ถึงซึ่งความสุขในโลกดังนี้ ขอถวายพระพร สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่ พระนาคเสนผู้ปรีชา กลฺโลสิ พระผู้เป็นเจ้านี้ฉลาดนักหนา ซึ่งวิสัชนานี้ไพเราะนักดังนี้ แล้วตรัส ถามต่อไปนี้ อคทาปณํ อันว่าร้านตลาดยาดับพิษงูนั้น ได้แก่ธรรมสิ่งใดเล่า              พระนาคเสนจึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตพระราชสมภาร ร้านตลาด ยาดับพิษงู ของสมเด็จพระบรมครูนั้น คือธรรมอันดับกิเลส ที่พระองค์ตรัสพระสัทธรรมเทศนา ไว้ได้แก่ นวังคสัตถุศาสนา คือคำสั่งสอนมีองค์เก้า คือสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทานะ อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ ถ้าผู้ใด ให้มูลว่า กล่าวคือ อุตสาหะสดับฟังพระ สัทธรรมเทศนาเล่าเรียนจำเริญภาวนาไปในนวังคสัตถุศาสนานั้น ไม่ช้าก็จะดับพิษกิเลส ประเวศเข้าสู่นิพพาน จะพ้นจากทุกขกันดาร คือชาติชราพยาธิและมรณทุกข์ และโสกะปริเทวะ สะอื้นอาลัย และความทุกข์โทมนัสและความคับแค้นอันเป็นพิษใหญ่ สมด้วยพระพุทธฏีกาที่ ตรัสพระสัทธรรมเทศนาไว้ว่า ภิกฺขเว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยาสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะดับพิษกิเลส ร้ายจะประเสริฐเสมอพระธรรมนั้นไม่มี ท่านจงขวนขวายดื่มซึ่งยาพระธรรมนั้นเถิด นี่แหละ สมเด็จพระสัพพัญญูผู้ประเสริฐตรัสไว้ฉะนี้              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่ พระนาคเสนผู้ปรีชา ซึ่งวิสัชนานี้ควรอยู่ ก็ร้านตลาดยารักษาโรค ของสมเด็จพระบรมครูตั้งไว้ ได้แก่ธรรมสิ่งไรเล่าพระผู้เป็นเจ้า              พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระบรมโลกุตตมาจารย์ทรงรักษาโรค คือราคาทิกิเลส แห่งมนุษย์นิกรอมเรศร์ทั้งหลาย ให้เบาบางห่างหายด้วยธรรมทั้งหลายสิ่งใด อันว่าธรรมนั้นไซร้ใช่อื่นใช่ไกล จตฺตาโร สติปฏฺฐานา คือพระสติปัฏฐาน ๔ จตฺตาโร สมฺมปฺปธานา คือพระสัมมัปปธาน จตฺตาโร สติปฏฺฐานา คือพระอิทธิบาท ๔ ปญฺจ อินฺทฺริยานิ คืออินทรีย์ ๕ ปญฺจ พลานิ คือพละ ๕ สตฺต โพชฺฌงฺคา คือ โพชฌงค์ ๗ อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค คืออัฏฐังคิกมรรคอันอุดม สิริเป็น โพธิปักขิยธรรม ๓๗ นี้ เป็นยารักษาโรคแห่งสัตว์มนุษย์นิกรเทวดาทั้งหลาย อันเป็นมิจฉาทิฐิ เห็นผิด มิจฉาสังกัปปะ ดำริผิด มิจฉาวาจา กล่าววาจาผิด มิจฉากัมมันตะ ประกอบการผิด มิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตผิด มิจฉาวายามะ เพียรผิด มิจฉาสติ ตั้งสติผิด มิจฉาสมาธิ ตั้งสมาธิผิด เรียกว่าเป็นโรค คือปฏิบัติผิดนั้น ให้ปฏิบัติเสียให้ชอบที่ สมเด็จพระชินสีห์เจ้ายังเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลายให้พ้นจากภัยอันตราย แล้วให้คลี่คลายเสียซึ่งบ่วงห่วงใยให้พ้นไปจากทุกข์จาก กันดารแล้ว ยังจิตให้โสมนัสการในโพธิปักขิยธรรม ดังวิสัชนานี้แล เรียกว่าร้านตลาดยาอัน วิเศษของสมเด็จพระศาสดา ยุติด้วยกระแสพระพุทธฎีกาที่ตรัสไว้ดังนี้ว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุ ทั้งหลาย เย เกจิ โอสถา อันว่ายาวิเศษขนานใดขนานหนึ่ง ซึ่งจะประเสริฐดุจยาคือธรรมของ ตถาคต มีพระสติปัฏฐานเป็นต้นตลอดจนถึงพระอัฏฐังคิกมรรคหามิได้ เธอทั้งหลายจงดื่มกิน ซึ่งยาคือธรรมนั้นดังนี้              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่ พระนาคเสนผู้ปรีชา โอสถาปณํ อันว่าร้ายตลาดยา สุปสาริตํ สมเด็จพระมหากรุณาตั้งไว้ เปิดไว้เป็นอันดีแล้ว แต่ว่ายาคือธรรมนี้ บุคคลผู้ใดได้บริโภคแล้วอาจดับกิเลสให้สิ้นไปได้ด้วย ประการใด               พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร สุต- ปุพฺพํ พระองค์จะไม่ได้ทรงพระสวนาการฟังมาบ้างหรือว่า ครั้งหนึ่งมนุษย์ทั้งหลายทูลถาม สมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นสามายิกนิมิต คือคิดกันถามปัญหาพระองค์ด้วยความคิดของตน สมเด็จพระทศพลก็ทรงวิสัชนา อันสมเด็จพระมหากรุณาแล้ว ใครถามปัญหา พระองค์วิสัชนา ได้สิ้นปัญหานี้บพิตรจะไม่เคยได้ยินหรือ พระราชสมภาร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่ พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ สุตปุพฺพํ โยมได้เคยสวนาการฟังมาแต่ก่อน              พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร เอเต จญฺเญ ชนเหล่านั้นเทวดาทั้งหลายอื่นมาทูลถามปัญหา สมเด็จพระทศพลญาณก็ทรงแก้ให้ เข้าใจ ธมฺโมสถํ ปีวิตฺวาน มนุษย์นิกรเทวดาทั้งหลายเหล่านั้น ได้ดูดดื่มธรรโมสถนั้นแล้ว ก็ดับ กิเลสเข้าพระนิพพาน ดับเสียซึ่งชาติกันดาร ชรากันดาร พยาธิกันดาร มรณกันดาร สุขเกษม ศานต์เป็นเอกันตบรมสุข              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสว่า กลฺโลสิ อันร้านตลาด ทั้งหลายผู้เป็นเจ้ากล่าวปริยายนี้สมควรอยู่ อมตาปณํ อันว่าร้ายตลาดน้ำอมฤตกินไม่รู้ตายนั้น ได้แก่ธรรมสิ่งไรเล่า พระเจ้าข้า              พระนาคเสนจึงถวายวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อมตา- ปณํ อันว่าร้านตลาดน้ำอมฤตนั้นได้แก่กายคตาสติ กายคตาสตินี้ ถ้าบุคคลผู้ใดจำเริญ ภาวนาแล้ว ได้ชื่อว่าบริโภคซึ่งรสพระนิพพาน จะดับเสียซึ่งชาติชราพยาธิมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส- สุปายาสทั้งหลาย แม้ยังจะเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร ยังไม่ถึงพระนิพพานก่อน บุคคลผู้นั้น บ่ห่อนจะได้ไปสู่จตุราบาย มีแต่ว่าจะไปเกิดในสุคติอันดี สมด้วยกระแสพระพุทธฎีกาที่ตรัสพระ สัทธรรมเทศนาไว้ว่า ภิกฺขเว ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ได้ดื่มกินกายคตาสติ หมู่สัตว์เหล่านั้นได้ชื่อว่าดื่มกินซึ่งน้ำอมฤตไม่รู้ตาย ละล่วงเสียได้ซึ่งทุคติวินิบาตและนรกดิรัจฉาน ทั้งปวงดังนี้ ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ นาคเสนผู้ปรีชา ซึ่งวิสัชนานี้สมควรแล้ว ก็ร้านตลาดแก้วของสมเด็จพระบรมครูนั้น ได้แก่ ธรรมสิ่งไรเล่า ผู้เป็นเจ้า              พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่า ร้านตลาดแก้วนั้น ได้แก่ ศีลรัตนะ สมาธิรัตนะ ปัญญารัตนะ วิมุตติรัตนะ วิมุตติญาณทัสสน- รัตนะ ปฏิสัมภิทารัตนะ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าศีลรัตนะนั้น สมเด็จพระสรรเพชญพุทธเจ้ามีพระพุทธฎีกาโปรดประทานไว้ว่า ได้แก่ พระปาติโมกขสังวรศีล อินทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจยสันนิสิตศีล จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล มัคคศีล ผลศีล มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ เทวมนุสฺสา เทวดามนุษย์ทั้ง หลาย ในมนุษย์โลกกับเทวโลกพรหมโลก และสมณพราหมณาจารย์ทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญ ซึ่งบุคคลอันประดับแก้ว กล่าวแล้วคือศีลรัตนะ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร พระภิกษุทั้งหลายทรงไว้ซึ่งศีลรัตนะนั้น รุ่งเรืองงามไปทั่วทิศเหนือทิศใต้ทิศตะวันตกตะวันออก และทิศใหญ่น้อยทั้งหลาย ทิศเบื้องต่ำเบื้องบนตลอดถึงภวังคพรหม อุดมกว่าแก้วทั้งหลาย ใน ไตรโลกนี้ สมด้วยพระพุทธฎีกาที่สมเด็จพระเทวดาติเทวะ ตรัสพระสัทธรรมเทศนาว่า ความสงสัย ได้มีแก่เราว่า ศีลประเสริฐกว่าหรือสุตะประเสริฐกว่าดังนี้ ศีลนั้นแหละประเสริฐกว่าสุตะ ความสงสัยมิได้แก่เราแล้ว ศีลเห็นปานนี้อยู่ในร้านตลาดของเรา ท่านทั้งหลายจงซื้อศีลรัตนะ นั้นด้วยการปฏิบัติ กล่าวคืออุตสาหะรักษาศีลให้มั่น แล้วจงเอาศีลรัตนะนั้นไปประดับเถิด              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าสมาธิรัตนะนั้น ได้แก่ธรรม สิ่งไร อันว่าสมาธิรัตนะนั้นได้แก่ สวิตักกสวิจารสมาธิ อวิตักกองวิจารสมาธิ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ โยคาวจรภิกษุรูปใดทรงไว้ซึ่งสมาธิรัตนะดังนี้แล้ว ก็จะห้ามเสีย และแผ้วเสียซึ่งกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก และมานอุทธัจจทิฐิวิจิกิจฉาวิตกและ วิตกด้วยกิเลสทั้งหลายอันมีประเภทต่างๆ มิให้เห็นมลทินอยู่ เพราะสมาธิเป็นธรรมบริสุทธิ ? ปราศจากมลทินโทษเป็นธรรมดา มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร สมาธิรัตนะ เห็นปานนี้แหละเป็นร้านตลาดรัตนะของสมเด็จพระบรมศาสดา ยุติด้วยกระแสพระพุทธฎีกาที่ ตรัสไว้ว่า สมาธิรัตนะนี้ มิให้วิตกอันร้ายกาจเกิดได้ และมิให้ซัดทอดไปซึ่งจิต เอตํ ตุมฺเห ท่าน ทั้งหลายจงประดับซึ่งแก้วอันกล่าวแล้ว คือสมาธิรัตนะนั้น มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าปัญญารัตนะได้แก่ธรรมสิ่งไร ปัญญารัตนะนั้นได้แก่พระอริยสาวก ผู้รู้ว่าสิ่งนี้เป็นโทษ สิ่งนี้เป็นคุณ สิ่งนี้ควรเสพ สิ่งนี้ไม่ควร เสพ สิ่งนี้เลว สิ่งนี้ประณีต สิ่งนี้ดำ สิ่งนี้ขาว สิ่งนี้ทั้งดำทั้งขาว ยถาภูตํ ปชานาติ ย่อมรู้ได้โดย แท้ว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์ สิ่งนี้เป็นทุกขสมุทัย สิ่งนี้เป็นทุกขนิโรธ สิ่งนี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ปัญญารัตนะเห็นปานนี้แหละ เป็นร้านตลาด ปัญญารัตนะของสมเด็จพระบรมศาสดา ยุติด้วยกระแสพระพุทธฎีกาที่ตรัสไว้ว่า บุคคลประดับ ปัญญารัตนะนี้แล้ว ย่อมเวียนว่ายอยู่ในภพอีกไม่นาน ก็พลันที่จะบรรลุอมตมหานิพพาน ไม่ ยินดีในภพต่อไป คือไม่ปรารถนาจะเกิดอีก              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าวิมุตติรัตนะนั้นได้แก่ธรรม สิ่งไร อันว่าวิมุตติรัตนะนั้นได้แก่พระอรหัต โยคาวจรเจ้าที่สำเร็จพระอรหัตนั้น ได้ชื่อว่า ประดับซึ่งวิมุตติรัตนะ ดุจบุรุษผู้หนึ่งทรงอาภรณ์ประดับมุกดาหารและแก้วมณี และแก้ว ประพาฬและชโลมทาด้วยเครื่องทา คือ กฤษณา ชะลูด ขอนดอก กระแจะจันทร์ อันมีกลิ่นหอม วิเศษ และประดับด้วยดอกไม้ทั้งหลายซึ่งมีคันธชาติอันหอม คือ พิกุล บุนนาค สายหยุด พุทธชาด เบญจมาศ มะลิซ้อน มะลิลา กรรณิกา จำปา กาหลง มหาหง ชงโค ทั้งสิ้น และ ดอกอุบลอันมีกลิ่นหอมไปได้เจ็ดวัน และดอกไม้อันมีกลิ่นหอมไปได้กึ่งเดือนนั้น ก็รุ่งเรือง เป็นทองงามแสงอร่ามครอบงำเสียซึ่งมาลาภรณ์ และ คันธาภรณ์ทั้งหลายนั้น ยถา มีครุวนาฉัน ใด มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าพระขีณาสวเจ้า อรหตฺตํ ปตฺโต สำเร็จพระอรหันต์แล้ว ได้ชื่อว่าประดับวิมุตติรัตนะเป็นแก้วอันมีรัศมีอร่าม ก็งามเป็นสง่ากว่า ปุถุชน ภิกษุทั้งหลาย อุปไมยเหมือนบุรุษอันแต่งตัวอย่างยิ่งนั้น เพราะเหตุไร เพราะเครื่องประ ดับคือ วิมุตตินี้เป็นเครื่องประดับอันเลิศกว่าวิมุตติทั้งลาย มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระ ราชสมภาร วิมุตติรัตนะเห็นปานนี้แหละ เป็นร้านตลาดวิมุตติรัตนะของสมเด็จพระบรมศาสดา ยุติด้วยกระแสพระพุทธฎีกาที่ว่า สมเด็จพระบรมกษัตริย์ทรงเครื่องประดับเป็นวิการแห่ง แก้วมณีแล้ว ย่อมเป็นที่เล็งแลของมหาชนฉันใด พระอริยสาวกที่ประดับด้วยวิมุตติรัตนะนี้ ก็ เป็นที่เล็งแลของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายฉันนั้น              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าร้านตลาดแก้วอันกล่าวแล้ว คือ วิมุตติญาณทัสสนรัตนะนั้นได้แก่ธรรมสิ่งใด ปจฺจเวกฺขณญาณํ มหาราช ขอถวายพระพร อันว่า วิมุตติญาณทัสสนรัตนะนั้น ได้แก่ปัจจเวกขณญาณ คือปัญญาที่พระอริยสาวกหยั่งเห็นซึ่งมรรค ผลและนิพพานกับทั้งกิเลสที่ละได้แล้ว และกิเลสที่เหลืออยู่ และญาณที่เป็นเหตุให้พระอริย- สาวกตรัสผู้อริยสัจ สมด้วยกระแสพระพุทธฎีกา ที่พระบรมศาสดาตรัสไว้ว่า พระภิกษุเหล่า พุทธชิโนรส พึงพยายามเพียรไป เพื่อได้ซึ่งรัตนะ คือสัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ ดังนี้              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าปฏิสัมภิทารัตนะนั้น ได้แก่ ธรรมสิ่งไร ปฏิสัมภิทารัตนะนั้น ได้แก่ปฏิสัมภิทา ๔ คือ อัตถปฏิสัมภิทา ๑ ธัมมปฏิสัมภิทา ๑ นิรุตติปฏิสัมภิทา ๑ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ๑ พระภิกษุซึ่งได้พระปฏิสัมภิทา ๔ นั้น แม้ว่าจะเข้า สู่ท่ามกลางบริษัท ๔ คือ ขัตติบริษัท และพราหมณบริษัท และคฤหบดีบริษัทและสมณบริษัท ก็ดี วิสารโท จะองอาจแกล้วกล้า อมงฺกุ ภูโต มิได้นั่งก้มหน้าอยู่ อนุตฺตราโส มิได้มีจิตสะดุ้ง อจฺฉมฺภิโต มิได้ตกใจกลัว อกมฺปิโต มิได้หวาดหวั่นกลัวใคร อปฏฺฐาโน มิได้นึกหาที่ตั้ง อปริภาสนฺโต มิได้นึกท่องสังวัธยาย วิคตโลมหํโส มีขนพองอันปราศจากแล้ว หาสยนฺโต มีใจชื่น วิสฺสฏฺโฐ เป็นผู้มีท่าทางสนิทสนมมีสง่า ในกาลเมื่อจะเข้าไปสู่ท่ามกลางบริษัททั้ง ๔ มหาราช ขอถวายพระพร ธรรมดาว่าบุรุษอันแกล้วกล้าในสงครามก็มิได้เข็ดขามคร้ามกลัว แต่งตัวผูกสอดเข้าซึ่งอาวุธ ๕ ประการแล้ว บุรุษผู้นั้นนึกห้าวหาญในใจว่า ถ้าแม้หมู่ข้าศึกมาใกล้ อุสุนาปาตยิสฺสามิ อาตมาจะยิงให้ล้มลง แม้ว่ายินผิดไปจะตรงเข้ามา อาตมาจะพุ่งด้วยหอกน้อย จะโบยด้วยกฤช จะแทงด้วยหอกใหญ่บุรุษผู้นั้นคิดในใจฉะนี้ก็ไม่มีความกลัวจึงแต่งตัวเข้าสู่สงคราม ความนี้ก็เหมือนพระภิกษุอันได้พระปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ จะเข้าสู่บริษัท ๔ ก็องอาจไม่สะดุ้งตกใจนั้น แท้จริงอันว่าพระภิกษุได้พระปฏิสัมภิทา ๔ นึกในใจว่า ถ้าบริษัทถามอาตมาโดยอรรถ ก็จะแก้ โดยอรรถ ถามอาตมาโดยปัจจัยก็จะแก้โดยปัจจัย ถามอาตมาโดยเหตุ ก็จะแก้โดยเหตุ ถาม อาตมาโดยนัย ก็จะแก้โดยนัย จะกระทำให้สิ้นสงสัยในปัญหาที่ถามนั้นๆ ประการหนึ่ง โย โกจิ ปุคฺคโล อันว่าบุคคลทั้งปวงแม้จะถามซึ่งปัญหาในธัมมปฏิสัมภิทา ถ้าถามอาตมาโดยธรรม อาตมาจะแก้โดยธรรม ถามโดยอมตธรรม จะแก้โดยอมตธรรม ถามโดยอสังขตธรรม และแก้ โดยอสังขตธรรม ถามโดยพระนิพพานธรรม และแก้โดยพระนิพพานธรรม ถามโดยสุญญูตธรรม จะแก้โดยสุญญตธรรม ตามโดยอนิมิตธรรม จะแก้โดยอนิมิตธรรม ถามโดยอัปปณิหิตธรรม จะ แก้โดยอัปปณิหิตธรรม ถามโดยอเนญชธรรม จะแก้โดยอเนญชธรรม ถามโดยอุเบกขาธรรม จะแก้โดยอุเบกขาธรรม ถามโดยธรรมสิ่งไร อาตมาจะแก้ให้สิ้นสงสัยโดยธรรมนั้นๆ ประการ หนึ่ง บุคคลผู้ใดจะถามปัญหาโดยนิรุตติปฏิสัมภิทา อาตมาจะวิสัชนาโดยนิรุตติปฏิบัติปฏิสัมภิทา ถามโดยบท จะแก้โดยบท ถามโดยอนุบท จะแก้โดยอนุบท ถามโดยอักขระ จะแก้โดยอักขระ ถามโดยสนธิ จะแก้โดยสนธิ ถามโดยพยัญชนะ จะแก้โดยพยัญชนะ ถามโดยอนุพยัญชนะ จะแก้ โดยอนุพยัญชนะ ถามโดยวรรณะ จะแก้โดยวรรณะ ถามโดยสระ จะแก้โดยสระ ถามโดยบัญญัติ จะแก้โดยบัญญัติ ถามโดยโวหาร จะแก้โดยโวหาร อาตมาจะแก้ให้สิ้นสงสัย ประการหนึ่ง โย โกจิ บุคคลทั้งปวงจักถามปัญหาในปฏิภาณสัมภิทา คือถามโดยปฏิภาณ จะแก้โดย ปฏิภาณ ถามโดยอุปมา จะแก้โดยอุปมา ถามโดยรส จะแก้โดยรส ถามโดยลักษณะ จะแก้ โดยลักษณะ อาตมาจะเปลื้องเสียให้สิ้นวิมัติสงสัยในกาลนั้น มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร พระราชสมภาร ปฏิสัมภิทารัตนะดังกล่าวมานี้ เป็นร้านตลาดปฏิสัมภิทารัตนะของสมเด็จ พระ บรมศาสดา ยุติด้วยกระแสพระพุทธฎีกาที่ประทานพระสัทธรรมเทศนาไว้ว่า ภิกษุซื้อปฏิสัมภิทา ทั้งหลายได้แล้วพึงถูกต้องด้วยญาณ กล่าวคือเชี่ยวชาญด้วยปัญญา ไม่ต้องเป็นผู้หวาด เสียวครั่นคร้าม งามโพโรจน์ล่วงเสียซึ่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายดังนี้              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันร้านตลาดแก้วคือโพชฌงค์นั้น เป็นประการใด มหาราช ขอถวายพระพร พระโยคาวจรผู้ใดประดับไปด้วยโพชฌังครัตนะ ๗ ประการ คือสติสัมโพชฌังครัตนะ ปีติสัมโพชฌังครัตนะ ปัสสัทธิสัมโพชฌังครัตนะ สมาธิสัม- โพฌังครัตนะ พระโยคาวจรนั้นก็จะยังโอกาสให้เกิดความงามรุ่งโรจน์โชตนาการไป ครอบงำ เสียซึ่งมนุษยโลกและเทวโลก              มหาราช ขอถวายพระพร นี่แหละสมเด็จพระบรมศาสดามีพระพุทธฎีกาตรัสว่าร้านตลาด คือสัมโพชฌังครัตนะ ยุติด้วยพระพุทธฎีกาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเล็งแลดูผู้ที่ประดับด้วยโพชฌังครัตนะ แม้ท่านทั้งหลายก็จงซื้อโพชฌังครัตนะเหล่านั้นด้วย การบริกรรมเจริญภาวนาเอามาประดับดังนี้ ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ นาคเสนผู้ปรีชา สพฺพาปณํ อันว่าร้านตลาดของเบ็ดเสร็จทั้งสิ้นของสมเด็จพระมุนินทร์สัพ- พัญญูนั้น ได้แก่ธรรมสิ่งใด              พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อัน ว่าร้านตลาดของเบ็ดเสร็จ ได้แก่นวังคสัตถุศาสนา คือ คำสั่งสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ ประการ และพระสารีริกธาตุบริโภคเจดีย์ สังฆรัตนะในร้านตลาดเหล่านี้ ย่อมมีของวางขาย เกลื่อนตลาด คือชาติสมบัติก็มี โภคสมบัติก็มี และอายุสมบัติก็มี อาโรคยสัมบัติ วัณณสมบัติ ปัญญาสมบัติ มานุสิกสมบัติ ทิพยสมบัติ นิพพานสมบัติ สารพัดจะมีขาย บุคคลทั้งหลาย ปรารถนาแล้วพึงให้มูลค่า กล่าวคือตั้งใจปฏิบัติตามนวังคสัตถุศาสนาเป็นต้นนั้น ก็จะ ได้สมความปรารถนา มีอุปมาเหมือนของในตลาดธรรมดา คือ ถั่วงาสาคูและข้าวสารทั้งหลาย เขาย่อมซื้อกันได้ ด้วยให้ราคาสมๆ กัน ยถา มีครุวนาฉันใด ในร้านตลาดของเบ็ดเสร็จแห่งสม เด็จพระบรมศาสดานั้น บุคคลนั้นหลายย่อมจะซื้อเอาสมบัติต่างๆ ได้ด้วยสมาทานศีลและ รักษาอุโบสถ หรือแม้ด้วยการกระทำกุศลกรรมเพียงเล็กน้อย มีอุปไมยฉันนั้น นี่แหละ เป็นร้านตลาดของเบ็ดเตล็ดแห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ยุติด้วยกระแสพระพุทธฎีกาที่ตรัส พระสัทธรรมเทศนาไว้ว่า ในร้านตลาดของเบ็ดเสร็จนั้น มีทุกสิ่งสรรพ์ คือมีทั่งความมีอายุยืน และความเป็นผู้ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน และความเป็นผู้มีสีกายผ่องใสและความเกิดในสวรรค์ และเกิดในตระกูลสูง และนิพพานอมตธรรม ชนทั้งปวงมีความปรารถนา ย่อมซื้อหาได้ด้วย มูลค่า คือ ศีล ทาน ภาวนา อุตสาหะจำเริญไป ก็จะได้สมตามปรารถนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงซื้อด้วยมูลค่า คือ ศรัทธาแล้วจงปฏิบัติให้ไพบูลย์เถิด ก็จะได้บรรลุโลกุตร- ธรรมสมดังปรารถนา              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ประการหนึ่ง พหู ชนา อันว่าคน ทั้งหลายมากมายนักหนา วสนฺติ ย่อมอยู่สนุกสบายในธรรมนครสโมสร ธมฺมกถิกา คือ พระธรรมกถึก วินยธรา คือท่านผู้ทรงพระวินัย สุตฺตนฺติกา คือท่านผู้ทรงพระสูตร อภิธมฺ- มิกา คือท่านผู้ทรงพระอภิธรรม และท่านผู้กล่าวซึ่งพุทธวจนะอันมีองค์ ๙ คือ สุตตะและเคยยะ และเวยยากรณะและคาถา และอุทานะและอิติวุตตกะ และชาตกะและอัพภูตธัมมะ และเวทัลละ และภิกษุทั้งหลายอันทรงซึ่งชาดก ทรงซึ่งทีฆนิกาย ทรงซึ่งมัชฌิมนิกาย ทรงซึ่งสังยุตตนิกาย ทรงซึ่งอังคุตตรนิกาย ทรงซึ่งขุททกนิกาย และพระภิกษุทั้งหลายอันประกอบด้วยศีลและสมถะ และภิกษุที่เป็นเวไนย คือควรจะเป็นสาวกและภิกษุที่รู้วินัย และภิกษุทั้งหลายอันเจริญใน โพชฌงคภาวนาและอนุสสติ และพระภิกษุอันเรียนซึ่งวิปัสสนาและภิกษุทั้งหลายอันถือ โสสานิกธุดงค์และถือบังสุกุล และถือยถาสันถติกธุดงค์ และถืออัพโภกาสิกธุดงค์ อรัญญิกธดุงค์ รุกขมูลิกธุดงค์ และถือเนสัชชิกธุดงค์ และพระภิกษุผู้ปฏิบัติอยู่ในผล และพระภิกษุผู้เป็นเสข- ผลสมังคี และพระภิกษุผู้ได้พระโสดา และพระภิกษุผู้ได้พระสกิทาคา พระภิกษุได้พระอนาคา พระภิกษุผู้ได้อรหัต และพระภิกษุผู้ได้ไตรวิชชา พระภิกษุได้อภิญญา ๖ พระภิกษุมีฤทธิ์ พระ ภิกษุมีปัญญาบารมีอันบริบูรณ์ และพระภิกษุจำเริญพระสติปัฏฐาน ๔ และพระภิกษุจำเริญพระ สัมมัปปธาน ๔ และพระภิกษุจำเริญอิทธิบาท ๔ พระภิกษุจำเริญอินทรีย์ ๕ พระภิกษุจำเริญพละ ๕ พระภิกษุจำเริญโพชฌงค์ ๗ พระภิกษุจำเริญอัฏฐังคิกมรรค ๘ พระภิกษุจำเริญฌาน พระภิกษุ มีความสำคัญมั่นหมายในรูปและใช่รูปหลุดพ้นแล้ว และพระภิกษุมีธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข พระ ภิกษุได้สุญญตธรรม พระภิกษุได้อนิมิตธรรม พระภิกษุได้อัปปณิหิตธรรม และพระภิกษุได้ อเนญชอุเบกขาผลสมาบัติ ย่อมอยู่ในธรรมนครนั้น นฬวนสรวนํ อันว่าป่าไม้อ้อและป่าสน อันสล้างไปด้วยต้นอ้อต้นสนต่างๆ นานา ป่าทั้งสองนี้อาเกียรอากูลแออัดมั่วมูล ซับซ้อนกันไป ยถา มีอุปมาฉันใด ธรรมนครนี้ ก็แออัดไปด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย มีอุปไมยดังป่าอ้อป่าสนนั้น ขอถวายพระพร              ในที่นี้พระคันถรจนาจารย์ประพันธ์คาถา พรรณนาความข้างต้นนั้นได้มีใจความว่า ท่านทั้งหลายที่เป็นวีตราคะ และท่านทั้งหลายที่เป็นวีตโทสะ และท่านทั้งหลายที่เป็น วีตโมหะ และท่านทั้งหลายที่เป็นวีตตัณหา และท่านที่หาอุปาทานมิได้นั้น วสนฺติ ย่อมอยู่ ธมฺมนคเร ในธรรมนคร และภิกษุทั้งหลายอันได้ซึ่งวิมุตติฌาน พระภิกษุทั้งหลายถือ อรัญญิกะ พระภิกษุถือเนสัชชิกะ พระภิกษุถือโสสานิกะ พระภิกษุถือจงกรม ถือบังสุกุลจีวร คือติจีวริกะ คือธรรมขันธ์เป็นคำรบ ๔ และพระภิกษุทั้งหลายเป็นผู้รู้ธรรมเป็นอย่างเอกนั้น วสนฺติ ย่อมอยู่ ธมฺมนคเร ในธรรมนคร และพระภิกษุทั้งหลายเป็นอัปปิจฉา และพระภิกษุ ทั้งหลายเป็นธุตังคสมาจาร และพระภิกษุเป็นสัลลหุกวุตติ และพระภิกษุสันโดษเป็นลาภ วสนฺติ ย่อมอยู่ ธมฺมนคเร ในธรรมนคร ประการหนึ่งท่านทั้งหลาย ฌายี อันได้ฌาน ฌานรตา ยินดีในฌาน ธีรา มีปัญญา สนฺตจิตฺตา มีจิตระงับบาป สมาหิตา มีจิตตั้งมั่นเป็นอันดี อากิญฺจญฺญํ ปฏฺฐยมานา ปรารถนาจะเข้าสู่อากิญจัญญายตนสมาบัติ บรรดาภิกษุทั้งหลายอันมีฤทธิ์ และ หาฤทธิ์มิได้นั้น วสนฺติ ย่อมอยู่ ธมฺมนคเร ในธรรมนคร ประการหนึ่ง พระภิกษุปฏิบัติ เพื่อผล พระภิกษุเป็นเสกขผลสมังคี และพระภิกษุผู้หวังประโยชน์อันอุดม วสนฺติ ย่อมอยู่ ธมฺมนคเร ในธรรมนคร พระภิกษุเป็นพระโสดาบันอันปราศจากมลทินโทษและเป็นพระสกิทา- คามี และเป็นพระอนาคามี และเป็นพระอรหันต์ วสนฺติ ย่อมอยู่ ธมฺมนคเร ในธรรมนคร พระภิกษุผู้ฉลาดในพระสติปัฏฐานและพระภิกษุผู้ยินดีในโพชฌงคภาวนา และพระภิกษุผู้เจริญ วิปัสสนา พระภิกษุทั้งหลายทั้งหมด วสนฺติ ย่อมอยู่ ธมฺมนคเร ในธรรมนคร พระภิกษุ ผู้ฉลาดในอิทธิบาท และพระภิกษุผู้ยินดีในสมาธิภาวนา และพระภิกษุผู้ประกอบในสัมมัปปธาน วสนฺติ ย่อมอยู่ ธมฺมนคเร ในธรรมนคร พระภิกษุผู้บรรลุอภิญญาบารมี และพระภิกษุผู้ ประกอบด้วยปีติและพระภิกษุผู้เที่ยวในอากาศอันแจ้ง วสนฺติ ย่อมอยู่ ธมฺมนคเร ในธรรมนคร พระภิกษุผู้มีตาทอดลง ผู้พูดพอประมาณ ผู้ระวังรักษาสำรวมทวารด้วยดี ผู้มีธรรมอันอุดมฝึกดี แล้ว ผู้ได้วิชชา ๓ ได้อภิญญา ๖ ผู้มีฤทธิบารมี ผู้มีปัญญาบารมี วสนฺติ ย่อมอยู่ ธมฺมนคเร ใน ธรรมนคร พระคันถรนาจารย์ประพันธ์คาถาไว้ มีใจความดังนี้              ในลำดับนั้น พระนาคเสนเถระจึงถวายวิสัชนาต่อไปว่า มหาราช ขอถวายพระ พรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ อันว่าพระภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงไว้ซึ่งบัญญัติอันเลิศจะนับมิได้ และพระภิกษุผู้หาธรรมเครื่องข้องมิได้ ไม่เอนเอียงเป็นเที่ยงธรรม และพระภิกษุผู้ทรงไว้ซึ่ง คุณยศ พระภิกษุผู้ทรงไว้ซึ่งคุณสิริ ทรงไว้ซึ่งกำลัง ทรงไว้ซึ่งความคิดอันรวดเร็ว ทรงไว้ซึ่งฤทธิ์ ทรงไว้ซึ่งรัศมี ทรงไว้ซึ่งอธิบาย ทรงไว้ซึ่งกำลัง ทรงไว้ซึ่งธรรมจักร และพระภิกษุสำรวมซึ่ง ปัญญาบารมี ภิกษุเหล่านี้ท่านกล่าวว่าเป็นธรรมเสนาบดี อยู่ในธรรมนครของสมเด็จพระผู้มี พระภาคเจ้า ประการหนึ่ง มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าภิกษุผู้เป็นพุทธ- บุตรสำเร็จซึ่งที่สุดแห่งฤทธิ์และที่ได้ซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ มีจตุเวสารัชชคุณ ประกอบด้วยอภินิหาร มีอธิฏฐานฤทธิ์ อันไม่กำเริบ อาจเหาะไปจับต้องพระจันทร์พระอาทิตย์ อาจไปในสาครและ ชำแรกดินไปได้ด้วยฤทธิ์ จัดเป็นปุโรหิตสถิตอยู่ในธรรมนครนั้น              ประการหนึ่ง พระภิกษุอันถือธุดงค์ ปฏิบัติมักน้อยสันโดษเกลียดซึ่งวิญญัติและอเนสนะ และถือบิณฑบาตเป็นปทานจาริก รักษาอินทรีย์มิได้ยินดีในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ มีกิริยา เหมือนแมลงภู่เคล้าคลึงแต่เกสรดอกไม้ มิได้ปรารถนาให้ทายกสิ้นเปลือง และท่านที่ปฏิบัติ มิได้เอื้อเฟื้อแก่ร่างกายและชีวิต และท่านทั้งหลายได้พระอรหัต มิได้เอื้อเฟื้อด้วยลาภสักการะ ทั้งหลายอันมิได้รู้อิ่มรู้เบื่อในธุดงคปฏิบัติ จัดเป็น อกฺขทสฺสา เป็นลูกขุนศาสนาและขุนศาล และ ผู้ว่ากล่าวผู้น้อยผู้ใหญ่อยู่ในธรรมนคร              ประการหนึ่ง จัดสรรพระภิกษุทั้งหลายอันบริสุทธิ์จากมลทินกิเลส ประกอบไปด้วย ฌานฤทธิ์ อันจะไปสู่ที่อันไกลและสู่ที่อันกว้างก็ดี ก็รวดเร็วด้วยฌานฤทธิ์ ทรงไว้ซึ่งสมถะและ มรรคเป็นทิพยจักขุ ให้เป็นผู้นั่งยามตามไฟ ตรวจตราไปในธรรมนคร              ประการหนึ่ง จัดสรรภิกษุทั้งหลาย พหุสุตา เป็นพหูสูตรทรงไตรปิฎก อาคตาคมา ทรง ไว้ซึ่งประชุมนิกาย ธมฺมธรา ทรงไว้ซึ่งพระรรม วินยธรา ทรงไว้ซึ่งพระวินัย มาติกาธรา ทรงไว้ ซึ่งมาติกา และพระภิกษุทั้งหลายอันฉลาดในอักขระน้อยใหญ่ซึ่งเป็นทีฆะเป็นรัสสะเป็นสิถิล เป็นธนิต และทรงไว้ซึ่งนวังคสัตถุศาสนา ให้เป็น ธมฺมรกฺขา ผู้รักษาธรรมในธรรมนคร              ประการหนึ่ง พระภิกษุทั้งหลายเป็น วินยญฺญู รู้พระวินัย วินยโกวิทา ฉลาดในพระ วินัย ฉลาดในพระสูตร และพระภิกษุผู้รู้ว่ากระทำสิ่งนี้เป็นอาบัติ สิ่งนี้หาเป็นอาบัติมิได้ สิ่งนี้ เป็นครุกาบัติ สิ่งนี้เป็นลหุกาบัติ และรู้ว่าควรจะเยียวยาได้และเยียวยามิได้ และฉลาดในพฤฒิ อาเทศลบลงอาคม ขณะเมื่อจะสวดเปลี่ยน จัดเป็น รูปทกฺขา คือเป็นคนทายลักษณะในธรรมนคร              ประการหนึ่ง จัดพระภิกษุทั้งหลายอันทรงซึ่งวิมุตติ วรกุสุมมาลพนฺธา กล่าวคือทัด ทรงซึ่งดอกไม้อันงามสะอาดกล่าวคือพระอรหัตผลอันประเสริฐ ทรงไว้ซึ่งศีลอันยิ่งอันล้ำเลิศ เป็นที่พึ่งแห่งบุคคลทั้งหลาย ตั้งไว้เป็น ปุปฺผาปณิกา คือชาวร้านขายดอกไม้ในธรรมนคร ของสมเด็จพระบรมศาสดา              ประการหนึ่ง พระภิกษุที่เป็นจตุสัจจาภิสมัย ปฏิบัติเพื่อจะรู้พระอริยสัจ ๔ ปฏิบัติตาม เห็นตามได้สดับในพระสามัญผลทั้ง ๔ อันประเสริฐ ได้ซึ่งธรรมอันตัดเสียซึ่งสงสัยในพุทธโธวาท ขาดอาสวะ เป็นที่จำเริญผลแก่สาธุชนทายกทั้งหลายอันจะทำบุญให้ทาน จัดเป็น ผลาปณิกา คือชาวร้านขายผลไม้ในธรรมนคร              ประการหนึ่ง จัดเอาพระภิกษุทั้งหลาย อันทรงซึ่งของหอมลูบไล้ภายนอกภายใน กล่าวคือทรงไว้ซึ่งกลิ่นศีล ทรงไว้ซึ่งคุณศีลอันมาก กำจัดกลิ่นอันร้าย คือ กิเลสมิได้มี จัดเอา พระภิกษุจำพวกนี้เป็น คนฺธาปณิกา คือชาวร้านขายของหอมในธรรมนคร              ประการหนึ่ง จัดเอาภิกษุทั้งหลายอันปรารถนาธรรมมีแต่จะปรีดาปราโมทย์ในธรรม และพระวินัย และพระภิกษุทั้งหลาย อรญฺญคตา ผู้อยู่ในไพรสณฑ์ประเทศราวป่า รุกฺขมูลคตา ผู้อยู่ที่โคนไม้ และพระภิกษุทั้งหลายที่เป็น เอกาสนิกา ถือเอกาสนิกธุดงค์ และเป็น คคณคตา อยู่อัพโภกาส และเป็น สุญฺญาคารคตา อยู่ในที่อันสงัด และผู้ที่ดื่มกินรส คือคุณธรรมอันเลิศ ปฏิบัติตามธรรมอันน้อยใหญ่ และกายวาจาและจิต และเป็น อปฺปิจฺฉกถา กล่าวชมแต่ทาง มักน้อย สนฺตุฏฐกถา กล่าวชมแต่สันโดษ ปวิเวกกถา กล่าวชมแต่ที่ราวป่าอันสงัดเงียบ อสํสคฺ- คกถา กล่าวเปรียบที่จะมิได้ระคนปนอยู่ในหมู่คณะ วิริยารมฺภกถา กล่าวชมชื่น ซึ่งความ อุตสาหะมีเพียร สีลกถา กล่าวชมผลศีล สมาธิกถา กล่าวสรรเสริญพระสมาธิ ปญฺญากถา กล่าวสรรเสริญชมชื่นคุณปัญญา วิมุตฺติกถา กล่าวสรรเสริญพระอรหัตมรรค วิมุตฺติญาณ- ทสฺสนกถา กล่าวสรรเสริญพระอรหัตผลญาณ พระภิกษุทั้งหลายกล่าวคำดังนี้ ได้ชื่อว่าดื่มกิน ซึ่งกถาอันกล่าวสรรเสริญต่างๆ นี่จัดเป็น ธมฺมโสณฺฑา นักเลงธรรม และเป็น ปิปาสาโสณฺฑา นักเลงอันดื่มกินซึ่งของควรจะดื่มกินในธรรมนคร ของสมเด็จพระสัพพัญญูบรมศาสนา              ประการหนึ่ง จัดพระภิกษุทั้งหลายอันมีอิริยาบถนั่งและยืน และเดินจงกรมในราตรี ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม และแสวงหาซึ่งประโยชน์แห่งตนในความเป็นผู้ตื่นอยู่ กิเลส- ปฏิพาหนาย เพื่อจะห้ามเสียซึ่งกิเลสทั้งหลาย พระภิกษุจำพวกนี้จัดเป็น นครารกฺขา คือ คนรักษาพระนครในธรรมนครของสมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าผู้เป็นบรมศาสดา              ประการหนึ่ง จัดเอาพระภิกษุทั้งหลายอันสอนธรรม และสังวัธยายเล่าเรียนซึ่งพระ พุทธวจนะ โดยอรรถ โดยนัย โดยพยัญชนะ โดยเหตุ โดยผล โดยอุทาหรณ์น้อยใหญ่ เป็นชาวร้านธรรมอันประเสริฐ ในธรรมนครของสมเด็จพระศาสดาจารย์              ประการหนึ่ง จัดเอาพระภิกษุทั้งหลายอันนับว่ามีทรัพย์ด้วยบริโภคซึ่งธรรมรัตนะ และ บริโภคซึ่งพระไตรปิฏก คือ นิกายพระปริตรและพระสูตร อันรู้ลักษณะแห่งสระและพยัญชนะ เป็นธรรมเศรษฐีในธรรมนครของสมเด็จพระศาสดาจารย์              ประการหนึ่ง จัดเอาพระภิกษุอันทรงบารมีคุณ รู้ซึ่งธรรมเทศนาอันโอฬารของสมเด็จ พระศาสดาจารย์ และผู้สั่งสมปฏิเวธธรรมเป็นอารมณ์ และศึกษาจำแนกแจกนิเทส เป็นคนรู้ อิสรธรรม คือ เป็นอาลักษณ์ และราชบัณฑิต สถิตอยู่ในธรรมนคร              ขอถวายพระพร ตํ นครํ อันว่าธรรมนครนั้น ประกอบด้วยพิทักษ์รักษาเป็นมั่นคง บ่ห่อนมีข้าศึกกระทำอันตราย เป็นสุขสบายเกษมศานต์ สมเด็จพระสัพพัญญูประดิษฐานได้ แล้วเสด็จเข้าสู่ศิวาลัย คือนิพพานล่วงไป แต่ธรรมนครอันใหญ่ของพระพุทธองค์ ยังดำรงปรากฏ อยู่ อาตมาก็รู้ด้วยอนุมานปัญญาว่า โส ภควา สมเด็จพระผู้ทรงสิริสวัสดิภาคอันยิ่งได้ตรัส เป็นพระสัพพัญญูจริงในโลกนี้ ขอถวายพระพร              ในที่นี้ท่านผู้รจนาคัมภีร์ผูกคาถาแสดงความข้างต้นไว้ มีใจความว่า นครวฑฺฒกี นายช่างที่สร้างซึ่งโลกียนครไว้ สร้างแล้วไปสู่ประเทศตามผาสุกสบายใจ ครั้นสิ้นอายุแล้วก็ กระทำกาลกิริยาตาย คนทั้งหลายบอกเล่ากันต่อๆ กันมาว่า นครโลกียะนี้นายช่างนี้ตายสร้าง ไว้ ยถา มีครุวนาฉันใดก็ดี อันว่าธรรมนครนี้มีเหมือนกัน สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าทรง ประดิษฐานไว้ เพื่อจะให้ถาวรตั้งมั่นถ้วน ๕,๐๐๐ พรรษา ถึงว่าสมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดา- จารย์เจ้า เข้าสู่พระนิพพานไปแล้วนานช้า บุพพาจารย์เป็นต้นย่อมรู้ได้โดยบาลีที่เล่าเรียนและ สั่งสอนสืบต่อกันมามีอุปไมยฉันนั้น สาธุสัตบุรุษพึงทราบโดยอุปมาอุปไมยฉะนี้              ตทา กาลครั้นนั้น สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทรมหากษัตริย์มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่าธรรมนครนี้ ภิกษุทั้งหลายเหล่าอื่นที่ ประกอบด้วยกำลังปรีชาเชี่ยวชาญเช่นพระผู้เป็นเจ้า ก็อาจสามารถจะสร้างคุมกันเข้าได้ ด้วย เหตุนี้จึงยากที่จะให้โยมเชื่อว่า สมเด็จพระมหากรุณามีปรากฏในโลกนี้เป็นมั่นคง นิมนต์พระ ผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ภิยโยภาวะยิ่งขึ้นไปอีกก่อน              พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภาร ประการหนึ่งธรรมดาว่า มหาสมุทรอันใหญ่ อนุปุพฺพคมฺภีโร ลึกล้ำคัมภีรภาพพ้นพิสัยเป็นลำดับไป อปรินิตพาลุก- ชลธโร ทรงไว้ซึ่งทรายและชลชาติจะนับชาติจะนับได้ ติมิติมิงฺคลมากุโล อากูลมูลมั่วด้วยปลาตัวใหญ่ชื่อ ติมิติมิงคลมัจฉา เป็นที่ไปมาอาศัยอยู่แห่งหมู่นาคครุฑและผีเสื้อน้ำ บรรดาสัตว์ทั้งหลาย ย่อมพากันเที่ยวแหวกว่ายแสวงหาอาหารท่องแถวชลธารนั้น ก็กำเริบด้วยหมู่อสูรคึกคะนอง อนึ่งเสียงเมฆกึกก้องสะเทื้อนท้องงน้ำกัมปนาท ฟังดังเหมือนเสียงพิณพาทย์ฆ้องกลองดุริยางค์ ดนตรีเภรีสวรรค์ สมุทรวารีนั้นมีเกาะเกิดเป็นเขาอันงามหลากนับได้มากกว่าหมื่นแสน มี หมู่อมรแมนเฝ้าแหนสิงสถิตทุกยอดเขา เทพเจ้าย่อมเสวยทิพยสมบัติโสมนัสบันเทิงใจ โดย อาศัยสมัครสโมสรแต่ก่อนมา อนึ่งประกอบด้วยมหานาวาสลุบกำปั่นสำเภา อันเหล่านิกรวานิช แล่นไปมากระทำการค้า อนึ่งประกอบด้วยสิ่งทั้งหลาย คือฟองและระลอก คลื่นพัดพื้นอยู่ทุกค่ำเช้า มีคุ้งและปากอ่าวอเนกนานา มีบ่อน้ำจืดอยู่ใกล้ เป็นที่อาศัยแห่งหมู่สัตว์และนิกรชนประกอบ ด้วยวังวนและบาดาล ย่อมเป็นอัศจรรย์แปลกประหลาด อนึ่ง วิจิตรโอภาสด้วยแก้วเกิดอเนกา มีหมู่ปลาและเต่าอาศัยอยู่เป็นอันมาก และดาดาษด้วยเกาะและท่าอันราบรื่นสุดที่จะคณนา เอวรูปส มจฺฉา อันว่าปลาทั้งหลายเห็นปานดังนี้ คือปลาเค้า ปลาตะเพียน ปลาสลาด ปลาฉลาม ช้างน้ำ ม้าน้ำ และเงือกเป็นต้น และปลาเหล่าอื่นเป็นอันมากกว่ามาก ปฏิวสนฺติ ย่อมอาศัย อยู่ที่สมุทรนั้น เอโก มหามจฺโฉ ครั้งนั้นยังมีปลาใหญ่ตัวหนึ่ง จะใคร่ลองดูกำลังของตน จึงโดด ขึ้นไป กระทำให้มหาสมุทรกำเริบเป็นระลอกใหญ่ ซัดไปที่ริมฝั่ง สมุทฺทตีรมนุคตา ชนา อัน ว่ามนุษย์นิกรซึ่งสัญจรไปที่ริมฝั่งสมุทรนั้น เห็นคลื่นใหญ่ก็เข้าใจว่า ปลาใหญ่มีอยู่มั่งคงคำที่ว่ามานี้ ยถา มีครุวนาฉันใด อยํปิ โลกสมุทฺโท อันว่าโลกสมุทรนี้ มีอุปไมยเหมือนมหาสมุทรนั้น อันว่า โลกสมุทรนี้ อนุปุพฺพคมฺภีโร ลึกเป็นอันดับกัน ทรงไว้ซึ่งน้ำคือ ราคะโทสะโมหะจะนับมิได้ พาลปุถุชนสมากุโล อากูลด้วยพาลปุถุชน มีแพ คือกิเลส สกลลอยอยู่ แวดวงด้วยข่ายคือ มิจฉาทิฐิ มีกระแสคือตัณหาไหลไป มีธงชัยคือมานะหากยกขึ้นไว้ ร้อนด้วยไฟคือราคะโทสะ โมหะเป็นอันมาก ประกอบด้วย มืด คือปราศจากปัญญา ลุทฺทสาหสิโก มีความสาหัสไปด้วยโลภ เจตนาเป็นที่สุดโลกสมุทรนั้น ผู้มีสติปัญญากลัวนี้สุดที่จะเปรียบ ประดุจ มีตาข้างเดียว จะเที่ยวไป ก็ดี จะนั่งอยู่ก็ดี มีแต่ว่าจะรักษาจักษุของตนเป็นที่สุด อันว่าโลกสมุทรนี้ เป็นที่อยู่แห่งคนตามืด คือผู้ที่ประกอบด้วยมิจฉาทิฐิทั้งหลาย และเป็นที่อาศัยของมนุษย์หญิงชายที่เป็นฝ่ายกุศล และอกุศล คนที่มียศหายศมิได้ มีบุญหาบุญมิได้ คนที่มีเดชหาเดชมิได้ คนที่คุณวิเศษและหา คุณวิเศษมิได้ จำเริญและหาความจำเริญมิได้ คนที่มีปัญญาและหาปัญญามิได้ คนที่รู้และมิได้ และสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในโลกสมุทรนี้ไซร้ จะมีแต่เท่านั้นหามิได้ กษัตริย์และพราหมณ์ พ่อค้า และชาวนา พ่อครัวและอาชีวก คนนุ่งขาวและปริพพาชก และพระพุทธสาวก และคนขอทาน และคนถือทิฐินอนกับพื้นแผ่นปฐพีภาค และคนถือนอนข้างเดียว คนไม่อาบน้ำ คนถือหมัก เหงื่อหมักไคล และชีเปลือยเปล่ากาย และพระดาบสทั้งหลายเป็นอันมากย่อมอยู่ใน โลกสมุทรนี้เกลื่อนกลาด              ประการหนึ่ง อันว่าสัตว์จตุบาทมีอเนกนานา คืออูฐ ลา แพะ แกะ และสัตว์สี่เท้า ทั้งหลายเหล่าอื่น มากมายเหลือที่จะกล่าว และสัตว์สองเท้าเป็นต้นว่า นกจากพราก นกแก้ว นกสาลิกา นกกระเหว่า นกพิราบ เหลือที่จะพรรณนา สัตว์มีเท้ามากและหาเท้ามิได้ ย่อมสถิต อาศัยอยู่ในโลกสมุทรนี้สิ้น ปางเมื่อสมเด็จพระพุทธสัพพัญญูผู้ทรงพระภาคเป็นอันงามเลิศ พระองค์บังเกิดในโลกนี้ ยังพื้นพิภพปฐพีทั่วหมื่นโลกธาตุให้หวาดไหว ได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษก สำเร็จพระพุทธสัพพัญญุตญาณแล้ว ยังมนุษยโลกกับเทวโลกให้กำเริบด้วยพระสัทธรรม แล้วก็ ปักแพ้วไว้ซึ่งธงชัย คือ ธรรมอันเลิศ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้ายังโลกให้กำเริบด้วยระลอกคลื่น กล่าวคือตรัสสัทธรรมเทศนาสั่งสอนสัตว์ ตักเตือนสัตว์เปลื้องสัตว์ทั้งหลาย ให้พ้นจากทุคติภพและภัยอันตรายประทานน้ำอมฤตให้แก่ สัตว์ทั้งหลายทั่วประเทศ ประทานยาดับพิษดับโรค คือกิเลสให้แก่สัตว์ ในประเทศทั้งหลาย แล้วก็บ่ายหน้าเข้าสุเขมภูมิอันเกษมศานต์ คือนิพพานอันเป็นเอกันตบรมสุขวินัย อมลํ กโรติ กระทำให้หามลทินมิได้ วิมลํ กโรติ กระทำให้ปราศจากมลทิน นิมลํ กโรติ กระทำให้หมดมลทิน สิ้นมลทินขาวบริสุทธิ์ผ่องใส ยังสัตว์ทั้งหลายให้ตั้งอยู่ในพระปฏิสัมภิทา ยังสัตว์ให้ตั้งอยู่ในพระ วิโมกข์ ยังสัตว์ให้ตั้งอยู่ในพระอรหัตภูมิอันสำราญ ตรัสประทานพระสัทธรรมเทศนาซึ่งพระ จตุราริยสัจธรรม ยังเทวโลกกับมนุษยโลกให้กำเริบด้วยระลอกคลื่นคือพระจตุราริยสัจธรรม ๔ ประการ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร หมู่มนุษย์และเทวดาได้สวนาการฟัง ซึ่งกำลัง ระลอกคลื่นคือพระจตุราริยสัจธรรมนี้ บางพวกก็ตั้งอยู่ในโสดา บางพวกก็ตั้งอยู่ในสกิ- ทาคา บางพวกก็ตั้งอยู่ในอนาคา บางพวกก็ตั้งอยู่ในอรหัต บางพวกสมาทานศีล บางพวกสมา- ทานพระไตรสรณคมน์ ตั้งอยู่ในภูมิเป็นอุบาสกเป็นอุบาสิกา มีศรัทธาเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย ครั้งเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จพระพุทธลีลาศขึ้นไปตรัสพระสัทธรรมเทศนา ณ เมืองดาวดึงส์สวรรค์นั้น เสด็จทรงนั่งเหนือบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์แล้ว ตรัสพระสัทธรรม เทศนาพระทุกขสัจ เทวดา ๘๐ โกฏิโสมนัสปราโมทย์ชื่นชมยินดีในกระแสธรรม ก็ได้ธรรมจักษุ บรรลุคุณวิเศษคือมีจักขุปัญญาปรากฏ เห็นไปด้วยบทว่า ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งอันใดอันหนึ่ง มีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งอันนั้นทั้งหมอก็มีความดับเป็นธรรมดา ดังนี้ เทพเจ้าทั้งหลายเห็นกระแสคลื่น กล่าวคือพิจารณาเห็นซึ่งทุกขสัจก็ปลง ปัญญาเห็นซึ่ง นิโรธธรรม สำเร็จธรรมอันวิเศษ อนึ่ง สมเด็จพระโลกเชษฐ์เสด็จประทับ ณ ปาสาณเจดีย์ ตรัส พระสัทธรรมเทศนาสมุทัยสัจ หมู่ชนทั้งหลายได้สดับแล้วก็ปราโมทย์ยินดีในพระสัทธรรม- เทศนา ได้บรรลุมรรคผลมากมาย นับจำนวนได้ ๑๔ โกฏิ อนึ่งโสด ครั้งเมื่อเสด็จลงมาจาก ดาวดึงสพิภพ สมเด็จพระนราสพก็ได้ตรัสพระสัทธรรมเทศนาซึ่งนิโรธสัจ นิกรชนทั้งหลาย ได้สดับแล้วหมดความสอดแคล้วในพระพุทธุคุณ บรรลุมรรคผลมากล้นเหมือนหลาย ประมาณได้ ๓๐ โกฏิ พระสัทธรรมเทศนาที่พระมหามุนีโปรดประทานนั้น ปานประหนึ่งว่าคลื่นระลอก อันซัดกระฉอกกำเริบหวั่นไหวอยู่ในโลกสมุทรอันสุดกว้าง กระทำให้พระสาวกทั้งหลาย ตัดเสีย ได้ซึ่งเครื่องจำจองอันมองมูลอยู่ในสันดาน ผลาญเสียซึ่งราคะโทสะโมหะให้หมดสิ้น มีจิต บริสุทธิ์ผ่องใสจากกิเลสบาปธรรม บรรลุถึงพระอรหัตผล เป็นอริยบุคคลอันโอฬาร กระทำ พระนิพพานให้แจ้งชัดเป็นปรมัตถธรรม ด้วยสามารถแห่งคลื่นใหญ่อันไพศาล กล่าวคือพระ สัทธรรมเทศนาปรากฏมาจนทุกวันนี้ มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภาร อาตมาได้ทัศนา การทราบชัดดังนี้ จึงอนุมานด้วยปัญญา เชื่อว่า โส ภควา อตฺถิ สมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงบุญราศีนั้น มีอยู่เป็นมั่งคง ขอถวายพระพร              ในที่นี้ พระคันถรจนาจารย์ประพันธ์คาถาแสดงความข้างต้นไว้มีใจความว่า มหาชน ทั้งหลายได้เห็นคลื่นใหญ่กำเริบปรากฏอยู่ในมหาสมุทร ก็อนุมานกำหนดได้ว่า ในมหาสมุทรนี้ มีปลาใหญ่เป็นแม่นมั่น ยถา มีครุวนาฉันใด บัณฑิตผู้มีปัญญาได้เห็นคลื่นคือพระสัทธรรมอัน โอฬาร ของพระบรมโลกุตตมาจารย์ผู้ประหาณเสียซึ่งความโศก มิได้รู้แพ้ผู้ใดทั่วไปในโลกธาตุ องอาจล่วงเสียซึ่งตัณหา ปลดเปลื้องเหล่าประชาให้พ้นจากภพก็ทราบชัดในใจได้ว่า อคฺโค พุทฺโธ ภวิสฺสติ สมเด็จพระมุนีพุทธเจ้า ผู้เลิศกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่เป็นมั่งคงดังนี้ ตถาเอว มีอุปไมยฉันนั้น ขอถวายพระพร              ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา โยมได้ฟังคำเล่ากันมาแต่ก่อนว่า พระฤษีภายนอกพระพุทธศาสนา นั้นย่อมยังมนุษย์ทั้งปวงให้กัมปนาทหวาดไหวได้ โยมกลัวแต่ว่า สมเด็จพระพุทธเจ้านั้นก็ จะเป็นฤษีนั่นเอง เหตุนั้นจึงยากที่จะเชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีอยู่ นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าจงกระทำอุป มาให้ยิ่งกว่านี้ก่อน              พระนาคเสนจึงถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร หิมวา ปพฺพตราชา อันว่าพระยาเขาหิมพานต์นั้น ประกอบด้วยระเบียงแห่งเงื้อมเขายอดเขา แล้วไปด้วยศีลา ย่อมสถิตอยู่ในประเทศชื่ออัชชปถะ สังกุปถะ อลปปถะ และปัตตปถะ เป็นที่อยู่แห่ง คเชนทรฉัททันต์ ประกอบด้วยไม้และเครือลดาอันปกคลุม เป็นสมุทรต้นพฤกษา ประดับด้วย โตรกตรอกซอกธารเหวท่า ฝูงคนธรรพ์นิกานรวิชาธร สัญจรเที่ยวเล่นสำราญ อันหนึ่งเขา หิมพานต์ นั้นเป็นที่อยู่สุบรรณครุฑนาคอสูรกุมภัณฑ์และยักษ์ทั้งหลาย เหล่าอสรพิษร้ายก็ อาศัยอยู่ ประกอบด้วยโอสถยาสารพัดจะมีแวดล้อมด้วยยอดศีรีทั้งหลายคือ ตรีกูฏ คือไกรลาสกูฏ คือสุมนกูฏ จิตตกูฏ คือยุคนธรกูฏ แลดูขึ้นไปนั้นสูงสุดเมฆอันเป็นชั้นๆ และยอดเขาหิมพานต์นั้น และดูมีสีดุจเมฆเมื่อวันแรม ถ้ามิฉะนั้นดุจทาด้วยดอกอัญชันอันมีสีเขียวดูเป็นสีครามสีม่วง สีหม่นทั้งหลาย บ้างก็คล้ายเหมือนสีในกายแห่งนาคราชอันเขียวดำ ถ้ามิฉะนั้นดูเหมือนพยับ แดดเดือน ๕ มนุษย์ทั้งหลายเห็นยอดเขานั้นแต่ไกล ก็เข้าในด้วยอนุมานปัญญาว่า นั้นเป็นยอด แห่งพระยาเขาหิมพานต์ เขาหิมพานต์พรรพตนี้มีอยู่ ความเปรียบประการนี้ ยถา มีครุวนาฉันใด มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ธรรมบรรพตภูเขาคือธรรมของสมเด็จพระบรม- โลกนาถศาสดาจารย์เจ้านั้น ก็เหมือนกัน อันว่าธรรมบรรพตนั้น อเนกชฺฌานธมฺมผลอารมฺมณ- วินทฺโธ พัวพันไปด้วยอารมณ์คือฌานและธรรมและผลเป็นอเนก สุญฺญตอนิมิตฺตอปฺปณิหิตกูฏปฺ- ปพฺภารมาลโย ประดับไปด้วบยอดและเงื้อม กล่าวคือสุญญตะและอนิมิตตะและอัปปณิหิต- วิโมกข์ ธมฺมกถิกวินยธรสุตนฺติกอภิธมฺมิกาติผโล มีทางขึ้นกล่าวคือท่านผู้มีปัญญาเป็นธรรม- กถึกและท่านผู้ทรงพระสูตร ทรงพระวินัย ทรงพระอภิธรรม อรหตฺตกุสลนิเกโต เป็นทราสถิต อาศัยอยู่แห่งท่านผู้ได้พระอรหัต เป็นที่เที่ยวไปแห่งทานผู้ปฏิบัติเพื่อมรรคผล และท่านผู้ได้ มรรคผล และเสขบุคคล และผลสมังคีบุคคล และท่านผู้ปฏิบัติเพื่อโสดาปัตติผล และท่านผู้ทรง ลูขจีวรและถือบิณฑปาติกธุงค์ และเป็นอัปปิจฉามักน้อย และเป็นธุดงคสมาทานย่อมสุข สำราญ ส้องเสพสถิตอยู่เป็นอเนกา อันว่าพระธรรมบรรพตนี้ ย่อมเป็นที่อยู่แห่งท่านผู้ได้ ไตรวิชชาและอภิญญา ๖ และท่านผู้ได้พระปฏิสัมภิทาและท่านผู้ได้จตุเวสรัชชะและท่านผู้ สำเร็จในบารมีญาณ และธรรมบรรพตนั้นไซร้ย่อมอาเกียรณ์ไปด้วย อคทา คือยาอันดับเสียซึ่ง พิษร้าย และอาเกียรณ์ไปด้วยโอสถทั้งหลายอันจะดับโรคทั้งปวง และรักษาอายุให้จำเริญ ประกอบไปด้วยจันทน์คือศีล ยาคือสมถะ กฤษณาคือปัญญา กลิ่นคือสันโดษอันบริสุทธิ์ อนึ่ง เขาธรรมบรรพตนั้น มีเขาทั้งหลายเป็นบริวาร คือพระสติปัฏฐานทั้ง ๔ พระสัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ และพระอัฏฐังคิกมรรค มียอดอันสูงนัก สุดที่อันตรายจะล้างผลาญได้ กล่าวคือพระนิพพานอันดับเสียซึ่งความอยากและกระวนกระวาย ถอนเสียซึ่งความอาลัย ให้สิ้นไปซึ่งความยินดีคือราคะ ให้สิ้นไปซึ่งโทสะโมหะตัณหามีสภาวะ เย็นเป็นสุข คือไม่รู้เกิดไปไม่รู้แก่ไม่รู้ตาย อันว่าบรรพตนี้สูงปรากฏ จะครอบงำเสียซึ่งปรัป ปวาท คือคำที่กล่าวว่า องค์พระพุทธเจ้าไม่มี อันว่าธรรมบรรพตอันสูงนี้เป็นที่ไหวัที่บูชา แห่งมนุษย์นิกรเทวดาทั้งหลาย เหตุดังนี้ อาตมาภาพจึงรู้ด้วยอนุมานปัญญา จึงเชื่อว่า ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ สมเด็จพระพุทธองค์ทรงพระนามว่า ภควา ทรงพระนามว่า อรหํ ทรงพระนามว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ มีจริงไม่สงสัย ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร              ในที่นี้พระคันถนาจารย์ประพันธ์คาถา แสดงข้อความที่พระนาคเสนถวายวิสัชนามา แล้วในเบื้องต้น มีใจความว่าภูเขาหิมพานต์อัจจุคคตบรรพตสูงปรากฏตระหง่านตา บุคคลได้ เห็นแต่ไกล ก็อนุมานเข้าใจว่า เขาหิมพานต์นั้นมีอยู่ ยถา ความเปรียบนี้มีครุวนาฉันใด พระ ธรรมบรรพตของพระบรมไตรโลกนาถ เป็นของเย็นปราศจากกิเลส มิรู้สะเทื้อนสะท้านหวั่นไหว ตั้งอยู่ได้เป็นอันดี บัณฑิตผู้มีปัญญาได้เห็นแจ้งแก่ใจก็อนุมานได้ว่า อคฺโค พุท์โธ ภวิสฺสติ สมเด็จพระมหามุนีพุทธเจ้าผู้จอมปราชญ์ ประเสริฐเลิศกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายมีอยู่เป็นแม่นมั่น ตถา เอว มีอุปไมยฉันนั้นแล              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ในภายนอกพระพุทธศาสดา ก็มีศาสดาคณาจารย์ทั้งหลาย แสดง โลกสมุทรและธรรมคีรีได้ถมไป ด้วยเหตุนี้ จึงยากที่จะให้โยมเชื่อว่า พระพุทธเจ้านั้น มีอยู่ พระ ผู้เป็นเจ้าจงกระทำอุปมาอุปไมยให้ยิ่งไปกว่านี้ จะได้เป็นที่เชื่อถือต่อไป              พระนาคเสนจึงอุปมาอุปไมยว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ยัง มีมหาเมฆอันชื่อว่าจตุทีปกมหาเมฆเมื่อจะตั้งขึ้นให้ฝนตกนั้น มีนิมิตบังเกิดเป็นสำคัญคือ เบื้องบนอากาศนั้น เป็นกลุ่มเป็นก้อนห้อยย้อยดุจสร้อยสังวาล มีดอกไม้สวรรค์บันดาลตกลงมา มีมหาวาตาค่อยพัดมาเรื่อยๆ เย็นเฉื่อยชื่นสบาย มนุษย์นิกรทั้งหลายก็สโมสรยินดี อนึ่ง มี เสียงอึงมี่ด้วยหัตถีโปดกอัสสโปดกทั้งสองร้องโกญจนาท สกุณชาติก็มาร่อนราปราโมทย์ยินดี มีสายอสุนีฟ้าแลบทั่วทิศทั้งหลาย มีกลีบเมฆมากมายกว่าหมื่นกว่าพัน มีสีสันต่างๆ บ้างเขียวบ้าง เหลืองบ้างแดงบ้างขาว บ้างเป็นสีหงสบาท และมีสีอ่อนแซมซ้อนสลับกัน อื้ออึงมี่ก้องไปด้วย เสียงฆ้องกลองสวรรค์ บังเกิดเป็นมหันต์นิมิตอเนกจะนับมิได้ จะเข้าใจซึ่งจตุทีปกมหาเมฆนั้น แต่ท่านผู้ได้ฌาน เมื่อจตุทีปกมหาเมฆบันดาลตกลงมา ฝ่ายว่ามนุษย์นิกรทั้งหลายทั่วโลกาเห็น ฝนตกลงมาที่โตรกตรอกซอกธาร ละหายห้อยหนองคลองบึงบางบ่อและสระเปี่ยมได้ด้วยน้ำ และแผ่นดินชุ่มคร่ำไป ต้นหญ้าใหญ่น้อยเขียวชอุ่มเป็นคราบอยู่ หมู่มหาชนก็รู้ด้วยอนุมาน ปัญญาว่าฝนนี้เป็นฝนห่าใหญ่ ยถา มีครุวนาฉันใด อันว่าธรรมเมฆของสมเด็จพระบรมไตร โลกนาถศาสดาจารย์เจ้านั้น เมื่อจะให้ตกลงก็เหมือนกัน พระองค์เจ้ายังโลกสวรรค์และมนุษย์นั้น ให้อิ่มเกษมศานต์ ด้วยห่าฝนคืออมฤตธรรม เพื่อยังน้ำจิตแห่งท่านผู้สถิตในที่จะได้มรรควิถี และท่านเป็นผลสมังคีให้ชื่นชมโสมนัส ก็สำแดงซึ่งวิรชตธรรมอันประเสริฐ กำจัดเสียซึ่งราคะ โทสะโมหะมานะทิฐิ พระองค์กำจัดเสียซึ่งเครือลดากล่าวคือความยินดีในกามคุณ ๕ ประการ ให้พินาศขาดจากสันดาน บรรลุถึงพระนิพพาน ด้วยธรรมเมฆอันประเสริฐ และท่านผู้ปฏิบัติ ตีบรรดาที่ได้ชื่นชมได้ด้วยธรรมเมฆนั้น บางหมู่ได้ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์ และศีล ๕ ประการ ศีล ๘ ประการ ศีล ๑๐ ประการ และบวชเป็นภิกษุภาพทรงพระปาติโมกขสังวรศีล บางหมู่ได้พระโสดา บางหมู่ได้พระสกิทาคา บางหมู่ได้พระอนาคา บางหมู่ได้พระอรหัต บาง หมู่ได้ชื่นชมยินดีจะบริจาคทาน บางหมู่ชื่นบานที่จะจำเริญซึ่งเมตตาภาวนา บางหมู่ยินดีในที่จะ บูชาพระรัตนาตรัย ปรารถนาเพื่อจะให้ได้พระนิพพาน มีจิตสันนาการไหว้นบเคารพเป็นอันดี อาตมาเห็นซึ่งท่านทั้งหลายปฏิบัติตามวิสัชนามานี้ เหตุชื่นชมยินดีในธรรมเมฆอันตกลง กล่าว คือที่พระองค์เจ้า ตรัสพระสัทธรรมเทศนาไว้ ก็เข้าใจด้วยอนุมานปัญญาว่า โอฬาร โส ภควา พระพุทธองค์ผู้ทรงพระภาคเป็นอันงาม ทรงพระคุณอันยิ่งมีพระนามชื่อว่า อรหํ สมฺมาสมฺ- พุทฺโธ ได้ตรัสรู้จริงในโลก ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร              ในที่นี้ พระคันถรจนาจารย์ประพันธ์คาถาพรรณนาความซ้ำ ที่พระนาคเสนวิสัชนา แล้วข้างต้น เป็นใจความว่ามหาเมฆตกลงมา กระทำให้ประชาชนเย็นรื่นบรรเทาร้อนแล้วอนุมาน ได้ว่ามหาเมฆตกฉันใด มหาเมฆของพระบรมสุคตเจ้าก็กระทำให้เหล่านิกรสัตว์ร่าเริงบันเทิงใจ อนุมานได้ว่า พระบรมศาสดาให้มหาเมฆ คือพระธรรมตกลงมา ฉันนั้น              ราชา สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ได้ทรงสวนาการฟังดังนี้ ก็ทรงโสมนัสสาการยินดีชื่นชม ว่า สาธุ ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ปัญหานี้เปรียบด้วยธรรมเมฆของพระ พุทธเจ้าตกลงมาชำระเสียซึ่งอวิชชาการในสันดานสัตว์ทั้งหลาย อุปมาธิบายฉะนี้ดีนักหนา นิมนต์ผู้เป็นเจ้าวิสัชนาซึ่งพระกำลังแห่งสมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาให้ภิยโยภาวะยิ่งขึ้นไป โดยเหตุโดยปัจจัย ในกาลบัดนี้              พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาอุปมาต่อไปว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตพระราช- สมภาร คชราชา ยังมีพระยาคชสารตัวหนึ่ง ปวโร ประเสริฐยิ่งกว่าช้างทั้งหลาย สตฺตุพฺเพโธ มีกายสูงได้ ๗ ศอก นวายาโม ยาวได้ ๙ ศอก ทศปริณาโห มีเครื่องประดับผูกสอด ๑๐ ประการ ธรณิคณโก เป็นเจ้าแห่งฝูงช้างทั้งหลายอันมีในธรณี เสตกฺโข มีตาขาว เสตวาโล มีหงส์ก็ขาว เสตนขสีขโร มีปลายเล็บนั้นก็ขาว ช้างนั้นขาวดุจสีหมอก และเศวตฉัตร และวิมาน อันขาว มีกายนั้นเต็มดุจบ่ออันมิได้พร่อง มีอายตนะบริบูรณ์ไพศาล ดูนี้งามดุจจอมคีรีอันมีไม้ หนุ่มๆ สูงสล้างต่างๆ ชนิด และพระยาช้างนั้น อาจจะกำจัดเสียซึ่งปัจจามิตรข้าศึกทั้งปวงได้ มตงฺโค มีสรีรกายนั้นใหญ่โต อีสาทนฺโต มีงางอนงามด้วยสิริวิลาส ดังงอนไถ มีกำลัง อาจจะกำจัดเสียซึ่งปัจจามิตร มีฤทธิ์อันห้าวหาญ เชี่ยวชาญในการที่จะโทนเที่ยวในทิศต่างๆ พระยาช้างยังหนุ่มมีกำลังมากมายยิ่งนักหนา สกมาลยํ ชหิตฺวา ละเสียซึ่งที่อยู่ของอาตมา โคจราย อนุคจฺฉนฺโต เที่ยวไปเพื่อจะแสวงหาอาหารในไพรสณฑ์ประเทศกินหญ้าใบไม้และ จับถอนขึ้นมาทั้งราก ถกด้วยบาทา โน้มน้าวด้วยงวง ยังไม้ทั้งปวงให้วินาศไปในที่ทั้งสองข้าง มรรคา สัญจรเที่ยวมาตามลำเนาห้วยธารละหาน เขาลำเนาป่า มีรอยบาทาปรากฏที่ธรณีอัน อ่อนๆ มนุษย์นิกรสัญจรเที่ยวไป ทิสฺวาน ครั้นได้เห็นรอยพระยาคชสารตัวประเสริฐ วิจิตรไป ด้วยบุญลักษณะอันต้องด้วยแบบอย่าง เมื่อมนุษย์เห็นรอยบาทาแห่งพระยสคเชนทาชาติฉัท- ทันต์แล้ว ก็สำคัญเข้าใจด้วยอนุมานปัญญาว่า อมฺโภ ดูกรชาวเราเอ๋ย พระยาช้างใหญ่มีที่ในป่า นี้เป็นมั่นคง จึงมีรอยบาทาปรากฏอยู่เป็นพยาน ความประการนี้ ยถา มีอุปมาฉันใด โส ภควา อันว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตถา นาโค ประเสริฐเหมือนช้างนั้นโดยวิเศษ ด้วยเหตุ ว่ารอยพระพุทธบาทมีลักษณะวิลาส ๑๐๘ ประการ ทรงประดิษฐานฐานได้เป็นสำคัญเหมือนกุญชร ฉัททันต์ฉะนั้น ตถา สีโห ถ้าเปรียบด้วยพระยาไกรสรราชสีห์ ก็เหมือนกัน ตถา นิสโภ ถ้าจะ เปรียบด้วยสิ่งที่ประเสริฐ พระองค์ก็ประเสริฐเหมือนกัน ตถา ทนฺโต ถ้าจะว่าด้วยบุคคลที่ ทรมานอินทรีย์ พระองค์ก็เหมือนกัน ถ้าจะว่าด้วยบุคคลระงับบาป พระองค์ก็เหมือนดังนั้น และบุคคลประกอบด้วยอธิษฐาน มีเพีตรอุตสาหะมีปัญญารุ่งเรืองมีพระญาณ มีวสีชำนาญดี มีฤทธิ์รุ่งเรืองมียศมีเดช มีวิมุตติพ้นจากภัย เป็นสงฆ์ เป็นหมู่ เป็นฤษี เป็นนักปราชญ์ เป็นครู เป็นพระยา เป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นท้าวสักกะ เป็นพรหม และจะว่าประกอบ ด้วยสรรพยาธรรมและสรรพคุณและเป็นที่พึ่งที่อาศัยที่ซ่อนที่เร้นและประกอบด้วยพระพุทธธรรม และกรุณาอเนญชสมาบัติ และให้สำเร็จปรารถนา และฉลาดเหล่านี้ สมเด็จพระบรมโลกนาถก็ เหมือนดังนั้น ภควา อันว่าสมเด็จพระภควัตบพิตร เมื่อพระองค์เป็นบรมกษัตริย์ กปิลวตฺถุ ํ ฉทฺทยิตฺวา พระองค์มาละเสียแล้วซึ่งกรุงแก้วกบิลพัสดุ์ ปุรวรํ เป็นเมืองกษัตริย์อันเลิศด้วย วงศ์มหาสมมุติ ละเสียซึ่งพระราชบุตรอันพึงจะประสูติในวันนั้น กับสมบัติอันประกอบด้วย สัตตรัตนะ ๗ ประการ และทั้งเศวตฉัตร พระองค์ก็ตัดอาลัยไม่ยินดี เสด็จหนีออกสู่มหาภิเนษ- กรมณ์ อยู่ในไพรสณฑ์อันสงัด แสวงหาซึ่งวิชชาญาณอันประเสริฐ เมื่อพระองค์จะกำจัดเสียซึ่ง ละอองธุลี กล่าวคือกิเลสราคะ พระองค์จะพรากเสียซึ่งโมหะและมาะอุทธัจจะคือมัวเมาและ กระด้างและสงสัย จะถอนเสียซึ่งเถาลดาคือทิฐิอันร้ายกาย ทำลายเสียซึ่งเครือวัลย์คือความยินดี จะตัดเสียซึ่งโลภะโทสะทั้งหลาย จะห้ามเสยซึ่งความเวียนว่าอยู่ในกระแสตัณหาและตัดเสียซึ่งวิตก จะห้ามเสียซึ่งทิฐิอันลามกเป็นมิจฉา และปิดเสียซึ่งมรรคาอันผิด จะเปิดออกซึ่งมรรคหนทาง แห่งอมตมหานครนิพพาน เปลื้องสัตว์ให้พ้นจากสงสาร สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ จึงเสด็จคมนาการโดยมรรค หนทางคือพระอัษฎางคิกมรรค ก็ลุถึงซึ่งธรรมนครสำเร็จแก่สรร- เพชญดาญาณ พระองค์จึงทรงประดิษฐานไว้ซึ่งโพชฌงค์วรบาท ๗ ประการ อันว่าโพชฌงค์ วรบาทของสมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้านั้น มีอายตะอันกว้างขวางประกอบด้วยลักษณอัน วิจิตรโสภา ทสฺสนิยานิ ควรจะเล็งแลดู เปมนิยานิ ควรจะยินดี เวทนิยานิ ควรจะเสวยอารมณ์ โสมนัส นนฺทนิยานิ ควรจะปรีดา โสตฺถิกรณียานิ ควรจะกระทำซึ่งความเกษม อภยกรณียานิ ควรจะกระทำให้หาภัยมิได้ อสฺสาสกรณียานิ ควรจะนำมาซึ่งความหายใจออกสบาย อปริ- ยาสกรณียานิ ควรจะกระทำมิให้สะดุ้งตกใจ ปีติกรณียานิ ควรจะกระทำให้ปีติ ปาโมชฺชิ- กรณียานิ ควรจะกระทำให้ปรีดาปราโมทย์ เอกคฺคกรณียานิ ควรจะทำให้มีอารมณ์แน่วแน่ ภาวนิยานิ ควรจะจำเริญ สุภาวนิยานิ ควรจะจำเริญด้วยดี สุขททานิ จะให้สุข สีตททานิ จะให้เย็น ยสททานิ จะให้ยศ พลททานิ จะให้กำลัง วณฺณททานิ จะให้มีสีสันพรรณงาม โภคททานิ จะให้มีโภคสมบัติ กามททานิ จะให้สำเร็จความใคร่ ปตฺถิตททานิ จะให้ สำเร็จความปรารถนาที่ตั้งไว้ สพฺพททานิ จะให้สมบัติทั้งปวง พุทฺสส ปทานิ อันว่าพระบาท แห่งสมเด็จพระพุทธสัพพัญญูผู้ประเสริฐนั้น จะครอบงำเสียซึ่งลัทธิแห่งเดียรถีย์ สตฺถุปทานิ ซึ่งรอยแห่งศาสดาครูสอนทั้งหลาย สีหปทานิ ซึ่งรอยเท้าแห่งราชสีห์ทั้งหลาย นาคปทานิ ซึ่ง รอยเท้าแห่งนาคทั้งหลาย อุสุภปทานิ ซึ่งรอยเท้าอุสุภราชทั้งหลาย วสภปทานิ ซึ่งรอยเท้า แห่งโคทั้งหลาย ยกฺขปทานิ ซึ่งรอยเท้ายักษ์ทั้งหลาย ราชปทานิ ซึ่งรอยเท้าแห่งพระยาทั้งหลาย อินฺทปทานิ ซึ่งรอยเท้าพระอินทร์ทั้งหลาย เวปทานิ ซึ่งรอยเท้าของผู้มีเวททั้งหลาย สกฺกปทานิ ซึ่งรอยเท้าแห่งท้าวสักกะทั้งหลาย ปุรินฺททปทานิ ซึ่งรอยเท้าแห่งท้าวปุรินทนะ ทั้งหลาย พฺรหฺมปทานิ ซึ่งรอยเท้าแห่งพรหมทั้งหลาย สนฺตปทานิ ซึ่งรอยเท้าแห่งผู้ระงับ แล้วทั้งหลาย คณปทานิ ซึ่งรอยเท้าแห่งหมู่ทั้งหลาย อิสิปทานิ ซึ่งรอยเท้าแห่งฤษีทั้งหลาย มุนิปทานิ ซึ่งรอยเท้าแห่งมุนีทั้งหลาย ชินปทานิ ซึ่งรอยเท้าแห่งผู้ชนะทั้งหลาย วรปทานิ ซึ่ง รอยเท้าแห่งผู้ประเสริฐทั้งหลาย อุตฺตมปทานิ ซึ่งรอยเท้าทั้งหลายอันอุดม อคฺคปทานิ ซึ่งรอย เท้าทั้งหลายอันเลิศ และรอยพระวรบาทแห่งสมเด็จพระสัพพัญญูนี้ เชฏฺฐปทานิ เป็นรอยเท้า อันประเสริฐโดยวิเศษกว่ารอยเท้าทั้งหลาย วิมุตฺติปทานิ เป็นรอยเท้าจะถึงซึ่งวิมุตติ อรหนฺต- ปทานิ เป็นรอยเท้าจะบรรลุพระอรหัต อันทรงไว้ซึ่งอรหาทิคุณ พุทฺธปทานิ อันว่ารอยพระบาท แห่งสมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์เจ้าของเราทั้งหลายนี้ สพฺพพุทฺธปทานิ ย่อม แสดงรอยพระบาทแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ก่อน มหาราช ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ อาตมาเห็นแจ้งประจักษ์ใจฉะนี้ ก็รู้ด้วยอนุมานปัญญาว่า อุฬาโร โส ภควา สมเด็จพระภควันต- บพิตรผู้โอฬารยิ่งนั้น ได้ตรัสรู้จริงๆ ในโลกนี้ ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ได้ทรงสวนาการดังนี้ จึงตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ยานิ ปทานิ อันว่าร้อยเท้าแห่งสัตว์ทั้งหลายใด มีรอยกุญชรชาติ เป็นต้นนั้น น จิรํ ติฏฺฐนฺติ มิได้สถิตอยู่นาน ถึงมาตรว่าจะสถิตอยู่นานประมาณ ๕ เดือน ๖ เดือนเท่านั้น ตโต ปรํ เคลื่อนจากนั้นแล้ว วินสฺสนฺติ ก็สูญหายไป ภควโต ปทานิ อัน ว่ารอยพระบาทของพระองค์ คือพระโพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ นี้ โลกยังมิได้ฉิบหายด้วยเพลิง ประลัยโลกตราบใด พระโพฌงคบาทนี้จะสถิตไปได้ตราบนั้น เป็นอัศจรรย์นักหนา นิมนต์ผู้ เป็นเจ้าสำแดงซึ่งพุทธพลานุภาพ ให้ภิญโญยิ่งกว่านี้อีกก่อน              พระนาคเสนเสนถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภาร สีโห อันว่า พระยาสีหราช วิคตภยเภรโว มิได้กลัวภัยอันพิลึก อจฺฉมฺภี มิได้สะดุ้ง อนพฺภีโต มิได้หวาดเสียว วิคตโลมหํโส มีขนพองอันปราศจากไป ปรปาณโลหิตมิคภกฺโข มีโลหิตแห่งสัตว์อื่นและเนื้อ บริโภคเป็นภักษา อุปวิปุลนิพฺพตฺตคตฺโต มีกายอันเกิดไพบูลย์บวรยิ่งมีสร้อยเกสรเป็นแถวตามคอ มีขนลายเป็นวงเวียนทักษิณาวัฏ เกิดมาเป็นอภิชาติ สัตว์ทั้งหลายมิอาจจะประทุษร้ายได้ และเป็นมฤคาธิบดี หมู่มฤคีทั้งหลายใหญ่และน้อย เห็นซึ่งรอยเท้าแห่งราชสีห์ มิอาจจะ ปลาสนาการหนีไปได้ ก็สลบซบเซาอยู่กับที่ ราชสีห์นั้นประกอบด้วยกำลัง ประกอบด้วยอุตสาหะ หาสัตว์อื่นจะเสมอมิได้ ย่อมอาศัยอยู่ในป่าอันสงัด เสพซึ่งมฤคชาติเป็นอาหาร ยามเมื่อ สายัณห์สมัยเพลาเย็นย่ำสนธยา ราชสีห์ก็ลีลาออกจากที่อาศัยเหลียวมาแลไปทั้ง ๔ ทิศ เข้า ไปแอบอยู่ในที่กำบังอันใหญ่ ปรปาณํ วิเหฐยนฺโต เมื่อจะเบียดเบียนฆ่าเสียซึ่งสัตว์อื่น หรือยัง พื้นธรณีดลและพวกแห่งตนให้ร่าเริงยินดี สีหนาทํ ภินฺทติ ราชสีห์นั้นก็บันลือซึ่งสัททะสำเนียง คือสีหนาทรื่นเริงบันเทิงใจ ขณะเมื่อราชสีห์บันลือสีหนาทออกไปนั้น สัตว์ทั้งหลายอันอยู่ในป่า ในคูหาถ้ำทั้งหลายนั้นก็สะดุ้งตกใจหวั่นหวาด แม้เป็นนกบินมาบนอากาศก็ตกลง เป็นสัตว์ จัตุบาทก็ล้มลงกับที่ คนทั้งหลายเห็นฤทธิ์ราชสีห์แล้ว ก็เข้าใจราชสีห์นั้นมีกำลังอานุภาพ มากยิ่งนักหนา ยถา มีครุวนาฉันใด มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จ พระศาสนาจารย์ผู้ทรงพระภาคเป็นอันงามนี้ วิคตภยเภรโว มีภัยอันพิลึกปราศจากพระพุทธ- หฤทัย อฉมฺภิตพฺภีตโลมหํโส มิได้บังเกิดตกพระทัยกลัวและโลมามิได้ชันหวั่นไหวประกอบไป ด้วยพระบารมีคุณอันอดุลล้ำเลิศ หาสิ่งไรจะชั่งให้เท่าพระคุณบารมีของพระองค์เจ้ามิได้ พระองค์ สั่งสอนสัตว์ให้ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์เป็นอาทิ และพระองค์ถึงแก่พระวิมุตติเศวตฉัตรครอง สัพพัญญุตราชสมบัติในโลกุตรราไชศวรรย์ มีพระกายอันประกอบด้วยลักษณะอันวิจิตร คือ สถิตสันโดษเร้นซ่อนอยู่ในสุญญูตวิโมกข์และอัปปณิหิตวิโมกข์และพระนิโรธธรรม มีปรกติ สันโดษเร้นซ่องอยู่ในป่าอันชัฏ คือพระองค์สถิตในป่าอันสงัดเงียบ อตฺตโน พุทฺธาสยา อภินิกฺ- ขมิตฺวา เสด็จออกจากพระพุทธาศัยประกอบไปด้วยพระญาณอันองอาจ บันลือซึ่งสัททะ สำเนียงเสียงพระพุทธสีหนาท กล่าวคือประทานธรรมเทศนาโปรดมนุษย์นิกรเทวดา จำพวกใด ปรปกฺกมานสา มีใจประกอบด้วยปัญญาบารมีแก่กลัว วิสุทฺธจิตฺตา มีจิตผ่องใสบริสุทธิ์ พุชฺฌิสฺ- สนฺติ ก็สำเร็จรู้ซึ่งไญยธรรมของสมเด็จพระพุทธสัพพัญญูผู้ประเสริฐ เย ปน มนุสฺสา มนุษย์ผู้ ใดเกิดมา กุทิฏฺฐิมนุคตา ถือมิจฉาทิฐิ ๖๒ คือ สัสสตทิฐิ และอุจเฉททิฐิ เป็นต้นอันร้ายกาจ ครั้นได้ฟังพระพุทธสีหนาทก็ละเสียได้ซึ่งทิฐิอันร้ายนั้น ส่วนพวกที่มิจฉาทิฐิอันมั่นคงแรงกล้า ตั้งอาตมาเป็นครูหมู่ทั้ง ๖ คน คือ ปุรณกัสสปะ และมักขลิโคสาละ อชิตเกสกัมพละ ปกุทธ- กัจจยานะ สัญชยะเวฬัฏฐบุตร นิคันถนาฏบุตร อันตั้งตัวว่าเป็นศาสดา และคนทั้งหลายที่เป็น มิจฉาทิฐิอื่นนั้น ครั้นได้ฟังพระพุทธสีหนาทบันลือออกซึ่งพระสัทธรรมเทศนา มิอาจสามารถที่ จะตอบโต้พระพุทธภาษิตได้ ก็หลบเร้นซุ่มซ่อนอยู่ ส่วนสาวกของสมเด็จพระบรมครูเจ้านั้น ครั้นฟังเสียงบันลือพุทธสีหนาท ก็บังเกิดประสาทเลื่อมใส เหตุได้ซึ่งดอกไม้อันหอม คือพระ วิมุตติธรรมอันล้ำเลิศ มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภาร อาตมาได้เรียนรู้พระพุทธสีหนาท อันประเสริฐ ที่สมเด็จพระพุทธองค์ทรงพระอธิษฐานไว้ ก็สำคัญเข้าใจด้วยอนุมานปัญญาว่า สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้านั้น อนนฺตปารมิคโต เป็นผู้ถึงซึ่งพระบารมีคุณจะนับมิได้ ขอถวาย พระพร ในที่นี้พระคันถรจนาจารย์ประพันธ์คาถา แสดงข้อความที่พระนาคเสนถวายวิสัชนา แล้วนั้นได้ เป็นใจความว่า หมู่มฤคชาติและสกุณปักษีทั้งหลาย ได้ยินเสียพระยาราชสีห์อัน ้เปล่งสุรสีหนาทแล้ว ย่อมพากันหวาดหวั่นครั้นคร้านสยดสยอง ซึ่งเป็นเหตุให้มหาชนอนุมานรู้ ได้วานาทราชสีห์ พระยาราชสีห์ได้เปล่าสุรสีหนาท ฉันใด สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก็ทรง เปล่งพระพุทธสีหนาท ให้เหล่าเดียรถีย์ผู้เป็นมิจฉาทิฐิทั้งหลายขนั้นครั่นคร้ามเป็นเหตุให้อนุมาน รู้ได้ว่า สมเด็จพระธรรมราชาได้ประกาศพระธรรมเทศนาไว้ มีอุปไมยฉันนั้น              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ มีพระราชโองการตรัสรับคำพระนาคเสนว่า ภนฺเต ข้าแต่พระ ผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าช่างอุปมา อันว่าเดียรถีย์ทั้งหลายพวกมิจฉา ครั้นว่าได้ฟังซึ่งพระพุทธ- สีหนาแล้วมิอาจจะโต้ตอบได้เป็นไปตราบเท่าจนทุกวันนี้ ภิยฺโย พุทฺธาพลํ ทีเปหิ นิมนต์ พระผู้เป็นเจ้าอุปมาอุปไมย โดยเหตุโดยปัจจัย ให้ภิยโยภาวะยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีกก่อน พระเจ้าข้า              พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภารอันว่าคงคาทั้งหลาย ย่อมไหลมาแต่ป่าหิมพานต์แล้วและไหลหลั่งลงสู่มหาสมุทรอันใหญ่ ยถา มีอุปมาฉันใด อัน ว่ามหาเมฆอันใหญ่บันดาลที่ตกลงมาท่วมบ่อสระในหิมวา เป็นน้ำป่าพัดขอนไม้ใหญ่น้อย และ รากใบเป็นสวะลอยไป สัตว์จตุบาทน้อยใหญ่ คือแมลงป่อง ตะขาบ งู พังพอน สุนัข กระต่าย และเสือป่าเป็นต้น ก็พากันหนีขึ้นไปอาศัยอยู่บนดอน ที่มีกำลังอ่อนหนีไม่พ้น น้ำฝนก็ท่วมตาย ไหลพัดพาไปสู่มหาสมุทร ใช่แต่เท่านั้น อุทกขันธ์ยังพัดพาเอาสิ่งโสโครกบรรดามีให้ไหลไปสิ้น ชำระปฐพีให้สะอาดหมดลามา และน้ำก็ไหลไปสู่มหาสมุทรจนแห้งไม่เหลือเลย อปเรน สมฺเยน ครั้นต่อมา ณ สมัยเป็นอปรภาค มหาชนทั้งหลายเหล่าอื่นสัญจรมาได้เห็นคราบน้ำปุ่ม เปือกติดอยู่ตามกอหญ้า และยอดไม้และรวงรังที่สัตว์เคยอยู่พื้นดิน ขึ้นไปทำเป็นที่เป็นอาศัย ตามซุ้มเซิงอันเป็นที่สุด อนุมาเนน ชานนฺติ ก็อนุมานเข้าใจได้ว่า มหา วต โภ อุทกราสี นั่นแน่ ที่นี่เคยมีห้วงใหญ่ไหลมาท่วม ดูซิคราบขึ้นไปอยู่ที่ยอดไม้ ข้อความเปรียบนี้ ยถา มีครุวนา ฉันใด มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรผู้ประเสริฐ อันว่าธรรมนทีอันเลิศ ของสมเด็จพระ สัพพัญญูก็เหมือนกัน อนุปุพฺเพน สนฺทมานา เมื่อไหลมาโดยลำดับกัน ขณะนั้นก็ไหลสู่สาคร ปากอ่าวอันกล่าวคือพระนิพพาน อสงฺขตํ อันหาปัจจยาการประชุมตกแต่งมิได้ อชรา- อมรณสุขิตภาวํ ไม่รู้แก่ไม่รู้ตาย มีสภาวะเป็นสุขสบายยิ่งนักหนา เหตุว่าสมเด็จพระสัพพัญญูเจ้า ออกจากมหากรุณาสมาบัติ ยังไพไธยกสัตว์ คือสัตว์อันสร้างบารมีมาแก่กล้าให้รู้ธรรมวิเศษ ยัง โลกมนุษย์และเทเวศร์ให้อิ่มไปด้วยธรรมเมฆเป็นอันมาก ให้จำกักเสียซึ่ง ราคะ โทสะ โมหะ มานะ และมักขะ คือความกระด้างและหลู่คุณท่านผู้อื่นว่าตนดีกว่า และพระองค์เจ้าก็กำจัดเสียซึ่งเถา ลดาวัลย์ คือความยินดีอันกล้าและสักกายะ อุทธัจจะ วิจิกิจฉาและตัณหาอันรกชัฏใช่น้อย ให้ลอยเสียซึ่งอเนสนธรรม บาปกรรมอันพิลึกต่างๆ ให้ล่วงเสียซึ่งเปือกตม คือ โมหะ และเลน คือมานะ และเปือกตมกล่าวคือลาภสักการะ และให้ย่ำยีเสียซึ่งสุภนิมิตและความเกียจคร้าน การทะเลาะวิวาททั้งปวง และจะระงับเสียซึ่งอำนาจโกรธและกิริยาที่ยกโทษใส่ท่านลบหลู่คุณ ท่าน และจะนำเสียซึ่งโทษสาธารณะทั่วไป เปลื้องเสียให้พ้นจากอกุศล โปรดให้พ้นถึงพระอรหัต ยังสัตว์ให้ไหลไปสู่พระนิพพานสาคร มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ อันว่าธรรมสาครอันเลิศของสมเด็จพระพุทธสัพพัญญูบรมครูเจ้านี้กว้างใหญ่ มีฝั่งหาที่สุดมิได้ มีลูกระลอกจะนับนั้นมิได้ คือพระสัทธรรมจะพร่องหรือเต็มก็มิได้ปรากฏ อาตมาเข้าใจด้วย ปัญญาดังนี้ จึงรู้ว่า อปฺปเมยฺ โส ภควา สมเด็จพระภควันตบพิตรทรงพระคุณจะนับจะประมาณ มิได้ ขอถวายพระพร              ในที่นี้พระคันถรจนาจารย์ประพันธ์คาถา แสดงข้อความที่พระนาคเสนถวายวิสัชนามา แล้วข้างต้นนั้นไว้ว่า บุคคลเห็นซึ่งแผ่นดิน อันเป็นคราบน้ำและปุ่มเปือกอันติดหญ้าอยู่ ก็รู้ ด้วยอนุมานปัญญาว่า ฝนตกลงมา มีอุทกวารีห้วงน้ำฝนมาก ด้วยเห็นว่าได้เห็นคราบน้ำฝนนั้น ติดหย่อมหญ้ามากยิ่งนักหนา ยถา มีครุวนาฉันใด บัณฑิตเห็นสัตว์ลอยอยู่กระแสธรรม ก็เข้าใจ สำคัญว่าพระธรรมขันธ์นี้ ใหญ่ดุจห้วงแห่งอุทกังในสาคร ก็มีอุไมยฉันนั้น นะพระราชสมาภาร              สมเด็จพระมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ นาคเสนผู้ปรีชา ธรรมทีนี้สมเด็จพระมหามุนี ทรงบัญญัติไว้เพื่อให้ลอยกิเลสหรือ พระผู้เป็นเจ้า              พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า อาม มหาราช ขอถวายพระพร ธรรมนทีนี้สมเด็จพระ มหามุนีทรงบัญญัติไว้ให้ลอยกิเลส              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ จึงมีพระราชโองการตรัสว่า เตนหิ ถ้ากระนั้น นิมนต์พระผู้เป็น เจ้าแสดงพระพุทธกำลัวให้ภิยโยภาวะยิ่งขึ้นไปโดยเหตุโดยปัจจัยอีกก่อน              พระนาคเสนจึงถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภารผู้เป็นมหิส- ราธิบดี ธรรมดาว่าหน้าฤดูดอกไม้ทั้งหลายอันมีเสาวคนธรสอันหอมวิเศษ คือพิกุลบุนนาค จำปา การะเกดอันวิเศษอุดม ย่อมมีกลิ่นหมอระรื่นใจไปตามลม ฝูงชนไม่ได้เด็ดดม แต่หอมกลิ่นอันมาตามลมนั้น ก็สำคัญด้วยอนุมานปัญญาว่า กลิ่นบุปผาสุคนธาอันมีอยู่ เหนือลมฉันใด อันว่ากลิ่นคือ ศีลที่บุคคลสมาทาน ก็หอมเหมือนดอกไม้นั้น ศีลอันประเสริฐ อุดมนั้นมีพระไตรสรณคมน์เป็นที่ตั้ง คือศีล ๕ ศีล ๘ และพระปาติโมกขปริยาปันนศีล และ อุเทสปริยาปันนศีลและจาริตวาริตศีล กลิ่นศีลนี้หอมไปในมนุษยโลกและเทวโลก กลิ่นศีลนี้ ดุจดอกไม้มีกลิ่นอันหอม เหตุดังนี้ อาตมาจึงรู้ด้วยอนุมานปัญญาว่า อตฺถิ โส ภควา สมเด็จ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระคุณอันยิ่ง มีอยู่ในโลกนี้ ขอถวายพระพร              ในที่นี้พระคันถรจนาจารย์ก็ประพันธ์คาถากล่าวความซ้ำกับที่พระนาคเสนถวายวิสัชนา อุปมาข้างต้นนั้น มีใจความเปรียบกลิ่นกับกลิ่นดอกไม้ที่หอมระรื่นตามลมมา อันเป็นเหตุให้ รู้เพราะได้สูบดมจึงทราบได้ว่ามีอยู่ ดุจนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าจะประมาณซึ่งกำลังแห่งพระ พุทธคุณ โดยเหตุโดยปัจจัยและโดยนัยนับเป็นพ้นๆ นั้น อาตมาไม่อาจแสดงได้ อาตมานี้เปรียบ ดังนายมาลาการอันเข้าไปในสวนอุทยาน ซึ่งประกอบด้วยดอกไม้ต่างๆ แล้วเก็บดอกไม้ มาร้อยกรองให้วิจิตรงดงามตามที่อาจารย์สั่งสอนมาโดยควรแก่กำลังนั้น อาตมาก็ปานกันกับ นายมาลาการฉะนี้ บพิตรจงโสมนัสปรีดาในพระพุทธคุณที่อาตมาวิสัชนามาในกาลบัดนี้              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ได้สวนาการพระนาคเสนวิสัชนา ดังนั้น ก็มีน้ำพระ ทัยโสมนัสตรัสสรรเสริญว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ผู้เป็นเจ้านำซึ่งอุปมา อุปไมยมาเปรียบเทียบให้เห็นว่า พระพุทธคุณานุภาพยังไม่สาบสูญ บริบูรณ์เป็นอันดี ที่โยมคิด ถามก็สำเร็จความปรารถนา ปัญหานี้จะได้เป็นที่ทำลายเสียซึ่งคำเดียรถีย์ทั้งปวงสืบต่อไปนี้
อนุมานปัญหา คำรบ ๘ จบเพียงนี้

             เนื้อความมิลินทปัญหา หน้าที่ ๔๖๔ - ๔๙๒. http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=182              สารบัญมิลินทปัญหา http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=0#item_182

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]