ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก  หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
มิลินทปัญหา
ธุตังคปัญหาที่ ๙ (๑)
             อันดับนั้นสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงจินตนาการหาอรรถปัญหาที่จะไต่ ถามพระนาคเสนต่อไป ก็เกิดวิมัติกังขาสงสัยอันใหญ่ขึ้นในข้อที่พระภิกษุถือธุดงค์ อยู่ในอรัญ- ญิกประเทศและคฤหัสถ์ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ ก็สามารถจะได้บรรลุมรรคผลคุณวิเศษได้เหมือนกันว่า ผิแลว่าคฤหัสถ์ย่อมตรัสรู้ธรรมวิเศษได้เหมือนภิกษุที่ถือธุดงค์แล้วไซร้ ธุดงคคุณที่ภิกษุถือนั้น จะไม่มีประโยชน์อะไร เป็นอันไร้ผล ถือไปให้ลำบากเปล่าๆ อาตมาจักถามปัญหาข้อนี้กะ พระนาคเสน ผู้ทรงพระไตรปิฎก ผู้ฉลาดในการที่จะสาธกเปรียบเทียบแก้ปัญหา และมีวาจาไพ- เราะอันประเสริฐ ท่านจะได้บรรเทาความสงสัยของเราให้เสื่อมสิ้น คลี่คลายหายไป ทีนั้นสม เด็จพระเจ้ามิลินท์ก็ทรงยินดีที่จะถามปัญหาข้อนั้น ทรงร่าเริงบันเทิงพระหฤทัยยิ่งนัก โคโณ วิย (๑) น่าจะเป็นลักขณปัญหา ดูอธิบายเชิงอรรถหน้าที่ ๔๖๔ ปิปาสิโต ประดุจดังโคอันอยากน้ำเป็นที่สุดแล้วเขม้นขะมักที่จะไปหาน้ำ ฉาโต วิย ปุริโส ประการหนึ่ง ดุจบุรุษที่หิวข้าวแล้วเที่ยงเสาะแสวงหาโภชนาหาร ปณฺฐโก วิย สตฺถํ ปฏิมานี ถ้ามิฉะนั้น ดุจคนที่จะเดินทางไปในหนทางเปลี่ยวกันดาร อันงอนง้อขอพึ่งพวกเกวียนเป็น เพื่อนไป อาตุโร วิย ภึสกํ ถ้ามิฉะนั้น ดุจคนไข้อันเที่ยวหาหมอให้เยียวยา อธโน วิย นีธึ ถ้ามิฉะนั้น ดุจคนฝั่งอยากจะได้ซึ่งนาวาเป็นพาหนะข้ามไป กามโก วิย ปิยสมาคมํ ถ้ามิฉะนั้น ดุจคนที่มีอัธยา- ศัยใคร่อยู่ในกาม มีความปรารถนาจะสมาคมกับด้วยอันเป็นที่รัก วาทิโต วิย วิสทฺทกาโม ถ้ามิฉะนั้นดุจคนเป่าปี่อนปรารถนาจะให้เสียงแหบหวนไพเราะแปลกหูเป็นที่เชิดชูใจแห่งผู้สดับ ภีโต วิย สรณํ ถ้ามิฉะนั้น ดุจคนขลาดประสบสิ่งซึ่งอันพึงกลัว แล้วแสวงหาที่พึ่งพาอาศัย ชิน- ปุตฺโต วิย วิมุตฺติกาโม ถ้ามิฉะนั้น ดุจพระภิกษุพุทธชิโนรสอันทรมานอินทรีย์ปรารถนาพระวิมุต- ติธรรม สมเด็จพระเจ้ามิลินท์มีความบันเทิงพระทัยใคร่จะถามธุดงค์ปัญหากะพระนาคเสน เถระฉะนี้ จึงรีบเขม้นขะมักเข้าไปหาพระนาคเสนโดยพลัน              ในที่นี้ ท่านผู้แต่งคัมภีร์ผูกคาถาแสดงกิริยาความใคร่ของสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ที่ ปรารถนาจะถามปัญหาไว้ โดยข้ออุปมามีใจความเหมือนกับที่เปรียบมาข้างต้นทุกประการ              เอวํ มิลินฺโท ราชา เมื่อสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีจรลีเขม้นขะมักเข้าไปยังสำนัก พระนาคเสนแล้ว จึงตรัสปฏิสันถารเป็นสาราณียกถา กับด้วยพระนาคโดยสมควร ทสวิธํ คุณวรํ สมนุปสฺสิตฺวา มาทรงพิจารณารำพึงเห็นว่า เมื่ออาตมาถามปัญหาพระนาคแล้วจะได้รับ แสวงหาโอวาทแล้วๆ เล่าๆ ประการ ๑ ที่วิตกผิดจะได้กลับจิตให้วิตกชอบประการ ๑ อาตมา จะถึงซึ่งกระแสธรรมแล้วจะได้ปัญญาจักษุที่ประการ ๑ อาตมาเข้าไปสำนักอาจารย์แล้ว จะได้ เคารพนบนอบประการ ๑ อาตมาจะได้ตั้งอยู่ในกุศลธรรมแล้ว จะเป็นผู้นิราวรณ์ไม่มีธรรม เครื่องกั้นใจประการ ๑ อาตมาจะได้ขวนขวายในพระโลกุตรธรรมเนืองๆ ประการ ๑ อาตมา จะมิต้องสะดุ้งกลัวต่อภพทั้ง ๓ ประการ ๑ อาตมาเข้าไปสู่ท่ามกลางบริษัท จะเข้าใจใน ทรงธรรมได้เร็วพลันประการ ๑ สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ทรงดำริเห็นคุณ ๑๐ ประการ ฉะนี้ จึงมีพระราชโองการตรัสถามพระนาคเสนว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ปรีชา คฤหัสถ์มีเหย้าเรือนเคหาเป็นอาราคิกบุคคล บริโภคกามคุณทั้ง ๓ หลับนอนคลุกคลี คับคั่งไปด้วยบุตรและภรรยา จะนุ่งห่มก็ล้วนแต่ผ้าอันดีมีผ้ากาสิกพัสตร์เป็นต้น และยินดีอยู่ใน เสาวคนธรสมีกลิ่นอันหอม ย่อมประกระแจะจันทร์ทรงไว้ซึ่งซึ่งดอกไม้และเครื่องลูบไล้อันหอมรื่น และยังชมชื่นยินดีด้วยเงินและทอง ผูกเกล้าโมลีประดับด้วยแก้วมณีแล้วมุกดาและทองคำงาม รุ่งเรือน ถ้าปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติ จะบรรลุมรรคและผลกระทำพระนิพพานให้แจ้งได้หรือ ประการใด              พระนาคเสนจึงถวายวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ซึ่งว่าคฤหัสถ์ปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติได้บรรลุมรรคผล กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนั้นจะมีอยู่ น้อยเพียงร้อย ๑ หรือ ๒ ร้อย พัน ๑ หรือแสน ๑ โกฏิ ๑ เท่านั้น หามิได้ มีอยู่มากมาย เหลือที่จะนับจะประมาณ ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา คฤหัสถ์ผู้ปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติ ประกอบความเพียรโดยปริยายเป็น ไฉนจึงจะได้บรรลุมรรคผล นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาในกาลบัดนี้ให้โยมแจ้งก่อน              พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาถวายวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพร อาตมาจะถวาย วิสัชนาคำนวณนับคฤหัสถ์ที่ปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติแล้วได้บรรลุมรรคผลเล่า ด้วยร้อยหรือ พัน แสนหรือโกฏิ ร้อยโกฏิหรือพันโกฏิไม่ได้ แต่ข้อปฏิบัติคือสัลเลขิตาจาร หรือธุดงคคุณอัน ประเสริฐในพระพุทธศาสนา อันมีองค์ ๙ ประการนี้ ย่อมรวมอยู่ในเหตุที่จะให้บรรลุมรรคผล ทั้งสิ้น มหาราช ขอถวายพระพร อภิวฏฺฐํ อุทกํ อันว่าน้ำฝนอันตกลงมา โดยทิศาภาคประเทศ ทั้งหลายจะเป็นที่ลุ่มหรือดอน เสมอหรือไม่เสมอ บนบกหรือในน้ำ ก็ตามที ตโต นิวตฺติตฺวา ย่อมจะไหลไปประชุมรวมลงในมหาสมุทรสิ้น ยถา ความเปรียบนั้น มีครุวนาฉันใด สมฺปาทเก สติ เมื่อเหตุที่จะให้บรรลุมรรคผล คือสัมมาปฏิบัติมีอยู่ ข้อปฏิบัติคือสัลเลขิตาจาร และธุงดงคคุณ อันประเสริฐในพระพุทธศาสนาอันมีองค์ ๙ ประการ ก็ประชุมรวมลงในเหตุนั้นสิ้น เอวเอว โข มีอุปไมยฉันนั้นแล มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ด้วยเหตุที่อาตมาเป็นผู้ ฉลาดรอบ ในที่นี้อาตมาจักรวมถวายวิสัชนาเหตุที่ให้เจริญบรรลุมรรคผลนั้น เนื้อความจึง จำแนกให้วิจิตรด้วยดีบริบูรณ์เต็มที่ได้ มหาราช ขอถวายพระพร กุสโล เลขาจริโย อันว่า อาจารย์สอนเลขผู้ฉลาด จะสอนเลข ตั้งจำนวนเลขลงไว้ แล้วบวชลบคูณหารไป ยังจำนวนเลข ให้ลงตัวได้ แล้วจดตัวเลขไว้ แสดงเหตุแห่งความเจริญแห่งวิชาคูณหารไป ยังจำนวนเลข ฉลาดรอบของตน ยถา ความเปรียบนี้ มีครุวนาฉันใด อาตมาก็จักรวมวิสัชนาเหตุที่ให้ เจริญบรรลุมรรคผล ให้เนื้อความวิจิตรบริบูรณ์เต็มที่ มีอุปไมยฉันนั้น มหาราช ขอถวาย พรพร ปญฺจโกฏิมตฺตา อริยสาวกา อันว่าพระอริยสาวกาของสมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้า อยู่ ในเมืองสาวัตถีนั้น ๕ โกฏิ และอุบาสิกาที่สำเร็จแก่พระอนาคามิมรรค พระอนาคตมิผลได้ ๓ แสน ๕ หมื่น ๗ พัน และอุบาสิกานั้น ใช่จะสำเร็จในบรรพชิตหามิได้ ได้สำเร็จธรรม- วิเศษแต่เป็นฆราวาสอยู่สิ้น ใช่แต่เท่านั้น ครั้นเมื่อพระองค์กระทำพระปาฏิหาริย์ใต้ไม้คัณ- ฑามพฤกษ์นั้น วีสติ ปาณโกฏิโย มนุษย์และเทวดาพ้นทุกข์กำหนดได้ ๒๐ โกฏิเป็นประมาณ ใช่แต่เท่านั้น ครั้งเมื่อสมเด็จพระสัพพัญญูตรัสพระสัทธรรมเทศนาราหุโลวาทสูตร และครั้งเมื่อ เทศนามหามงคลสูตร และครั้งนั้นเมื่อเทศนามหาสมจิตตปริยายสูตรและครั้งเมื่อเทศนาปรา- ภวสูตร และครั้งเมื่อเทศนาจุลสุภัททสูตร และครั้งเมื่อเทศนากลหวิวาทสูตร และครั้งเมื่อ เทศนาจุลพยุหสูตร มหาพยุหสูตร ตุวฏกสูตร เทวดาทั้งหลายได้รับประทานฟังพระสัทธรรม- เทศนา ก็ได้สำเร็จธรรมวิเศษไป จะนับด้วยปัญญาพระสารีบุตรก็สุดที่จะนับได้ ใช่แต่เท่านั้น ใน กรุงราชคฤห์นั้นก็มีพระอริยบุคคลกำหนดได้ ๕๐ แสนกับ ๓ หมื่น ครั้งเมื่อพระองค์ สำแดงพระธรรมเทศนา เมื่อครั้งทรมานธนปาลหัตถีนั้น มนุษย์ก็พ้นทุกข์ถึง ๙ หมื่น อินฺท- สาลคูหายํ ครั้งเมื่อตรัสเทศนาที่ถ้ำชื่ออินทสาลคูหา เทวดาทั้งหลายฟังพระสัทธรรมสำเร็จ ธรรมวิเศษ ๘๐ โกฏิ ครั้งเมื่อพระสัพพัญญูเจ้าเสด็จอยู่ในนาฬิกายนคร ตรัสเทศนาพระปฐม- เทศนา เทวดาได้พ้นทุกข์ ๑๘ โกฏิกับ ๕๙๕ องค์ เมื่อครั้งสมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าตรัสพระ สัทธรรมเทศนาที่ปาสาณกเจดีย์ ครั้งนั้น เทวดาพ้นทุกข์ ๑๔ โกฏิ ครั้งเมื่อเทศนาด้วยนายมาลา- การกระทำสักกาบูชานั้น บุคคลพ้นทุกข์ ๘ หมื่น ๔ พัน และเมื่อเทศนาอื่นๆ ก็มีเทวดาและ มนุษย์ได้ตรัสรู้ธรรมวิเศษเป็นอันมากสุดที่จะพรรณนาให้สิ้นได้ มหาราช ขอถวายพระพร สมเด็จบรมบพิตรเจ้าผู้ประเสริฐ ยตฺถ สมเด็จพระพุทธเจ้าเมื่อพระองค์ยังมีพระชนม์อยู่ พระองค์ เสด็จเที่ยวตรัสพระสัทธรรมเทศนาโปรดไปในที่ใดๆ อันมีใน ๑๖ ชนบทนั้น เทวดาและ มนุษย์ประชาชนได้พ้นทุกข์ถึงธรรมวิเศษสำเร็จไปคราวละ ๒ บ้าง ๓ บ้าง ๔ บ้าง ๕ บ้าง ๑๐ บ้าง ๑๐๐ บ้าง ๑,๐๐๐ บ้าง ๑๐,๐๐๐ บ้าง กระทำให้แจ้งซึ่งพระปรมัตถธรรมบรรลุถึงพระนิพพาน เทวดาเหล่านั้นก็มากกว่าแสนโกฏิ จะเป็นบรรพชิตหามิได้ ย่อมเป็นฆราวาสบริโภคกามคุณ หลับนอนกับบริจาริกา ประดับประดาด้วยอาภรณ์ ชะโลมทาด้วยดอกไม้ของหอม พร้อมด้วย ความยินดีในสุวรรณรัชตมณีรัตน์ผูกเกล้าเมาลีประดับด้วยแก้วและทองสิ้น ยังกระทำให้แจ้งซึ่ง พระนิพพานได้ มหาราช ขอถวายพระพร ซึ่งว่ากระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนั้น ใช่จะกระทำให้ แจ้งได้แต่บรรพชิตฝ่ายเดียวหามิได้ เทพยดาทั้งนั้นก็ดี มนุษย์อันเป็นฆราวาสก็ดี ก็กระทำได้ ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ถ้าว่าพระผู้เป็นเจ้าคฤหัสถ์ผู้สัมมาปฏิบัติ กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เหมือนกันกับพระภิกษุได้แล้ว พระภิกษุจะกระทำกิจในธุดงค์ ๑๓ ประการ ให้สำเร็จประโยชน์ สิ่งใดเล่า อุปมาเหมือนคนเป็นโรคาพยาธิเบียดเบียน ถ้าใครๆ ก็รักษาได้ จะหาหยูกยาและ หมอมาต้องการอะไร หนึ่งถ้ารบข้าศึกด้วยกำมือเปล่าได้ ก็จะต้องการอะไรที่จะหาหอกดาบและ ธนูหน้าไม้ ถ้ามิฉะนั้น ดุจไม้เป็นปมเปาและเป็นโพงทั้งโกงทั้งสิ้น เมื่อเอามาใช้เป็นพะองได้ จะ ต้องการอะไรด้วยหาไม้ยาวทำพะองเล่า หนึ่ง ถ้านั่งนอนที่แผ่นดินต่างฟูกหมอนได้ จะหาเสื่อม และที่นอนต้องการอะไร หนึ่ง จะไปทางกันดารไม่กลัวภัยต้องการอะไรที่จะหาเพื่อนและศัสตรา- วุธไปด้วย หนึ่ง จะข้ามแม่น้ำน้อยใหญ่ด้วยใช้กำลังแขนทั้งสองว่ายไปได้ จะต้องการสะพานและ นาวาข้ามด้วยเรื่องอะไร ประการหนึ่ง ผ้านุ่งผ้าห่มและข้าวปลาของตัวมีอยู่แล้ว ต้องการอะไรที่ จะไปเที่ยวขอเขา ประการหนึ่ง สระและบ่อมีอยู่แล้ว ต้องการอะไรที่จะต้องขุดใหม่ ภนฺเต นาค- เสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่าคฤหัสถ์เป็นกามโภคียินดีด้วยเงินและทองทุกประการ ถ้ากระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้แล้ว จะประโยชน์อะไรด้วยเป็นบรรพชิตรักษาธุดงคคุณเล่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาให้แจ้ง ในกาลบัดนี้              พระนาคเสนจึงถวายวิสัชนาว่า อฏฺฐวีสติ โข ปน มหาราช อิเม ธุตงฺคคุณา ขอถวายพระพรบพิตรพรระราชสมภาร อันว่าธุดงคคุณนั้น มี๒๘ ประการ สมเด็จพระบรมโลก- นาถศาสดาจารย์ ทรงขวนขวายแสวงหา ก็ธุดงคคุณ ๒๘ ประการนั้น สุทฺธาชีวํ คือจะให้ เลี้ยงชีวิตเป็นสุทธาชีวะบริสุทธิ์ด้วยดีประการ ๑ สุขผลํ ให้ผลเป็นสุขประการ ๑ อนวชฺชํ เป็นกิจอันหาโทษมิได้ประการ ๑ ปรสฺส ทุกฺขปนูทนํ มีกิริยาจะบรรเทาเสียซึ่งทุกข์ของผู้อื่น ประการ ๑ อภยํ หาภัยมิได้ประการ ๑ อปีฬํ หาสิ่งจะเบียดเบียนมิได้ประการ ๑ เอกนฺต- วุฑฺฒิอปริหานิยํ มีแต่จะให้เจริญมิเสื่อมถอยประการ ๑ อมายํ ปราศจากมายาประการ ๑ อนาวิลํ มิได้ขุ่นมัวประการ ๑ อารกฺขํ เป็นที่ป้องกันรักษาประการ ๑ ปตฺถิตํ เป็นคุณที่ ชนทั้งหลายปรารถนาประการ ๑ ทนฺตํ สำหรับจะได้ทรมานตนประการ ๑ สพฺพสตฺถธูปนํ เป็นเครื่องกำจัดเสียซึ่งศัสตราทั้งปวงประการ ๑ สํวรหิตํ เป็นที่เกื้อกูลแก่สังวรประการ ๑ ปฏิรูปํ เป็นกิจควรที่จะปฏิบัติประการ ๑ อติสนฺตํ ทำให้สงบระงับยิ่งประการ ๑ วิปฺปมุตฺตํ จะ ให้พ้นจากกิเลสประการ ๑ ราคกฺขยํ เป็นที่สิ้นแห่งราคะประการ ๑ โทสวูปสมนํ เป็น เครื่องปราบเสียซึ่งโทสะประการ ๑ โมหวินาสนํ เป็นเครื่องทำให้โมหะฉิบหายไปจากสันดาน ประการ ๑ มานปวาหนํ มีกิริยาลอยเสียซึ่งมานะประการ ๑ กุวิตกฺกเฉทการณํ เป็นเหตุที่ จะตัดเสียซึ่งวิตกอันชั่ว ประการ ๑ กงฺขาวิตรณํ เป็นเครื่องข้ามเสียซึ่งความสงสัยประการ โกสชฺชวิธํสนํ มีกิริยาจะกำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้านประการ ๑ อรติปวาหนํ จะลอยเสียซึ่ง ความกระสันประการ ๑ ขมนํ มีกิริยาจะให้อดทนประการ ๑ อตุลอปฺปมาณํ หาคุณที่จะชั่วจะ ประมาณให้เท่ามิได้ประการ ๑ สพฺพทุกฺขยคามินํ มีปรกติยังทุกข์ทั้งปวงให้สิ้นไปประการ ๑ สิริ เข้ากันเป็นคุณ ๒๘ ประการด้วยกัน              มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อนึ่ง พระโยคาวจรเจ้าที่สมทานซึ่งธุดงค์นั้น ย่อมเป็นผู้ประกอบไปด้วยคุณ ๑๘ ประการ อาจาโร เตสํ สุวิสุทฺธํ คือ มีมรรยาทบริสุทธิ์ด้วยดี ประการ ๑ ปฏิปทา สุจริต คือมีความปฏิบัติเป็นสุจริตประกร ๑ กายิกาจสิกํ สุรกฺขิตํ คือ รักษากรรมที่เป็นไปทางกายและวาจาได้ดีประการ ๑ มโน สุวิสุทฺโธ คือมีจิตผ่องใสบริสุทธิ์ ประการ ๑ วิริยํ สุปคฺคหิตํ คือประคองซึ่งความเพียรอุตสาหะเป็นอันดีประการ ๑ ภยํ อุปสนฺตํ จะระงับได้ซึ่งความกลัวประการ ๑ อตฺตานุวาททิฏฺฐิพฺยปตฺตตา จะสละเสียได้ซึ่งอัตตานุวาททิฐิ ประการ ๑ อาฆาโก อุปสนฺโต จะระงับเสียซึ่งอาฆาตจองเวรประการ ๑ เมตฺตา อุปฏฺฐิตา จะได้ เข้าตั้งไว้ซึ่งเมตตาจิตประการ ๑ อาหาโร ปริคฺคหิโต จะกำหนดอาหารที่บริโภคได้ประการ ๑ สพฺพสตฺตานํ ครุกโต จะมีจิตนอบน้อมเคารพแก่สัตว์ทั้งปวงประการ ๑ โภชเน มตฺตญฺญุตา จะ รับประมาณในการที่จะฉันจังหันประการ ๑ ชาคริยานุโยโค จะเป็นผู้ประกอบความเพียรในอันตื่น อยู่ประการ ๑ อนิเกโต จะเป็นผู้ไม่มีอาลัยในที่อยู่ประการ ๑ ยตฺถ ผาสุ ตตฺถ วิหารี ที่ไหนเป็น สุขสำราญจะได้อยู่ในที่นั้นประการ ๑ ปาปเชคุจฺโฉ จะเป็นผู้เกลียดชังบาปประการ ๑ วิเวกา ราโม จะได้ยินดีในที่วิเวกประการ ๑ สตตํ อปฺปมาโท จะเป็นผู้ไม่ประมาทเนืองๆ ประการ ๑ สิริเป็น ๑๘ ประการฉะนี้              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ประการหนึ่ง บุคคลที่จะสมควร รักษาธุดงค์นั้น มี ๑๐ ประการ สทฺโธ คือมีศรัทธาประการ ๑ หิริมา มีหิริประการ ๑ ธิติมา มีปัญญาประการ ๑ อกุโห มิใช่คนคดโกงประการ อตฺภวสี ชำนาญอยู่ในประโยชน์ ประการ ๑ อโลโล มิใช่คนโลเลประการ ๑ สิกฺขากาโม เป็นคนใคร่ต่อการศึกษาประการ ๑ ทฬฺ- หสมาทาโน มีสมาทานมั่นคงประการ ๑ อนุชฺฌานพหุโล ไม่มากด้วยคอยยกโทษเขาประการ ๑ เมตฺตาวิหารี อยู่ในเมตตาพรหมวิหารประการ ๑ สิริเป็นคุณ ๑๐ ประการด้วยกัน บุคคลผู้ ประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการนี้ สมควรสมาทานธุดงค์ได้              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ฆราวาสผู้ประกอบการเป็นกามโภคี ิยินดีอยู่ในกามคุณทั้ง ๕ คลุกเคล้าไปด้วยบุตรและภรรยา และยินดีในหิรัญสุวรรณแก้วเก้าเงิน ทอง ทัดทาดอกไม้ของหอม พรักพร้อมด้วยอาภรณ์ผ้านุ่งผ้าห่ม ไว้มวยผมประดับด้วยแก้วมณี เกล้าเป็นเมาลีสีมีผ้าโพกและใส่หมวก คฤหัสถ์จำพวกนี้รักษาธุดงค์มาแต่ในชาติก่อนคุ้นเคยอยู่ แล้ว จึงสำเร็จธรรมวิเศษกระทำให้แจ้งทางพระนิพพานได้ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร พระราชสมาภาร ธรรมดาว่านายขมังธนู หัดยิงธนูไว้จนชำนาญแล้ว ครั้นไปสู่พระราชฐาน ยิงถวายพระบรมกษัตริย์ ก็แม่นดังหมาย ได้รับพระราชทานรางวัลเป็นต้นวา ช้างม้าทาสี ทาสานารีภรรยา และคามนิคมบ้านส่วยร่ำรวยทรัพย์มากมาย อาศัยได้เคยสำเหนียกยิงแม่น มาแต่ก่อนนั้น ยถา ความเปรียบนี้ฉันใด บพิตรพระราชสมภารฆาราวาสที่ถึงธรรมวิเศษ กระทำให้แจ้งพระนิพพานนั้น ก็อาศัยเหตุที่ตนได้ปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติในธุดงคคุณมาแต่ บุรพชาติจึงสำเร็จได้ เหมือนนายขมังธนูที่ยิงแม่นฉะนี้              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร บุคคลที่ไม่ได้รักษาธุดงค์ไว้แต่ใน บุรพชาตินั้น จะได้พระอรหัตผลกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานเป็นอันว่าหามิได้ ที่สุดแต่เพียงภูมิ พระโสดา บุคคลจะได้ก็ต้องอาศัยเพียรและวัตรปฏิบัติอันยิ่ง จึงกระทำให้แจ้งได้ เปรียบดุจบุคคล เป็นหมอยารักษาโรค แต่แรกต้องไปร่ำเรียนในสำนักอาจารย์ใหญ่ ท่านแนะนำบอกให้จนได้ ความรู้ ภายหลังหมอนั้นก็เที่ยวรักษา ได้ขวัญข้าวและค่ายาเป็นบำเหน็จ เหตุได้ตั้งความเพียร ร่ำเรียนในสำนักอาจารย์มาแต่ก่อน ยถา มีครุวนาฉันใด บุคคลที่เป็นฆราวาสได้สำเร็จแก่ธรรม วิเศษกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนี้ ก็อาศัยที่ได้รักษาธุดงค์ไว้แต่ชาติก่อน ดุจหมอซึ่งได้เรียน วิชามาก่อนฉะนั้น.              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ประการหนึ่ง บุคคลที่มิได้รักษาธุดงค์ ไว้แต่ชาติก่อน จะได้สำเร็จธรรมวิเศษกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนี้ ไม่ได้เป็นอันขาด ต่อเมื่อ ได้รักษาธุดงค์ไว้แต่ชาติก่อน จึงจะถึงธรรมวิเศษกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานสมดังความ ปรารถนา เปรียบดุจคนที่กระทำกาลกิริยาตายจะบ่ายหน้าไปสู่สุคติได้ ก็เพราะได้บำเพ็ญกุศลไว้ ยถา มีครุวนาฉันใด ฆราวาสที่สำเร็จแก่ธรรมวิเศษกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนี้ ก็อาศัย รักษาธุดงค์ได้เป็นอุปนิสัยติดมาแต่ชาติก่อนเหมือนดังนั้น              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ประการหนึ่ง อันว่าธุดงค- คุณนี้ ปฐวิสมํ เปรียบปานประหนึ่งว่าพื้นปฐพี ด้วยอรรถว่าเป็นที่อาศัยแห่งบุคคลผู้ใคร่จะ บริสุทธิ์ อาโปสมํ ประการหนึ่ง เปรียบประดุจดังน้ำ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องชำระล้างซึ่งสรรพ- กิเลส เตโชสมํ ประการหนึ่ง เปรียบดังไฟอันมีเดช ด้วยว่าอรรถเป็นเครื่องเผากิเลสให้หมดสิ้น วาโยสมํ ประการหนึ่ง เปรียบดังลม ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องพัดเอามลทินคือกิเลสไป อคท- สมํ ประการหนึ่ง เปรียบดังยา ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องรักษาพยาธิคือกิเลสให้เสื่อมคลาย อมต- สมํ ประการหนึ่ง เปรียบดังน้ำอมฤต ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องบำบัดกิเลสทั้งปวงให้สูญหายไป เขตฺตสมํ ประการหนึ่ง เปรียบดังมา ด้วยอรรถว่าเป็นที่งอกงามแห่งสรรพกุศลผลบุญทั้งหลาย มโนหรสมํ ประการหนึ่ง เปรียบดังแก้วมโนหรจินดา ด้วยอรรถว่าจะให้สำเร็จทิพยสมบัติ ๓ ประการ คือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ อีกประการหนึ่ง อันว่าธุดงคคุณนี้ เปรียบดังนาวาเป็นที่จะขี่ข้ามกระแสสงสาร ถึงฝั่งแห่งอมตมหานิพพาน ประการหนึ่ง เปรียบดัง ที่อันพ้นภัย ย่อมจะให้เป็นที่พึ่งพาอาศัยหายใยสบายแห่งคนอันกลัวอันตราย คือชราทุกข์และ มรณทุกข์ทั้งหลายในวัฏสงสาร ประการหนึ่ง อันว่าธุดงคคุณนี้ มาตุสมํ เสมือนหนึ่งมารดา เหตุว่าจะเลี้ยงรักษากำจัดเสียซึ่งทุกขเวทนา คือกิเลสแห่งบุคคลอันปรารถนาซึ่งวิสุทธิและจะ กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ประการหนึ่ง ปิตุสมํ เสมือนบิดา เหตุว่าจะให้เกิดซึ่งสามัญผล แก่บุคคลผู้ปรารถนาเพื่อให้บริสุทธิ์ มิตฺตสมํ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราช- สมภาร ประการหนึ่ง อันว่าธุดงคคุณนี้ เหมือนหนึ่งว่ามิตรร่วมใจ จะให้สำเร็จพระสามัญผล แห่งบุคคลผู้ปรารถนาเพื่อจะให้บริสุทธิ์ ปทุมสมํ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราช- สมภาร อันว่าธุดงคคุณนี้ เปรียบดุจปทุมชาติบัวหลวงอันมิได้ติดต้องไปด้วยอุทกัง คือกิเลส ทั้งปวง มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ธุตงฺคคุณํ อันว่าธุดงคคุณ จตุชาติ วรคนฺธสมํ เปรียบดุจคันธชาติ ๔ ประกอบอันหอมประเสริฐ อันจะกำจัดเสียซึ่งกิเลสมลทิน กลิ่นร้ายสาธารณ์ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ธุตงฺคคุณํ อันว่าธุดงค- คุณนี้ สิเนรุสมํ เปรียบดุจหนึ่งวาสิเนรุคีรีราช บ่มิได้หวาดไหวด้วยลมโลกธรรม หากิเลสจะ ครอบงำย่ำยีมิได้ มีประจำอยู่ในสันดานแห่งบุคคลผู้ปรารถนาจะให้บริสุทธิ์ถึงพระนิพพาน ประการหนึ่งเล่า ขอถวายพระพร ธุตงฺคคุณํ อันว่าธุดงคคุณ อากาสสมํ เหมือนด้วย อากาศกว้างใหญ่ไม่มีที่สุด คือหาศัตรูหมู่กิเลสกระทำร้ายมิได้ มีแก่บุคคลที่ปรารถนาจะให้ บริสุทธิ์จากสงสาร มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ธุตงฺคคุณํ อันว่าธุดงคคุณ นชฺโชสมํ เปรียบดุจแม่น้ำอันกว้าง จะล้างเสียซึ่งมลทินคือกิเลสทั้งปวง แห่งบุคคลอันปรารถนา จะให้บริสุทธิ์จากวัฏสงสาร มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าธุดงคคุณนี้ เทสกสมํ เสมือนหนึ่งบุคคลจะนำทางจะให้เยื้องย่างไปสู่ทางตรง มิให้หลงไปตามทางอันทุเรศ คือทิฐิอาสวกิเลสอันร้ายกาจ แห่งบุคคลอันปรารถนาจะให้บริสุทธิ์เข้าสู่พระนิพพานพ้น จากวัฏสงสาร มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ธุตงฺคคุณํ อันว่าธุดงคคุณนี้ สตฺถวาหสมํ เสมือนหนึ่งพ่อค้าเกวียนผู้ใหญ่ เหตุจะนำไปซึ่งบุคคลผู้ปรารถนาจะให้บริสุทธิ์ จากวัฏสงสาร มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าธุดงคคุณนี้ อาทาสสมํ เปรียบดุจแว่นอันบริสุทธิ์ผ่องใส เหตุจะส่องให้เห็นซึ่งสงสารเป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้แก่บุคคลอัน ปรารถนาจะให้บริสุทธิ์จากวัฏสงสาร มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่า ธุดงคคุณนี้ เปรียบดุจแผ่นกระดานเป็นที่จะคลี่คลายซึ่งกิเลส แห่งบุคคลผู้ปรารถนาบริสุทธิ์ ยังกิเลสเป็นกลุ่มเป็นก้อนให้อันตรธาน มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพรราชสมภาร อันว่า ธุดงคคุณนี้ จนฺทสมํ เหมือนหนึ่งพระจันทร์มีรัศมีเป็นที่จะประโลมใจให้ระงับกิเลส เหตุว่าจะ ประกอบใจให้บริสุทธิ์อาจหาญ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าธุดงค- คุณนี้ สุริยสมํ เปรียบดังสุริยรังสี อันกำจัดเสียซึ่งมืดหมอกคือตัวอวิชชา แห่งบุคคลอัน ปรารถนาจะให้บริสุทธิ์ถึงซึ่งพระนิพพานอันเป็นที่สุขสำราญ มหาราช ขอถวายพระพร บพิตรพระราชสมภาร อันว่าธุดงคคุณนี้ พหุปการํ มีคุณอุปการะมาก หิตกรํ กระทำให้ เป็นคุณ โยคกรํ กระทำให้ประกอบซึ่งอุตสาหะในปฏิบัติ ปิยกรํ กระทำให้เป็นที่รักด้วยดี อวชฺชกรํ กระทำให้หาโทษมิได้ วหิกรํ กระทำให้ไปจากบาป ปติฏฺฐิตํ เป็นที่ตั้งอาศัย ยสาวหํ สุขาหรํ จะนำมาซึ่งยศและสุข สุขวิปากํ ให้ผลเป็นสุข คุณาราสี เป็นกองแห่งคุณ คุณปุญฺชํ เป็นกลุ่มแห่งคุณ วิปริมิตฺตวรตฺตํ มีสภาวะประเสริฐจะนับมิได้ สพฺพตฺถ ปวรคฺ- คฏฺฐานํ เป็นที่ตั้งแห่งคุณอันประเสริฐและประโยชน์อันเลิศในที่ทั้งปวง ถยานุทํ จะกำจัดเสีย ซึ่งภัยอันใหญ่หลวง โสกนุทํ จะกำจัดเสียซึ่งโศก ทุกฺขนุทํ จะกำจัดเสียซึ่งทุกข์ ทรถนุทํ จะ กำจัดเสียซึ่งร้อนรน ปริฬารหนุทํ จะกำจัดเสียซึ่งกระวนวาย หนึ่ง จะกำจัดเสียซึ่ง อริวิภาคทั้งหลาย และหลักตกเสี้ยนหนาม และจะกำจัดเสียซึ่งภพทั้งสามิได้บังเกิดต่อไป หนึ่ง จะกำจัดเสียซึ่งมานะทิฐิสรรพอกุศลธรรมทั้งปวง เปรียบฉันใด นะบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปานดุจบุรุษอันส้องเสพซึ่งโภชนาหาร หวังจะให้อุปถัมภ์เป็นกำลังแก่ชีวิตของตน บุคคลบริโภคเภสัชยาทั้งปวงหวังจะให้โรคบรรเทาหาย บุคคลคบมิตรสหายหวังจะป้องกันซึ่ง อันตรายต่างๆ บุคคลมีนาวาหวังจะไปทางน้ำแถวชลมารค บุคคลแสวงคันธชาติมีกลิ่นวิเศษ เหตุพอในหอม บุคคลย่อมคบคนกล้าเหตุว่ากลัวภัย บุคคลอาศัยพื้นธรณีเหตุว่าเป็นที่ทรงดำรง อาตมา บุคคลแสวงหาอาจารย์เหตุว่าอยากได้ศิลปศาสตร์ บุคคลเป็นข้าเฝ้าพระมหากษัตรา- ธิราชอาศัยปรารถนายศ บุคคลแสวงหามณีเหตุว่าเป็นที่จะให้สำเร็จความปรารถนา ยถา มี ครุวนาฉันใด อริยา อันว่าพระอริยเจ้าทั้งหลาย แสวงหาและรักใคร่ซึ่งธุดงค์ ๑๓ เหตุ ความปรารถนาซึ่งพระสามัญผลนั้น เอวเมว เหมือนกันกับที่เปรียบมาข้างต้นนั้น              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อุทกํ พีชวิรูหนียํ ถ้ามิฉะนั้น ดุจน้ำ เป็นที่จะรดสาดพืชพรรณทั้งปวงให้เจริญ และดุจเพลิงเป็นที่สำหรับหุ้มต้มเผาจี่ และดุจอาหาร อันเป็นเครื่องนำมาซึ่งกำลัง ลตาพนฺธนียํ ถ้ามิฉะนั้นเปรียบเหมือนเครือเขาเถาวัลย์เป็นเครื่อง ผูกพันธนา สตฺถํ เฉทนียํ ดุจมีดอันเป็นที่ฆ่า ถ้ามิฉะนั้น ดุจอุทกังเป็นที่จะห้ามเสียซึ่งความ อยากน้ำ ถ้ามิฉะนั้น ดุจขุมทรัพย์อันเป็นเครื่องกระทำความปลื้ม ถ้ามิฉะนั้น ดุจนาวาเป็นที่จะ ขี่ข้าม และดุจยาอันห้ามเสียซึ่งพยาธิ และดุจยานคานหามเป็นที่จะห้ามเสียซึ่งความทุรนทุราย นั่งนอนไปสบายในมรรคา ประการหนึ่ง ดุจเสพคบคนกล้าหวังว่าจะให้คุ้มภัยข้างหน้า และดุจ บุคคลเป็นข้าท้าวบ่าวพระยาถือเป็นที่พึ่ง ดุจหนึ่งบุคคลถือซึ่งโล่เขนเป็นที่จะป้องกันเสียซึ่งปืน ผาหน้าไม้อาวุธทุกประการ ดุจอาจารย์เป็นที่จะสอนศิษย์ให้รู้วิชา หนึ่ง ดุจมารดาเป็นที่จะ รักษาซึ่งบุตรอันเกิดแต่อก ดุจกระจกเป็นที่จะส่องดูหน้า ดุจเครื่องประดับประดาจะพาโฉมให้ งามดุจผ้านุ่งที่จะห้ามเสียซึ่งความละอายใจ ดุจอัฒจันทร์บันไดอันได้เป็นที่อาศัยขึ้นเคหา ดุจลุ้ง ใส่ของนานา เหตุว่าเป็นที่ไว้ของทั้งหลาย ดุจรู้มนต์ที่ดีเป็นที่จะร่ายตามลัทธิที่เรียนมา ดุจอาวุธ ศัสตราเป็นที่จะเงือดเงื้อคุกคาม ดุจประทีปเป็นที่จะตามในราตรี ดุจเสพนารีเป็นที่จะทำซึ่ง ความสิเนหา ดุจมีศิลปศาสตร์วิชาที่หวังว่าจะเลี้ยงชีวิต ดุจแสวงหายางูพิษหวังจะป้องรักษา ชีวิตของอาตมา ดุจแก้วอันเป็นที่ประดับประดา ดุจราชอาญาตั้งไว้หวังจะมิให้ผู้ใดล่วงกฎหมาย ดุจอิสริยยศจะให้คนทั้งปวงเป็นไปในอำนาจนอบน้อมมา ยถา มีอุปมาฉันใด ขอถวายพระ พรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ อันว่าธุดงคคุณอันเลิศนี้ ก็เหมือนกัน สามญฺญพีชรุหนียํ เป็นที่จำเริญซึ่งสามัญผล กิเลสฌาปนิยํ เป็นที่จะบรรเทาเสียซึ่งกิเลส สีลวตฺตมาหรํ ควรจะนำ มาซึ่งศีลวัตร วิวิธสมคฺคกรณํ เป็นเหตุจะให้พร้อมเพรียงด้วยธรรมต่างๆ วิมติวิจิกิจฺฉาสลฺล- วิโนทนํ จะกำจัดเสียซึ่งลูกศรคือสงสัยสนเท่ห์ ตณฺหาปิปาสวินยํ จะนำเสียซึ่งความอยากคือ ีความปรารถนา อภิสมยอสฺสาทกรํ จะกระทำให้ยินดีในอภิสมัย คือธรรมวิเศษ และจะดับซึ่ง ชาติชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสสุปายาสภัย อันควรจะสะดุ้งตกใจกลัว สามญฺญคุณ ปริรกฺขณํ เป็นที่จะรักษาไว้รอบคอบซึ่งสามัญคุณ กุวิตกฺกกิเลสปวาหนํ จะลอยเสียซึ่งกิเลส คือวิตกอันร้านชั่วช้า เกวลสกลสามญฺญมนุสาสนํ เป็นที่จะสั่งสอนให้ได้ซึ่งสามัญผลทั้งปวงสิ้น เสร็จ อันหนึ่ง เป็นคุณอันงามเป็นที่โลกจะสรรเสริญ เหตุจะให้เห็นซึ่งสามัญผลอันประเสริฐ คือ สมถวิปัสสนามรรคผลและพระนิพพาน สพฺพาปายปิทหนํ จะปิดประตูจตุราบายทั้งปวงเสียได้ อนึ่ง อันว่าธุดงคคุณนี้ เป็นที่จะให้เจริญงอกเป็นยอดเป็นเงื้อม เป็นจอมเสลาคืออรรถประโยชน์ แห่งพระสามัญผล เป็นที่จะกำจัดเสียซึ่งสิ่งอันชั่วอันบุคคลสร้างมาแต่ปางก่อน ตวาดคุกคาม เสียซึ่งกิเลสอันร้อยกระวนกระวายและกองอวิชชาอันมืดมนมาน และจะดับเสียซึ่งเพลิง ๓ ประการ และเป็นเหตุจะให้ถึงธรรมอันสุขุมละเอียดเป็นที่จะให้สำเร็จแก่จตุสัจจาภิสมัย ตรัสรู้ ซึ่งพระอริยสัจ ๔ ประการ หนึ่ง จะให้บริบูรณ์ด้วยพระสมันตศีลสมณผลทั้งปวง ฉฬาภิญฺญาวร- คุณานุปฺปาทนํ มีกิริยาจะให้เกิดคุณวิเศษคือ อภิญญา ๖ มีสภาวะให้ผลรวดเร็ว และพระ ธุดงค์นั้นสุขุมละเอียดบริบูรณ์ประณีตนัก เหตุจะให้สำเร็จที่ปรารถนาคือพ้นจากอาบัติ และจะ ให้อริยธรรมเป็นไปเพื่อได้สามัญผลสิ้นเสร็จทุกประการ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรผู้ ประเสริฐ อันว่าธุดงคคุณแห่งบุคคลผู้มีคุณสมควรแก่ธุดงค์ทั้ง ๑๐ ประการนั้น แต่ละอย่างๆ ล้วนเป็นคุณประเสริฐ หาสิ่งใดที่จะมาชั่งมาประมาณเปรียบเทียบให้เสมอมิได้สิ้น              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร โย ปุคฺคโล อันว่าบุคคลผู้ใด ปาปิจฺโฉ มีความปรารถนาลามก อิจฺฉาปกโต มีจิตริษยาท่าน กุหโก เป็นคนปดโป้โกหก กุลุทฺโธ เป็นคน โลภร้ายลามก โอทริโก คิดแต่จะให้เข้าปากเข้าท้อง ลาภกาโม ปรารถนาจะได้ลาภ ยสเหตุ มุ่งหมายแต่ยศ กิตฺติกาโม อยากจะได้ชื่อเสียง บุคคลจำพวกเหล่านี้ ไม่ควรแก่ธุดงค์ แม้ว่า สมาทานเข้าใจก็จะขาดสมาทาน และเมื่อสมาทานจะมีโทษ ๒ ประการ คือโทษเห็นประจักษ์ใน ปัจจุบัน และอนาคต โทษมีว่าจะมีในปัจจุบันนั้น คือ กุหีฒนํ ถูกดูหมิ่น ขีลนํ กล่าวคือข้อนนิทา ครหนํ ติเตียน อุปฺผณฺฑนํ เย้ยหยน ขิปนํ ทอดทิ้ง อสมฺโภคํ ไม่มีใครคลหาสมาคม นิสฺสรณํ ไม่มีที่พึ่งอาศัย นิจฺจภณํ ถูกว่าเป็นนิตย์ ปวาหนํ ลอยอยู่คนเดียวแลเหลียวไม่เห็นใคร ปวชฺชนํ คนทั้งหลาย่อมข้อนขอดต่างๆ นานา ลภติ นี่แหละ บุคคลมีความปรารถนาไม่ บริสุทธิ์ สมาทานธุดงค์ ย่อมได้โทษเห็นประจักษ์ในปัจจุบัน ดังถวายวิสัชนามาฉะนี้ ส่วนโทษที่ เป็นสัมปรายิกภพ จะมีไปในชาติหน้านั้น คือกระทำกาลกิริยาตายลงจะไปเสวยทุกขเวทนา หมกไหม้อยู่ในอเวจีนรกขุมใหญ่ จะกลิ้งเกลือกเสือกไป ไฟไหม้ทั้งเบื้องบนและเบื้องต่ำ แต่ทน ทุกข์อยู่นั้นมากกว่าพันปีแสนปี ครั้นตายจากอเวจีแล้วจะมาบังเกิดเป็นนิชฌามตัณหิกเปรต มี กายอันโตใหญ่ มีรูปมิได้บริสุทธิ์ มีกายเป็นช่องปรุโปร่ง แต่เบื้องหน้าถึงเบื้องหลัง มีหูอันยาวยาน มีตาลืมเหลือกลาน อดอาหารข้าวปลาน้ำท่าหยาดหนึ่งก็มิได้ตกลงคอ อดอยากเหลือประมาณ มีไฟลุกขึ้นในกาย มีเปลวออกทางปากอันปฏิกูลเหมือนปากสุนัขที่ตาย มีหนังหุ้มกระดูก อาเกียรณ์ด้วยหนอนบ่อนอยู่ทั้งกาย ปราศจากที่พึ่งพา มีกายมิได้เป็นที่พึงใจ ก็เที่ยวร้องคราง ไปในประเทศเปรตวิสัยนั้น              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปานดุจบุคคลที่เป็นหีนชาติต่ำ ตระกูลบุญน้อยนักหนา จะเอามาราชาภิเษกเป็นเจ้าแผ่นดิน บุคคลผู้นั้นก็มิอาจครอบครอง ราชสมบัติได้ กลับจะถูกต้องกรรมกรณ์เป็นต้นว่าต้องตัดตีนสินมือ มีภัยเป็นอันมากฉันใดก็ดี บุคคลใจบาปหยาบช้า ไม่สมควรที่จะรักษาธุดงค์ ครั้นรักษาเข้า ก็จะขาดจาสมาทาน ตายไป ไหม้อยู่ในอเวจีมากกว่าแสนปี แล้วเกิดเป็นนิชฌามตัณหิกเปรต เปรียบประดุจบุคคลต่ำตระกูล บุญน้อย ได้ราชสมบัติถอยจากราชสมบัติ ต้องถูกฆ่าฟันตายฉะนั้น              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ส่วนว่าโยคาวจรภิกษุรูปใดมักน้อย สันโดษ มีเพียรอุตสาหะมิได้เกียจคร้านมายา ปรารถนาจะเปลื้องปลดอาตมาออกจากชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ สทฺธาย ปพฺพชิโต บวชด้วยศรัทธาปรารถนายกย่องขึ้น ซึ่งพระศาสนา ธุตงฺคคุณํ สมาทิยติ สมาทานซึ่งธุดงคคุณมั่งคง พระโยคาวจรนั้นย่อมจะได้ คุณานิสงส์ ๒ ประการ คือเป็นที่รักแก่เทพามนุษย์นิกรทั้งปวง ประดุจดอกไม้อันมีกลิ่นหอมขจร มีมะลิซ้อนมะลิลาเป็นต้น เป็นที่ยินดีแห่งมหาชนอันมีประโยชน์จะทัศนา และดุจโภชนาหารอัน ประณีต เป็นที่ปรารถนาแห่งบุคคลอันอดหิวมา และดุจอุทกธาราอันเย็น เป็นที่จะอาบกินแห่ง คนอันร้อนรนกระหายหิวมา มิฉะนั้น โอสถํ วิย ดุจยาหอมเป็นที่ปรารถนาแห่งมหาชน อันร้อน รนด้วยโรคภัย ถ้ามิฉะนั้น ดุจราชรถทั้งหลาย อันเทียมพาชีอาชาไนย ย่อมเป็นที่พอใจแห่งคน เดินทางเมื่อยล้า ถ้ามิฉะนั้น ดุจยานอันรวดเร็วนั้น ย่อมเป็นที่รักแห่งบุคคลอันรีบเร่งทุเรศ ร้อน ในทางไกล ถ้ามิฉะนั้นไซร้ มโนหรมณิรตนํ วิย ดุจดวงมณีรัตนะมโนหรจินดาเป็นที่ปรารถนา แห่งแสนสาธุชน ถ้ามิฉะนั้น ดุจดิริยดนตรีแตรสังข์ เป็นที่ควรจะพึงฟังแห่งบุรุษนารี ผู้นิยม ยินดีด้วยสัทธารมณ์อันสุนทร ถ้ามิฉะนั้น ดุจคนฟ้อน ย่อมเป็นที่สโมสรแห่งชนอันยินดีปรีดา ด้วยรูปารมณ์รื่นเริงกำหนัด ถ้ามิฉะนั้น ดุจมณฑลเศวตฉัตร เป็นที่โสมนัสแห่งบรมขัตติยาธิบ- ดินทรวเรศร์ราชมนุษย์ ถ้ามิฉะนั้น ดุจพระอรหัตผลอันบริสุทธิ์ เป็นที่ปรารถนาแห่งสาธุชนอัน ยินดีในธรรม ดังนี้ประการ ๑ คือพระชินศาสนาจะอำนวยให้สำเร็จผล คือยศและสุขอันเลิศ และพระสติปัฏฐานทั้ง ๔ ก็ย่อมจะบริบูรณ์เต็มที่ แก่ท่านผู้ถือทรงธุดงค์มั่งคงไม่ประมาท ใช่แต่ เท่านั้น พระอิทธิบาท ๔ สัมมัปปธาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อัฏฐังคิกมรรค ๘ ประการ และสมถวิปัสสนากรรมฐาน ปฏิเวธธรรม และพระสามัญผล ๔ พระปฏิสัมภิทา ๓ วิชชา ๓ อภิญญา ๖ อันว่าสมณธรรมทั้งสิ้นก็ย่อมจะเป็นที่สำเร็จแก่ท่านผู้ถือธุดงค์อันมั่นคง นั้นทุกประการ มิช้ามินานก็จะได้มณฑลวิมุตติเศวตฉัตร กล่าวคือสำเร็จแก่พระอรหัตตัดกิเลส เป็นสมุจเฉทประหาน เข้าสู่กรุงแก้วกล่าวแล้วคือพระนิพพานอันเลิศ ดังนี้ประการ ๑ เป็น คุณานิสงส์ ๒ ประการฉะนี้              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ เปรียบดุจราชกุมารอันเกิด ในมหาสมมติวงศ์องค์อภิชาติ ครั้นได้ราชสมบัติแล้ว ก็จัดแจงตั้งแต่ข้าราชการที่ดีมีสติปัญญา ให้รักษานิคมคามเขตขัณฑสีมามั่นคงดีไม่มีภัย พระบรมกษัตริย์นั้นก็มีเดชานุภาพแผ่ไป ได้ เป็นใหญ่ในทิศทั้งปวงโดยรอบนั้น ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าที่ใจศรัทธานั้น ก็ เหมือนกันถือมั่นในธุดงคสมาทาน ย่อมจะได้ผลพิเศษต่างๆ ดังถวายวิสัชนามาแล้วข้างต้นนั้น ขอถวายพระพร              มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ ประการหนึ่ง ธุดงคคุณ ๑๓ นี้ บุคคลกระทำให้ บริสุทธิ์แล้ว จะพาเข้าสู่นิพพานสาคร เล่นเพลิดเพลินเจริญใจด้วยธรรมกีฬาเป็นอันมาก มีอันได้ บรรลุสมาบัติเป็นต้น และอภิญญา ๖ อันวิเศษดุจพ่อค้าทางเรือผู้มีทรัพย์เที่ยวทอดเทเผื่อแผ่ไว้ เป็นอันมาก ครั้นพ่อค้านั้นจากเคหาลงนาวาไปสู่นานาประเทศ คือเมืองสุวรรณภูมิและเมือง อื่นๆ ทั้งหลาย ก็ซื้อง่ายขายคล่องได้สำเร็จดังเจตนา ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรตั้งอยู่ ในธุดงค์ ๑๓ นั้น ธุดงค์ย่อมพาไปให้บรรลุคุณวิเศษต่างๆ มีอาสวักขยญาณเป็นที่สุดได้ฉันนั้น ขอถวายพระพร              มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ อันว่าธุดงค์ ๑๓ นั้น คืออรัญญิกธุดงค์ ๑ บิณฑ- ปาติกธุดงค์ ๑ เตจีวริกธุดงค์ ๑ สปทานจาริกธุดงค์ ๑ ขลุปัจฉาภัตติกธุดงค์ ๑ ปัตตปิณ- ฑิกธุดงค์ ๑ เอกาสนิกธุดงค์ ๑ เนสัชชิธุดงค์ ๑ ยถาสันถติกธุดงค์ ๑ รุกขมูลิกธุดงค์ ๑ อัพโภกาสิกธุดงค์ ๑ โสสานิกธุดงค์ ๑ ปังสุกูลิธุดงค์ ๑ สิริเป็น ๑๓ ด้วยกัน              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าธุดงค์ ๑๓ ประการนี้ เป็นที่ ครอบครองส้องเพสแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ให้สบายเกิดสันตสุขสมาบัติสืบมาแต่ กาลก่อน และบัณฑิตชาติย่อมสโมสรสังวาสสำราญแต่กาลอดีตมา ดุจชาวนาย่อมชำระหลัก ตอกอไม้ แล้วก็ไถหว่านลงซึ่งธัญพืชในที่อันปราศจากหลักตอนั้น ครั้นนานามาก็ได้ธัญพืชมาก เหตุเมื่อเดิมกระทำดี ยถา มีครุวนาฉันใด บัณฑิตยชาติที่ได้รักษาธุดงค์ไว้ในชาติก่อนก็เหมือนกัน ดังนั้น ก็ได้สันตสุขสมาบัติง่ายๆ ในชาตินี้ดุจชาวนานั้น              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ประการหนึ่ง เปรียบปานดุจบรม- กษัตริย์ได้ครองราชสมบัติอาศัยแก่ตระกูลวงศ์แก่ตระกูลวงศ์เคยครอบครองราชสมบัติมา จึงได้เป็นใหญ่เป็น อิสรภาพยิ่งๆ ขึ้นไปในแผ่นปฐพี ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าเป็นใหญ่ในพระศาสนา ของสมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดา สืบวงศาพระชิโนรสต่อไป อุปไมยเหมือนบรมกษัตริย์สืบ สมบัติตามวงศ์นั้น องค์พระโยคาวจรนั้นได้บรรลุสำเร็จแก่วิชชาจรณะได้เป็นอิสระในพระศาสนา ก็อาศัยเพราะได้รักษาธุดงค์ไว้มั่นคงเหมือนฉะนั้น              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร บพิตรจะไม่เคยได้สวนาการทรงฟัง บ้างหรือ พระอุปเสนเถรองค์หนึ่งมีศีลบริสุทธิ์ เป็นบุตรแห่งวังคันตพราหมณ์ ท่านปฏิบัติเป็น สัลเลขธุงดงคสมังคี ท่านไปยังกรุสาวัตถี มิได้เอื้อเฟื้ออาลัยในข้อกติกาของพระสงฆ์ทั้งหลาย พาภิกษุบริษัทศิษย์ของตนเข้าไปสู่สำนักพระพุทธองค์ผู้ทรงพระภาค ในเวลาเสด็จเข้าที่เร้นอัน สงัด ถวายนมัสการโดยเคารพแล้ว ก็นั่งอยู่ในที่ควรข้างหนึ่ง              ภควา จ ตํ สุวินีตํ ปริสํ โอโลกยิตฺวา ส่วนว่าองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค ทอดพระเนตร ดูกิริยาพาทีของภิกษุผู้เป็นบริษัทศิษย์พระอุปเสนนั้น ดูนี้เป็นแบบเดียวพิมพ์เดียวกันมี พระพุทธหฤทัยหรรษา สทฺธึ สลฺลาปํ สลฺลปิตฺวา สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดา ก็ตรัส สนทนาปราศรัยด้วยบริษัทของพระอุปเสนนั้น แล้วมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูรานะอุปเสน สงฆ์ บริษัทศิษย์ของเธอนี้ ดูสุจริตกิริยาดีเป็นพิมพ์เดียวกัน ดูรานะอุปเสน บริษัทศิษย์ของเธอนั้น สั่งสอนกันด้วยอุบายประการใด              พระอุปเสนได้ฟังพระพุทธฎีกาตรัสถาม จึงประนมน้อมอภิวาทวันทนาการกราบทูลว่า ภนฺเต ภควา ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระภาคเป็นอันงาม โย โกจิ บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเข้ามาสู้สำนัก กระหม่อมฉันแล้วขอบรรพชาก็ดี ขอนิสัยก็ดี กระหม่อมฉันจึงว่า รูปนี้ถืออรัญญิกธุดงค์ เตจีวริกธุดงค์ และปังสุกูลิกธุดงค์ ถ้าแม้ท่านถือได้ดุจรูปนี้ รูปจะบวชให้และจะให้นิสัย ถ้าว่า กระทำไม่ได้ รูปจะบวชให้และให้นิสัยไม่ได้ กระหม่อมฉันว่ากล่าวดังนี้ บริษัทศิษย์ของกระ หม่อมฉัน จึงพร้อมกันปฏิบัติเป็นอย่างเดียวกัน              มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร พระโยคาวจร ที่สมาทานธุดงค์นั้น ได้เป็นใหญ่ ในพระบวรพุทธศาสนา และเป็นที่โสมนัสยินดี ย่อมมีแต่สันตสุขสมาบัติฉะนี้              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อีกประการหนึ่ง ปานดุจประทุมชาติ บัวหลวง ธรรมดาว่าประทุมชาติบัวหลวงนั้น ย่อมมีคุณถึง ๑๐ ประการ เหตุว่าเป็นพีชชาติอัน สูงบริสุทธิ์ประเสริฐ เกิดเป็นดอกไม้อันเลิศในโลกนี้เป็นประเพณีนิยมมา กตเม ทส อันว่าคุณ แห่งประทุมชาติ ๑๐ ประการนั้น คือสิ่งไร สินิทฺทมุทุ คือประทุมชาตินั้นเป็นของอ่อนนุ่มสนิท ประการ ๑ สุภนิยํ เป็นที่ตั้งแห่งความงามประการ ๑ สุคนธํ มีกลิ่นหอมประการ ๑ ปิยํ อันชนทั้งหลายสรรเสริญประการ ๑ ชลกทฺทมอนุปลิตฺตํ จะได้มีอุทกังหรือเปือกตมซึมซาบชุ่ม ชื่นเปียกปนอยู่หามิได้ประการ ๑ อนุปตฺตเกสรกณฺณิกาหิ มณฺฑิตํ ประดับไปด้วยใบอ่อน เกสรและกลีบประการ ๑ ภมรคณเสวิตํ มีหมู่แห่งแมลงภู่และแมลงผึ้งบินโฉบฉาบคาบเกสร ประการ ๑ สีตลสลิลสํวทฺธํ เจริญขึ้นแต่ในน้ำอันใสสะอาดบริสุทธิ์ประการ ๑ สิริเป็น ๑๐ ประการเท่านี้ อันว่าประทุมชาติเป็นของประเสริฐประกอบไปด้วยคุณ ๑๐ ประการนี้ ยถา มี ครุวนาฉันใด              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร พระโยคาวจรที่ส้องเสพสมาทานใน ธุงดคุณมั่นคงนั้น ก็ประกอบด้วยคุณ ๓๐ ประการ สินิทฺทมทฺทวเมตฺตจิตฺโต คือ จะมี เมตตาจิตอ่อนสนิทในสรรพสัตว์ทั่วไปประการ ๑ ฆาฏิตหตวิคฺคตกิเลโส มีกิเลสอันพิฆาต ฆ่ากำจัดให้ปราศจากไปประการ ๑ นิหตมานทิฏฺโฐ เป็นผู้กำจัดเสียซึ่งมานะและทิฐิประการ ๑ อจลทฬฺหนิวิฏฺฐนิพฺเพมติสมฺโธ มีศรัทธาอันมั่นมิได้หวั่นไหวปราศจากสอดแคล้วสงสัย ประการ ๑ ปริปุณฺณวินิตปหฏฺสุภนิโย มีจิตงามเบิกบานในที่จะฝึกหัดให้บริบูรณ์ประการ ๑ นิตสนฺตสุขสมาปตฺติโย มีสันตสุขสมาบัติบังเกิดเป็นอันเที่ยงประการ ๑ อจลสีลสุจิคนฺธ- ปริภาวิโต อบรมไปด้วยศีลอันมิได้หวั่นไหวมีกลิ่นสะอาดหอมฟุ้งไปประการ ๑ เทวมนุสฺสานํ ปิโย เป็นที่รักแห่งเทพาและมนุษย์ทั้งหลายประการ ๑ ขีณาสวพลวนฺตี มีกำลังในที่จะให้สิ้นอาสวะ ประการ ๑ อริยปุคฺคลชินสาสนปตฺถิโต เป็นที่ปรารถนาแห่งพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในชิน- ศาสนาประการ ๑ ภูวี จ ทิวี จ เทวมนุสฺสานํ เป็นที่สรรเสริญชื่นชมแห่งเทพาและมนุษย์ทั้ง หลายประการ ๑ อสุรานํ วนฺทิตปสฏฺฐมนคฺฆชนานํ ธุวถปฺปิตโภมิตปสฏฺโฐ เป็นที่ไหว้และ สรรเสริญแห่งหมู่อสูรและเป็นที่ชื่นชมโถมนาการแห่งมารทั้งหลายประการ ๑ โลกมนุปลิตฺโต มิได้ระคนปนเจือไปด้วยโลกประการ ๑ อปฺปโถกํ อนุวชฺชภยทสฺสาวี มีปรกติเห็นซึ่งโทษและภัย แม้แต่เพียงเล็กน้อยประการ ๑ มคฺคผลปวรตฺถสาธโก ให้สำเร็จซึ่งประโยชน์คือมรรคและผล อันประเสริฐแก่ชนทั้งหลายผู้ปรารถนาจะพ้นทุกข์ประการ ๑ อายาจิตวิปุลปณีตปจฺจยภาคี สมควรที่จะอาราธนาถวายจตุปัจจัยอันไพบูลย์และประณีตประการ ๑ อนิเกตสยนกามี เป็น ผู้ปรารถนานอนในที่หาอาลัยมิได้ประการ ๑ ฌานชฺฌายิกปวรวิหารี มีปรกติเพ่งฌานและมี วิหารธรรมอันประเสริฐประการ ๑ วิชฏิตชาลกิเลสตฺถึวิธํสิตภคฺโค เป็นผู้กำจัดและหักรานเสีย ซึ่งวัตถุแห่งกิเลสซึ่งเป็นดังข่ายอันรกชัฏให้ขาดสูญประการ ๑ สงฺกุฏิตสญฺฉนฺนคตินิวารโณ จะ ห้ามเสียซึ่งคติอันดาดาษไปด้วยความคดเคี้ยวที่จะให้เวียนว่ายอย่ในวัฏสงสารประการ ๑ อกุปฺปธมฺมอภินิวาโส จะตั้งอยู่ในอกุปปธรรมนั้นประการ ๑ อนวชฺชิตโภคี จะบริโภคซึ่งสิ่งอัน ปราศจากโทษประการ ๑ โอติณฺณสพฺพวิจิกิจฺโฉ จะข้ามเสียซึ่งความสงสัยทั้งปวงประการ ๑ วิมุตติฌายิตตฺโต จะมีจิตเพ่งเล็งซึ่งวิมุติประการ ๑ ทิฏฺฐธมฺเม อจลฬฺหภิรุตมนุปคโต จะมี จิตมั่นมิได้โลเลกลัวภัยในทิฏฐธรรมประการ ๑ อนุนยสมุจฺฉินฺโน จะตัดเสียซึ่งความยินดีตาม ประการ ๑ สพฺพาสวกฺขยปฺปตฺโต จะถึงซึ่งอาสวักขัยประการ ๑ สนฺตสมาปตฺตึ ปฏิลภติ จะได้ ซึ่งสันตสุขสมาบัติประการ ๑ สมณคุณสมุปโค ประกอบไปด้วยคุณแห่งสมณะประการ ๑ สิริเป็นคุณ ๓๐ ประการฉะนี้              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร มหาบพิตรย่อมจะทรงทราบพระ ญาณอยู่ว่า พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเจ้า เป็นอัครบุรุษในหมื่นโลกธาตุ ยกบรมสมเด็จพระบรม- โลกนาถเจ้าเสียแล้ว ใครจะเทียมนั้นหามิได้ และพระผู้เป็นเจ้ามีกุศลได้สร้างสมอบรมมาช้านาน ประมาณสองอสงไขยหนึ่งกับแสนกัลป์ ครั้นศาสนาสมเด็จพระสัพพัญญูบรมครูผู้ประเสริฐ จึง ได้มาเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล เหนื่อยหน่ายกามคุณอันเป็นสังกิเลสลามกมลทิน ละ เสียสิ้นซึ่งสมบัติพัสถานภรรยาและศฤงคารนาน ชินสาสเน ปพฺพชิตฺวา พระสารีบุตรเจ้าก็ บวชในพระชินศาสนา กายวจีจิตฺตํ ทมยิตฺวา ทรมานกายทรมานวาจาจิตรักษากิจธุดงค์ พร้อมด้วยองค์ ๑๓ ประการนั้นบริบูรณ์ ทรงไว้ซึ่งอนันตคุณสามารถเทศนาพระธัมมจักกัปป- วัตตนสูตรได้คล้ายสมเด็จพระบรมศาสดา แม้สมเด็จพระเทวาติเทวาจารย์เจ้าของเรานี้ ก็ได้มี พระพุทธฎีกาสรรเสริญไว้ในอังคุตตรนิกายว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุทั้งหลาย อหํ อันว่าพระ ตถาคตมิได้รำพึงเห็นสาวกอื่นที่จะเป็นเอกบุคคลลเหมือนธรรมเสนาดีสารีบุตร อันพระธรรม- เสนาบดีสารีบุตรนี้ เทศนาพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรได้เหมือนตถาคต เป็นเอกบุคคลผู้เดียว อันภิกษุอื่นจะเหมือนนั้นหามิได้ นี่แหละบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ อันว่าบุคคลผู้ทรงซึ่ง ธุดงค์นี้ให้ซึ่งอนันตคุณแก่ผู้อื่นได้ ขอถวายพระพร สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรเป็นใหญ่ในสาคลราชธานีได้ทรงสวนาการ ฟังพระ นาคเสน ท่านสำแดงซึ่งธุดงคคุณนี้ ก็ชื่นชมนิยมยินดีว่า สาธุ ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาค- เสนผู้ปรีชา ปัญหานี้ล้ำเลิศประเสริฐนักหนา วิจิตรด้วยอุปมาอุปไมยไพศาล พระผู้เป็นเจ้าช่าง ชักเอาพระพุทธวจนะและพระโลกุตรธรรม นำมาสะสมประชุมไว้ในธุดงค์ ๑๓ ประการนี้ได้หมด ปรากฏแจ่มแจ้งกระจ่างใน หมดมลทินสิ้นสุดสงสัย โยมจะรับประทานจำไว้เป็นข้อวัตรปฏิบัติ สืบต่อไปในกาลบัดนี้
ธุตังคปัญหา คำรบ ๙ ในนวมวรรคจบเพียงนี้
เมณฺฑกปญฺโห นิฏฺฐิโต สมตฺโต เมณฑกปัญหาจบเท่านี้ (๑)
(๑) ที่มาบอกจบเมณฑกปัญหาตรงนี้เข้าใจว่าคงคลาดเคลื่อน ที่ถูกน่าจะเป็นจบลักขณปัญหา ดู อธิบายเชิงอรรถ ที่อนุมานปัญหา หน้า ๔๖๔

             เนื้อความมิลินทปัญหา หน้าที่ ๔๙๒ - ๕๐๗. http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=183              สารบัญมิลินทปัญหา http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=0#item_183

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]