ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก  หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
มิลินทปัญหา
ผัสสลักขณาปัญหา ที่ ๘
             พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า แต่พระนาคเสนผู้ประเสริฐ จักขุวิญญาณเกิดในที่ใด เวทนาก็บังเกิดในที่นั้นหรือ พระผู้เป็นเจ้า              เถโร ฝ่ายพระนาคเสนเถระผู้เป็นเจ้าจึงรับว่า อาม เออ มหาราช ขอถวายพระพร บพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ จักขุวิญญาณเกิดในที่ใด เวทนาก็บังเกิดในที่นั้น อันว่าเจตสิก- ธรรมคือ สัญญาและเจตนา ผัสโส มนสิกาโรก็บังเกิดด้วยในที่นั้น วิตกบังเกิดในที่นั้น วิจาร ก็บังเกิดในที่นั้น อันว่าผัสสาทิธรรมทั้งปวงก็บังเกิดด้วยในที่นั้นสิ้น              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า แต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าผู้ประกอบด้วยปรีชา ผัสสะมีลักษณะเป็นประการใด              พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรผู้ประเสริฐ ผัสสะ เมื่อจะเกิดมีลักษณะกระทบกันเข้า              พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงซักถามว่า ได้ใจความประการใดเล่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนา โดยอุปมาให้แจ้งก่อน              พระนาคเสนจึงถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ผู้ประเสริฐในศฤงคาร เปรียบปานดุจแพะสองตัวชนกัน แพะตัวหนึ่งนั้นได้แก่จักขุ แพะ ตัวหนึ่งนั้นได้แก่รูป สันนิบาตแห่งแพะทั้งสองชนกัน ยถา มีครุนาฉันใด ผัสสะนั้นมีลักษณะ เกิดแต่จักขุกับรูปกระทบกันมีครุวนาดังนี้ พระราชสมภารพึงเข้าพระทัยเถิด              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์เลิศกษัตริย์ตรัสว่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าอุปมาให้ภิยโยภาวะยิ่งขึ้น ไปกว่านี้ พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร เปรียบ ปานประดุจบุคคลตบมือ จักขุดุจมือขวา รูปมีครุนาดุจมือซ้ายอันกระทบกับ ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรจึงตรัสว่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้ากระทำอุปมาให้ภิยโย- ภาวะยิ่งๆ ขึ้นภาวะ              พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาอุปมาอีกเล่าว่า มหาราช ขอถวายพระพร เปรียบดุจปี่สองเลา คนเป่าขึ้นพร้อมกันเสียงสนั่นขานกัน ปี่เลาหนึ่งนั้นได้แก่จักขุ ปี่เลาหนึ่งนั้นได้แก่รูป มีลักษณะ กระทบกันเข้าเป็นผัสสะ บพิตรพึงสันนิษฐานเข้าพระทัยว่า ผัสสะนี้มีลักษณะให้จักขุกับรูป กระทบกัน ในกาลบัดนี้              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ทรงฟังก็มีพระทัยปรีดาตรัสว่า กลฺโลสิ สธุสะพระผู้เป็นเจ้า วิสัชนานี้สมควรแล้ว
ผัสสลักขณปัญหา คำรบ ๘ จบเท่านี้

             เนื้อความมิลินทปัญหา หน้าที่ ๑๐๑ - ๑๐๒. http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=36              สารบัญมิลินทปัญหา http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=0#item_36

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]