ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. สัปปาณกวรรค ๑๐. กัณฏกสิกขาบท บทภาชนีย์

อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “สมณุทเทส ตั้งแต่วันนี้เธอไม่พึง อ้างพระผู้มีพระภาคว่าเป็นศาสดา และเธอจะไม่มีการนอนร่วมกัน ๒-๓ คืนกับภิกษุ ทั้งหลายเหมือนสมณุทเทสเหล่าอื่นได้ เธอจงไปที่อื่น เธอจงไปให้พ้น” คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ ภิกษุรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกภิกษุนั้น หรือสมณุทเทสนั้นบอก คำว่า ผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้วอย่างนั้น คือ ถูกสงฆ์ให้ฉิบหายแล้วอย่างนั้น ที่ชื่อว่า สมณุทเทส พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสามเณร คำว่า ปลอบโยน คือ ภิกษุปลอบโยนว่า “เราจะให้บาตร จีวร อุทเทส หรือปริปุจฉาแก่สมณุทเทสนั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า ใช้เธอให้อุปัฏฐาก คือ ภิกษุยินดีจุรณ ดินเหนียว ไม้สีฟัน หรือ น้ำบ้วนปากของสมณุทเทสนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า คบหา อธิบายว่า ที่เรียกว่าคบหา ได้แก่ การคบหา ๒ อย่าง คือ (๑) คบหาทางอามิส (๒) คบหาทางธรรม ที่ชื่อว่า คบหาทางอามิส คือ ภิกษุให้อามิสหรือรับอามิส ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ที่ชื่อว่า คบหาทางธรรม คือ ภิกษุยกธรรมขึ้นแสดงหรือให้ยกธรรมขึ้นแสดง ภิกษุยกธรรมขึ้นแสดงหรือให้ยกธรรมขึ้นแสดง เป็นบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ บท ภิกษุยกธรรมขึ้นแสดงหรือให้ยกธรรมขึ้นแสดง เป็นอักษร ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ทุกๆ อักษร คำว่า นอนร่วม อธิบายว่า ในที่ที่มีหลังคาเดียวกัน เมื่อสมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์ นาสนะนอน ภิกษุก็นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุนอน สมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๔๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. สัปปาณกวรรค ๑๐. กัณฏกสิกขาบท อนาปัตติวาร

นาสนะก็นอน ภิกษุที่นอนด้วย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือนอนทั้ง ๒ รูป ก็ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ทั้ง ๒ ลุกขึ้นแล้ว กลับนอนอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
[๔๓๑] สมณุทเทสที่ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ภิกษุสำคัญว่าถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ปลอบโยน ใช้เธอให้อุปัฏฐาก คบหา หรือนอนร่วม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สมณุทเทสที่ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ ปลอบโยน ใช้เธอให้อุปัฏฐาก คบหา หรือนอนร่วม ต้องอาบัติทุกกฏ สมณุทเทสที่ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ถูกสงฆ์นาสนะ ปลอบโยน ใช้เธอให้อุปัฏฐาก คบหา หรือนอนร่วม ไม่ต้องอาบัติ สมณุทเทสที่ไม่ถูกสงฆ์นาสนะ ภิกษุสำคัญว่าถูกสงฆ์นาสนะ ต้องอาบัติทุกกฏ สมณุทเทสที่ไม่ถูกสงฆ์นาสนะ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ สมณุทเทสที่ไม่ถูกสงฆ์นาสนะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ถูกสงฆ์นาสนะ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๓๒] ๑. ภิกษุรู้อยู่ว่า “สมณุทเทสไม่ถูกสงฆ์นาสนะ” ๒. ภิกษุรู้อยู่ว่า “สมณุทเทสสละทิฏฐินั้นแล้ว” ๓. ภิกษุวิกลจริต ๔. ภิกษุต้นบัญญัติ
กัณฏกสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
สัปปาณกวรรคที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๔๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. สัปปาณกวรรค รวมสิกขาบทที่มีในสัปปาณกวรรค

รวมสิกขาบทที่มีในสัปปาณกวรรค
สัปปาณกวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ ๑. สัญจิจจสิกขาบท ว่าด้วยความจงใจฆ่าสัตว์มีชีวิต ๒. สัปปาณกสิกขาบท ว่าด้วยการบริโภคน้ำที่มีสัตว์มีชีวิต ๓. อุกโกฏนสิกขาบท ว่าด้วยการรื้อฟื้นอธิกรณ์ขึ้นมาพิจารณาใหม่ ๔. ทุฏฐุลลสิกขาบท ว่าด้วยการปกปิดอาบัติชั่วหยาบ ๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท ว่าด้วยการอุปสมบทให้บุคคลมีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี ๖. เถยยสัตถสิกขาบท ว่าด้วยการเดินทางไกลร่วมกับพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ๗. สังวิธานสิกขาบท ว่าด้วยการชักชวนเดินทางไกลร่วมกับมาตุคาม ๘. อริฏฐสิกขาบท ว่าด้วยพระอริฏฐะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ๙. อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท ว่าด้วยการคบหาภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ๑๐. กัณฏกสิกขาบท ว่าด้วยสมณุทเทสชื่อกัณฏกะถูกสงฆ์นาสนะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๔๓}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๕๔๑-๕๔๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=2&A=13706&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=106              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=13181&Z=13338&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=673              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=673&items=7              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=673&items=7              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]