บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๗. สัปปาณกวรรค ๑๐. กัณฏกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๗. สัปปาณกวรรค ๑๐. กัณฏกสิกขาบท ว่าด้วยสมณุทเทสชื่อกัณฏกะถูกสงฆ์นาสนะ เรื่องสมณุทเทสชื่อกัณฏกะ [๔๒๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่ สมณุทเทสชื่อกัณฏกะว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่ง ว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตราย แก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่ ภิกษุหลายรูปได้ทราบข่าวว่า ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่สมณุทเทสชื่อ กัณฏกะว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพ ได้จริงไม่ ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาสมณุทเทสชื่อกัณฏกะถึงที่อยู่ ครั้นถึง แล้วได้กล่าวกับสมณุทเทสชื่อกัณฏกะดังนี้ว่า กัณฏกะ ได้ทราบว่า ทิฏฐิบาปเช่นนี้ ได้เกิดขึ้นแก่เธอว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่า ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมว่าก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตราย แก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่ จริงหรือ สมณุทเทสชื่อกัณฏกะกล่าวว่า เหมือนจะเป็นอย่างนั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กระผมรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มี พระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่ ภิกษุทั้งหลาย ได้กล่าวว่า กัณฏกะ เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระ ผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัส อย่างนั้น กัณฏกะ พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตราย ไว้โดยประการต่างๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้จริง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๓๖}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๗. สัปปาณกวรรค ๑๐. กัณฏกสิกขาบท นิทานวัตถุ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้น มาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่าง โครงกระดูก ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ฯลฯ พระผู้มีพระ ภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลาย เปรียบเหมือนของที่ยืมมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือน ผลไม้คาต้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว ฯลฯ พระผู้มี พระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ใน กามนี้มีโทษอย่างยิ่ง สมณุทเทสชื่อว่ากัณฏกะถูกภิกษุเหล่านั้นตักเตือน แต่ก็ยังกล่าวด้วยความยึด มั่นถือมั่นทิฏฐิบาปนั้นอยู่อย่างนั้นว่า เหมือนจะเป็นอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย กระผม รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่ ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจปลดเปลื้องสมณุทเทสชื่อกัณฏกะจากทิฏฐิบาปนั้นได้ ครั้น แล้วภิกษุทั้งหลายจึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วจึง กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบทรงประชุมสงฆ์สั่งนาสนะกัณฏกสมณุทเทส ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามสมณุทเทสชื่อกัณฏกะว่า กัณฏกะ ทราบว่า ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่ เธอว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระ ผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้ จริงไม่ จริงหรือ สมณุทเทสชื่อกัณฏกะทูลรับว่า เหมือนจะเป็นอย่างนั้น พระพุทธ เจ้าข้า ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ ซ่องเสพได้จริงไม่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๓๗}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๗. สัปปาณกวรรค ๑๐. กัณฏกสิกขาบท นิทานวัตถุ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า โมฆบุรุษ เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วได้อย่างไร โมฆบุรุษ เรากล่าวธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้โดยประการต่างๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้จริง มิใช่หรือ เรากล่าวว่า กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่าง ยิ่ง เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก ฯลฯ เรากล่าวว่ากาม ทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิง หญ้า ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ เรากล่าว ว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบ เหมือนของที่ยืมมา ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลาย เปรียบเหมือนหอกหลาว ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์ มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง โมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอชื่อ ว่ากล่าวตู่เราด้วยทิฏฐิที่ยึดถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลายตนเองและชื่อว่าประสบสิ่งมิใช่บุญ เป็นอันมาก โมฆบุรุษ ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เธอ ตลอดกาลนาน โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ครั้นทรงตำหนิแล้วจึงทรงแสดง ธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงนาสนะ๑- สมณุทเทสชื่อกัณฏกะ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงนาสนะ สมณุทเทสชื่อกัณฏกะอย่างนี้ ว่า กัณฏกะ ตั้งแต่วันนี้เธอไม่พึงอ้างพระผู้มีพระภาคว่าเป็นศาสดา และเธอจะไม่ มีการนอนร่วมกัน ๒-๓ คืนกับภิกษุทั้งหลายเหมือนสมณุทเทสเหล่าอื่นได้ เธอจงไปที่ อื่น เธอจงไปให้พ้น ดังนี้ ครั้งนั้นแล สงฆ์ได้นาสนะสมณุทเทสชื่อกัณฏกะแล้ว สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่ ก็ยังปลอบโยนสมณุทเทสชื่อกัณฏกะที่ถูก สงฆ์นาสนะอย่างนั้นแล้วบ้าง ใช้เธอให้อุปัฏฐากบ้าง คบหาบ้าง นอนร่วมบ้าง @เชิงอรรถ : @๑ คำว่า นาสนะ แปลว่า ให้ฉิบหาย ได้แก่ การลงโทษภิกษุ มี ๓ วิธี คือ (๑) ลิงคนาสนะ ให้สึก @(๒) ทัณฑกรรมนาสนะ ไล่ออกจากสำนัก (๓) สังวาสนาสนะ ยกออกจากหมู่ สมณุทเทสชื่อกัณฏกะนี้ @ถูกลงโทษโดยการไล่ออกจากสำนัก (วิ.อ. ๒/๔๒๘/๔๒๐-๔๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๓๘}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๗. สัปปาณกวรรค ๑๐. กัณฏกสิกขาบท พระบัญญัติ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่ จึงปลอบโยนสมณุทเทสชื่อกัณฏกะที่ถูกสงฆ์นาสนะอย่างนั้น แล้วบ้าง ใช้เธอให้อุปัฏฐากบ้าง คบหาบ้าง นอนร่วมบ้างเล่า ครั้นภิกษุหล่านั้น ตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอรู้อยู่ยังปลอบโยน สมณุทเทสชื่อกัณฏกะที่ถูกสงฆ์นาสนะอย่างนั้นแล้วบ้าง ใช้เธอให้อุปัฏฐากบ้าง คบหาบ้าง นอนร่วมบ้าง จริงหรือ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธ เจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวก เธอรู้อยู่ ยังปลอบโยนสมณุทเทสชื่อกัณฏกะที่ถูกสงฆ์นาสนะอย่างนั้นแล้วบ้าง ใช้ เธอให้อุปัฏฐากบ้าง คบหาบ้าง นอนร่วมบ้างเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่าง นี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น ได้เลย ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระบัญญัติ [๔๒๙] ถ้าสมณุทเทสกล่าวอย่างนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่อ อันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่ สมณุทเทสนั้นอันภิกษุ ทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มี พระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัส อย่างนั้น สมณุทเทส พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่อ อันตรายไว้โดยประการต่างๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่อง เสพได้จริง สมณุทเทสนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่อย่างนี้ ก็ยังคง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๓๙}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๗. สัปปาณกวรรค ๑๐. กัณฏกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ยืนยันอยู่อย่างนั้น สมณุทเทสนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า สมณุทเทส ตั้งแต่วันนี้เธอไม่พึงอ้างพระผู้มีพระภาคว่าเป็นศาสดา และเธอจะ ไม่มีการนอนร่วมกัน ๒-๓ คืนกับภิกษุทั้งหลายเหมือนสมณุทเทสเหล่าอื่นได้ เธอจงไปที่อื่น๑- เธอจงไปให้พ้น ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ก็ยังปลอบโยนสมณุทเทสผู้ถูก สงฆ์นาสนะแล้วอย่างนั้น ใช้เธอให้อุปัฏฐาก คบหา หรือนอนร่วม ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์เรื่องสมณุทเทสชื่อกัณฏกะ จบ สิกขาบทวิภังค์ [๔๓๐] ที่ชื่อว่า สมณุทเทส พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสามเณร คำว่า กล่าวอย่างนี้ คือ สมณุทเทสกล่าวว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระ ภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่อ อันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่ คำว่า สมณุทเทสนั้น ได้แก่ สมณุทเทสผู้กล่าวอย่างนั้น คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น พวกภิกษุที่ได้เห็นได้ยิน พึงว่ากล่าวตักเตือนสมณุทเทสนั้นว่า สมณุทเทส เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสอย่างนั้น สมณุทเทส พระผู้มีพระภาคตรัส ธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้โดยประการต่างๆ และธรรมเหล่านั้น ก็สามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึง ว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอสละได้เป็นการดี ถ้าไม่สละ สมณุทเทสนั้น @เชิงอรรถ : @๑ คำว่า จงไปที่อื่น แปลมาจากคำว่า จร ปิเร ตามนัยฎีกาว่า จร ปิเรติ ปรโต คจฺฉ, มา อิธ ติฏฺฐ @(สารตฺถ.ฏีกา ๓/๔๒๘/๑๑๑) จงไปทางอื่น อย่าอยู่ที่นี้, อีกนัยหนึ่งว่า ปิเรติ ปร อมามก @(วิ.อ. ๒/๔๒๘/๔๒๑) อมฺหากํ อนชฺฌตฺติกภูต (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๔๒๘/๑๑๐) โอวาทสฺส อปฏิคฺคหเณน @อติกฺกมเนน อมามกา ปเร นาม (ขุ.ธ.อ. ๑/๕/๖๐) เธอเป็นคนอื่นผู้ไม่นับถือพระรัตนตรัย, มิได้อยู่ @ในวงศ์ของพวกเรา เพราะไม่รับโอวาท เพราะล่วงละเมิดโอวาท {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๔๐}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๗. สัปปาณกวรรค ๑๐. กัณฏกสิกขาบท บทภาชนีย์
อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า สมณุทเทส ตั้งแต่วันนี้เธอไม่พึง อ้างพระผู้มีพระภาคว่าเป็นศาสดา และเธอจะไม่มีการนอนร่วมกัน ๒-๓ คืนกับภิกษุ ทั้งหลายเหมือนสมณุทเทสเหล่าอื่นได้ เธอจงไปที่อื่น เธอจงไปให้พ้น คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ ภิกษุรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกภิกษุนั้น หรือสมณุทเทสนั้นบอก คำว่า ผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้วอย่างนั้น คือ ถูกสงฆ์ให้ฉิบหายแล้วอย่างนั้น ที่ชื่อว่า สมณุทเทส พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสามเณร คำว่า ปลอบโยน คือ ภิกษุปลอบโยนว่า เราจะให้บาตร จีวร อุทเทส หรือปริปุจฉาแก่สมณุทเทสนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า ใช้เธอให้อุปัฏฐาก คือ ภิกษุยินดีจุรณ ดินเหนียว ไม้สีฟัน หรือ น้ำบ้วนปากของสมณุทเทสนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า คบหา อธิบายว่า ที่เรียกว่าคบหา ได้แก่ การคบหา ๒ อย่าง คือ (๑) คบหาทางอามิส (๒) คบหาทางธรรม ที่ชื่อว่า คบหาทางอามิส คือ ภิกษุให้อามิสหรือรับอามิส ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ที่ชื่อว่า คบหาทางธรรม คือ ภิกษุยกธรรมขึ้นแสดงหรือให้ยกธรรมขึ้นแสดง ภิกษุยกธรรมขึ้นแสดงหรือให้ยกธรรมขึ้นแสดง เป็นบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ บท ภิกษุยกธรรมขึ้นแสดงหรือให้ยกธรรมขึ้นแสดง เป็นอักษร ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ทุกๆ อักษร คำว่า นอนร่วม อธิบายว่า ในที่ที่มีหลังคาเดียวกัน เมื่อสมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์ นาสนะนอน ภิกษุก็นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุนอน สมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๔๑}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๗. สัปปาณกวรรค ๑๐. กัณฏกสิกขาบท อนาปัตติวาร
นาสนะก็นอน ภิกษุที่นอนด้วย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือนอนทั้ง ๒ รูป ก็ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ทั้ง ๒ ลุกขึ้นแล้ว กลับนอนอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์บทภาชนีย์ [๔๓๑] สมณุทเทสที่ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ภิกษุสำคัญว่าถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ปลอบโยน ใช้เธอให้อุปัฏฐาก คบหา หรือนอนร่วม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สมณุทเทสที่ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ ปลอบโยน ใช้เธอให้อุปัฏฐาก คบหา หรือนอนร่วม ต้องอาบัติทุกกฏ สมณุทเทสที่ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ถูกสงฆ์นาสนะ ปลอบโยน ใช้เธอให้อุปัฏฐาก คบหา หรือนอนร่วม ไม่ต้องอาบัติ สมณุทเทสที่ไม่ถูกสงฆ์นาสนะ ภิกษุสำคัญว่าถูกสงฆ์นาสนะ ต้องอาบัติทุกกฏ สมณุทเทสที่ไม่ถูกสงฆ์นาสนะ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ สมณุทเทสที่ไม่ถูกสงฆ์นาสนะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ถูกสงฆ์นาสนะ ไม่ต้องอาบัติอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๓๒] ๑. ภิกษุรู้อยู่ว่า สมณุทเทสไม่ถูกสงฆ์นาสนะ ๒. ภิกษุรู้อยู่ว่า สมณุทเทสสละทิฏฐินั้นแล้ว ๓. ภิกษุวิกลจริต ๔. ภิกษุต้นบัญญัติกัณฏกสิกขาบทที่ ๑๐ จบ สัปปาณกวรรคที่ ๗ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๔๒}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๗. สัปปาณกวรรค รวมสิกขาบทที่มีในสัปปาณกวรรค
รวมสิกขาบทที่มีในสัปปาณกวรรค สัปปาณกวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ ๑. สัญจิจจสิกขาบท ว่าด้วยความจงใจฆ่าสัตว์มีชีวิต ๒. สัปปาณกสิกขาบท ว่าด้วยการบริโภคน้ำที่มีสัตว์มีชีวิต ๓. อุกโกฏนสิกขาบท ว่าด้วยการรื้อฟื้นอธิกรณ์ขึ้นมาพิจารณาใหม่ ๔. ทุฏฐุลลสิกขาบท ว่าด้วยการปกปิดอาบัติชั่วหยาบ ๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท ว่าด้วยการอุปสมบทให้บุคคลมีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี ๖. เถยยสัตถสิกขาบท ว่าด้วยการเดินทางไกลร่วมกับพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ๗. สังวิธานสิกขาบท ว่าด้วยการชักชวนเดินทางไกลร่วมกับมาตุคาม ๘. อริฏฐสิกขาบท ว่าด้วยพระอริฏฐะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ๙. อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท ว่าด้วยการคบหาภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ๑๐. กัณฏกสิกขาบท ว่าด้วยสมณุทเทสชื่อกัณฏกะถูกสงฆ์นาสนะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๔๓}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๕๓๖-๕๔๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=106 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=13181&Z=13338 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=673 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=673&items=7 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9838 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=673&items=7 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9838 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc70/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc70/en/horner
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]