ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๖. โทณสูตร
ว่าด้วยโทณพราหมณ์
[๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จทางไกลระหว่างเมืองอุกกัฏฐะ๒- กับเมือง เสตัพยะ โทณพราหมณ์ก็ได้เดินทางไกลระหว่างเมืองอุกกัฏฐะกับเมืองเสตัพยะ ได้ เห็นรอยกงจักรมีซี่กำตั้งพันซี่ มีกง มีดุมครบ มีส่วนประกอบครบทุกอย่างที่รอย พระบาทของพระผู้มีพระภาค ได้มีความคิดว่า “ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย ปรากฏ รอยเท้าเหล่านี้คงไม่ใช่รอยเท้ามนุษย์” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลง ข้างทางประทับนั่งที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ทรงคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะ หน้า ลำดับนั้น โทณพราหมณ์เดินตามรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาค ได้เห็น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง มีพระอาการกิริยาน่าพอใจ น่าเลื่อมใส มีพระอินทรีย์สงบ มีพระทัยสงบ บรรลุการฝึกและความสงบยอดเยี่ยม๓- ทรงฝึกตน แล้ว คุ้มครองแล้ว สำรวมอินทรีย์ ผู้ชื่อว่านาคะ๔- ครั้นแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านผู้เจริญเป็นเทวดาใช่หรือไม่” @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๒๓ (โลกสูตร) หน้า ๓๘ ในเล่มนี้ @ เมืองอุกกัฏฐะ หมายถึงเมืองที่ชาวเมืองจุดประทีปมีด้ามส่องให้สร้าง หรือเมืองที่ประกอบด้วยคุณอัน @อุกฤษฏ์ เพราะมีภาคพื้นสมบูรณ์ มีมนุษย์สมบูรณ์ และมีอุปกรณ์ (เครื่องมือ) มากมาย @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๖/๓๓๖, องฺ.จตุกฺก. ฏีกา ๒/๓๖/๓๖๕) @ บรรลุการฝึกและความสงบยอดเยี่ยม หมายถึงอรหัตตมรรคและอรหัตตมัคคสมาธิ @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๖/๓๓๗) @ นาคะ นี้มีนัยกล่าวไว้ ๔ อย่าง คือ (๑) ไม่ถึงอคติมีฉันทาคติเป็นต้น (๒) ไม่ทรงกลับมาหากิเลสที่ละ @ได้แล้วอีก (๓) ไม่กระทำความชั่ว (๔) มีกำลัง (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๖/๓๓๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๕๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. จักกวรรค ๖. โทณสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เราไม่ใช่เทวดา พราหมณ์” โทณพราหมณ์ทูลถามว่า “ท่านผู้เจริญ เป็นคนธรรพ์ใช่หรือไม่” “เราไม่ใช่คนธรรพ์ พราหมณ์” “ท่านผู้เจริญ เป็นยักษ์ใช่หรือไม่” “เราไม่ใช่ยักษ์ พราหมณ์” “ท่านผู้เจริญ เป็นมนุษย์ใช่หรือไม่” “เราไม่ใช่มนุษย์ พราหมณ์” โทณพราหมณ์ทูลถามว่า “ท่านเมื่อถูกถามว่า ‘ท่านผู้เจริญเป็นเทวดาใช่หรือไม่’ ก็ตอบว่า ‘เราไม่ใช่เทวดา พราหมณ์’ เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านผู้เจริญเป็นคนธรรพ์ ใช่หรือไม่’ ก็ตอบว่า ‘เราไม่ใช่คนธรรพ์ พราหมณ์’ เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านผู้เจริญ เป็นยักษ์ใช่หรือไม่’ ก็ตอบว่า ‘เราไม่ใช่ยักษ์ พราหมณ์’ เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านผู้เจริญ เป็นมนุษย์ใช่หรือไม่’ ก็ตอบว่า ‘เราไม่ใช่มนุษย์ พราหมณ์’ ถ้าอย่างนั้น ท่าน เป็นอะไรกันแน่” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เราพึงเป็นเทวดา เพราะยังละ อาสวะเหล่าใดไม่ได้ แต่อาสวะเหล่านั้นเราละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ ไปไม่ได้ เราพึงเป็นคนธรรพ์ เพราะยังละอาสวะเหล่าใดไม่ได้ ... พึงเป็นยักษ์ ... พึงเป็นมนุษย์ เพราะยังละอาสวะเหล่าใดไม่ได้ แต่อาสวะเหล่านั้นเราละได้เด็ดขาด แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ พราหมณ์ เราเกิดเจริญเติบโตในโลก แต่อยู่เหนือโลก ไม่แปดเปื้อนด้วยโลก เหมือนดอกอุบล (บัวเขียว) ดอกปทุม (บัวหลวง) ดอกปุณฑริก (บัวขาว) เกิดเจริญ เติบโตในน้ำ แต่อยู่เหนือน้ำ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำฉะนั้น ท่านจงจำเราไว้ว่า ‘เป็น พระพุทธเจ้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๕๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. จักกวรรค ๗. อปริหานิยสูตร

อาสวะทั้งหลายที่เป็นเหตุให้เกิดเป็นเทวดา หรือเป็นคนธรรพ์ผู้เที่ยวไปในอากาศ เป็นเหตุให้ถึงความเป็นยักษ์ และความเป็นมนุษย์ ได้สิ้นไปแล้ว ถูกเรากำจัดแล้ว ทำให้หมดเครื่องผูกพันแล้ว ดอกปุณฑริกที่งดงาม ย่อมไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำฉันใด เราก็ย่อมไม่แปดเปื้อนด้วยโลกฉันนั้น พราหมณ์ เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า
โทณสูตรที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๕๘-๖๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=36              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=1009&Z=1049                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=36              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=36&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=7777              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=36&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=7777                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i031-e.php#sutta6 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i031-e2.php#sutta6 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.036.than.html https://suttacentral.net/an4.36/en/sujato https://suttacentral.net/an4.36/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :