ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖. อัพยากตวรรค ๘. จปลายมานสูตร

๘. จปลายมานสูตร
ว่าด้วยอุบายแก้ความง่วง
[๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬามิคทายวัน เขตกรุง สุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ สมัยนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กำลังนั่งง่วงอยู่ ที่หมู่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นท่าน พระมหาโมคคัลลานะกำลังนั่งง่วงอยู่ ใกล้หมู่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ แล้วได้ทรงหายไปจากป่าเภสกลามิคทายวัน เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ไปปรากฏต่อหน้าท่านพระมหาโมคคัลลานะใกล้ หมู่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือ คู้แขนเข้า ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคได้ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้๑- แล้ว ได้ตรัสกับท่าน พระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า “เธอง่วงหรือ โมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ โมคคัลลานะ” ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ๑. เมื่อเธอมีสัญญาอยู่อย่างไร ความง่วงนั้น ย่อมครอบงำเธอได้ เธออย่า ได้มนสิการถึงสัญญานั้น อย่าได้ทำสัญญานั้นให้มาก เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้น จะละความง่วงนั้นได้ ๒. ถ้าเมื่อเธออยู่อย่างนั้น ยังละความง่วงนั้นไม่ได้ เธอพึงตรึกตรองพิจารณา ธรรมตามที่ได้สดับมา ได้เล่าเรียนมา เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้น จะละความง่วง นั้นได้ @เชิงอรรถ : @ พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ หมายถึง พุทธอาสน์ คือ ตั่ง เตียง แผ่นกระดาน แผ่นหิน หรือกองทรายที่ภิกษุผู้ @บำเพ็ญเพียรปูลาดไว้เพื่อเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคที่จะเสด็จมาให้โอวาท ถ้าหาอาสนะอย่างนั้นไม่ได้ @จะใช้ใบไม้แห้งปูลาดก็ได้ โดยลาดสังฆาฏิไว้บน นี้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๕/๑๓๕, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๕/๑๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๑๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖. อัพยากตวรรค ๘. จปลายมานสูตร

๓. ถ้าเมื่อเธออยู่อย่างนั้น ยังละความง่วงนั้นไม่ได้ เธอพึงสาธยายธรรมตาม ที่ได้สดับมา ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้น จะละความง่วง นั้นได้ ๔. ถ้าเมื่อเธออยู่อย่างนั้น ยังละความง่วงนั้นไม่ได้ เธอพึงยอนช่องหูทั้ง ๒ ข้าง ใช้มือบีบนวดตัว เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้น จะละความง่วงนั้นได้ ๕. ถ้าเมื่อเธออยู่อย่างนั้น ยังละความง่วงนั้นไม่ได้ เธอพึงลุกขึ้นยืน ใช้น้ำลูบตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตร เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้น จะละความ ง่วงนั้นได้ ๖. ถ้าเมื่อเธออยู่อย่างนั้น ยังละความง่วงนั้นไม่ได้ เธอพึงมนสิการถึงอาโลก- สัญญา(ความกำหนดหมายแสงสว่าง) ตั้งสัญญาว่าเป็นกลางวันไว้ คือกลางวัน อย่างไร กลางคืนก็อย่างนั้น กลางคืนอย่างไร กลางวันก็อย่างนั้น มีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตให้โปร่งใส เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้น จะละความง่วงนั้นได้ ๗. ถ้าเมื่อเธออยู่อย่างนั้น ยังละความง่วงนั้นไม่ได้ เธอพึงอธิษฐานจงกรม กำหนดหมายเดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ภายใน มีใจไม่คิดไปภายนอก เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้น จะละความง่วงนั้นได้ ถ้าเมื่อเธออยู่อย่างนั้น เธอยังละความง่วงนั้นไม่ได้ ก็พึงสำเร็จสีหไสยา(การ นอนดุจราชสีห์)โดยตะแคงข้างขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำอุฏฐาน- สัญญา(กำหนดหมายว่าจะลุกขึ้น)ไว้ในใจ พอตื่น ก็รีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่า‘เราจักไม่ ประกอบความสุขในการนอน ไม่ประกอบความสุขในการเอกเขนก ไม่ประกอบ ความสุขในการหลับ’ โมคคัลลานะ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล โมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ชูงวง๑- เข้าไปยังตระกูล’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ งวง ในที่นี้หมายถึงมานะ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๑/๑๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๑๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖. อัพยากตวรรค ๘. จปลายมานสูตร

โมคคัลลานะ ถ้าภิกษุชูงวงเข้าไปยังตระกูล และในตระกูลก็มีกิจที่จะต้องทำ หลายอย่าง ทำให้ผู้คนไม่ใส่ใจถึงภิกษุผู้มาถึงแล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุจึงมีความคิด อย่างนี้ว่า ‘เดี๋ยวนี้ ใครกันนะยุยงให้เราแตกกับตระกูลนี้ เดี๋ยวนี้ คนเหล่านี้ เบื่อหน่ายเรา’ ดังนั้น เธอจึงมีความเก้อเขินเพราะไม่ได้อะไร เมื่อเก้อเขิน จึงมีความ ฟุ้งซ้าน เมื่อฟุ้งซ่าน จึงมีความไม่สำรวม เมื่อไม่สำรวม จิตจึงห่างจากสมาธิ โมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่กล่าว ถ้อยคำที่เป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกัน’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล โมคคัลลานะ เมื่อมีถ้อยคำที่เป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกัน ก็จำต้องพูดมาก เมื่อมี การพูดมาก ความฟุ้งซ่านจึงมี เมื่อฟุ้งซ่าน จึงมีความไม่สำรวม เมื่อไม่สำรวม จิตจึงห่างจากสมาธิ โมคคัลลานะ เราไม่สรรเสริญการคลุกคลีกับคนทั้งปวง เราจะไม่สรรเสริญ การคลุกคลีโดยประการทั้งปวงเลยก็หาไม่ คือ เราไม่สรรเสริญการคลุกคลีด้วยหมู่ชน ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต แต่เราสรรเสริญการคลุกคลีด้วยเสนาสนะที่มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับ ของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ว่าโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา มีความสำเร็จสูงสุด๑- มีความ @เชิงอรรถ : @ มีความสำเร็จสูงสุด หมายถึงเข้าถึงนิพพาน (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๐/๓๘๓) และดู องฺ.เอกาทสก. (แปล) @๒๔/๑๐/๔๐๖ ภิกษุผู้ชื่อว่า มีความสำเร็จสูงสุด เพราะไม่มีธรรมที่กำเริบอีกและไม่มีสภาวะที่ต้องเสื่อมอีก @ชื่อว่า มีความเกษมจากโยคะสูงสุด เพราะปลอดภัยจากโยคกิเลส ๔ ประการได้อย่างสิ้นเชิง ชื่อว่า @ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด เพราะการประพฤตินั้นจะไม่เสื่อมอีกเนื่องจากอยู่จบมัคคพรหมจรรย์แล้ว @ชื่อว่า มีที่สุดอันสูงสุด เพราะมีความสิ้นสุดคือการประพฤติมัคคพรหมจรรย์ และทำที่สุดวัฏฏทุกข์ได้ @(องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๖๖๑/๒๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๑๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖. อัพยากตวรรค ๘. จปลายมานสูตร

เกษมจากโยคะสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด ประเสริฐกว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับมาว่า ธรรม ทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ภิกษุได้สดับมาอย่างนั้นว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ภิกษุ นั้นย่อมรู้ชัดธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ชัดธรรมทั้งปวงแล้ว จึงกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว จึงเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา เหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความคลายไปในเวทนาเหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความดับ ไปในเวทนาเหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาเหล่านั้นอยู่ เมื่อพิจารณา เห็นความไม่เที่ยงในเวทนาเหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความคลายไปในเวทนาเหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความดับไปในเวทนาเหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนา เหล่านั้นอยู่ เธอก็ไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ก็ปรินิพพานเฉพาะตน๑- เธอย่อมรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจ ที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป โมคคัลลานะ ว่าโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้น เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา มีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษมจากโยคะสูงสุด ประพฤติ พรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
จปลายมานสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ ปรินิพพานเฉพาะตน ในที่นี้หมายถึงดับกิเลสได้เอง (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๑/๑๙๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๑๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๑๖-๑๑๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=58              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=1873&Z=1938                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=58              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=58&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4283              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=58&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4283                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i051-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an07/an07.058.than.html https://suttacentral.net/an7.61/en/sujato https://suttacentral.net/an7.61/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :