ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. พุทธวรรค
หมวดว่าด้วยพระพุทธเจ้าเป็นต้น
๑. พุทธาปทาน
พระประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า
[๑] พระอานนทเถระ ผู้เป็นมุนีชาวแคว้นวิเทหะ น้อมกายลงทูลถามพระตถาคตผู้ประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารว่า ได้ทราบว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้ามีอยู่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้าเหล่านั้นผู้เป็นนักปราชญ์ ทรงอุบัติขึ้นเพราะเหตุอะไร [๒] ลำดับนั้น พระสัพพัญญูผู้ประเสริฐ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้ตรัสกับพระอานนท์ผู้เจริญด้วยพระสุรเสียงที่ไพเราะว่า ธีรชนเหล่าใดได้สั่งสมกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ยังไม่ได้ความหลุดพ้นจากกิเลสในศาสนาของพระชินเจ้าทั้งหลาย [๓] เพราะมุ่งหน้าต่อสัมโพธิญาณนั้นแล ธีรชนผู้มีปัญญาแก่กล้าดี จึงได้บรรลุความเป็นพระสัพพัญญู ด้วยอัธยาศัยที่เข้มแข็งและด้วยอำนาจแห่งปัญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. พุทธวรรค]

๑. พุทธาปทาน

[๔] ถึงเราก็ได้เป็นผู้มีใจปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า ในสำนักของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ หลายพระองค์ พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงเป็นพระธรรมราชา นับไม่ถ้วน [๕] ต่อไปนี้ ขอให้เธอทั้งหลายผู้มีใจหมดจด จงฟังประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระธรรมราชา สมบูรณ์ด้วยบารมี ๓๐ ประการ๑- นับไม่ถ้วน [๖] เรายกนิ้วมือทั้ง ๑๐ นิ้วขึ้น นอบน้อมพระโพธิญาณของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด อภิวาทพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก พร้อมด้วยพระสงฆ์ด้วยเศียรเกล้า [๗] ในพุทธเขต๒- มีรัตนะที่อยู่ในอากาศ ที่อยู่บนภาคพื้นดิน นับจำนวนไม่ถ้วนอยู่เท่าใด เราพึงนึกนำรัตนะเท่านั้นทั้งหมดมาได้ [๘] ณ พื้นที่อันเป็นเงินนั้น เราได้เนรมิตปราสาทแก้วหลายร้อยชั้น สูงตระหง่านโชติช่วงในท้องฟ้า @เชิงอรรถ : @ บารมี ๓๐ ประการ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา, @ทานอุปบารมี ฯลฯ อุเบกขาอุปบารมี, ทานปรมัตถบารมี ฯลฯ อุเบกขาปรมัตถบารมี ทานบารมี การ @บำเพ็ญทานตามปกติ ทานอุปบารมี การบำเพ็ญทานยิ่งกว่าปกติ ทานปรมัตถบารมี การบำเพ็ญทาน @ระดับสูงสุด เช่น สละทรัพย์ภายนอกเป็นทานบารมี สละอวัยวะเป็นทานอุปบารมี สละชีวิตเป็นทาน @เป็นปรมัตถบารมี (ขุ.พุทฺธ. ๓๓/๗๖/๔๔๖, ขุ.จริยา. (แปล) ๓๓/๗๗๖-๗๗๗) @ พุทธเขต (เขตแดนของพระพุทธเจ้า) มี ๓ คือ ชาติเขต อาณาเขต วิสัยเขต ชาติเขตมีขอบเขตหนึ่ง @หมื่นจักรวาลจะเกิดการหวั่นไหวทั่วถึงกันในคราวพระพุทธเจ้าถือปฏิสนธิเป็นต้น อาณาเขตมีขอบเขตถึง @หนึ่งแสนโกฏิจักรวาล เป็นสถานที่ที่อานุภาพแห่งพระปริตรแผ่ไปถึง วิสัยเขตไม่มีขอบเขตที่จะกำหนดได้ @(วิสุทฺธิ. ๒/๔๙-๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. พุทธวรรค]

๑. พุทธาปทาน

[๙] มีเสาวิจิตรงดงาม มีค่ามาก ตั้งอยู่เรียงราย มีขื่อทำด้วยทองคำ (ติดคู่ห่วงทองคำที่ขื่อหรือจันทัน) ประดับด้วยนกกระเรียนและฉัตร [๑๐] พื้นชั้นแรกทำด้วยแก้วไพฑูรย์ งดงามดังก้อนเมฆปราศจากมลทิน มีภาพฝูงปลาและดอกบัวอยู่เกลื่อนกลาด ย่อมงามด้วยพื้นทองคำอย่างดี [๑๑] (ที่ปราสาทนั้น) พื้นบางชั้นมีภาพกิ่งไม้อ่อนช้อย มีสีเหมือนสีแก้วประพาฬ บางชั้นมีสีแดงสด บางชั้นงดงามเปล่งรัศมีดังสีแมลงค่อมทอง๑- บางชั้นสว่างไสวไปทั่วทิศ [๑๒] (ที่ปราสาทนั้น) แบ่งพื้นที่เป็นหน้ามุข ระเบียง หน้าต่าง ไว้อย่างดี มีพวงอุบะหอม๒- ที่น่ารื่นรมย์ใจ ห้อยย้อยจากวลัยไพที๓- และบานประตูข่ายทั้ง ๔ ด้าน [๑๓] (ที่ปราสาทนั้น) ประกอบด้วยเรือนยอดชั้นเยี่ยม ประดับด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำล้วน [๑๔] (ที่ปราสาทนั้น) มีดอกปทุมชูก้านบานสะพรั่ง งดงามด้วยภาพหมู่เนื้อร้ายและฝูงนก @เชิงอรรถ : @ แมลงค่อมทอง หมายถึงแมลงปีกแข็ง ตัวเล็กกว่าแมลงทับปีกสีเขียวเหลืองทอง @ พวงอุบะหอม ในที่นี้หมายถึงพวงของหอม (ดอกไม้ร้อยเป็นพวงอย่างพู่สำหรับห้อยระหว่างเฟื่องเป็นต้น @(ขุ.อป.อ. ๑/๑๒/๑๒๕) @ ไพที ในที่นี้หมายถึงแท่นที่รองเครื่องบูชา (ขุ.อป.อ. ๑/๑๒/๑๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. พุทธวรรค]

๑. พุทธาปทาน

ดารดาษด้วยดวงดาวพราวพรายระยิบระยับ ประดับด้วยรูปดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ [๑๕] (ปราสาทนั้น) ใช้ตาข่ายทองคำปกคลุม ติดข่ายกระดิ่งทองคำ พวงดอกไม้ทองคำ น่ารื่นรมย์ใจ ลมพัดมากระทบเข้าก็เกิดเสียงดังกังวาน [๑๖] (ที่ปราสาทนั้น) ขึงธงทิวซึ่งย้อมด้วยสีนานาชนิด คือ ธงสีหงสบาท สีแดง สีเหลือง สีทองชมพูนุท [๑๗] (ที่ปราสาทนั้น) มีที่นอนต่างๆ งดงาม มากมายหลายร้อยชนิด ทำด้วยแก้วผลึก เงิน แก้วมณี ทับทิม แก้วลาย ปูด้วยผ้าแคว้นกาสีเนื้อละเอียดอ่อน [๑๘] ผ้าห่มสีเหลือง ทอด้วยด้ายขนสัตว์ ทอด้วยผ้าเปลือกไม้ ทอด้วยฝ้ายเมืองจีน ทอด้วยฝ้ายเมืองปัตตุณณะ เครื่องปูลาดต่างๆ ทั้งหมดเราอธิษฐานใจปูลาดไว้ [๑๙] แต่ละชั้นประดับด้วยช่อฟ้าซึ่งทำด้วยรัตนะ มีคนยืนถือประทีปดวงแก้วสว่างไสวอยู่เรียงราย [๒๐] มีเสาระเนียด (เสาปักเรียงรายตลอดรั้ว) และเสาค่ายทองคำ เสาค่ายทองชมพูนุท เสาค่ายไม้แก่น (และ)เสาค่ายเงินที่งดงาม ย่อมทำปราสาทนั้นให้งดงาม [๒๑] (ที่ปราสาทนั้น) มีที่ต่อ(ช่อง)หลายแห่งจัดไว้เรียบร้อยดี มีบานประตูและลูกดาลงดงาม มีกระถางบัวหลวง บัวขาบเรียงรายอยู่ทั้ง ๒ ด้าน [๒๒] เราเนรมิตพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกในอดีตทุกพระองค์ พร้อมทั้งพระสงฆ์สาวกด้วยวรรณะและรูปตามปกติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. พุทธวรรค]

๑. พุทธาปทาน

[๒๓] พระพุทธเจ้าทุกพระองค์พร้อมด้วยสาวก เป็นหมู่พระอริยะ เสด็จเข้าไปทางประตูนั้น ประทับนั่งบนตั่งทองคำล้วน [๒๔] พระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทั้งที่เป็นอดีตและปัจจุบันทุกพระองค์ ได้เสด็จขึ้นสู่ปราสาทของเราแล้ว [๒๕] พระปัจเจกพุทธเจ้าหลายร้อยพระองค์ ผู้เป็นพระสยัมภู ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้๑- ทั้งที่เป็นอดีตและปัจจุบันทั้งหมด ได้เสด็จขึ้นสู่ปราสาทของเราแล้ว [๒๖] ต้นกัลปพฤกษ์ทิพย์๒- และต้นกัลปพฤกษ์มนุษย์ มีมากมาย เราได้นำผ้าทุกอย่างมาจากต้นกัลปพฤกษ์เหล่านั้น ตัดเย็บเป็นไตรจีวรถวายให้นุ่งห่ม [๒๗] ของเคี้ยว ของฉัน ของลิ้ม น้ำปานะ รวมทั้งอาหารมีอยู่อย่างเพียบพร้อม เราถวายบรรจุจนเต็มบาตรแก้วมณีลูกงามทุกลูก [๒๘] หมู่พระอริยะเหล่านั้น เป็นผู้หมดจดจากกิเลส ครองจีวรผ้าทิพย์เสมอกัน อันข้าพเจ้านิมนต์ฉันจนอิ่มหนำ ด้วยน้ำตาลกรวด น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และข้าวอย่างดี [๒๙] ทั้งหมดได้เข้าไปสู่ห้องแก้ว เหมือนไกรสรราชสีห์เข้าไปสู่ถ้ำ @เชิงอรรถ : @ พระสยัมภู ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้ หมายถึง ไม่พ่ายแพ้แก่มาร คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร @และเทวปุตตมาร (ขุ.อป.อ. ๑/๒๕/๑๒๗) @ ต้นกัลปพฤกษ์ทิพย์ หมายถึงต้นไม้ที่เกิดในเทวโลก (ขุ.อป.อ. ๑/๒๖/๑๒๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. พุทธวรรค]

๑. พุทธาปทาน

[๓๐] สำเร็จสีหไสยาสน์บนที่นอนมีค่ามาก มีสติสัมปชัญญะ ลุกขึ้นแล้ว นั่งขัดสมาธิบนที่นอน [๓๑] ซึ่งเป็นอารมณ์ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ แนบแน่นด้วยความยินดีในฌาน หมู่หนึ่งแสดงธรรม หมู่หนึ่งยินดีด้วยฤทธิ์ [๓๒] หมู่หนึ่งเข้าอัปปนาฌาน หมู่หนึ่งเจริญอภิญญาวสี๑- แสดงฤทธิ์ได้หลายร้อยหลายพันประการ [๓๓] ฝ่ายพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ถามพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถึงปัญหาอันเป็นวิสัยแห่งพระสัพพัญญุตญาณ พระพุทธเจ้าเหล่านั้นก็ทรงรู้แจ้งเหตุอันลึกซึ้งละเอียดอ่อนด้วยปัญญา [๓๔] สาวกทั้งหลายก็ทูลถามพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ตรัสถามสาวกทั้งหลาย ทั้งพระพุทธเจ้าและสาวกเหล่านั้นต่างก็ถามตอบกันและกัน [๓๕] พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวกผู้ปรนนิบัติเหล่านั้น ต่างรื่นรมย์ยินดีในปราสาทด้วยความยินดีด้วยประการฉะนี้ [๓๖] (พระเจ้าติโลกวิชัยทรงดำริว่า) ฉัตรตั้งซ้อนกัน มีรัศมีเปล่งปลั่งดังแก้วไพฑูรย์ ขอให้ทุกคนจงกั้นฉัตร มีตาข่ายทองคำห้อยระย้า ประดับด้วยตาข่ายเงิน แวดล้อมด้วยตาข่ายแก้วมุกดาไว้เหนือศีรษะข้าพเจ้า [๓๗] มีเพดานผ้าติดดวงดาวทองมีแสงแวววาว มีพวงมาลัยห้อยอยู่ทั่วงดงามตระการตา เพดานผ้าทั้งหมด จงดาดอยู่เหนือศีรษะ @เชิงอรรถ : @ อภิญญาวสี หมายถึงความชำนาญในอภิญญา ๕ ประการ คือ (๑) อาวัชชนวสี ชำนาญในการคำนึงถึง @(๒) สมาปัชชนวสี ชำนาญในการเข้า (๓) วุฏฐานวสี ชำนาญในการออก (๔) อธิฏฐานวสี ชำนาญ @ในการอธิษฐาน (๕) ปัจจเวกขณวสี ชำนาญในการ พิจารณา (ขุ.อป.อ. ๑/๓๒/๑๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. พุทธวรรค]

๑. พุทธาปทาน

[๓๘] สระที่ดารดาษด้วยพวงมาลัย งดงามด้วยพวงของหอม๑- มีพวงผ้าห้อยระย้า ประดับประดาด้วยพวงรัตนะ [๓๙] มีดอกไม้เรียงราย งดงามนัก อบด้วยของหอมกลิ่นฟุ้งขจายไป ใช้นิ้วมือทั้ง ๕ เจิมด้วยของหอม มุงด้วยหลังคาทองคำ [๔๐] ทั้ง ๔ ทิศ (แห่งปราสาท) ดารดาษด้วยดอกปทุมและดอกอุบล ปรากฏเป็นสีทอง หอมฟุ้งด้วยละอองเกสรดอกปทุม [๔๑] รอบๆ ปราสาท ต้นไม้ทุกต้นจงออกดอกบานสะพรั่ง ดอกไม้หล่นเอง ปลิวไปโปรยปราสาท [๔๒] ใกล้ๆ ปราสาทนั้น ขอฝูงนกยูงจงรำแพน (หาง) ฝูงหงส์ทิพย์จงส่งเสียงร้อง ฝูงนกการเวกจงร้องขับขาน วิหคก็จงส่งเสียงขับขานอยู่รอบๆ ปราสาท [๔๓] กลองทุกชนิดจงดังขึ้น พิณทุกชนิดจงบรรเลง เครื่องสังคีตทุกชนิดจงบรรเลงขับกล่อมอยู่รอบๆ ปราสาท [๔๔-๔๕] ตลอดพุทธเขตและในจักรวาล ต่อจากนั้นจงมีบัลลังก์ทองขนาดใหญ่ เรืองรองด้วยรัศมี ไม่มีช่องว่าง ขลิบด้วยรัตนะ ตั้งอยู่ (รอบๆ ปราสาท) ขอต้นพฤกษาประทีป๒- จงส่องสว่าง มีแสงโชติช่วงติดต่อเป็นอันเดียวกันทั้ง ๑๐,๐๐๐ ดวง @เชิงอรรถ : @ พวงของหอม หมายถึงจันทน์ ดอกบัวบก หรือหญ้าฝรั่นและกฤษณา เป็นต้น (ขุ.อป.อ. ๑/๓๘/๑๓๐) @ พฤกษาประทีป หมายถึงต้นไม้ที่แขวนตะเกียง, โคมไฟ (ขุ.อป.อ. ๑/๔๕/๑๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. พุทธวรรค]

๑. พุทธาปทาน

[๔๖] หญิงนักฟ้อนก็จงฟ้อน หญิงนักร้องก็จงขับร้อง หมู่นางอัปสรก็จงร่ายรำ สนามเต้นรำต่างๆ จงปรากฏอยู่รอบๆ ปราสาท [๔๗] เรา(ผู้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีนามว่าติโลกวิชัยในครั้งนั้น) สั่งให้ยกธงทุกชนิด วิจิตรงดงาม ๕ สี๑- ไว้บนยอดไม้ บนยอดภูเขา และบนยอดภูเขาสิเนรุ [๔๘] หมู่มนุษย์ หมู่นาค หมู่คนธรรพ์ และหมู่เทวดา ทั้งหมดนั้น จงเข้ามาประนมมือนอบน้อมแวดล้อมปราสาทของเรา [๔๙] กุศลกรรมใดๆ ควรเพื่อบังเกิดในสวรรค์ชั้นไตรทิพย์ ที่ข้าพเจ้าพึงกระทำด้วยกาย วาจา ใจ กุศลกรรมนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว [๕๐] สัตว์เหล่าใดมีสัญญาก็ตาม และสัตว์เหล่าใดไม่มีสัญญาก็ตามมีอยู่ ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงเป็นผู้มีส่วนเสวยผลบุญที่เราทำแล้ว [๕๑] สัตว์เหล่าใดรู้ว่าเราทำบุญ ขอสัตว์เหล่านั้น จงมีส่วนเสวยผลบุญที่เราให้แล้ว ก็ในบรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดไม่รู้ ขอเทวดาจงไปประกาศให้สัตว์เหล่านั้นทราบ [๕๒] เหล่าสัตว์ในโลกผู้อาศัยอาหารเลี้ยงชีวิตทุกจำพวก ขอจงได้โภชนาหารที่น่าพอใจ ตามเจตนาของเรา @เชิงอรรถ : @ วิจิตรงดงาม ๕ สี หมายถึงสีมีสีเขียวและสีแดงเป็นต้น (ขุ.อป.อ. ๑/๔๗/๑๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. พุทธวรรค]

๑. พุทธาปทาน

[๕๓] เราให้ทานด้วยใจ ยึดถือความเลื่อมใสด้วยใจ เรา๑- ได้บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ พร้อมทั้งพระปัจเจกพุทธเจ้าและสาวกของพระชินเจ้าแล้ว [๕๔] ด้วยกรรมที่เราทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตนาไว้มั่น เราละร่างกายมนุษย์แล้วจึงได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ [๕๕] เรารู้จักแต่ภพทั้ง ๒ คือความเป็นเทวดาหรือความเป็นมนุษย์ มิได้รู้จักคติอื่นเลย นี้เป็นผลแห่งความปรารถนาด้วยใจ [๕๖] (เมื่อเราเกิดเป็นเทวดา) เราก็ยิ่งใหญ่กว่าพวกเทวดา (เมื่อเราเกิดเป็นมนุษย์) เราก็ยิ่งใหญ่กว่าพวกมนุษย์ เราสมบูรณ์ด้วยรูปลักษณะ ไม่มีใครเสมอด้วยปัญญา [๕๗] โภชนะมีรสอร่อยหลายชนิด รัตนะมิใช่น้อย ผ้าชนิดต่างๆ จากฟากฟ้า ย่อมเข้ามาหาเราเร็วพลัน [๕๘] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้ำ และในป่า ก็ตาม ภักษาหารอันเป็นทิพย์ (อาหารทิพย์) จากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา [๕๙] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้ำ และในป่า ก็ตาม รัตนะทุกอย่างจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา [๖๐] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้ำ และในป่า ก็ตาม ของหอมทุกอย่างจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา @เชิงอรรถ : @ เรา ในที่นี้หมายถึงพระเจ้าจักรพรรดิ (ขุ.อป.อ. ๑/๕๓/๑๓๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. พุทธวรรค]

๑. พุทธาปทาน

[๖๑] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้ำ และในป่า ก็ตาม ยานพาหนะทุกอย่างจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา [๖๒] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้ำ และในป่า ก็ตาม ดอกไม้ทุกอย่างจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา [๖๓] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้ำ และในป่า ก็ตาม เครื่องประดับทุกอย่างจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา [๖๔] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้ำ และในป่า ก็ตาม หญิงสาวทั้งมวลจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา [๖๕] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้ำ และในป่า ก็ตาม น้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา [๖๖] เราเหยียดมือไปในที่ใดๆ จะเป็นบนพื้นดิน ภูเขา อากาศ ในน้ำ และในป่า ก็ตาม ของขบเคี้ยวทุกอย่างจากที่นั้นๆ ย่อมเข้ามาหาเรา [๖๗] เราให้ทานอย่างดีแก่คนไร้ทรัพย์ คนเดินทางไกล คนขอทาน และคนหลงทาง เพื่อต้องการจะบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐ [๖๘] เราทำให้ภูเขาศิลาล้วนบันลือ ทำให้ภูเขาหนาทึบกระหึ่ม ทำให้มนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกร่าเริง จะเป็นพระพุทธเจ้าในโลก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๑๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. พุทธวรรค]

๑. พุทธาปทาน

[๖๙] ทิศทั้ง ๑๐ ในโลก เมื่อคนเดินไป ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด ในส่วนแห่งทิศนั้น พุทธเขตก็นับจำนวนไม่ถ้วน(เหมือนกัน) [๗๐] แสงสว่างตามปกติของเรา(ในสมัยเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ) ปรากฏเปล่งรังสีออกมาเป็นคู่ๆ ข่ายรัศมีมีอยู่ในระหว่างนี้ แสงสว่างมีอย่างไพบูลย์ [๗๑] ขอประชาชนทั้งหมดในโลกธาตุประมาณเท่านี้ จงมองเห็นเรา ทั้งหมดจงดีใจ ทั้งหมดจงคล้อยตามเรา [๗๒] เราตีกลองอมฤต๑- มีเสียงไพเราะกังวาน ขอประชาชนในระหว่างนี้ จงฟังเสียงที่ไพเราะ(ของเรา) [๗๓] เมื่อตถาคตบันดาลเมฆฝนคือพระธรรมให้ตกลง ขอชนทั้งหมดจงเป็นผู้ไม่มีอาสวะ บรรดาผู้ที่ประชุมกันอยู่ในที่นี้ ผู้มีคุณต่ำสุด จงเป็นพระโสดาบัน [๗๔] เราให้ทานที่ควรให้แล้ว บำเพ็ญศีลบารมีอย่างเต็มเปี่ยม สำเร็จเนกขัมมบารมีแล้วบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด๒- [๗๕] เราสอบถามบัณฑิตทั้งหลาย (บำเพ็ญปัญญาบารมีแล้ว) บำเพ็ญวิริยบารมีแล้ว สำเร็จขันติบารมีแล้วบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด [๗๖] เราบำเพ็ญอธิษฐานบารมีแล้ว บำเพ็ญสัจจบารมีแล้ว สำเร็จเมตตาบารมีแล้ว บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด [๗๗] เรามีใจสม่ำเสมอในอารมณ์ทั้งปวง คือทั้งในลาภ ในความเสื่อมลาภ ในความสุข ในความทุกข์ @เชิงอรรถ : @ กลองอมฤต หมายถึงกลองสวรรค์ (ขุ.อป.อ. ๑/๗๒/๑๓๔) @ สัมโพธิญาณอันสูงสุด หมายถึงมรรคญาณ ๔ (ขุ.อป.อ. ๑/๗๔/๑๓๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๑๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. พุทธวรรค]

๑. พุทธาปทาน

ในการนับถือและในการถูกดูหมิ่น (บำเพ็ญอุเบกขาบารมีแล้ว) บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด [๗๘] ท่านทั้งหลาย จงเห็นความเกียจคร้านเป็นสิ่งน่ากลัว แต่จงเห็นความเพียรเป็นสิ่งปลอดภัย จงบำเพ็ญเพียรกันเถิด นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า [๗๙] ท่านทั้งหลาย จงเห็นการวิวาทกันเป็นสิ่งน่ากลัว แต่จงเห็นการไม่วิวาทกันเป็นสิ่งปลอดภัย จงสมัครสมานสามัคคีกัน พูดจาไพเราะกันเถิด นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า [๘๐] ท่านทั้งหลาย จงเห็นความประมาทเป็นสิ่งน่ากลัว แต่จงเห็นความไม่ประมาทเป็นสิ่งปลอดภัย จงเจริญมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เถิด๑- นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า [๘๑] พระพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์จำนวนมากมาประชุมพร้อมกัน ท่านทั้งหลายจงกราบไหว้พระพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์เถิด [๘๒] ตามที่กล่าวมานี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอจินไตย๒- ธรรมของพระพุทธเจ้าก็เป็นอจินไตย สำหรับผู้ที่เลื่อมใสในอจินไตย ย่อมมีวิบากเป็นอจินไตย ดังนี้แล ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงให้พระอานนทเถระทราบพุทธจริตของ พระองค์จึงได้ตรัสธรรมบรรยายชื่อว่าพุทธาปทานิยะ (การประกาศประวัติในอดีต- ชาติของพระพุทธเจ้า) ด้วยประการฉะนี้
พุทธาปทานจบ
@เชิงอรรถ : @ มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ @สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ (ขุ.อป.อ. ๑/๘๐/๑๓๕) @ อจินไตย หมายถึงสภาวะที่พ้นความคิดของตนที่จะคิดได้ คือไม่อยู่ในวิสัยที่จะคิดได้ (ขุ.อป.อ. ๑/๘๒/๑๓๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๑๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๒ หน้าที่ ๑-๑๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=32&siri=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=32&A=1&Z=146                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=1              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=32&item=1&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=49&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=32&item=1&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=49&A=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap1/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :