![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() [แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องเข้าไปนอนแทรกแซง] ข้อว่า เถเร ภิกฺขู วุฏฺฐาเปนฺติ มีความว่า ถือเอาตามลำดับพรรษากล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ! (ที่นี้) ถึงแก่พวกเรา ดังนี้ แล้วให้ย้ายออกไปเสีย. คำว่า อนุปขชฺช เสยฺยํ กปฺเปนฺติ มีความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปแทรกแซงกล่าวว่า ท่านขอรับ! เฉพาะที่เตียงเท่านั้น ถึงแก่พวกท่าน ไม่ใช่วิหารทั้งหมด, บัดนี้ ที่นี้ ถึงแก่พวกกระผม ดังนี้ จัดวางเตียงและตั่งแล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง กระทำการสาธยายบ้าง. บทว่า ชานํ ได้แก่ รู้อยู่ว่า ภิกษุนี้ไม่ควรถูกย้าย. ด้วยเหตุนั้นนั่นเอง ในวิภังค์แห่งบทว่า ชานํ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า วุฑฺโฒติ ชานาติ แปลว่า รู้อยู่ว่าเป็นพระผู้เฒ่า. จริงอยู่ ภิกษุผู้เฒ่าเป็นผู้ไม่ควรให้ย้าย เพราะตนเป็นผู้เฒ่า, ภิกษุผู้อาพาธเป็นผู้ไม่ควรให้ย้าย เพราะเธอเป็นผู้อาพาธ. ก็สงฆ์กำหนดความเป็นผู้มีอุปการะและความเป็นผู้มีคุณพิเศษ แห่งภิกษุภัณฑาคาริกก็ดี แห่งภิกษุผู้เป็นพระธรรม ก็ในคำว่า วุฑฺโฒติ ชานาติ เป็นต้นนี้ สงฆ์เท่านั้นจะให้เสนาสนะที่สมควรแม้แก่ภิกษุผู้อาพาธก็จริง, ถึงกระนั้น ภิกษุอาพาธก็แยกตรัสไว้แผนกหนึ่ง เพื่อแสดงว่า แม้เป็นผู้มีเสนาสนะอันสงฆ์ยังไม่อปโลกน์ให้ ก็ไม่ควรบีบคั้น ควรอนุเคราะห์ ดังนี้. ในคำว่า อุปจาเร นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- หนึ่งศอกคืบโดยรอบ ในวิหารใหญ่ ชื่ออุปจารแห่งเตียงและตั่งก่อน. ในวิหารเล็กหนึ่งศอกคืบจากที่พอจะตั้งเตียงตั่งได้ (ชื่อว่า อุปจาร ในคำว่า อภินิสีทติ วา อภินิปชฺชติ วา นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- เป็นปาจิตตีย์ เพราะเหตุสักว่านั่งทับบ้าง เพราะเหตุสักว่านอนทับบ้าง, แต่ถ้าภิกษุทำการนั่งและทำการนอนทั้ง ๒ อย่าง เป็นปาจิตตีย์ ๒ ตัว. เมื่อผุดลุกผุดนั่งหรือผุดลุกผุดนอน เป็นปาจิตตีย์ทุกๆ ประโยค. บัณฑิตพึงทราบประเภทแห่งทุกกฎ แม้ในทุกกฏวาร มีอาทิว่า วิหารสฺส อุปจาเร ดังนี้ ในคำว่า อุปจารํ ฐเปตฺวา เสยฺยํ สนฺถรติ วา สนฺถราเปติ วา นี้ และอื่นจากคำนี้ เหมือนประเภทแห่งปาจิตตีย์ที่ตรัสไว้ในการทำกิจทั้ง ๒ คือ เพียงแต่นั่งทับและนอนทับ ในคำว่า อภินิสีทติ วา อภินิปชฺชติ วา นี้ และในประเภทแห่งประโยคฉะนั้น. เพราะไม่ต้อง แม้ในคำว่า อญฺญสฺส ปุคฺคลิเก นี้ ก็พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- เสนาสนะส่วนตัวของบุคคลผู้คุ้นเคยกัน เช่นเดียวกับของส่วนตัวของตนเหมือนกัน ไม่เป็นอาบัติในเสนาสนะส่วนตัวบุคคลของผู้คุ้นเคยกันนั้น. บทว่า อาปทาสุ มีความว่า ถ้ามีอันตรายแห่งชีวิตและพรหมจรรย์แก่ภิกษุผู้อยู่ภายนอก ในเพราะอันตรายเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุผู้เข้าไป (ภายใน). บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิก เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล. อนูปขัชชสิกขาบทที่ ๖ จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ ภูตคามวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๖ จบ. |