![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า โมลิคลฺเล ได้แก่ ผู้มีร่างกายอวบ. สองบทว่า หตฺถิภณฺเฑ อสฺสภณฺเฑ ได้แก่ คนเลี้ยงช้างและคนเลี้ยงม้า. ในคำว่า ปณฺฑโก ภิกฺขเว เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัยว่า บัณเฑาะก์มี ๕ ชนิด คือ อาสิตตบัณเฑาะก์ ๑ อุสุยยบัณเฑาะก์ ๑ โอปักกมิยบัณเฑาะก์ ๑ ปักขบัณเฑาะก์ ๑ นปุงสกบัณเฑาะก์ ๑. ในบัณเฑาะก์ ๕ ชนิดนั้น บัณเฑาะก์ใดเอาปากอมองคชาตของชายเหล่าอื่น ถูกน้ำอสุจิรดเอาแล้ว ความเร่าร้อนจึงสงบไป บัณเฑาะก์นี้ชื่ออาสิตตบัณเฑาะก์. ฝ่ายบัณเฑาะก์ใดเห็นอัชฌาจารของชนเหล่าอื่น เมื่อความริษยาเกิดขึ้นแล้ว ความเร่าร้อนจึงสงบไป บัณเฑาะก์นี้ชื่ออุสุยยบัณเฑาะก์. บัณเฑาะก์ใดมีอวัยวะดังพืชทั้งหลาย ถูกนำไปปราศแล้วคือ ถูกเขาตอนเสียแล้ว ด้วยความพยายาม๑- บัณเฑาะก์นี้ชื่อโอปักกมิยบัณเฑาะก์. ส่วนบางคนข้างแรมเป็นบัณเฑาะก์ ด้วยอานุภาพแห่งอกุศลวิบาก แต่ข้างขึ้น ความเร่าร้อนของเขาย่อมสงบไป นี้ชื่อว่าปักขบัณเฑาะก์. ส่วนบัณเฑาะก์ใดเกิดไม่มีเพศ ไม่มีภาวรูป ในปฏิสนธิทีเดียว คือไม่ปรากฏว่าชายหรือหญิงมาแต่กำเนิด บัณเฑาะก์นี้ชื่อนปุงสกบัณเฑาะก์. ในอรรถกถาชื่อกุรุนทีแก้ว่า ในบัณเฑาะก์ ๕ ชนิดนั้น อาสิตตบัณเฑาะก์และอุสุยยบัณเฑาะก์ ไม่ห้ามบรรพชา, ๓ ชนิดนอกนี้ห้าม แม้ในบัณเฑาะก์ ๓ ชนิดนั้น สำหรับปักขบัณเฑาะก์ ห้ามบรรพชาแก่เขาเฉพาะปักข์ที่เป็นบัณเฑาะก์เท่านั้น. ก็ในบัณเฑาะก์ ๓ ชนิดนี้ บัณเฑาะก์ใดทรงห้ามบรรพชา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาบัณเฑาะก์นั้น ตรัสคำนี้ว่า อนุปสมฺปนฺโน นาเสตพฺโพ. บัณเฑาะก์แม้นั้น ภิกษุพึงให้ฉิบหายด้วยลิงคนาสนาทีเดียว. เบื้องหน้าแต่นี้ แม้ในคำที่กล่าวว่า พึงให้ฉิบหาย ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ____________________________ ๑- ทางสันสกฤต อุปกฺรม (อุปกฺกม) หมายความว่า จิกิตฺสา (ติกิจฺฉา) ก็ได้ดังนั้น อุปกฺกม ในที่นี้จึงน่าจะหมายความไปทางวิธีหมอ เช่นการเยียวยาผ่าตัดเป็นต้น. อรรถกถาปัณฑกวัตถุ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ เรื่องห้ามบัณเฑาะก์มิให้อุปสมบท จบ. |