บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [๑] [๒] ในพรหมายุสูตรนั้น คำว่า ใหญ่ ในบทว่า พร้อมกับหมู่ภิกษุใหญ่ นั้น ชื่อว่าใหญ่ เพราะความใหญ่ด้วยคุณบ้าง ใหญ่ด้วยจำนวนบ้าง. จริงอยู่ หมู่ภิกษุนั้นเป็นหมู่ใหญ่ แม้ด้วยคุณทั้งหลาย. จัดว่าใหญ่เพราะประกอบด้วยคุณมีความมักน้อยเป็นต้น และเพราะนับได้ถึง ๕๐๐ รูป. กับหมู่แห่งพวกภิกษุ ชื่อว่าหมู่ภิกษุ. อธิบายว่า กับหมู่สมณะที่มีทิฏฐิสามัญญตาและสีลสามัญญตาเท่าเทียมกัน. คำว่า พร้อม คือ ด้วยกัน. คำว่า ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป คือ ชื่อว่ามีประมาณห้า เพราะประมาณห้าแห่งร้อยของภิกษุเหล่านั้น. ประมาณท่านเรียกว่า มาตรา. เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า ภิกษุรู้จักมาตราคือรู้จักประมาณในโภชนะ ที่ตรัสว่า เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะฉันใด แม้ในที่นี้ก็พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า มาตราห้าได้แก่ประมาณห้าแห่งร้อยของภิกษุเหล่านั้น ฉันนั้น. ร้อยทั้งหลายแห่งพวกภิกษุ ชื่อว่าร้อยแห่งภิกษุทั้งหลาย. กับร้อยแห่งภิกษุทั้งหลาย มีประมาณห้าเหล่านั้น. คำว่า มีปี ๑๒๐ คือ มีอายุ ๑๒๐ ปี. คำว่า แห่งเวททั้งสาม คือ แห่งฤคเวท ยชุรเวทและสามเวท. ชื่อว่าผู้ถึงฝั่ง เพราะถึงฝั่งด้วยอำนาจการท่องคล่องปาก. พร้อมด้วยนิฆัณฑุและเกฏุภะ ชื่อว่าพร้อมกับนิฆัณฑุและเกฏุภะ. ศาสตร์ที่ประกาศคำสำหรับใช้แทน นิฆัณฑุศาสตร์และพฤกษศาสตร์เป็นต้น ชื่อสนิฆัณฑุ. เกฏุภะได้แก่การกำหนดกิริยาอาการที่เป็นศาสตร์สำหรับใช้เป็นเครื่องมือของพวกกวี. ชื่อว่าพร้อมทั้งประเภทอักษร เพราะพร้อมกับประเภทอักษร. คำว่า ประเภทอักษร ได้แก่ สิกขาและนิรุตติ. คำว่า มีประวัติศาสตร์เป็นที่ห้า คือมีประวัติศาสตร์ ซึ่งได้แก่เรื่องเก่าแก่ที่ประกอบด้วยคำเช่นนี้ว่า เป็นอย่างนี้ เล่ากันมาว่าเช่นนี้ เป็นที่ห้าแห่งพระเวทที่จัดอาถรรพณเวทเป็นที่สี่เหล่านั้น ฉะนั้น จึงชื่อว่ามีประวัติศาสตร์เป็นที่ห้า. มีประวัติศาสตร์เป็นที่ห้าแห่งพระเวทเหล่านั้น. ชื่อว่าผู้เข้าใจบท ฉลาดในไวยากรณ์ เพราะถือเอาหรือแสดงบทและไวยากรณ์ที่นอกเหนือจากบทนั้นได้ คำว่า ลักษณมหาบุรุษ ได้แก่ ตำราประมาณ ๑๒,๐๐๐ เล่มที่แสดงลักษณะบุรุษผู้ยิ่งใหญ่มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น มีบทคาถาประมาณ ๑๖,๐๐๐ บท ที่มีชื่อว่าพุทธมนต์ ซึ่งเป็นเหตุให้รู้ความแตกต่างอันนี้ คือผู้ประกอบด้วยลักษณะนี้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยลักษณะนี้ เป็นพระอัครสาวกทั้งสองด้วยลักษณะนี้ เป็นพระสาวกผู้ใหญ่แปดสิบท่านด้วยลักษณะนี้ เป็นพระพุทธมารดา, เป็นพระพุทธบิดา, เป็นอัครอุปัฏฐาก, เป็นอัครอุปัฏฐายิกา, เป็นพระเจ้าจักรพรรดิด้วยลักษณะนี้. คำว่า เป็นผู้ชำนาญ ได้แก่ ผู้ทำให้บริบูรณ์ ไม่หย่อนในคัมภีร์โลกายตะและตำราทายลักษณะมหาบุรุษ. อธิบายว่า ได้แก่เป็นผู้ไม่ขาดตกบกพร่อง. ผู้ที่ไม่สามารถทรงจำทั้งใจความ และคัมภีร์ได้ ชื่อว่าผู้ขาดตกบกพร่อง. คำที่จะต้องกล่าวในบทเป็นต้นว่า ได้ยินแล้วแล ก็ได้กล่าวเสร็จแล้วในสา คำว่า นี้ พ่อ คือ พรหมายุพราหมณ์นี้ เพราะเป็นคนแก่ไม่อาจไปได้ จึงเรียกมาณพ เพราะฉะนั้น เพียงแต่ได้ยินมาเท่านั้น เราจึงยังไม่ควรไปหา และเมื่อเข้าไปหา บางคนหลีกไปเสียเฉยๆ ก็เป็นเรื่องหนักใจ ทั้งจะเกิดความเสียหายด้วย เป็นอันว่าทางที่ดี เราควรส่งศิษย์เรา เมื่อรู้ว่าเป็นพุทธะหรือไม่เป็นแล้ว จึงค่อยเข้าไปหาเขา เพราะฉะนั้น จึงเรียกมาณพมากล่าวคำเป็นต้นว่า นี้ พ่อ ดังนี้. บทว่า ตํ ภควนฺตํ ได้แก่ ผู้เจริญนั้น. คำว่า เป็นอย่างนั้นจริงๆ คือ เป็นจริงอย่างนั้น. ก็คำว่า สนฺตํ นี้เป็นทุติยาวิภัติ ลงในอรรถว่าเป็นเช่นนี้. ในคำว่า นี่เธอทำอย่างไรเราเล่า คือ นี่เธอก็เราจะรู้จักท่านพระโคดมนั้นได้อย่างไร. อธิบายว่า เธอจงบอกเราโดยประการที่เราสามารถรู้จักพระโคดมนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า โดยประการใด นี้เป็นเพียงคำที่ลงแทรกเข้ามาเฉยๆ ก็ได้. คำว่า อย่างไร นี้เป็นคำถามอาการ หมายความว่า เราจะรู้จักท่านพระโคดมด้วยอาการอย่างไร. ได้ยินว่า เมื่อลูกศิษย์ว่าอย่างนั้น อุปัชฌาย์กล่าวกะเธอเป็นต้นว่า พ่อ เจ้ายืนอยู่บนแผ่นดิน แล้วมาพูดคล้ายกะว่า ผมมองไม่เห็นแผ่นดิน ยืนอยู่ในแสงพระจันทร์และพระอาทิตย์ แล้ว ในคำเหล่านั้น คำว่า มนต์ หมายถึงพระเวท. พวกเทพชั้นสุทธาวาสบางท่านทราบว่า นัยว่า พระตถาคตเจ้าจะทรงอุบัติ จึงเอา คำว่า ของมหาบุรุษ คือ ของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ด้วยการตั้งพระทัย การยึดมั่น ความรู้และความสงสารเป็นต้น. คำว่า สองทางเท่านั้น คือ ที่สุดสองอย่างเท่านั้น. ในเรื่องความรู้ทั่วไป คติศัพท์เป็นไปในประเภทภพในคำเป็นต้นว่า สารีบุตร ก็คติห้าอย่างเหล่านี้แล. เป็นไปในที่เป็นที่อยู่ในคำเป็นต้นว่า ป่าใหญ่เป็นคติ (ที่อยู่) ของพวกเนื้อ. เป็นไปในปัญญาในคำเป็นต้นว่า มีคติ (ปัญญา) มีประมาณยิ่ง อย่างนี้. เป็นไปในความสละในคำเป็นต้นว่า ถึงคติ (ความสละ). แต่ในที่นี้ พึงทราบว่าเป็นไปในความสำเร็จ (หรือที่สุด). แม้ถึงอย่างนั้น ในลักษณะเหล่านั้น ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่าใดเป็นพระราชา ก็ไม่ใช่ว่า เป็นพระพุทธเจ้าด้วยลักษณะเหล่านั้นเลย. แต่ท่านเรียกลักษณะเหล่านั้นเพราะความเสมอกันทางชาติเท่านั้น. เพราะเหตุนั้น พรหมายุพราหมณ์จึงกล่าวว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่าใด. คำว่า ถ้าอยู่ครองเรือน คือ ถ้าอยู่ในเรือน. คำว่า เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ความว่า เพราะทำให้โลกยินดีด้วยสิ่งอัศจรรย์ ๔ อย่าง และสิ่งสำหรับยึดเหนี่ยวน้ำใจ ๔ อย่าง จึงชื่อว่าราชา. เพราะมีการหมุนจักรแก้ว หมุนไปด้วยสมบัติจักรทั้ง ๔ ให้คนอื่นหมุนไปด้วยสมบัติจักรทั้ง ๔ นั้นด้วย และเพราะทรงประพฤติประโยชน์เกื้อกูลแก่คนอื่น และประพฤติเพื่อจักรอันได้แก่อิริยาบถ จึงชื่อว่าจักรพรรดิ. และในที่นี้ คำว่า ราชา เป็นคำทั่วๆ ไป. คำว่า จักรพรรดิ เป็นคำวิเศษณ์ (คุณศัพท์ขยายราชา). เพราะทรงประพฤติเป็นธรรม จึงชื่อว่าผู้ประกอบด้วยธรรม. หมายความว่า ทรงประพฤติด้วยพระญาณที่ถูกต้อง. เพราะทรงได้รับราชย์โดยธรรม แล้วจึงเป็นราชา จึงชื่อว่าธรรมราชา. อีกอย่างหนึ่ง เพราะทรงกระทำเป็นธรรมเพื่อเกื้อกูลคนอื่น จึงชื่อว่าทรงประกอบด้วยธรรม เพราะทรงกระทำเป็นธรรมเกื้อกูล พระองค์จึงชื่อว่าพระธรรมราชา. เพราะเป็นใหญ่ในแผ่นดินอันมีทะเลหลวง ๔ เป็นขอบเขต จึงชื่อว่าจาตุรนต์. อธิบายว่า เป็นใหญ่ในแผ่นดินที่ประดับด้วยทวีปทั้งสี่ ซึ่งมีสมุทรทั้ง ๔ ทิศเป็นที่สุด. เพราะทรงชำนะข้าศึกมีความโกรธเป็นต้นในภายใน และพระราชาทั้งหมดในภายนอก จึงชื่อว่าผู้ชำนะพิเศษ. คำว่า ถึงความมั่นคงในชนบท ความว่า ถึงความแน่นอน ความมั่นคงในชนบท ไม่มีใครทำให้กำเริบได้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าทรงถึงความมั่นคงในชนบท เพราะทรงมีชนบทที่ถึงความมั่นคง ไม่ต้องทรงมีความขวนขวาย ยินดีในการงานของพระองค์ ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลนในชนบทนั้น. บทว่า อย่างไรนี้ เป็นคำสำหรับลงแทรกเข้ามา. ความว่า แก้วเหล่านั้นของพระเจ้า ในทุกบท ก็เช่นนี้ทั้งนั้น. ก็ในบรรดารัตนะเหล่านี้ พระเจ้า ก็การประกอบด้วยอำนาจแห่งความอุตสาหะแห่งพระเจ้าจักรพรรดินั้น ย่อมบริบูรณ์ดีด้วยรัตนะที่ ๑ ความประกอบด้วยศักดิ์แห่งเจ้า ย่อมบริบูรณ์ดีด้วยช้างแก้ว ม้าแก้วและคหบดีแก้ว การประกอบด้วยอำนาจแห่งความฉลาด ย่อมบริบูรณ์ดีด้วยปริณายกแก้วสุดท้าย. ผลแห่งการประกอบด้วยอำนาจสามประการ ย่อมบริบูรณ์ดีด้วยนางแก้วและแก้วมณี. พระเจ้าจักรพรรดินั้นทรงเสวยความสุขในการใช้สอยด้วยนางแก้วและแก้วมณี. ทรงเสวยอิสริยสุขด้วยรัตนะนอกนี้. อนึ่ง รัตนะ ๓ ข้างต้นของพระเจ้าจักรพรรดินั้นย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งกรรมอันกุศลมูลคืออโทสะให้เกิดแล้ว โดยพิเศษ. รัตนะกลางๆ ย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งกรรมอันกุศลมูลคืออโลภะให้เกิดแล้ว. รัตนะหลังอันเดียวพึงทราบว่า สำเร็จด้วยอานุภาพแห่งกรรมอันกุศลมูล คืออโมหะให้เกิดแล้ว. ความย่อในรัตนะเหล่านี้เท่านี้. ส่วนความพิสดารพึงถือเอาโดยอุปเทศแห่งรัตนสูตร ในโพชฌังคสังยุต. อีกอย่างหนึ่ง การพรรณนาพร้อมกับลำดับแห่งการเกิดของรัตนะเหล่านี้ จักมาในพาลปัณฑิตสูตร. บทว่า ปโรสหสฺสํ แปลว่า เกินกว่าพัน. บทว่า สูรา ความว่า ผู้มีชาติแห่งคนกล้า. บทว่า วิรงฺครูปา ความว่า มีกายคล้ายเทพบุตร. อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้อย่างนี้ก่อน. แต่ในเรื่องนี้มีสภาวะดังต่อไปนี้. บทว่า วีรา ท่านกล่าวว่า มีความกล้าหาญอย่างสูงสุด. คุณแห่งผู้กล้าหาญ ชื่อว่า วีรงฺคํ ท่านกล่าวอธิบายว่า เหตุแห่งผู้กล้า ชื่อวิริยะ. ชื่อว่า วีรังครูป เพราะอรรถว่ามีรูปร่างองอาจกล้าหาญ ท่านกล่าวอธิบายว่า เหมือนมีร่างกายสำเร็จด้วยความกล้าหาญ. บทว่า ปรเสนปฺปมทฺทนา อธิบายว่า ถ้ากองทัพอื่นยืนเผชิญหน้าอยู่ ก็สามารถย่ำยีกองทัพนั้นได้. บทว่า ธมฺเมน ความว่า ด้วยธรรมคือศีลห้ามีคำว่า ไม่ควรฆ่าสัตว์ ดังนี้เป็นต้น. ในคำว่า จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เปิดหลังคา (คือกิเลส) ในโลกแล้วนี้ ชื่อว่ามีหลังคาอันเปิดแล้ว เพราะเปิดหลังคาในโลกอันมืดมนด้วยกิเลส ซึ่งถูกกิเลสคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อวิชชาและทุจริตอันเสมือนหลังคาทั้ง ๗ ปิดแล้วนั้น ทำให้เกิดแสงสว่างโดยรอบตั้งอยู่แล้ว. ในบรรดาบทเท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านกล่าวความเป็นผู้ควรแก่การบูชาด้วยบทแรก กล่าวเหตุแห่งความเป็นผู้ควรแก่การบูชานั้น ด้วยบทที่ ๒ เพราะทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวความเป็นผู้มีหลังคาอันเปิดแล้ว อันเป็นเหตุแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า ด้วยบทที่ ๓. อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่ามีหลังคาอันเปิดแล้ว เพราะอรรถว่าทั้งเปิดแล้วทั้งไม่มีเครื่องมุง. ท่าน ก็ในข้อนั้น ความสำเร็จตอนต้นย่อมมีด้วยเวสารัชญาณข้อที่ ๒ ความสำเร็จข้อที่ ๒ ย่อมมีด้วยเวสารัชญาณข้อที่ ๑ ความสำเร็จข้อที่ ๓ ย่อมมีด้วยเวสารัชญาณข้อที่ ๓ และที่ ๔. พึงทราบว่า ข้อที่ ๑ ให้สำเร็จธรรมจักษุ ข้อที่ ๒ ให้สำเร็จพุทธจักษุ ข้อที่ ๓ ให้สำเร็จสมันตจักษุดังนี้บ้าง. ด้วยคำว่า ตฺวํ มนฺตานํ ปฏิคฺคเหตา นี้ย่อมให้เกิดความกล้าแก่มาณพนั้น. แม้อุตตรมาณพนั้นปราศจากความเคลือบแคลงในลักษณะทั้งหลายตามถ้อยคำของอาจารย์นั้น ตรวจดูพุทธมนต์อยู่ประดุจเกิดแสงเป็นอันเดียวกัน จึงกล่าวว่า อย่างนั้นขอรับ ดังนี้. เนื้อความแห่งคำนั้น ดังต่อไปนี้ ข้าแต่อาจารย์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าจักกระทำเหมือนอย่างท่านอาจารย์สั่งข้าพเจ้า. บทว่า สมนฺเนสิ ความว่า ได้ตรวจดูแล้ว อีกอย่างหนึ่ง ตรวจดูนับอยู่ว่า ๑,๒ ดังนี้. คำว่า อทฺทสา โข ถามว่า ได้เห็นอย่างไร. ตอบว่า ก็ใครๆ ย่อมไม่อาจแสวงหาลักษณะแห่งพระพุทธเจ้าผู้ประทับนั่ง หรือบรรทมได้ แต่เมื่อทรงประทับยืน หรือทรงจงกรมอยู่ จึงจะอาจ. เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ครั้นเห็นผู้มาเพื่อจะตรวจดูลักษณะจึงทรงลุกจากอาสนะ ประทับยืนบ้าง ทรงอธิฏฐานจงกรมบ้าง. อุตตรมาณพได้เห็นแล้วซึ่งลักษณะแห่งพระองค์ผู้ทรงยังอิริยาบถอันสมควรแก่ที่จะเห็นลักษณะเป็นไปอยู่ด้วยประการฉะนี้. บทว่า เยภุยฺเยน คือ โดยมาก หมายความว่า ได้เห็นลักษณะมาก มิได้เห็นน้อย. แต่นั้น มิได้เห็นลักษณะอันใด จึงกล่าวว่า ฐเปตฺวา เทฺว เว้น ๒ ลักษณะ เพื่อแสดงถึงลักษณะ ๒ เหล่านั้น. บทว่า กงฺขติ ความว่า อุตตรมาณพเกิดความปรารถนาขึ้นว่า น่าอัศจรรย์หนอ เราพึงเห็น (ลักษณะอีก ๒ ประการ). บทว่า วิจิกิจฺฉติ ความว่า เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ซึ่งลักษณะเหล่านั้น จากลักษณะนั้นๆ ย่อมลำบาก คือ ไม่อาจเพื่อจะเห็นได้. บทว่า นาธิมุจฺจติ ความว่า ย่อมไม่ถึงความตกลงใจ เพราะความสงสัยอันนั้น. บทว่า น สมฺปสีทติ ความว่า แต่นั้นจึงไม่เกิดความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระองค์มีพระลักษณะสมบูรณ์. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวความสงสัยอย่างอ่อนด้วยความกังขา อย่าง บทว่า โกโสหิเต ได้แก่ อันฝักแห่งไส้ปิดแล้ว. บทว่า วตฺถคุยฺเห ได้แก่ องคชาต. จริงอยู่ คุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝักของพระผู้มีพระภาคเจ้า เสมอด้วยห้องปทุม มีสีดุจทอง ดุจคุยหฐานของช้าง. อุตตรมาณพนั้น เมื่อไม่เห็นพระคุยหฐานนั้น เพราะผ้าปิดไว้ และความเพียงพอแห่งพระชิวหาก็กำหนดไม่ได้ เพราะอยู่ในพระโอษฐ์ จึงมีความสงสัยเคลือบแคลงในลักษณะ ๒ นั้น. คำว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงพระดำริว่า ถ้าเราไม่แสดงลักษณะทั้ง ๒ เหล่านี้แก่อุต อนึ่ง เราบำเพ็ญบารมีมาก็เพื่อประโยชน์อย่างนี้ เราจักแสดงลักษณะเหล่านั้นแก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขารเห็นปานนั้น. ทรงบันดาลมีรูปเป็นอย่างไร ในเรื่องนี้ มีถ้อยคำที่บุคคลอื่นพึงกล่าวได้อย่างไร. คำนั้นพระนาคเสนเถระอันพระเจ้ามิลินท์ถามแล้ว วิสัชนาไว้แล้ว. ราชา. พระนาคเสนผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำขนาดถึงสิ่งที่ทำได้ยาก. นาค. ทรงทำอะไร มหาบพิตร. ราชา. พระคุณเจ้า พระองค์ทรงแสดงโอกาสที่ทำให้คนส่วนใหญ่อับอายแก่นายอุต นาค. มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงแสดงพระองคชาตหรอก ทรงแสดงแต่เงา คือพระองค์ทรงสร้างขึ้นด้วยพระฤทธิ์ แล้วทรงแสดงเพียงรูปเป็นเงาที่อยู่ในผ้านุ่ง รัดสายประคตไว้ แล้วห่มจีวรทับ. ราชา. เมื่อเห็นเงา ก็ชื่อว่าเห็นพระองคชาต มิใช่หรือครับ. นาค. ข้อนั้น ยกไว้ก่อนเถิด มหาบพิตร คนเราต้องดูหัวใจให้เห็นแล้ว จึงจะตรัสรู้ได้แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะต้องทรงเอาเนื้อหัวใจออกมาแสดงด้วยกระนั้นหรือ. ราชา. พระนาคเสน ท่านเก่งครับ. บทว่า นินฺนาเมตฺวา ได้แก่ ทรงยื่น (พระชิวหา) ออก. บทว่า ทรงสอด ได้แก่ ทรงสอดเข้าทำเหมือนสอดเข็มเย็บผ้ากฐินฉะนั้น. ก็ในข้อนั้นพึงทราบว่าประกาศความอ่อนด้วยการกระทำอย่างนั้น ประกาศความยาวด้วยการสอดเข้าช่องพระกรรณ ประกาศความบางด้วยการสอดเข้าช่องพระนาสิก ประกาศความใหญ่ด้วยการปิดพระนลาฏ. อนึ่ง ในคำว่า ช่องพระกรรณทั้งสอง เป็นต้นนี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า มลทินก็ดี สะเก็ดก็ดี ในช่องพระกรรณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี ย่อมเป็นเหมือนหลอดเงินที่เขาล้างแล้ววางไว้. ในช่องพระนาสิกก็เหมือนกัน. ก็แม้ช่องเหล่านั้น ย่อมเป็นเหมือนหลอดทองที่เขาทำการตระเตรียมไว้เป็นอันดีและเหมือนกับหลอดแก้วมณีฉะนั้น. เพราะฉะนั้น จึงทรงแลบพระชิวหาออกม้วนเข้าไปในที่สุดพระโอษฐ์ไปข้างบน กระทำดุจเข็มเย็บผ้ากฐิน สอดเข้าสู่ช่องพระกรรณข้างขวา นำออกจากช่องขวานั้น สอดเข้าทางช่องพระกรรณซ้าย. นำออกจากช่องพระกรรณซ้าย สอดเข้าช่องพระนาสิกขวา นำออกจากช่องพระนาสิกขวา สอดเข้าช่องพระนาสิกาซ้ายได้. ครั้นนำออกจากช่องพระนาสิกซ้ายแล้ว เมื่อจะแสดงความใหญ่ จึงปิดมณฑลพระนลาฏตลอดทั้งสิ้นด้วยพระชิวหา ซึ่งเป็นเหมือนสายฟ้าอันรุ่งเรืองด้วยผืนผ้ากัมพลแดง ดุจพระจันทร์ครึ่งซีก ถูกเมฆวลาหกสีแดงปิดไว้กึ่งหนึ่ง และประดุจแผ่นทองฉะนั้น. บทว่า ยนฺนูนาหํ ถามว่า เหตุไร อุตตรมาณพจึงคิด. ตอบว่า อุตตรมาณพคิดว่า ก็เราตรวจดูมหาปุริสลักษณะแล้ว กลับไป หากอาจารย์ถามว่า พ่ออุตตระ เจ้าเห็นมหาปุริสลักษณะแล้วหรือ ก็จักอาจบอกได้ว่า ขอรับ ท่านอาจารย์ แต่ถ้าอาจารย์จักถามเราว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำกิริยาเป็นเช่นไร เราก็ไม่อาจตอบคำถามนั้นได้ แต่เมื่อเราตอบว่า ไม่รู้ อาจารย์ก็โกรธว่าเราส่งเจ้าไป เพื่อให้ตรวจดูให้รู้ลักษณะทั้งหมดนี้ มิใช่หรือ เหตุไรยังไม่รู้ แล้วจึงกลับมาเล่า ฉะนั้น จึงคิดว่า ทำไฉนหนอ แล้วติดตามไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำโอกาสในที่ที่เหลือทั้งหลาย เว้นฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ ที่สรงน้ำ ที่ชำระพระโอษฐ์ ที่ชำระขัดสีพระวรกาย ที่ทรงประทับนั่งแวดล้อมด้วยนางห้ามของพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น โดยที่สุดแม้ในพระคันธกุฎีแห่งเดียว. เมื่อกาลล่วงไปผ่านไป ก็ปรากฏว่า ได้ยินว่า มาณพของพรหมายุพราหมณ์ชื่ออุตตระนี้ เที่ยวใคร่ครวญความเป็นพระพุทธเจ้าของพระตถาคตว่า เป็นพระพุทธเจ้าหรือมิได้เป็น มาณพอุตตระนี้ ชื่อว่าเป็นคนสอบสวนพระพุทธเจ้า. พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงประทับอยู่ในที่ใดๆ ย่อมเป็นอันทรงกระทำกิจ ๕ ประการทีเดียว กิจเหล่านั้นได้แสดงไว้แล้วในหนหลังนั่นเทียว. ในบรรดากิจเหล่านั้น ในเวลาปัจฉาภัตร เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งที่ธรรมาสน์ ที่เขาตกแต่งแล้วทรงจับพัดอันวิจิตรที่ขจิตด้วยงา แสดงธรรมแก่มหาชนอยู่ แม้อุตตรมาณพ ก็นั่งอยู่ ณ ที่ไม่ไกล. ในตอนสิ้นสุดการฟังธรรม พวกคนผู้มีศรัทธาก็นิมนต์พระมีพระภาคเจ้า เพื่อเสวยพระกระยาหาร อันจะมีในวันพรุ่งนี้ ก็เข้าไปหามาณพด้วยกล่าวอย่างนี้ว่า พ่อ พวกเรานิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ตัวท่านก็จงมารับภัตรในเรือนของพวกเราพร้อมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า. ในวันรุ่งขึ้น พระตถาคตเจ้าอันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว เสด็จเข้าไปสู่บ้าน. แม้อุตตรมาณพก็ติดสอยห้อยตามไปสำรวจ ทุกๆ ฝีก้าว. ในเวลาที่ทรงเข้าไปสู่เรือนแห่งตระกูล มาณพนั่งตรวจดูอยู่ทุกประการ ตั้งแต่การถือเอาน้ำเพื่อทักษิณาเป็นต้นไป. ในเวลาเสร็จภัตตกิจ ในเวลาพระตถาคตเจ้าประทับนั่ง วางบาตรไว้ ณ เชิงบาตร พวกคนก็จัดแจงอาหารเช้าแก่มาณพ. มาณพนั้นนั่งบริโภค ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง แล้วกลับมายืน ณ ที่ใกล้พระศาสดา ฟังภัตตานุโมทนา กลับไปยังวิหารพร้อมกับพระผู้มีพระภาคเจ้าทีเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรอให้ภิกษุทั้งหลายเสร็จภัตตกิจ ประทับนั่ง ณ ศาลาคันธมณฑลนั้น. ครั้นภิกษุทั้งหลายกระทำภัตตกิจเสร็จพากันเก็บบาตรและจีวรมาไหว้ กราบทูลกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จเข้าคันธกุฎี. แม้มาณพก็เข้าไปด้วยกันกับพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนที่หน้ามุขพระคันธกุฎี ทรงสั่งสอนหมู่ภิกษุที่มาแวดล้อมแล้วให้แยกย้ายกันไปแล้ว จึงเสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎี. มาณพก็เข้าไปด้วย พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงประทับนั่งที่เตียงเล็ก ชั่วเวลาเล็กน้อย. แม้มาณพก็นั่งพิจารณาดูอยู่ในที่ไม่ไกล. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งชั่วครู่หนึ่ง จึงทรงแสดงการก้มพระเศียร.๑- ____________________________ ๑- ฉ. สีโสกฺกมนํ สฺ สีโสกมฺปนํ มาณพคิดว่า จักเป็นเวลาประทับพักผ่อนของพระโคดมผู้เจริญ แล้วปิดประตู พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสำเร็จสีหไสยาสน์ชั่วครู่หนึ่ง ทรงลุกขึ้น ทรงกำหนดโดยส่วนเบื้องต้น เข้าสมาบัติ. ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ทราบว่ามหาชนพากันมา จึงทรงออกจากพระ ฝ่ายมาณพนั่งอยู่ ณ ที่ไม่ไกล กำหนดอักขระต่ออักขระบทต่อบท ด้วยคิดว่า พระสมณ มาณพกำหนดอยู่โดยทำนองนี้เที่ยวไปแต่ผู้เดียวตลอด ๗ เดือน มิได้เห็นความผิดพลาดแม้มีประมาณน้อยในกายทวารเป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็ข้อนี้ยังไม่น่าอัศจรรย์ ที่อุตตรมาณพเป็นมนุษย์มิได้เห็นความผิดพลาดของพระพุทธเจ้า. เมื่อพระองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์ เทพบุตรผู้เป็นมาร เป็นอมนุษย์ ก็มิได้เห็นแม้มาตรว่าตรึก (วิตก) อาศัยเรือนในสถานที่ทรงบำเพ็ญความเพียรถึง ๖ ปี ยังติดตามพระองค์ผู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วถึงหนึ่งปี ก็มิได้เห็นความผิดพลาดไรๆ จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า๒- เราติดตามรอยพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึง ๗ ปี ก็มิได้ประสบความผิดพลาดของพระสัมพุทธเจ้าผู้มีสติ ดังนี้ ____________________________ ๒- ขุ. สุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๓๕๕ แล้วหลีกไป. แต่นั้น มาณพจึงคิดว่า เราติดตามพระโคดมผู้เจริญอยู่ถึง ๗ เดือน ก็มิได้เห็นโทษไรๆ แต่ถ้าเราจะพึงติดตามไป แม้อีกสัก ๗ เดือน หรือ ๗ ปี หรือ ๑๐๐ ปี หรือ ๑,๐๐๐ ปี ก็คงจะมิได้เห็นโทษของพระองค์ ก็แต่ว่าอาจารย์ของเรานั้นก็แก่เฒ่า คงจะไม่อาจทราบความเกษมจากโยคะ เราจะบอกว่า พระสมณโคดมเป็นพระพุทธเจ้า ด้วยพระคุณตามที่เป็นจริงทีเดียว แล้วเล่าเรื่องแก่อาจารย์ของเรา ดังนี้ แล้วทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้า ไหว้ภิกษุสงฆ์ออกไปแล้ว. ก็แล อุตตรมาณพกลับไปยังสำนักของอาจารย์แล้ว ถูกอาจารย์ถามว่า พ่ออุตตระ กิตติ ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุปติฏฺฐิตปาโท ความว่า เหมือนอย่างว่า บุคคลทั้งหลายเหล่าอื่นวางเท้าไว้เหนือพื้นดิน ปลายเท้าก็ดี ส้นเท้าก็ดี ด้านข้างก็ดี จะถูกพื้นก่อน หรือว่า กลางเท้าเว้า เมื่อยกขึ้น ส่วนหนึ่งที่ปลายเท้าเป็นต้น จะยกขึ้นก่อน แต่ของพระองค์มิได้เป็นอย่างนั้น. ฝ่าพระบาททั้งสิ้นของพระองค์ จะถูกพื้นพร้อมกันทีเดียว ดุจพื้นลาดพระบาททอง ฉะนั้น ยกจากพื้นก็พร้อมกัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้นมีพระบาทประดิษฐานอยู่เป็นอันดี. ในข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดีนั้น มีข้อที่น่าอัศจรรย์ดังต่อไปนี้ แม้หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่างพระบาทด้วยตั้งพระทัยว่า เราจักเหยียบเหวลึกถึงหลายร้อยชั่วคน ในทันใดนั้น ที่ที่ลุ่มก็จะนูนขึ้นมาเสมอแผ่นดิน ประดุจเครื่องสูบของช่างทองเต็มด้วยลมฉะนั้น. แม้ที่ดอนจะเข้าไปอยู่ภายใน เมื่อทรงย่างพระบาทด้วยตั้งพระทัยว่า เราจักเหยียบในที่ไกล ภูเขาแม้มีประมาณเท่าสิเนรุบรรพต ก็จะน้อมมาใกล้พระบาท ประดุจหน่อหวายที่ชุ่มน้ำแล้วฉะนั้น. จริงอย่างนั้น เมื่อคราวพระองค์ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ ทรงย่างพระบาทด้วยตั้งพระทัยว่าจักเหยียบภูเขายุคนธร ภูเขาก็น้อมมาใกล้พระบาท. พระองค์ทรงเหยียบภูเขานั้น ทรงย่างพระบาทเหยียบภพดาวดึงส์ด้วยพระบาทที่สอง. ที่พระจักรลักษณะจะพึงประดิษฐานไม่เสมอกันมิได้มี. ตอก็ดี หนามก็ดี ก้อนกรวดกระเบื้องก็ดี อุจจาระปัสสาวะก็ดี น้ำลายน้ำมูกเป็นต้นก็ดี ที่มีอยู่ก่อนเทียว ก็หายไป หรือจมหายเข้าแผ่นดินในที่นั้นๆ. จริงอยู่ ด้วยเดชแห่งศีล ปัญญา ธรรม อานุภาพแห่งบารมี ๑๐ ประการ ของพระตถาคตเจ้า มหาปฐพีนี้ย่อมเสมอ นุ่ม เกลื่อนกล่นด้วยบุปผชาติ. พระตถาคตเจ้าทรงทอดพระบาทเสมอ (และ) ทรงยกพระบาทเท่ากัน ทรงสัมผัสแผ่นดินด้วยพื้นพระบาททุกส่วน. บทว่า จกฺกานิ คือ ที่พระบาททั้ง ๒ ได้มีลายจักรข้างละ ๑ ลายจักร. ท่านกล่าวไว้ในพระบาลีว่า ที่จักรนั้นมีกำ กง ดุม. ก็และด้วยบทว่า บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง นี้พึงทราบความต่างกัน ดังต่อไปนี้. ได้ยินว่า จักรเหล่านั้นย่อมปรากฏลายดุมตรงกลางพื้นพระบาท. ปรากฏลายเขียนวงกลมรอบดุม. ที่ปากดุมก็ปรากฏวงกลม. ปรากฏเป็นปากช่อง. ปรากฏเป็นซี่กำ. ปรากฏเป็นลวดลายกลมที่กำทั้งหลาย. ปรากฏเป็นกง. ปรากฏเป็นกงแก้ว. นี้มาตามพระบาลีก่อนทีเดียว. แต่วาระส่วนมากมิได้มาแล้ว. ก็วาระนั้น พึงทราบดังนี้. รูปหอก ๑ รูปโคขวัญ ๑ รูปแว่นส่องพระพักตร์ ๑ รูปสังข์ทักษิณาวัฏฏ์ ๑ รูปดอกพุดซ้อน ๑ รูปเทริด ๑ รูปปลาทั้งคู่ ๑ รูปเก้าอี้ ๑ รูปปราสาท ๑ รูปเสาค่าย ๑ รูปเศวตฉัตร ๑ รูปพระขรรค์ ๑ รูปพัดใบตาล ๑ รูปพัดหางนกยูง ๑ รูปพัดหางนก ๑ รูปกรอบพระพักตร์ ๑ รูปธงชายผ้า ๑ รูปพวงดอกไม้ ๑ รูปดอกบัวเขียว ๑ รูปดอกบัวขาว ๑ รูปดอกบัวแดง ๑ รูปดอกบัวหลวง ๑ รูปดอกบุณฑริก ๑ รูปหม้อเต็มด้วยน้ำ ๑ รูปถาดเต็มด้วยน้ำ ๑ รูปสมุทร ๑ รูปเขาจักรวาฬ ๑ รูปป่าหิมพานต์ ๑ รูปเขาสิเนรุ ๑ รูปพระจันทร์ ๑ รูปพระอาทิตย์ ๑ รูปหมู่ดาวนักษัตร ๑ รูปมหาทวีปทั้งสี่ ทวีปน้อย ๒ พัน ๑. โดยที่สุดบริวารแห่งจักรลักษณะทั้งสิ้น หมายเอาบริษัทของพระเจ้าจักรพรรดิ. บทว่า มีพระส้นยาว คือ พระส้นยาว หมายความว่า มีพระส้นบริบูรณ์. เหมือนอย่างว่าปลายเท้าของคนเหล่าอื่นยาว แข้งตั้งอยู่ ณ ที่สุดส้นเท้า ส้นย่อมปรากฏดุจถากตั้งไว้ แต่ของพระตถาคตเจ้าไม่เป็นอย่างนั้น. สำหรับของพระตถาคตเจ้าใน ๔ ส่วน เป็นปลายเท้าเสีย ๒ ส่วน. แข้งตั้งอยู่ส่วนที่สาม. ในส่วนที่ ๔ ส้นเท้าเป็นเช่นกับลูกกลมทำด้วยผ้ากัมพลแดง ดุจหมุนติดอยู่ปลายเหล็กแหลมฉะนั้น. บทว่า มีพระองคุลียาว ความว่า เหมือนอย่างว่า คนเหล่าอื่นบางคนนิ้วยาว บางคนนิ้วสั้น ของพระตถาคตเจ้าไม่เป็นอย่างนั้น. ส่วนของพระตถาคตเจ้า นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทยาวโคนหนาเรียวเล็กขึ้นไปโดยลำดับจนถึงปลาย ดุจนิ้ววานร เป็นดุจลำเทียนที่ขยำด้วยน้ำมันยางไม้ปั้นไว้. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า พระองคุลียาว. บทว่า ทรงมี บทว่า ทรงมีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทเป็นลายตาข่าย ได้แก่ ระหว่างนิ้วไม่ติดกับหนัง. ก็บุคคลเช่นนี้มีมือดุจพังพานอันปุริสโทษขจัดเสียแล้ว ย่อมไม่ได้แม้การบรรพชา. แต่ของพระตถาคตเจ้านิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ นิ้วพระบาททั้ง ๕ มีขนาดเป็นอันเดียวกัน. เพราะนิ้วเหล่านั้นมีขนาดเป็นอันเดียวกัน ลักษณะจึงเบียดซึ่งกันและกันตั้งอยู่. ก็พระหัตถ์และพระบาทของพระตถาคตเจ้านั้น เช่นกับตาข่ายบานประตูหน้าต่างที่ช่างไม้ผู้ฉลาดขึงประกอบไว้. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทเป็นลายตาข่าย. ชื่อว่า ทรงมีพระบาทสูงนูน เพราะอรรถว่าพระบาทของพระองค์สูงนูน เพราะมีข้อพระบาทตั้งอยู่ในเบื้องบน. แท้จริง ข้อเท้าของคนเหล่าอื่นมีที่หลังเท้า. เพราะฉะนั้น เท้าของคนเหล่าอื่น กระด้างเหมือนตอกลิ่ม ไม่หมุนได้ตามสะดวก. เมื่อเดินไปพื้นเท้าไม่ปรากฏ. แต่ของพระตถาคตเจ้า ข้อพระบาทขึ้นอยู่เบื้องบน. เพราะฉะนั้น พระกายเบื้องบนของพระองค์ตั้งแต่พระนาภีไป จึงไม่หวั่นไหวดุจสุวรรณปฏิมาที่อยู่บนเรือ พระกายเบื้องล่างเท่านั้นไหว. พระบาทย่อมหมุนไปสะดวก. เมื่อคนยืนดูที่ข้างหน้าก็ดี ข้างหลังก็ดี ที่ข้างทั้งสองก็ดี พื้นเท้าย่อมปรากฏ. ไม่ปรากฏข้างหลังเหมือนของช้างฉะนั้น. บทว่า ทรงมีพระชงฆ์เรียวดังแข้งเนื้อทราย คือมีพระชงฆ์เต็ม เพราะความนูนของเนื้อชื่อว่ามีพระชงฆ์เหมือนเนื้อทราย ไม่มีเนื้อเป็นก้อนติดเป็นอันเดียวกัน. หมายความว่า ประกอบด้วยแข้งที่มีเนื้อได้ส่วนกันหุ้มแล้ว กลมดีเช่นกับท้องข้าวสาลีฉะนั้น. บทว่า อโนนมนฺโต คือ ไม่ค้อมลง. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงถึงความที่พระองค์ไม่เป็นคนแคระไม่เป็นคนค่อม. คือ คนอื่นๆ เป็นคนแคระก็มี เป็นคนค่อมก็มี. กายข้างหน้าของคนแคระไม่บริบูรณ์. กายท่อนหลังของคนค่อมไม่บริบูรณ์. คนเหล่านั้นก้มลงไม่ได้ ไม่อาจจะลูบเข่าได้ เพราะกายไม่บริบูรณ์. สำหรับพระตถาคตเจ้า ชื่อว่าอาจลูบได้ เพราะมีพระกายทั้งสองแห่งบริบูรณ์. ชื่อว่า ทรงมีพระคุยหฐานเร้นอยู่ในฝัก เพราะอรรถว่า คุยหฐานตั้งลง คือปิดอยู่ในฝัก เช่นกับฝักปทุมทองและดอกกรรณิการ์ เหมือนคุยหฐานของโคอุสภะและช้างเป็นต้น. บทว่า วตฺถคุยฺหํ ได้แก่ สิ่งที่จะพึงซ่อนเร้นด้วยผ้าท่านเรียกว่า องคชาต. บทว่า ทรงมีพระฉวีวรรณดังทองคำ ความว่า เช่นกับรูปเปรียบทองคำแท่งที่เขาระบายด้วยชาดแดง ขัดด้วยเขี้ยวเสือ ทำการระบายสีแดงวางไว้. ด้วยคำนี้ ท่านพระสังคีติกาจารย์แสดงความที่พระองค์มีสรีระละเอียดสนิทเป็นแท่งแล้ว จึงกล่าวว่า ทรงมีผิวพรรณผ่องใสดุจทอง ก็เพื่อแสดงถึงพระฉวีวรรณ. อีกนัยหนึ่ง คำนี้เป็นไวพจน์ของคำก่อนนั้น. บทว่า รโชชลฺลํ ได้แก่ ธุลีหรือมลทิน. บทว่า น อุปลิมฺปติ ได้แก่ ไม่ติด ย่อมหายไปเหมือนหยาดน้ำกลิ้งไปจากใบบัว. ถึงกระนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงกระทำการล้างพระหัตถ์และล้างพระบาทเป็นต้น เพื่อรับไออุ่นและเพื่อผลบุญแก่ทายกทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมทรงกระทำโดยเป็นกิจวัตรทีเดียว. ธรรมดาภิกษุผู้จะเข้าสู่เสนาสนะจะต้องล้างเท้าแล้ว จึงเข้าไป ท่านกล่าวไว้เช่นนี้ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อุทฺธคฺคโลโม ความว่า ชื่อว่ามีพระโลมาปลายงอนขึ้น เพราะอรรถว่าพระโลมาของพระองค์มีปลายตั้งขึ้น ที่ปลายผมเป็นม้วนกลมตั้งอยู่เหมือนจะมองดูความงามแห่งดวงหน้า. บทว่า ทรงมีพระกายตรงดังพรหม ความว่า มีพระกายตรงดุจพรหม คือมีพระสรีระสูงขึ้นไปตรงทีเดียว. ธรรมดาสัตว์โดยมากจะน้อมลงในที่ ๓ แห่งคือ ที่คอ ที่สะเอว ที่เข่า. คนเหล่านั้น เมื่อน้อมไปที่สะเอว ก็จะเอนไปข้างหลัง. ที่น้อมไปที่ที่ทั้งสองนอกนี้ก็จะเอนไปข้างหน้า. บางพวกมีร่างกายสูง มีสีข้างคด. บางพวกหน้าเชิดเที่ยวไป เหมือนคอยนับหมู่ดาวนักษัตรอยู่. บางพวกมีเนื้อและเลือดน้อย ดุจหลาว เดินสั่นอยู่. แต่พระตถาคตเจ้าตรงขึ้นไปสูงพอประมาณ เป็นเหมือนเสาค่ายทองที่เขายกขึ้น ณ เทพนครฉะนั้น. .. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค พรหมายุสูตร พรหมายุพราหมณ์ต้องการเฝ้าพระพุทธเจ้า |