ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 128อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 131อ่านอรรถกถา 18 / 140อ่านอรรถกถา 18 / 803
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ ฉฬวรรคที่ ๕
๒. สังคัยหสูตรที่ ๒

               อรรถกถาทุติยสังคัยหสูตรที่ ๒               
               ในทุติยสังคัยหสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า มาลุกฺยปุตฺโต ได้แก่ บุตรของนางมาลุกยพราหมณี.
               บทว่า เอตฺถ ได้แก่ ในการขอโอวาทนั้นก่อน, ทรงติเตียนบ้าง ทรงปลอบบ้างซึ่งพระเถระด้วยเหตุนี้.
               อย่างไร.
               คือ ได้ยินว่า พระเถระนั้นในเวลาเป็นหนุ่ม มัวเมาในรูปารมณ์เป็นต้น ภายหลังในเวลาแก่ ปรารถนาอยู่ป่า จึงขอกรรมฐาน. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสโดยพระประสงค์ดังนี้ว่า เราจักกล่าวกะภิกษุหนุ่มๆ ในที่นี้ พวกเธอประมาทในเวลาที่เขาหนุ่ม ในเวลาแก่พึงเข้าป่ากระทำสมณธรรมเหมือนพระมาลุกยบุตร ชื่อว่าทรงติเตียนพระเถระ.
               ก็เพราะเหตุที่พระเถระประสงค์จะเข้าป่าทำสมณธรรม แม้ในเวลาที่ตนแก่ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสโดยพระประสงค์ดังนี้ว่า เราจักกล่าวกะภิกษุหนุ่มๆ ในที่นี้อย่างไร มาลุกยบุตรของเรานี้ แม้ในเวลาแก่ก็ประสงค์จะเข้าป่าทำสมณธรรม จึงขอกรรมฐาน ธรรมดาว่าพวกท่านแม้ในเวลาเป็นหนุ่ม จะไม่กระทำความเพียรกันหรือ ชื่อว่าทรงปลอบพระเถระ.
               บทว่า ยตฺร หิ นาม ได้แก่ โย นาม.
               บทว่า กิญฺจาปิหํ ความว่า พระเถระเมื่อจะหนุน ความเป็นคนแก่ และสรรเสริญพระโอวาทด้วยมีประสงค์ว่า ทรงรู้ว่าเราเป็นคนแก่ก็จริง ถ้าเราเป็นคนแก่ ยังจักสามารถกระทำสมณธรรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด จึงได้กล่าวอย่างนั้น.
               บทว่า อทิฏฺฐา อทิฏฺฐปุพฺพา ความว่า ไม่เห็นในอัตภาพนี้ แม้ในอัตภาพอันเป็นอดีตก็ไม่เคยเห็น.
               บทว่า น จ ปสฺสติ ความว่า แม้ในบัดนี้ ท่านก็ไม่เห็น.
               ด้วยบทว่า น จ เต โหนฺติ ปสฺเสยฺยํ ความว่า ทรงถามว่า แม้การรวบรวมใจอย่างนี้ไม่มีแก่ท่านในที่ใด ฉันทะเป็นต้นพึงเกิดแก่ท่านในที่นั้นบ้างหรือ.
               บทว่า ทิฏฺเฐ ทิฏฺฐมตฺตํ ความว่า รูปายตนะที่จักขุวิญญาณเห็นแล้ว ก็จักเป็นสักว่าเห็น.
               จริงอยู่ จักขุวิญญาณย่อมเห็นสักว่ารูปในรูปเท่านั้น ย่อมไม่เห็นสภาวะว่าเที่ยงเป็นต้น. อธิบายว่า รูปายตนะนี้จักเป็นสักว่าอันเราเห็นแล้ว แม้ด้วยวิญญาณที่เหลือเท่านั้น.
               อีกนัยหนึ่ง จักขุวิญญาณ ชื่อว่าเห็นแล้วในรูปที่เห็นแล้ว. อธิบายว่า ย่อมรู้แจ้งในรูปว่าเป็นรูป.
               บทว่า มตฺตา แปลว่า ประมาณ.
               ธรรมชาติ ชื่อว่าทิฏฐมัตตะ เพราะสักว่าเห็น ได้แก่จิต. อธิบายว่า จิตของเราจักเป็นเพียงจักขุวิญญาณนั่นเอง.
               คำนี้ ท่านอธิบายไว้ว่า จักขุวิญญาณย่อมไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลงในรูปารมณ์ที่มาปรากฏ โดยประการใด ชวนจิตก็จักเป็นเพียงจักขุวิญญาณเท่านั้น ในเพราะเว้นจากราคะเป็นต้น โดยประการนั้น เราจักตั้งชวนจิต โดยสักว่าจักขุวิญญาณเท่านั้น.
               อีกอย่างหนึ่ง รูปที่จักขุวิญญาณเห็นแล้ว ชื่อว่า เห็นแล้ว (ทิฏฺฐํ). เพราะเห็นแล้ว ชื่อว่าสักว่าเห็น. จิต ๓ ดวง คือ สัมปฏิจฉนะ สันตีรณะและโวฏฐัพพนะที่เกิดขึ้นแล้วในเพราะการเห็นแล้วนั่นแหละ ก็ชื่อว่าที่เห็นแล้วสักแต่ว่าเห็น.
               ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า
               จักขุวิญญาณย่อมไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลง ซึ่งรูปนั้นฉันใด เมื่อรูปมาสู่คลอง (จักขุทวาร) ก็ฉันนั้น เราจักให้ชวนจิตเกิดขึ้นโดยประมาณแห่งสัมปฏิจฉนจิตเป็นต้นนั้น นั่นเองปรากฏ ไม่ให้ก้าวล่วงประมาณนั้นของสัมปฏิจฉนจิตเป็นต้นนั้นไป. เราจักไม่ให้ชวนะเกิดขึ้นด้วยอำนาจความกำหนัดเป็นต้น.
               แม้ในคำว่า ได้ยินแล้ว (สุตํ) ทราบแล้ว (มุตํ) รู้สักว่ารู้ (วิญฺญาเณ วิญฺญาณมตฺตํ) ก็นัยเดียวกันนี้. อารมณ์ที่มโนทวาราวัชชนะรู้แล้ว ชื่อว่าเป็นอันรู้แล้ว (วิญฺญาตํ) ในคำว่า วิญฺญาเต วิญฺญาตมตฺตํ นี้ ชื่อว่าอาวัชนประมาณ เพราะรู้แล้วก็สักว่ารู้แล้ว. ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า เราจักไม่ให้จิตเกิดขึ้นด้วยอำนาจความกำหนัดเป็นต้น แล้วตั้งจิตไว้โดยประมาณแห่งอาวัชชนจิตเท่านั้น โดยประการที่ชวนะจักไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลง.
               บทว่า ยโต แปลว่า ในกาลใด. บทว่า ตโต แปลว่า ในกาลนั้น.
               บทว่า น เตน ความว่า จักเป็นผู้ไม่กำหนัดด้วยราคะ ไม่ขัดเคืองด้วยโทสะ ไม่หลงด้วยโมหะนั้น.
               บทว่า ตโต ตฺวํ มาลุกฺยปุตฺต น ตตฺถ ความว่า ในกาลใดท่านจักเป็นผู้ไม่ชื่อว่ากำหนัดด้วยราคะ ไม่ขัดเคืองด้วยโทสะ ไม่หลงด้วยโมหะ ในกาลนั้นท่านจักเป็นผู้ไม่ชื่อว่าพัวพัน ติดอยู่ ตั้งอยู่ในรูปารมณ์ที่จักขุวิญญาณเห็นแล้ว ในสัททารมณ์ที่โสตวิญญาณ ได้ยินแล้ว ในคันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ที่ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณและกายวิญญาณทราบแล้ว และธรรมารมณ์ที่มโนวิญญาณรู้แจ้งแล้ว.
               บทว่า เนวิธ เป็นต้น มีอรรถดังกล่าวแล้วนั่นแล.
               บทว่า สติ มุฏฺฐา ได้แก่ สติหายไปแล้ว.
               บทว่า ตญฺจ อชฺโฌสา ได้แก่ กลิ่นอารมณ์นั้น.
               บทว่า อภิชฺฌา จ วิเหสา จ ได้แก่ อภิชฌา ความเพ่งอยากได้และวิเหสา ความคิดเบียดเบียน. อีกอย่างหนึ่ง ๒ บทนั้น พึงประกอบเข้ากับบทว่า ตสฺส วฑฺฒนฺติ. อธิบายว่า ธรรมทั้ง ๒ แม้นี้ คืออภิชฌาและวิเหสาย่อมเจริญแก่เขา.
               บทว่า จิตฺตมสฺสูปหญฺญติ ความว่า จิตของเขาย่อมถูกอภิชฌาและวิเหสา เข้ากำจัด.
               บทว่า อาจินโต แปลว่า สั่งสมอยู่.
               บทว่า อารา นิพฺพาน วุจฺจติ ความว่า ชื่อว่านิพพานของบุคคลเห็นปานนี้ ท่านกล่าวว่าอยู่ไกล.
               บทว่า ฆาตฺวา แปลว่า สูดแล้ว.
               บทว่า โภตฺวา ได้แก่ บริโภคแล้ว ลิ้มแล้ว เลียแล้ว.
               บทว่า ผุสฺส แปลว่า ถูกต้องแล้ว (กระทบแล้ว)
               บทว่า ปฏิสฺสโต ได้แก่ประกอบด้วยสติ กล่าวคือสติมั่นคง.
               บทว่า เสวโต จาปิ เวทนํ ได้แก่ เสพอยู่ซึ่งเวทนาอันเป็นโลกุตตระที่เกิดแล้ว อันสัมปยุตด้วยมรรค ๔.
               บทว่า ขิยฺยติ ได้แก่ ถึงความสิ้นไป.
               ข้อนั้นคืออะไร. คือ ทุกข์บ้าง กิเลสชาตบ้าง.
               บทว่า อญฺญตโร ได้แก่ เป็นรูปหนึ่งในจำนวนพระอสีติมหาสาวก. ดังนั้น จึงตรัสเฉพาะวัฏฏะและวิวัฏฏะเท่านั้น แม้ด้วยพระคาถาทั้งหลายในพระสูตรนี้.

               จบอรรถกถาทุติยสังคัยหสูตรที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ ฉฬวรรคที่ ๕ ๒. สังคัยหสูตรที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 128อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 131อ่านอรรถกถา 18 / 140อ่านอรรถกถา 18 / 803
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=1788&Z=1931
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=692
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=692
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๔  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :