บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
[ว่าด้วยการจัดขบวนทัพสมัยโบราณ] คำว่า อุยโยธิกะ นี้ เป็นชื่อแห่งที่สัมประหารกัน (ยุทธภูมิหรือสมรภูมิ). พวกชนย่อมรู้จักที่พักของพลรบ ณ ที่นี้ ฉะนั้น ที่นั้นจึงชื่อว่า ที่พักพล. ได้ความว่า สถานที่ตรวจพล. การจัดขบวนทัพ ชื่อว่า เสนาพยูหะ. คำว่า เสนาพยูหะ นี้เป็นชื่อแห่งการจัดขบวนทัพ. ข้อว่า กองทัพช้างอย่างต่ำมีช้าง ๓ เชือก นั้นได้แก่ ช้าง ๓ เชือกรวมกับช้างเชือกที่มีทหารประจำ ๑๒ คน ดังกล่าวแล้วในเบื้องต้น. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้นั่นแล. คำที่เหลือพร้อมด้วยสมุฏฐานเป็นต้น. บัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในอุยยุตตสิกขาบทนั่นแล. อุยโยธิกสิกขาบทที่ ๑๐ จบ อเจลกวรรคที่ ๕ จบบริบูรณ์ตามวรรณนานุกรม. ------------------------------------------------------------ ๒. อุยโยชนสิกขาบท ว่าด้วยบอกให้กลับ ๓. สโภชนสิกขาบท ว่าด้วยนั่งแทรกแซง ๔. ปฐมานิยตสิกขาบท ว่าด้วยนั่งในที่กำบัง ๕. ทุติยานิยตสิกขาบท ว่าด้วยนั่งในที่ลับ ๖. จาริตตสิกขาบท ว่าด้วยรับนิมนต์แล้วไปฉันที่อื่น ๗. มหานามสิกขาบท ว่าด้วยปวารณาด้วยปัจจัย ๘. อุยยุตตสิกขาบท ว่าด้วยไปดูกองทัพ ๙. เสนาวาสสิกขาบท ว่าด้วยอยู่ในกองทัพ ๑๐. อุยโยธิกสิกขาบท ว่าด้วยไปสู่สนามรบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ อเจลกวรรคที่ ๕ สิกขาบทที่ ๑๐ จบ. |