ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 5อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 6อ่านอรรถกถา 21 / 7อ่านอรรถกถา 21 / 274
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ภัณฑคามวรรคที่ ๑
๖. อัปปสุตสูตร

               อรรถกถาอัปปสุตสูตรที่ ๖               
               พึงทราบวินิจฉัยในอัปปสุตสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า อนุปปนฺโน แปลว่า ไม่เข้าถึง.
               ในบทมีอาทิว่า สุตฺตํ นี้ อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกปริวาร สุตตนิบาต มงคลสูตร รตนสูตร นาลกสูตร ตุวฏกสูตร พระดำรัสของพระตถาคตแม้อื่นมี ชื่อว่าสูตร พึงทราบว่า สูตร.
               พระสูตรที่มีคาถาแม้ทั้งหมด อภิธรรมปิฎกแม้ทั้งสิ้น สูตรที่ไม่มีคาถา พระพุทธพจน์แม้อื่นที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับองค์ ๘ เหล่านั้น พึงทราบว่า เวยยากรณะ.
               ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถาและคาถาล้วนไม่มี ชื่อพระสูตรในสุตตนิบาต พึงทราบว่า คาถา.
               พระสูตร ๘๒ สูตรที่ประกอบด้วยคาถาอันสำเร็จมาแต่โสมนัสญาณ พึงทราบว่า อุทาน.
               พระสูตร ๑๑๐ สูตรอันเป็นไปโดยนัยเป็นอาทิว่า วุตฺตมิทํ ภควตา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ พึงทราบว่า อิติวุตตกะ.
               ชาดก ๕๕๐ ชาดกมีอปัณณกชาดกเป็นต้น พึงทราบว่า ชาดก.
               พระสูตรที่ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยมี แม้ทั้งหมดอันเป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัจฉริยอัพภูตธรรม ๔ ของเรามีอยู่ พึงทราบว่า อัพภูตธรรม.
               พระสูตรแม้ทั้งปวงที่ถามแล้วได้ความรู้และความยินดีมีจูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัญหสูตร สังขารภาชนิยสูตร มหาปุณณมสูตรเป็นต้น พึงทราบว่า เวทัลละ.
               บทว่า น อตฺถมญฺญาย ธมฺมมญฺญาย ความว่า ไม่รู้อรรถกถาและบาลี.
               บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ความว่า ย่อมไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่โลกุตรธรรม ๙ คือข้อปฏิบัติเบื้องต้น พร้อมทั้งศีล.
               พึงทราบเนื้อความในทุกวาระโดยอุบายนี้. ส่วนวาระที่หนึ่ง ในพระสูตรนี้ ตรัสถึงบุคคลผู้มีสุตะน้อยแต่ทุศีล. ในวาระที่สอง ตรัสถึงบุคคลผู้มีสุตะน้อยแต่เป็นพระขีณาสพ. ในวาระที่สาม ตรัสถึงบุคคลผู้มีสุตะมากแต่ทุศีล. ในวาระที่สี่ ตรัสถึงบุคคลผู้มีสุตะมากทั้งเป็นพระขีณาสพ.
               บทว่า สีเลสุ อสมาหิโต ความว่า ไม่ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย.
               บทว่า สีลโต จ สุเตน จ ความว่า นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมติเตียนผู้นั้น ทั้งโดยส่วนศีล ทั้งโดยส่วนสุตะ อย่างนี้ว่า คนนี้ทุศีล มีสุตะน้อย.
               บทว่า ตสฺส สมฺปชฺชเต สุตํ ความว่า สุตะของบุคคลนั้น ชื่อว่าสมบูรณ์ เพราะเหตุที่กิจคือสุตะอันเขาทำแล้วด้วยสุตะนั้น.
               บทว่า นาสฺส สมฺปชฺชเต ความว่า สุตกิจ ชื่อว่าไม่สมบูรณ์ เพราะกิจคือสุตะอันเขามิได้ทำ.
               บทว่า ธมฺมธรํ ได้แก่ เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้.
               บทว่า สปฺปญฺญํ ได้แก่ มีปัญญาดี.
               บทว่า เนกฺขํ ชมฺโพนทสฺเสว ความว่า ทองคำธรรมชาติ เขาเรียกว่าชมพูนุท ดุจแท่งทองชมพูนุทนั้น คือดุจลิ่มทองเนื้อ ๕.

               จบอรรถกถาอัปปสุตสูตรที่ ๖               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ภัณฑคามวรรคที่ ๑ ๖. อัปปสุตสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 5อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 6อ่านอรรถกถา 21 / 7อ่านอรรถกถา 21 / 274
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=134&Z=164
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6518
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6518
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :