บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] หน้าต่างที่ ๗ / ๙. ข้อความเบื้องต้น พระเถระกายเน่า ต่อมา ในกาลเป็นส่วนอื่น กระดูกของท่านแตกแล้ว. ท่านได้เป็นผู้ที่ใครๆ ปฏิบัติไม่ได้. ผ้านุ่งและผ้าห่มเปื้อนด้วยหนองและเลือด ได้เป็นเช่นกับขนมร่างแห. พวกภิกษุมีสัทธิวิหาริกเป็นต้นไม่อาจจะปฏิบัติได้ (จึงพากัน) ทอดทิ้งแล้ว. ท่านเป็นผู้ไม่มีที่ พึ่งนอน (แซ่ว) แล้ว. พระพุทธเจ้าทรงพยาบาลและทรงแสดงธรรม ก็ในสมัยนั้น พระปูติคัตตติสสเถระปรากฏแล้วภายในข่าย คือพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของติสสภิกษุ ทรงดำริว่า ภิกษุนี้ถูกพวกสัทธิวิหาริกเป็นต้นทอดทิ้งแล้ว, บัดนี้ เธอยกเว้นเราเสีย ก็ไม่มีที่พึ่งอื่น ดังนี้แล้ว จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เหมือนเสด็จเที่ยวจาริกในวิหาร เสด็จไปสู่โรงไฟ ทรงล้างหม้อ ใส่น้ำ ยกตั้งบนเตา เมื่อทรงรอให้น้ำร้อน ได้ประทับยืนในโรงไฟนั่นเอง, ทรงรู้ความที่น้ำร้อนแล้ว เสด็จไปจับปลายเตียงที่ติสสภิกษุนอน. ในกาลนั้น พวกภิกษุกราบทูลว่า ขอพระองค์จงเสด็จหลีกไป พระเจ้าข้า พวก ____________________________ ๑- สำนวนภาษามคธใช้ คหธาตุ. พระศาสดาทรงให้นำรางมา ทรงเทน้ำร้อน (ใส่) แล้ว ทรงสั่งภิกษุเหล่านั้นให้ (เปลื้อง) เอาผ้าห่มของเธอ ให้ขยำด้วยน้ำร้อน แล้วให้ผึ่งแดด. ลำดับนั้น พระศาสดาประทับยืนอยู่ในที่ใกล้ของเธอ ทรงรดสรีระนั้นให้ชุ่มด้วยน้ำอุ่น ทรงถูสรีระของเธอ ให้เธออาบแล้ว. ในที่สุดแห่งการอาบของเธอ, ผ้าห่มนั้นแห้งแล้ว. ทีนั้น พระศาสดาทรงช่วยเธอให้นุ่งผ้าห่มนั้น ทรงให้ขยำผ้ากาสาวะที่เธอนุ่งด้วยน้ำ แล้วให้ผึ่งแดด. ทีนั้น เมื่อน้ำที่กายของเธอพอขาด (คือแห้ง) ผ้านุ่งนั้นก็แห้ง. เธอนุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง ห่มผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง เป็นผู้มีสรีระเบา มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง นอนบนเตียงแล้ว. พระศาสดาประทับยืน ณ ที่เหนือศีรษะของเธอ ตรัสว่า ภิกษุ กายของเธอนี้ มีวิญญาณไปปราศแล้ว หาอุปการะมิได้ จักนอนบนแผ่นดิน เหมือนท่อนไม้ ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
แก้อรรถ ด้วยบทว่า ฉุฑฺโฑ พระศาสดาทรงแสดงเนื้อความว่า กายนี้ จักเป็นของชื่อว่าเปล่า เพราะความมีวิญญาณไปปราศ ถูกทอดทิ้งแล้วนอน. เหมือนอะไร? เหมือนท่อนไม้ ไม่มีประโยชน์. อธิบายว่า เหมือนท่อนไม้อันไร้อุปการะ ไม่มีประโยชน์, จริงอยู่ พวกมนุษย์ผู้มีความต้องการด้วยทัพสัมภาระ เข้าไปสู่ป่าแล้ว ตัดไม้ตรงโดยสัณฐานแห่งไม้ตรง ไม้คดโดยสัณฐานแห่งไม้คด ถือเอา (เป็น) ทัพสัมภาระ, แต่ตัดไม้เป็นโพรง ไม้ผุ ไม้ไม่มีแก่น ไม้เกิดเป็นตะปุ่มตะป่ำที่เหลือ ทิ้งไว้ในป่านั้นนั่นเอง มนุษย์พวกอื่นผู้มีความต้องการด้วยทัพสัมภาระมาแล้ว ชื่อว่าหวังถือเอาชิ้นไม้ที่ถูกทิ้งไว้นั้น ย่อมไม่มี, มนุษย์เหล่านั้นแลดูไม้นั้นแล้ว ย่อมถือเอาไม้ที่เป็นอุปการะแก่ตนเท่านั้น; ไม้นอกนี้ ย่อมเป็นไม้ถมแผ่นดิน๑- อย่างเดียว, ก็ไม้นั้นพึงเป็นไม้แม้ที่ใครๆ อาจจะทำเชิงรองเตียงหรือเขียงเท้า หรือว่าตั่งแผ่นกระดานด้วยอุบายนั้นๆ ได้; ส่วนว่า บรรดาส่วน ๓๒ ในอัตภาพนี้ แม้ส่วนหนึ่ง ชื่อว่าเข้าถึงความเป็นของที่จะพึงถือเอาได้ ด้วยสามารถแห่งอุปกรณ์วัตถุมีเชิงรองเตียงเป็นต้น หรือด้วยมุขเป็นอุปการะอย่างอื่น ย่อมไม่มี กายนี้มีวิญญาณไปปราศแล้ว ต่อวันเล็กน้อยเท่านั้น ก็จักต้องนอนเหนือแผ่นดิน เหมือนท่อนไม้ไม่มีประโยชน์ฉะนั้น ดังนี้แล. ____________________________ ๑- ปฐวีคตํ. พระปูติคัตตติสสเถระนิพพาน พวกภิกษุกราบทูลถามพระศาสดาว่า พระเจ้าข้า พระปูติคัตตติสสเถระบังเกิดในที่ไหน? พระศาสดา. เธอปรินิพพานแล้ว ภิกษุทั้งหลาย. พวกภิกษุ. พระเจ้าข้า กายของภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัตเห็นปานนั้น เกิดเป็นกายเน่า เพราะเหตุอะไร? กระดูกทั้งหลายแตกแล้ว เพราะเหตุอะไร? อะไรเป็นเหตุถึงความเป็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของท่านเล่า? พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย ผลนี้ทั้งหมดเกิดแล้วแก่ติสสะนั่น ก็เพราะกรรมที่ตัวทำไว้. พวกภิกษุ. ก็กรรมอะไร? ที่ท่านทำไว้ พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้น พวกเธอจงฟัง ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสดังต่อไปนี้) :- บุรพกรรมของพระติสสะ วันหนึ่ง เมื่อโภชนะมีรสของเขาสุกแล้ว พระขีณาสพองค์หนึ่งเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือนของเขา เขาเห็นพระเถระแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส คิดว่า สัตว์มีชีวิตมากมายถูกเราฆ่าตาย, ก็พระผู้เป็นเจ้ายืนอยู่ที่ประตูเรือนของเรา และ ดังนี้แล้ว จึงรับบาตรของพระขีณาสพนั้น ใส่โภชนะอันมีรสนั้นให้เต็มบาตรแล้ว ถวายบิณฑบาตอันมีรส แล้วไหว้พระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าพึงถึงที่สุดแห่งธรรมที่ท่านเห็นเถิด. พระเถระได้ทำอนุโมทนาว่า จงเป็นอย่างนั้น. ประมวลผลกรรม กายของติสสะเกิดเน่าเปื่อย, และกระดูกทั้งหลายแตกก็ด้วยผล ติสสะบรรลุพระอรหัต ก็ด้วยผลของการถวายบิณฑบาตอันมีรสแก่พระขีณาสพ ดังนี้แล. เรื่องพระปูติคัตตติสสเถระ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓ |