![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | ||||||||||||||||
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() หน้าต่างที่ ๘ / ๙. ข้อความเบื้องต้น นายนันทะหลบหลีกราชภัย เขาถือเอาปัญจโครสตลอดกาลสมควรแก่กาล (ตามกำหนดเวลา) มาสู่สำนัก พระศาสดาทรงเสด็จไปโปรดนายนันทะ นายนันทะไปสู่สำนักของพระศาสดา ถวายบังคมกระทำปฏิสันถาร นิมนต์พระศาสดาแล้ว ได้ถวายปัญจโครสทานอันประณีตแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานสิ้น ๗ วัน. ในวันที่ ๗ พระศาสดาทรงกระทำอนุโมทนาเสร็จแล้ว ตรัสอนุบุพพีกถาต่างโดยทานกถาเป็นต้น ในเวลาจบกถา นายโคบาลก์ชื่อนันทะ ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล รับบาตรของพระศาสดา ตามส่งเสด็จพระศาสดาไปไกล เมื่อพระศาสดารับสั่งให้กลับ ด้วยพระดำรัสว่า อุบาสก จงหยุดเถิด ถวายบังคมพระศาสดากลับแล้ว. ลำดับนั้น นายพรานคนหนึ่งได้แทงเขาให้ตายแล้ว. พวกภิกษุโทษพระศาสดาว่าทำให้นายนันทะถูกฆ่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นายโคบาลก์ชื่อนันทะ ถวายมหาทานตามส่งเสด็จแล้วกลับไป ถูกนายพรานฆ่าตายเสียแล้ว ก็เพราะความที่พระองค์เสด็จมาแล้วในที่นี้. ถ้าว่าพระองค์จักมิได้เสด็จมาแล้วไซร้, ความตายจักไม่ได้มีแก่เขาเลย. จิตที่ตั้งไว้ผิดทำความฉิบหายให้ยิ่งกว่าเหตุใดๆ ตรัสพระคาถานี้ว่า
แก้อรรถ สองบทว่า ยนฺตํ กยิรา ความว่า พึงทำซึ่งความพินาศฉิบหายนั้นใดแก่โจรหรือคนจองเวรนั้น. ถึงในบทที่ ๒ ก็มีนัยเช่นเดียวกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเป็นคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า โจรผู้มักประทุษร้ายต่อมิตรผู้หนึ่ง เมื่อผิดในบุตร ภริยา นา ไร่ วัวและควายเป็นต้น ของโจรผู้หนึ่ง โจรผิดต่อโจรใด, เห็นโจรแม้นั้นซึ่งผิดอยู่ในตนอย่างนั้นนั่นแหละ, ก็หรือว่า คนจองเวรเห็นชนผู้ผูกเวรกันไว้ด้วยเหตุบางอย่างนั่นแหละ ซึ่งชื่อว่าผู้จองเวร, ชื่อว่าพึงทำความพินาศฉิบหายอันใดแก่โจรหรือคนผู้จองเวรนั้น คือพึงเบียดเบียนบุตรและภริยาของโจรหรือคนจองเวรนั้น พึงทำสิ่งของต่างๆ มีนาเป็นต้นของโจร หรือของคนจองเวรนั้นให้ฉิบหาย หรือพึงปลงซึ่งโจรหรือคนจองเวรนั้นจากชีวิต เพราะความที่ตนเป็นคนโหดร้าย คือเพราะความที่ตนเป็นคนทารุณ, จิตชื่อว่าตั้งไว้ผิด เพราะความเป็นจิตตั้งไว้ผิดในอกุศลกรรมบถ ๑๐ พึงทำให้เขาเลวทรามยิ่งกว่าความพินาศฉิบหายนั้น คือทำบุรุษนั้นให้เป็นผู้ลามกกว่าเหตุนั้น; จริงอยู่ โจรก็ดี คนจองเวรก็ดี มีประการดังกล่าวแล้ว พึงยังทุกข์ให้เกิด หรือพึงทำซึ่งความสิ้นไปแห่งชีวิตแก่โจรหรือแก่คนจองเวร (ได้) ในอัตภาพนี้เท่านั้น, ส่วนจิตนี้ซึ่งตั้งไว้ผิดในอกุศลกรรมบถทั้งหลาย ย่อมยังบุคคลให้ถึงความพินาศฉิบหายในทิฏฐธรรมบ้าง ซัดไปในอบาย ๔ ย่อมไม่ให้ยกศีรษะขึ้นได้ในพันอัตภาพบ้าง. ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น, เทศนามีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว. ก็กรรมที่อุบาสกได้ทำไว้ในระหว่างภพ พวกภิกษุมิได้ทูลถาม, เพราะฉะนั้น (กรรมนั้น) พระศาสดาจึงมิได้ตรัสบอก ดังนี้แล. เรื่องนันทโคปาลกะ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓ |