![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า พฺรหฺมจริเยสนา สห ความว่า พร้อมกับด้วยการแสวงหาพรหมจรรย์ ก็ด้วยการลบวิภัตติออกเสีย ศัพท์ว่า พฺรหฺมจริเยสนา นี้จึงเป็นศัพท์นิเทศ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า พฺรหฺมจริยเอสนา นี้เป็นปฐมาวิภัตติ (แต่) ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ มีคำอธิบายดังต่อไปนี้ กามเอสนา ภวเอสนา รวมกับ พฺรหฺมจริยเอสนา จึงเป็นเอสนา ๓ อย่าง. ในบรรดาเอสนาเหล่านั้น เพื่อจะทรงแสดงพรหมจริยเอสนาโดยสรุป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ไว้ว่า อิติ สจฺจปรามาโส ทิฏฺฐิฏฺฐานา สมุสฺสยา การยึดมั่นว่าจริง ดังนี้ เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิที่เกิดขึ้น ดังนี้. คำนั้นมีอธิบายดังนี้ การยึดมั่นว่าสิ่งนี้เป็นจริงอย่างนี้ด้วยประการอย่างนี้ ชื่อว่า อิติสจฺจปรามาโส พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอาการคือ ความเป็นไปแห่งทิฏฐิไว้ว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ ทิฏฐินั่นแหละชื่อว่า ทิฏฺฐิฏฺฐานา เพราะเป็นเหตุแห่งอนัตถะทุกอย่าง. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๑- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวโทษที่จะพึงตำหนิว่า มีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่งดังนี้ และมีคำอธิบายว่า มิจฉาทิฏฐิเหล่านั้นแหละทั้งที่เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ทั้งเป็นที่เกิดขึ้น โดยเป็นที่เกิดแห่งกิเลส มีโลภะเป็นต้น ทิฏฐิทั้งหลายที่ยึดมั่นผิดๆ ว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ ดังนี้ เป็นทั้งเหตุแห่งอนัตถะทุกอย่าง เป็นทั้งเหตุแห่งการก่อทุกข์คือกิเลส จึงชื่อว่าพรหมจริยเอสนา ด้วยบทแห่งพระคาถาว่า อิติสจฺจปรามาโส ทิฏฺฐิฏฺฐานา สมุสฺสยา นี้ พึงทราบว่า เป็นอันพระองค์ทรงแสดงพรหมจริยเอสนาไว้แล้วโดยอาการแห่งการเป็นไป และโดยความสำเร็จ. ____________________________ ๑- องฺ. เอก. เล่ม ๒๐/ข้อ ๑๙๓ บทว่า สพฺพราควิรตสฺส ความว่า พระอรหันต์ผู้คลายความกำหนัดจากกามราคะและภวราคะทั้งหลายทั้งปวง ตั้งแต่นั้นไป ก็ชื่อว่าผู้หลุดพ้นเพราะธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เพราะพ้นในเพราะพระนิพพาน กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา. บทว่า เอสนา ปฏินิสฺสฏฺฐา ความว่า กามเอสนาและภวเอสนาเป็นอันท่านสลัดออกแล้ว คือละแล้วโดยประการทั้งปวง. บทว่า ทิฏฺฐิฏฺฐานา สมูหตา ความว่า เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ กล่าวคือพรหมจริยเอสนา และถูกถอนขึ้นด้วยปฐมมรรคนั่นเอง. บทว่า เอสนานํ ขยา ความว่า เพราะสิ้นไป คือเพราะดับไปโดยไม่เกิดขึ้นแห่งการแสวงหาทั้ง ๓ อย่างเหล่านี้. ตรัสเรียกว่าภิกษุ เพราะทำลายกิเลสได้แล้ว. ตรัสเรียกว่านิราโส เพราะหาความหวังมิได้โดยประการทั้งปวง. และตรัสเรียกว่าอกถังกถี เพราะละการกล่าวถ้อยคำว่าอย่างไร ด้วยความสงสัยที่เป็นทิฏฐิได้แล้ว. จบอรรถกถาทุติยเอสนาสูตรที่ ๖ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ปฐมวรรค เอสนาสูตรที่ ๒ จบ. |