บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] หน้าต่างที่ ๓ / ๑๐. ข้อความเบื้องต้น พวกภิกษุประสงค์จะกราบทูลคุณที่ตนได้ อุบาสกคนหนึ่งเห็นภิกษุเหล่านั้นผู้เที่ยวบิณฑบาตอยู่ในบ้านแห่งหนึ่ง ในที่ประมาณโยชน์หนึ่งแต่กรุงสาวัตถี จึงต้อนรับด้วยวัตถุทั้งหลายมียาคูและภัตเป็นต้น ฟังอนุโมทนาแล้ว จึงนิมนต์เพื่อประโยชน์แก่การฉันในวันรุ่งขึ้น. ภิกษุเหล่านั้นไปถึงกรุงสาวัตถีในวันนั้นเอง เก็บบาตรและจีวรไว้แล้ว ในเวลาเย็นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมนั่งอยู่แล้ว. พระศาสดาทรงแสดงความยินดีอย่างยิ่งกับด้วยภิกษุเหล่านั้น ได้ทรงทำการต้อนรับแล้ว. ความไม่รู้จักกาลให้เกิดความเดือดร้อน ภิกษุแม้เหล่านั้นทูลลาพระศาสดาว่า "พวกข้าพระองค์อันอุบาสกคนหนึ่ง ในหนทางเป็นที่มา นิมนต์เพื่อฉันเช้าในวันพรุ่งนี้ จักไปในที่นั้นแต่เช้าเทียว." ลำดับนั้น ภิกษุผู้สหายแห่งภิกษุเหล่านั้น เดินจงกรมตลอดคืนยังรุ่ง ล้มลงที่แผ่นหินแผ่นหนึ่งในที่สุดจงกรม ด้วยอำนาจแห่งความหลับ. กระดูกขาแตกแล้ว. เธอร้องด้วยเสียงดัง. พวกภิกษุผู้เป็นสหายเหล่านั้นของเธอจำเสียงได้ ต่างวิ่งเข้าไปข้างโน้นและข้างนี้. เมื่อภิกษุเหล่านั้นตามประทีปทำกิจที่ควรทำแก่ภิกษุนั้นอยู่นั่นแล อรุณขึ้นแล้ว ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้โอกาสไปบ้านนั้น. ทรงแสดงชาดกในเรื่องไม่รู้จักกาล พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั่นทำอันตรายลาภของพวกเธอในบัดนี้เท่านั้นหามิได้, แม้ในกาลก่อน เธอก็ได้ทำแล้วเหมือนกัน" อันภิกษุเหล่านั้นทูลวิงวอนแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา ตรัสชาดก๑- ให้พิสดารว่า :- บุคคลใด ย่อมปรารถนาจะทำกิจที่ควรทำก่อนไว้ (ทำ) ภายหลัง บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนภายหลัง เหมือน มาณพผู้หักกิ่งไม้กุ่มฉะนั้น. ____________________________ ๑- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๗๑; อรรถกถา ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๗๑ วรุณชาดก. ๒/๑๑๙ ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นได้เป็นมาณพ ๕๐๐ ในกาลนั้น มาณพผู้เกียจคร้านได้เป็นภิกษุนี้ ส่วนอาจารย์ได้เป็นพระตถาคตด้วยประการฉะนี้. พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลใดไม่ทำความขยัน ในกาลที่ควรขยัน เป็นผู้มีความดำริอันจมแล้ว เป็นผู้เกียจคร้าน, บุคคลนั้นย่อมไม่บรรลุคุณวิเศษอันต่างโดยคุณมีฌานเป็นต้น" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ สองบทว่า ยุวา พลี ความว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในความเป็นคนรุ่นหนุ่ม ทั้งถึงพร้อมด้วยกำลัง. สองบทว่า อาลสิยํ อุเปโต ความว่า ย่อมเป็นผู้เข้าถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้เกียจคร้าน คือกินแล้วๆ ก็นอน. บทว่า สํสนฺนสงฺกปฺปมโน ความว่า ผู้มีจิตประกอบด้วยความดำริอันจมดิ่งลงแล้ว เพราะมิจฉาวิตกสาม๑- บทว่า กุสีโต ได้แก่ ผู้ไม่มีความเพียร. บทว่า อลโส ความว่า บุคคลนั้นเกียจคร้านมาก เมื่อไม่เห็นอริยมรรคอันพึงเห็นด้วยปัญญา จึงชื่อว่า ย่อมไม่ประสบ คือไม่ได้. ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล. ____________________________ ๑- ๑. มิจฉาวิตก ๓ คือ ๑. กามวิตก ตรึกในกาม ๒. พยาบาทวิตก ตรึกในการพยาบาท ๓. วิหิงสาวิตก ตรึกในการเบียดเบียนคนอื่น. เรื่องพระปธานกัมมิกติสสเถระ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มรรควรรคที่ ๒๐ |