บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ว่าด้วยปฏิสัมภิทา ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ญาณคือความรู้ทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทา เพราะถือเอาพระบาลีว่า ญาณคือความรู้ของพระอริยะทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นโลกุตตระ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในปัญหาว่าด้วยญาณ คือความรู้สมมติทั้งหลาย ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอาญาณในสมาบัติที่เป็นปฐวีกสิณอันเป็นสมมติ คือเป็นบัญญัติอารมณ์ ย่อมตอบรับรองหมายเอานิรุตติญาณ. ในปัญหาทั้งหลายว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้สมมติ ปรวาทีตอบปฏิเสธหมายเอาปุถุชนทั้งหลาย. ในปัญหาว่าด้วยเจโตปริยายะ ความรู้ในการกำหนดใจผู้อื่น ปรวาทีตอบปฏิเสธหมายเอาญาณของปุถุชน ตอบรับรองหมายเอาญาณของพระอริยะ. ในปัญหาทั้งหลายว่า ปัญญาทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธหมายเอาปัญญาในกสิณสมาบัติ ตอบรับรองหมายเอาโลกุตตระ. คำว่า สมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อถามด้วยคำว่า ปัญญาในที่ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้นั้น ปัญญานั้นเป็นปฏิสัมภิทาทั้งหมดหรือ. คำว่า ถ้าอย่างนั้นความรู้ทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาหรือ อธิบายว่า โลกุตตรปัญญาทั้งสิ้น เป็นปฏิสัมภิทา เหตุใด เพราะเหตุนั้น คำว่า ทั้งปวง ท่านจึงให้ตั้งไว้เฉพาะกับสามัญญผล ดังนี้แล. อรรถกถาปฏิสัมภิทากถา จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๕ ปฏิสัมภิทากถา จบ. |