![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ข้อว่า โย น สมฺมา วตฺเตยฺย มีความว่า สัทธิวิหาริกใดไม่ทำวัตรตามที่ทรงบัญญัติไว้ให้เต็ม สัทธิวิหาริกนั้นต้องทุกกฎ. บทว่า ปณาเมตพฺโพ ได้แก่ พึงรุกราน. ข้อว่า นาธิมตฺตํ เปมํ โหติ มีความว่า ไม่มีความรักฉันบุตรกับธิดายิ่งนักในอุปัชฌาย์. ข้อว่า นาธิมตฺตา ภาวนา โหติ มีความว่า ไม่ปลูกไมตรียิ่งนัก. ฝ่ายดีพึงทราบโดยปฏิปักขนัยกับที่กล่าวแล้ว. ข้อว่า อลํปณาเมตุ มีความว่า สมควรประณาม. ข้อว่า อปฺปณาเมนฺโต อุปชฺฌาโย สาติสาโร โหติ มีความว่า เมื่ออุปัชฌาย์ไม่ประณาม ย่อมเป็นผู้มีโทษ คือย่อมต้องอาบัติ เพราะเหตุฉะนั้น เมื่อสัทธิวิหาริกไม่ประพฤติชอบ ควรต้องประณามแท้. ก็ในการไม่ประพฤติชอบมีวินิจฉัยดังนี้ :- เมื่อสัทธิวิหาริกไม่ทำวัตรเพียงย้อมจีวร ความเสื่อมย่อมมีแก่อุปัชฌาย์ เพราะเหตุนั้น เมื่อสัทธิวิหาริกผู้พ้นนิสัยแล้วก็ดี ยังไม่พ้นก็ดี ไม่ทำวัตรนั้นเป็นอาบัติเหมือนกัน. ตั้งแต่ให้บาตรแก่คนบางคนไป เป็นอาบัติแก่ผู้ยังไม่พ้นนิสัยเท่านั้น. เหล่าสัทธิวิหาริกประพฤติชอบ อุปัชฌาย์ไม่ประพฤติชอบ เป็นอาบัติแก่อุปัชฌาย์. อุปัชฌาย์ประพฤติชอบ พวกสัทธิวิหาริกไม่ประพฤติชอบ เป็นอาบัติแก่พวกเธอ. เมื่ออุปัชฌาย์ยินดีวัตร พวกสัทธิวิหาริกถึงมีอยู่มาก เป็นอาบัติทุกรูป. ถ้าอุปัชฌาย์กล่าวว่า อุปัฏฐากของฉันมี พวกเธอจงทำความเพียรในสาธยายและมนสิการเป็นต้นของตนเถิด ไม่เป็นอาบัติแก่พวกสัทธิวิหาริก. ถ้าอุปัชฌาย์ไม่รู้จักความยินดีหรือไม่ยินดี เป็นผู้เขลา สัทธิวิหาริกมีมากรูป ในพวกเธอถ้าภิกษุถึงพร้อมด้วยวัตรรูปหนึ่ง ปล่อยภิกษุนอกนั้นเสียรับเป็นภาระของตนอย่างนี้ว่า ผมจักทำกิจของอุปัชฌาย์แทน พวกท่านจงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยอยู่เถิด ดังนี้ ไม่เป็นอาบัติแก่เธอทั้งหลายจำเดิมแต่ไว้ภาระแก่ภิกษุนั้นไป. อรรถกถาสัมมาวัตตนาทิกถา จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ การประณามและการให้ขมา จบ. |