บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๖. อนุรุทธสูตร ว่าด้วยพระอนุรุทธะ [๔๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะพักผ่อนกลางวัน หลีกเร้นอยู่ ครั้งนั้น เทวดาเหล่า มนาปกายิกา๑- จำนวนมาก ได้เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ครองความ เป็นใหญ่และแผ่อำนาจไปในฐานะ ๓ ประการ คือ ๑. พวกข้าพเจ้าหวังวรรณะเช่นใด ก็ได้วรรณะเช่นนั้นโดยพลัน ๒. พวกข้าพเจ้าหวังเสียงเช่นใด ก็ได้เสียงเช่นนั้นโดยพลัน ๓. พวกข้าพเจ้าหวังสุขเช่นใด ก็ได้สุขเช่นนั้นโดยพลัน ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ครองความ เป็นใหญ่และแผ่อำนาจไปในฐานะ ๓ ประการนี้แล @เชิงอรรถ : @๑ เทวดาเหล่ามนาปกายิกา หมายถึงเทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดาเหล่านี้เรียกว่า เทพนิมมานรดี และเทพ @มนาปา เพราะเนรมิตรูปตามที่ตนปรารถนาได้ และชื่นชมรูปที่เนรมิตนั้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๓๓/๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๑๗}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. อุโปสถวรรค ๖. อนุรุทธสูตร
ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะได้มีความดำริว่า ไฉนหนอ เทวดาเหล่านี้ ทั้งหมดพึงมีร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว มีผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นได้ทราบความดำริของท่านพระอนุรุทธะแล้ว ทั้งหมด จึงแปลงร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว มีผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้มีความดำริว่า ไฉนหนอ เทวดาเหล่านี้ทั้งหมด พึงมีร่างเหลือง ฯลฯ มีร่างแดง ฯลฯ มีร่างขาว มีผิวพรรณขาว มีผ้าขาว มีเครื่อง ประดับขาว ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นได้ทราบความดำริของท่านพระอนุรุทธะแล้ว ทั้งหมด จึงแปลงร่างขาว มีผิวพรรณขาว มีผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว บรรดาเทวดาเหล่านั้น เทวดาบางองค์ขับร้อง บางองค์ฟ้อนรำ บางองค์ปรบมือ เครื่องประดับของเทวดาเหล่านั้นมีเสียงไพเราะ จับใจ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม และหลงใหล๑- เปรียบเหมือนดนตรีมีองค์ ๕ ๒- ที่นักดนตรีผู้เชี่ยวชาญปรับดีแล้ว ประโคมดีแล้ว บรรเลงดีแล้ว มีเสียงไพเราะ จับใจ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม และหลงใหล ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้ทอดอินทรีย์ลง๓- เทวดาเหล่านั้นทราบว่า พระคุณเจ้าอนุรุทธะไม่ยินดีเลย จึงหายไป ณ ที่นั้นเอง ครั้นเวลาเย็นท่านพระอนุรุทธะได้ออกจากที่หลีกเร้น๔- เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @๑ หลงใหล ในที่นี้หมายถึงทำให้เกิดความมัวเมาเพราะมานะและความมัวเมาเพราะความเป็นชาย @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๔๖/๒๖๐) @๒ ดนตรีมีองค์ ๕ คือ (๑) อาตตะ กลองขึงหนังหน้าเดียว (๒) วิตตะ ตะโพน (๓) อาตตวิตตะ บัณเฑาะว์ @(๔) สุสิระ ปี่หรือขลุ่ย (๕) ฆนะ ดาลที่เคาะด้วยศิลาและแผ่นเหล็ก (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๔๖/๒๕๙, @อภิธา.คาถา ๑๓๙-๑๔๐) @๓ ทอดอินทรีย์ลง ในที่นี้หมายถึงทอดสายตาลง ไม่ลืมตาดู (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๔๖/๒๖๐) @๔ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๗๐ หน้า ๑๕๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๑๘}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. อุโปสถวรรค ๖. อนุรุทธสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์พักผ่อนกลางวัน หลีกเร้นอยู่ ครั้งนั้น เทวดาเหล่ามนาปกายิกาจำนวนมากได้เข้ามาหาข้าพระองค์ ถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับข้าพระองค์ดังนี้ว่า ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ครองความ เป็นใหญ่และแผ่อำนาจไปในฐานะ ๓ ประการ คือ ๑. พวกข้าพเจ้าหวังวรรณะเช่นใด ก็ได้วรรณะเช่นนั้นโดยพลัน ๒. พวกข้าพเจ้าหวังเสียงเช่นใด ก็ได้เสียงเช่นนั้นโดยพลัน ๓. พวกข้าพเจ้าหวังสุขเช่นใด ก็ได้สุขเช่นนั้นโดยพลัน ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ครองความ เป็นใหญ่และแผ่อำนาจไปในฐานะ ๓ ประการนี้แล ข้าพระองค์นั้นได้มีความดำริว่า ไฉนหนอ เทวดาเหล่านี้ทั้งหมดพึงมีร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว มีผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นได้ทราบ ความดำริของข้าพระองค์แล้ว ทั้งหมดจึงแปลงร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว มีผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้นได้มีความดำริว่า ไฉนหนอ เทวดาเหล่านี้ ทั้งหมดพึงมีร่างเหลือง ฯลฯ มีร่างแดง ฯลฯ มีร่างขาว มีผิวพรรณขาว มีผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นได้ทราบ ความดำริของข้าพระองค์แล้ว ทั้งหมดจึงแปลงร่างขาว มีผิวพรรณขาว มีผ้าขาว และมีเครื่องประดับขาว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรดาเทวดาเหล่านั้น เทวดาบางองค์ขับร้อง บางองค์ ฟ้อนรำ บางองค์ปรบมือ เครื่องประดับของเทวดาเหล่านั้นมีเสียงไพเราะ จับใจ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม และหลงใหล เปรียบเหมือนดนตรีมีองค์ ๕ ที่นักดนตรี ผู้เชี่ยวชาญปรับดี ประโคมดีแล้ว บรรเลงดีแล้ว มีเสียงไพเราะ จับใจ เร้าใจ ชวนให้ เคลิบเคลิ้ม และหลงใหล ข้าพระองค์ได้ทอดอินทรีย์ลง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๑๙}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. อุโปสถวรรค ๖. อนุรุทธสูตร
เทวดาเหล่านั้นทราบว่า พระคุณเจ้าอนุรุทธะไม่ยินดีเลย จึงหายไป ณ ที่นั้นเอง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มาตุคามประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ หลังจาก ตายแล้ว ย่อมไปเกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้ หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. มารดาบิดาผู้ปรารถนาประโยชน์ หวังเกื้อกูลอนุเคราะห์ด้วยความ เอ็นดู ยกเธอให้สามีใด เธอต้องตื่นก่อนนอนทีหลังสามีนั้น คอยรับใช้ ปฏิบัติให้เป็นที่พอใจเขา พูดคำไพเราะต่อเขา ๒. ชนเหล่าใดเป็นที่เคารพของสามี คือ มารดา บิดา หรือสมณ- พราหมณ์ เธอสักการะเคารพ นับถือ บูชาชนเหล่านั้น และต้อนรับ ท่านเหล่านั้นผู้มาถึงแล้วด้วยน้ำและเสนาสนะ ๓. การงานเหล่าใดเป็นการงานในบ้านสามี คือ การทอผ้าขนสัตว์ หรือผ้าฝ้าย เธอเป็นคนขยันไม่เกียจคร้านในการงานเหล่านั้น ประกอบ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานเหล่านั้น สามารถทำ สามารถจัดได้ ๔. รู้จักการงานที่คนในบ้านสามี คือ ทาส คนใช้ หรือกรรมกร ว่าทำ แล้วหรือยังไม่ได้ทำ รู้อาการของคนเหล่านั้นที่เป็นไข้ว่าดีขึ้นหรือ ทรุดลง และแบ่งปันของกิน ของใช้ให้ตามส่วนที่ควร ๕. เธอรักษาคุ้มครองสิ่งที่สามีหามาได้ เป็นทรัพย์ ข้าว เงิน หรือทอง ก็ตาม ไม่เป็นนักเลงการพนัน ไม่เป็นขโมย ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่ล้างผลาญทรัพย์สมบัติ ๖. เธอเป็นอุบาสิกา ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๒๐}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๕. อุโปสถวรรค ๖. อนุรุทธสูตร
๗. เธอเป็นผู้มีศีล คือ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้น ขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ ประมาท ๘. เธอเป็นผู้มีจาคะ คือ มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะ อันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม๑- ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีใน การแจกทานอยู่ครองเรือน อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา สตรีผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี ผู้มีความเพียร ขวนขวายเป็นนิตย์ เลี้ยงตนเองทุกเมื่อ ผู้ให้สิ่งที่ต้องการได้ทุกอย่าง ไม่ทำให้สามีขุ่นเคืองด้วยการแสดงความหึงหวง ยกย่องทุกคนที่สามีเคารพ เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้าน สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี ปฏิบัติถูกใจสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ สตรีผู้ยังประพฤติตามใจสามีอยู่อย่างนี้ จะเข้าถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา๒-อนุรุทธสูตรที่ ๖ จบ @เชิงอรรถ : @๑ มีฝ่ามือชุ่ม อรรถกถาอธิบายว่า ถ้าคนไม่มีศรัทธา แม้จะล้างมือถึง ๗ ครั้ง ก็ชื่อว่ายังมีมือไม่ได้ล้าง มีมือ @สกปรก แต่คนมีศรัทธา แม้มีมือสกปรก ก็ชื่อว่าได้ล้างมือสะอาดแล้ว (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๒/๑๔๘) @๒ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๓๓/๕๒-๕๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๒๑}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๑๗-๓๒๑. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=23&siri=119 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=5504&Z=5586 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=136 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=136&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=5818 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=136&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=5818 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i131-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an8.46/en/sujato https://suttacentral.net/an8.46/en/bodhi
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]