ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
แสดงสังขารุเปกขาญาณ
[๕๔] ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไป พิจารณาและดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ เป็นอย่างไร คือ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปจากความเกิดขึ้น พิจารณาและดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปจากความเป็นไป พิจารณาและ ดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปจากนิมิต ... จาก กรรมเป็นเครื่องประมวลมา ... จากปฏิสนธิ ... จากคติ ... จากความบังเกิด ... จาก ความอุบัติ ... จากความเกิด ... จากความแก่ ... จากความเจ็บไข้ ... จากความตาย ... จากความเศร้าโศก ... จากความรำพัน ... ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปจากความ คับแค้นใจ พิจารณาและดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๘๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส

ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความเกิดขึ้นเป็น ทุกข์” ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ... “ความเป็นไปเป็นทุกข์” ... “นิมิตเป็นทุกข์” ฯลฯ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความคับแค้นใจเป็นทุกข์” ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความเกิดขึ้นเป็นภัย” ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ... “ความเป็นไปเป็นภัย” ฯลฯ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้น ไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความคับแค้นใจเป็นภัย” ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความเกิดขึ้นเป็น อามิส” ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ... “ความเป็นไปเป็นอามิส” ฯลฯ ปัญญาที่ ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความคับแค้นใจเป็นอามิส” ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความเกิดขึ้นเป็น สังขาร” ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ... “ความเป็นไปเป็นสังขาร” ฯลฯ ปัญญาที่ ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความคับแค้นใจเป็นสังขาร” ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ญาณเพ่งเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ แม้ธรรม ๒ ประการนี้ คือ สังขารและอุเบกขาก็เป็นสังขาร ญาณเพ่งเฉย สังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ความเป็นไปเป็นสังขาร ญาณเพ่งเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ ฯลฯ นิมิตเป็นสังขาร ... กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสังขาร .. ปฏิสนธิเป็นสังขาร ... คติเป็นสังขาร ... ความบังเกิดเป็นสังขาร ... ความอุบัติ เป็นสังขาร ... ความเกิดเป็นสังขาร ... ความแก่เป็นสังขาร ... ความเจ็บไข้เป็นสังขาร ... ความตายเป็นสังขาร ... ความเศร้าโศกเป็นสังขาร ... ความรำพันเป็นสังขาร ... ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ญาณเพ่งเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๘๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส

แม้ธรรม ๒ ประการ คือ สังขารและอุเบกขาก็เป็นสังขาร ญาณเพ่งเฉยสังขาร เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ [๕๕] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขามีด้วยอาการเท่าไร คือ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขามีด้วยอาการ ๘ อย่าง การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนมีด้วยอาการเท่าไร การน้อมจิตไป ในสังขารุเปกขาของพระเสขะมีด้วยอาการเท่าไร การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของ ท่านผู้ปราศจากราคะมีด้วยอาการเท่าไร คือ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนมีด้วยอาการ ๒ อย่าง การน้อม จิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะมีด้วยอาการ ๓ อย่าง การน้อมจิตไปในสังขารุ- เปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะมีด้วยอาการ ๓ อย่าง การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนมีด้วยอาการ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ปุถุชนย่อมยินดีสังขารุเปกขา ๒. ปุถุชนย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนมีด้วยอาการ ๒ อย่างนี้ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะมีด้วยอาการ ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. พระเสขะย่อมยินดีสังขารุเปกขา ๒. พระเสขะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๓. พระเสขะพิจารณาแล้วย่อมเข้าผลสมาบัติ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะมีด้วยอาการ ๓ อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๘๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะมีด้วยอาการ ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๒. ท่านผู้ปราศจากราคะพิจารณาแล้วย่อมเข้าผลสมาบัติ ๓. ท่านผู้ปราศจากราคะเพ่งเฉยในสังขารุเปกขานั้นแล้วย่อมอยู่ด้วย สุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะมีด้วยอาการ ๓ อย่างนี้ [๕๖] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน และของพระเสขะ เหมือนกันอย่างไร คือ ปุถุชนผู้ยินดีสังขารุเปกขา จิตย่อมเศร้าหมอง (ความเศร้าหมองนั้น)เป็น เครื่องกีดขวางต่อภาวนา เป็นอันตรายต่อปฏิเวธ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิสืบต่อไป แม้พระเสขะผู้ยินดีสังขารุเปกขา จิตก็ย่อมเศร้าหมอง (ความเศร้าหมองนั้น)เป็น เครื่องกีดขวางต่อภาวนา เป็นอันตรายต่อปฏิเวธในมรรคชั้นสูง เป็นปัจจัยแห่ง ปฏิสนธิสืบต่อไป การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนและของพระเสขะ เหมือน กันโดยสภาวะแห่งความยินดีอย่างนี้ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ ปราศจากราคะ เหมือนกันอย่างไร คือ ปุถุชนย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาทั้งโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็น อนัตตา แม้พระเสขะก็เห็นแจ้งสังขารุเปกขาทั้งโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็น อนัตตา แม้ท่านผู้ปราศจากราคะก็เห็นแจ้งสังขารุเปกขาทั้งโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของ ท่านผู้ปราศจากราคะ เหมือนกันโดยสภาวะแห่งการพิจารณาเห็นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร คือ สังขารุเปกขาของปุถุชนเป็นกุศล แม้ของพระเสขะก็เป็นกุศล แต่ของท่าน ผู้ปราศจากราคะเป็นอัพยากฤต การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระ เสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันโดยสภาวะเป็นกุศล เป็นอัพยากฤต อย่างนี้ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร คือ สังขารุเปกขาของปุถุชน บางคราวปรากฏชัด๑- บางคราวไม่ปรากฏชัด แม้สังขารุเปกขาของพระเสขะ บางคราวก็ปรากฏชัด บางคราวไม่ปรากฏชัด สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมปรากฏชัดโดยส่วนเดียว การน้อมจิตไป ในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันโดย สภาวะที่ปรากฏกับสภาวะที่ไม่ปรากฏอย่างนี้ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร คือ ปุถุชนย่อมเห็นแจ้งเพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา แม้พระเสขะ ย่อมเห็นแจ้งเพราะยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา ส่วนท่านผู้ปราศจากราคะย่อม เห็นแจ้งเพราะเป็นผู้เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันโดยสภาวะที่เสร็จกิจแล้วกับ สภาวะที่ยังไม่เสร็จกิจอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ บางคราวปรากฏชัด หมายถึงปรากฏชัดในเวลาเจริญวิปัสสนา (ขุ.ป.อ. ๑/๕๖/๒๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๙๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร คือ ปุถุชนย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาเพื่อละสังโยชน์ ๓ ๑- เพื่อต้องการได้ โสดาปัตติมรรค พระเสขะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาเพื่อต้องการได้มรรคชั้นสูงขึ้นไป เพราะเป็นผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นผู้ละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว การน้อมจิตไป ในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะต่างกันโดย สภาวะที่ละกิเลสได้กับสภาวะที่ยังละกิเลสไม่ได้อย่างนี้ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร คือ พระเสขะยินดีสังขารุเปกขาบ้าง เห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้าง พิจารณาแล้ว เข้าผลสมาบัติบ้าง ท่านผู้ปราศจากราคะเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้าง พิจารณาแล้วเข้า ผลสมาบัติบ้าง เพ่งเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้วอยู่ด้วยสุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตต- วิหารสมาบัติหรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระ เสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันโดยสภาวะแห่งวิหารสมาบัติอย่างนี้ [๕๗] สังขารุเปกขาเท่าไรเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขาเท่าไร เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา คือ สังขารุเปกขา ๘ อย่างเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา ๑๐ อย่าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา สังขารุเปกขา ๘ อย่าง อะไรบ้าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ คือ ๑. ปัญญาที่พิจารณานิวรณ์แล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้ปฐมฌาน ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ @เชิงอรรถ : @ สังโยชน์ ๓ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส (ขุ.ป.อ. ๑/๕๖/๒๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๙๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส

๒. ปัญญาที่พิจารณาวิตกวิจารแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้ทุติยฌาน ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ๓. ปัญญาที่พิจารณาปีติแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้ตติยฌาน ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ๔. ปัญญาที่พิจารณาสุขและทุกข์แล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้ จตุตถฌาน ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ๕. ปัญญาที่พิจารณารูปสัญญา ปฏิฆสัญญานานัตตสัญญาแล้วดำรงมั่น อยู่ เพื่อต้องการได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขา- ญาณ ๖. ปัญญาที่พิจารณาอากาสานัญจายตนสัญญาแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อ ต้องการได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ๗. ปัญญาที่พิจารณาวิญญาณัญจายตนสัญญาแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อ ต้องการได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ๘. ปัญญาที่พิจารณาอากิญจัญญายตนสัญญาแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อ ต้องการได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ สังขารุเปกขา ๘ อย่างนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา คือ ๑. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่อง ประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด ความอุบัติ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความเศร้าโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ๒. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้โสดาปัตติผล- สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๙๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส

๓. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้สกทาคามิมรรค ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ๔. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้สกทาคามิผล- สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ๕. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้อนาคามิมรรค ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ๖. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้อนาคามิผล- สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ๗. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้อรหัตตมรรค ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ๘. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้อรหัตตผล- สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ๙. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้สุญญตวิหาร- สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ๑๐. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่อง ประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด ความอุบัติ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความเศร้าโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ ๑๐ อย่างนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา [๕๘] สังขารุเปกขาฝ่ายกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอัพยากฤต มีเท่าไร สังขารุเปกขาฝ่ายกุศลมี ๑๕ ฝ่ายอัพยากฤตมี ๓ ฝ่ายอกุศลไม่มี ปัญญาที่พิจารณาแล้วดำรงมั่นอยู่ ๘ ประการเป็นอารมณ์ของสมาธิจิต ๒ ประการเป็นอารมณ์ของปุถุชน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส

๓ ประการเป็นอารมณ์ของพระเสขะ และ ๓ ประการเป็นเหตุให้จิต ของท่านผู้ปราศจากราคะหลีกไป ๘ ประการเป็นปัจจัยแก่สมาธิ ๑๐ ประการเป็นอารมณ์แห่งญาณ สังขารุเปกขา ๑๘ ประการ เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓ ปัญญา ๑๘ ประการนี้ อันพระโยคาวจรใดอบรมแล้ว พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้ฉลาดในสังขารุเปกขา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่างๆ ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไป พิจารณาและดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
สังขารุเปกขาญาณนิทเทสที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๘๖-๙๔. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=31&siri=22              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=1434&Z=1583                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=120              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=120&items=16              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=6330              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=120&items=16              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=6330                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :