ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย มหาวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๕. ชนวนสภสูตร]

เทวสภา

เมื่อครั้งที่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ทั้งสิ้นนั่งประชุมกันในสุธัมมาเทวสภา มีเทพบริษัท มากมายนั่งอยู่โดยรอบ มีท้าวจาตุมหาราชประทับอยู่ในทิศทั้ง ๔ นี้เป็นธรรมเนียม ในการนั่งของท้าวจาตุมหาราช ข้างหลังถัดออกมาเป็นที่นั่งของข้าพระองค์ทั้งหลาย เทพเหล่านั้นประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคแล้ว เดี๋ยวนี้เกิดในสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นด้วยวรรณะและยศ นัยว่า ด้วยเหตุนั้น พวกเทพ ชั้นดาวดึงส์จึงมีใจยินดี เบิกบานใจ เกิดปีติและโสมนัส กล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลาย หมู่เทพเจริญเต็มที่ หมู่อสูรเสื่อมถอยลง๑-’ ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบความเลื่อมใสของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ ทรงอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายพวกเทพชั้นดาวดึงส์ มีพระอินทร์เป็นประธาน ถวายนมัสการพระตถาคตและความดีของพระธรรม เมื่อเห็นเทพเหล่าใหม่ ผู้มีวรรณะและยศ ผู้เคยประพฤติพรหมจรรย์ในพระสุคต ซึ่งมา ณ ที่นี้(ด้วย) ก็พากันบันเทิงใจนัก เทพเหล่านั้นเป็นสาวก ของพระผู้มีพระปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน๒- ทั้งหมดเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นในที่นี้ ด้วยวรรณะ ยศ และอายุ @เชิงอรรถ : @ หมู่เทพเจริญเต็มที่ หมู่อสูรเสื่อมถอยลง หมายความว่าในสมัยที่คนทำความดีมาก เทวโลกทั้ง ๖ ชั้น @จะเต็มบริบูรณ์ อบายจะว่าง แต่ในสมัยที่คนทำความชั่วมาก อบายจะเต็มบริบูรณ์ เทวโลกจะว่าง @(ที.ม.อ. ๒๙๔/๒๖๒-๒๖๓) @ พระผู้มีพระปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน ในที่นี้หมายถึงพระพุทธเจ้า (ขุ.ป. (แปล) ๓๑/๖/๕๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๑๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๕. ชนวนสภสูตร]

เทวสภา

พวกเทพชั้นดาวดึงส์มีพระอินทร์เป็นประธาน ครั้นเห็นเหตุนี้แล้วพากันเพลิดเพลิน ถวายนมัสการพระตถาคตและความดีของพระธรรม’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นัยว่า เพราะเหตุนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์จึงมีใจยินดี เบิกบานใจ เกิดปีติและโสมนัส สุดจะประมาณได้ กล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลาย หมู่เทพ เจริญเต็มที่ หมู่อสูรเสื่อมถอยลง’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล แม้ท้าวจาตุมหาราชได้รับคำบอกเล่าเรื่องที่ เป็นเหตุให้พวกเทพชั้นดาวดึงส์ต้องมานั่งประชุมคิดพิจารณากันในสุธัมมาเทวสภาแล้ว ก็ยังดำเนินการในเรื่องนั้นอยู่ ทั้งได้รับคำแนะนำที่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ตามพร่ำสอน เฉพาะแล้ว ก็ทรงดำเนินการในเรื่องนั้นอยู่ และต่างยังคงประทับยืนอยู่ ณ ที่ประทับ ของตนๆ ไม่ยอมจากไป ท้าวจาตุมหาราชเหล่านั้น ได้รับคำบอกแล้ว ทั้งได้รับคำแนะนำแล้ว จึงมีพระทัยผ่องใส ประทับยืนสงบอยู่ ณ ที่ประทับของตนๆ [๒๘๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล ได้เกิดแสงสว่างเจิดจ้าขึ้นทาง ทิศเหนือ ปรากฏโอภาส เกินเทวานุภาพของเทพทั้งหลาย ทีนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ รับสั่งเรียกพวกเทพชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย มีนิมิตที่สังเกตได้ (คือ) แสงสว่างเกิดขึ้น โอภาสปรากฏขึ้น พระพรหมก็จะปรากฏองค์ขึ้น เพราะ การที่แสงสว่างเกิดขึ้น โอภาสปรากฏขึ้นนี้ จัดเป็นบุพนิมิตแห่งการปรากฏของ พระพรหม’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๑๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๕. ชนวนสภสูตร]

เรื่องสุนังกุมารพรหม

เมื่อมีนิมิตที่สังเกตได้ พระพรหมก็จะปรากฏองค์ขึ้น เพราะโอภาสอันเจิดจ้ายิ่ง เป็นนิมิตแห่งพระพรหม
เรื่องสนังกุมารพรหม
[๒๘๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์นั่งบนที่นั่ง ของตนๆ กล่าวว่า ‘พวกเราจักรู้โอภาสนั้น เมื่อรู้ชัดผลที่ปรากฏแล้วจึงจะไป’ แม้ท้าวจาตุมหาราชประทับบนที่ประทับของตนๆ ก็กล่าวว่า ‘พวกเราจักรู้ โอภาสนั้น เมื่อรู้ชัดผลที่ปรากฏแล้วจึงจะไป’ พวกเทพชั้นดาวดึงส์สดับเรื่องนี้แล้ว นั่งสงบอยู่มีความคิดตรงกันว่า ‘พวกเราจักรู้โอภาสนั้น เมื่อรู้ชัดผลที่ปรากฏ แล้วจึงจะไป’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อสนังกุมารพรหมปรากฏแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ พระองค์ทรงเนรมิตอัตภาพให้หยาบปรากฏขึ้น เพราะรูปร่างปกติของพรหมไม่อาจ ปรากฏในคลองจักษุของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ได้ เมื่อสนังกุมารพรหมปรากฏแก่พวก เทพชั้นดาวดึงส์ พระองค์ก็รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นด้วยวรรณะและยศ ร่างกายที่เป็น ทองคำ ย่อมงดงามเกินร่างกายมนุษย์ ฉันใด เมื่อสนังกุมารพรหมปรากฏแก่พวก เทพชั้นดาวดึงส์ พระองค์ก็รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นด้วยวรรณะและยศ ฉันนั้น เหมือนกัน เมื่อสนังกุมารพรหมปรากฏแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ในเทพบริษัทนั้น เทพบางองค์ไม่ไหว้ ไม่ต้อนรับ ไม่เชิญด้วยอาสนะ ทั้งหมดพากันนั่งขัดสมาธิ ประนมมือนิ่งอยู่ด้วยดำริว่า ‘บัดนี้ สนังกุมารพรหมจะประทับนั่งบนบัลลังก์ของเทพ ที่พระองค์ปรารถนา’ สนังกุมารพรหมประทับนั่งบนบัลลังค์ของเทพองค์ใด เทพองค์นั้นได้ความยินดี อย่างยิ่ง ได้โสมนัสอย่างยิ่ง กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วเพิ่งจะครองราชย์ ทรงได้ความยินดีอย่างยิ่ง ได้ความโสมนัสอย่างยิ่ง ฉันใด สนังกุมารพรหมประทับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๑๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๕. ชนวนสภสูตร]

เสียงของสนังกุมารพรหม

นั่งบนบัลลังก์ของเทพองค์ใด เทพองค์นั้นก็ได้ความยินดีอย่างยิ่ง ได้ความโสมนัส อย่างยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน จากนั้น สนังกุมารพรหมทรงเนรมิตอัตภาพให้หยาบ เป็นรูปร่างกุมารเช่นกับปัญจสิขเทพบุตร ปรากฏแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ แล้วเหาะ ขึ้นอากาศนั่งขัดสมาธิในอากาศบนที่ว่างกลางอากาศ เหมือนบุรุษมีกำลังนั่งขัดสมาธิ บนบัลลังก์ที่ปูลาดไว้ดีแล้ว หรือบนพื้นที่ราบเรียบเสมอกันฉะนั้น ทรงทราบความ เลื่อมใสของพวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว จึงทรงอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายพวกเทพชั้นดาวดึงส์ มีพระอินทร์เป็นประธาน ถวายนมัสการพระตถาคตและความดีของพระธรรม เมื่อเห็นเทพเหล่าใหม่ ผู้มีวรรณะและมียศ ผู้เคยประพฤติพรหมจรรย์ในพระสุคต ซึ่งมา ณ ที่นี้(ด้วย) ก็พากันบันเทิงใจนัก เทพเหล่านั้นเป็นสาวก ของพระผู้มีพระปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน ทั้งหมดเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นในที่นี้ ด้วยวรรณะ ยศ และอายุ พวกเทพชั้นดาวดึงส์มีพระอินทร์เป็นประธาน ครั้นเห็นเหตุนี้แล้ว พากันเพลิดเพลิน ถวายนมัสการพระตถาคตและความดีของพระธรรม’
เสียงของสนังกุมารพรหม
[๒๘๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้ตรัสเนื้อความนี้ ขณะที่ สนังกุมารพรหมตรัสเนื้อความนี้มีเสียงประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ (๑) แจ่มใส (๒) ชัดเจน (๓) นุ่มนวล (๔) ชวนฟัง (๕) กลมกล่อม (๖) ไม่พร่า (๗) ลึกซึ้ง (๘) กังวาน สนังกุมารพรหมเปล่งเสียงให้รู้กันเฉพาะในบริษัทเท่านั้น เสียงของสนังกุมารพรหมนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๑๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๕. ชนวนสภสูตร]

เสียงของสนังกุมารพรหม

ไม่ได้ดังออกไปภายนอกบริษัท ผู้มีเสียงประกอบด้วยองค์ ๘ ประการเช่นนี้เรียกว่า ‘มีเสียงเหมือนเสียงพรหม’ ครั้งนั้น สนังกุมารพรหมเนรมิตอัตภาพเป็นรูปเนรมิต ๓๓ องค์ ประทับนั่ง บนบัลลังก์ของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ทุกบัลลังก์ รับสั่งเรียกพวกเทพชั้นดาวดึงส์มา ตรัสว่า ‘พวกเทพชั้นดาวดึงส์ผู้เจริญเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร ก็พระผู้มีพระภาค พระองค์นี้ ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเพียงไร เหล่าชนผู้เจริญผู้ถึงพระพุทธเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็น สรณะ รักษาศีลให้บริบูรณ์ หลังจากตายไป บางพวกถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี บางพวกถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทพชั้นนิมมานรดี บางพวกถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทพชั้นดุสิต บางพวกถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ พวกเทพชั้นยามา บางพวกถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทพชั้นดาวดึงส์ บางพวก ถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทพชั้นจาตุมหาราช พวกที่ยังกายให้บริบูรณ์ซึ่งต่ำ กว่าเขาทั้งหลาย ย่อมไปเพิ่มจำนวนหมู่เทพคนธรรพ์’ [๒๘๖] สนังกุมารพรหมได้ตรัสเนื้อความนี้ ขณะที่สนังกุมารพรหมตรัสเนื้อ ความนี้มีเสียงดัง พวกเทพเข้าใจเสียงของสนังกุมารพรหมว่า ‘ผู้ที่นั่งบนบัลลังก์ของ เรากับผู้พูดเป็นคนเดียวกัน (พระโบราณาจารย์กล่าวว่า) เมื่อสนังกุมารพรหมผู้เดียวกล่าว รูปเนรมิตทุกรูปก็กล่าว เมื่อสนังกุมารพรหมนิ่ง รูปเนรมิตทุกรูปก็นิ่ง พวกเทพชั้นดาวดึงส์มีพระอินทร์เป็นประธาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๑๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๕. ชนวนสภสูตร]

การเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ

สำคัญสนังกุมารพรหมว่า ‘ผู้ที่นั่งบนบัลลังก์ของเรากับผู้พูดเป็นคนเดียวกัน’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล สนังกุมารพรหมกลับคืนตนเป็นผู้เดียว ประทับนั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์ของท้าวสักกะจอมเทพ รับสั่งเรียกพวกเทพชั้นดาวดึงส์ มาตรัสว่า
การเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ
[๒๘๗] ‘พวกเทพชั้นดาวดึงส์ผู้เจริญเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติ อิทธิบาท ๔ ประการนี้ แม้ที่ทรงบัญญัติไว้อย่างดี ก็เพียงเพื่อเพิ่มพูนความสำเร็จ เพื่อให้ชำนาญในเรื่องความสำเร็จ เพื่อพลิกแพลงให้เกิดความสำเร็จ อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญอิทธิบาท คือฉันทสมาธิปธานสังขาร๑- (สมาธิที่เกิดจากฉันทะ และความเพียรสร้างสรรค์) ๒. เจริญอิทธิบาท คือวิริยสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิดจากวิริยะ และความเพียรสร้างสรรค์) ๓. เจริญอิทธิบาท คือจิตตสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิดจากจิตตะ และความเพียรสร้างสรรค์) ๔. เจริญอิทธิบาท คือวิมังสาสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิดจาก วิมังสาและความเพียรสร้างสรรค์)๒- @เชิงอรรถ : @ ปธานสังขาร ได้แก่สังขารซึ่งเป็นประธาน เป็นชื่อหนึ่งของสัมมัปปธานที่ให้สำเร็จกิจ ๔ ประการ คือ @(๑) สังวรปธาน (๒) ปหานปธาน (๓) ภาวนาปธาน (๔) อนุรักขนาปธาน (ที.ม.อ. ๒๘๗/๒๕๒-๒๕๓) @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๕๗-๑๖๓/๔๐๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๑๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๕. ชนวนสภสูตร]

วิธีการบรรลุโอกาส ๓ ประการ

พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติอิทธิบาท ๔ ประการนี้แล เพื่อเพิ่มพูนความสำเร็จ เพื่อให้ชำนาญ ในเรื่องความสำเร็จ เพื่อพลิกแพลงให้เกิดความสำเร็จ ท่านผู้เจริญ ในอดีตกาลได้มีสมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งได้อิทธิวิธญาณ หลายอย่าง เพราะเจริญ เพราะเพิ่มพูนอิทธิบาท ๔ ประการนี้ ในอนาคตกาลจักมี สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งได้อิทธิวิธญาณหลายอย่าง เพราะเจริญ เพราะเพิ่ม พูนอิทธิบาท ๔ ประการนี้ ในปัจจุบันก็มีสมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งได้อิทธิ- วิธญาณหลายอย่าง เพราะเจริญ เพราะเพิ่มพูนอิทธิบาท ๔ ประการนี้ พวกเทพ ชั้นดาวดึงส์ผู้เจริญไม่เห็นฤทธิ์และอานุภาพเช่นนี้ของเราหรือ’ พวกเทพชั้นดาวดึงส์กราบทูลว่า ‘เห็น พระเจ้าข้า’ สนังกุมารพรหมตรัสว่า ‘เรามีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ก็เพราะเจริญ เพราะเพิ่มพูนอิทธิบาท ๔ ประการนี้เหมือนกัน’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว จึงรับสั่งเรียก พวกเทพชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า
วิธีการบรรลุโอกาส ๓ ประการ
[๒๘๘] ‘พวกเทพชั้นดาวดึงส์ผู้เจริญเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้วิธีการบรรลุ โอกาส๑- (ช่องว่าง) ๓ ประการ ก็เพียงเพื่อให้ถึงความสุข @เชิงอรรถ : @ โอกาส ในที่นี้หมายถึงภาวะที่ปลอดจากกิเลสต่างๆ ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ @และอรหัตตมรรค แต่ละภาวะก็ปลอดจากกิเลสต่างกัน เช่น ปฐมฌานปลอดจากนิวรณ์ ๕ จตุตถฌาน @ปลอดจากสุขและทุกข์ วิธีการบรรลุโอกาสที่ ๑ หมายถึงการบรรลุปฐมฌาน วิธีการบรรลุโอกาสที่ ๒ @หมายถึงการบรรลุจตุตถฌาน วิธีการบรรลุโอกาสที่ ๓ หมายถึงการบรรลุอรหัตตมรรค @(ที.ม.อ. ๒๘๘/๒๕๕, องฺ.นวก.ฏีกา. ๓/๓๗/๓๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๑๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๕. ชนวนสภสูตร]

วิธีการบรรลุโอกาส ๓ ประการ

วิธีการบรรลุโอกาส ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ยังเกี่ยวข้องด้วยกาม เกี่ยวข้องด้วยอกุศล- ธรรมอยู่ ต่อมาเขาฟังธรรมของพระอริยะ มนสิการโดย แยบคาย๑- ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เขาอาศัยการฟังธรรม ของพระอริยะ อาศัยการมนสิการโดยแยบคาย อาศัยการปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม ไม่เกี่ยวข้องด้วย อกุศลธรรม สุขย่อมเกิดขึ้น โสมนัสยิ่งกว่าสุขย่อมเกิดขึ้น แก่เขาผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม ไม่เกี่ยวข้องด้วยอกุศลธรรม ท่านผู้เจริญ ความปราโมทย์ เกิดจากความเบิกบานใจ แม้ฉันใด สุขย่อมเกิดขึ้น โสมนัสยิ่งกว่าสุขย่อมเกิดขึ้น (จากความบันเทิงใจ) แก่เขาผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม ไม่เกี่ยวข้องด้วยอกุศลธรรมอยู่ ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต- สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้วิธีการบรรลุโอกาสที่ ๑ นี้ เพื่อให้ถึงความสุข ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้มีกายสังขาร๒- อย่างหยาบยังไม่สงบระงับ มีวจีสังขาร๓- อย่างหยาบยังไม่สงบระงับ มีจิตตสังขาร๔- อย่าง หยาบยังไม่สงบระงับ ต่อมา เขาฟังธรรมของพระอริยะ มนสิการโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เขาอาศัย การฟังธรรมของพระอริยะ อาศัยการมนสิการโดยแยบคาย อาศัยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม กายสังขารอย่างหยาบ @เชิงอรรถ : @ มนสิการโดยแยบคาย หมายถึงการคิดถูกวิธี (อุปายมนสิการ) และการคิดถูกทาง (ปถมนสิการ) @(ที.ม.อ. ๒๘๘/๒๕๔) @ กายสังขาร แปลว่าสภาพปรุงแต่งกาย คือ ลมหายใจเข้า-ออก (ที.ม.อ. ๒๘๘/๒๕๕, @ที.ม.ฏีกา ๒/๒๘๘/๒๖๔) @ วจีสังขาร แปลว่าสภาพปรุงแต่งวาจา คือ วิตก วิจาร (ที.ม.อ. ๒๘๘/๒๕๕, ที.ม.ฏีกา ๒/๒๘๘/๒๖๔) @ จิตตสังขาร แปลว่าสภาพปรุงแต่งจิต คือ เวทนา สัญญา (ที.ม.อ. ๒๘๘/๒๕๕, ที.ม.ฏีกา ๒/๒๘๘/๒๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๒๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๕. ชนวนสภสูตร]

วิธีการบรรลุโอกาส ๓ ประการ

ย่อมสงบระงับ วจีสังขารอย่างหยาบย่อมสงบระงับ จิตตสังขาร อย่างหยาบย่อมสงบระงับ เพราะกายสังขารอย่างหยาบสงบ ระงับ วจีสังขารอย่างหยาบย่อมสงบระงับ จิตตสังขารอย่าง หยาบย่อมสงบระงับ สุขย่อมเกิดขึ้น โสมนัสยิ่งกว่าสุขย่อม เกิดขึ้นแก่เขา ท่านผู้เจริญ ความปราโมทย์เกิดจากความ เบิกบานใจ แม้ฉันใด ท่านผู้เจริญ เพราะกายสังขารอย่างหยาบ สงบระงับ เพราะวจีสังขารอย่างหยาบสงบระงับ เพราะจิตต- สังขารอย่างหยาบสงบระงับ สุขย่อมเกิดขึ้น โสมนัสยิ่งกว่าสุข ย่อมเกิดขึ้น ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้วิธีการบรรลุโอกาส ที่ ๒ นี้ เพื่อให้ถึงความสุข ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นกุศล’ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นอกุศล’ ไม่รู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งมีโทษ’ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งไม่มีโทษ’ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่ง ควรเสพ’ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งไม่ควรเสพ’ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งเลว’ ไม่รู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งประณีต’ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งดำ สิ่งขาว และสิ่งมีส่วนเปรียบ๑-’ ต่อมาเขาฟังธรรม ของพระอริยะ มนสิการโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ ธรรม เขาอาศัยการฟังธรรมของพระอริยะ อาศัยการมนสิการ โดยแยบคาย อาศัยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อม รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นกุศล’ ย่อมรู้ชัดตามความเป็น จริงว่า ‘นี้เป็นอกุศล’ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่ง มีโทษ’ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งไม่มีโทษ’ ย่อม @เชิงอรรถ : @ สิ่งมีส่วนเปรียบ ในที่นี้หมายถึงสิ่งทั้งหลาย ยกเว้นนิพพานเรียกว่า สิ่งมีส่วนเปรียบ (ที.ม.อ. ๒๘๘/๒๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๕. ชนวนสภสูตร]

สติปัฏฐาน ๔ ประการ

รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งควรเสพ’ ย่อมรู้ชัดตาม ความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งไม่ควรเสพ’ ย่อมรู้ชัดตามความเป็น จริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งเลว’ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่ง ประณีต’ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งดำ สิ่งขาว และสิ่งมีส่วนเปรียบ’ เมื่อเขารู้เห็นอย่างนี้ ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น เพราะอวิชชาดับลง เพราะวิชชาเกิดขึ้น สุข ย่อมเกิดขึ้น โสมนัสยิ่งกว่าสุขย่อมเกิดขึ้น ท่านผู้เจริญ ความ ปราโมทย์เกิดจากความเบิกบานใจ แม้ฉันใด เพราะอวิชชาดับลง เพราะวิชชาเกิดขึ้น สุขย่อมเกิดขึ้น โสมนัส ยิ่งกว่าสุขย่อมเกิดขึ้น ฉันนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้วิธีการบรรลุโอกาส ที่ ๓ นี้ เพื่อให้ถึงความสุข ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ- เจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้วิธีการบรรลุโอกาส ๓ ประการนี้แล เพื่อให้ถึงความสุข’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว จึงตรัสต่อไปว่า
สติปัฏฐาน ๔ ประการ
[๒๘๙] ‘พวกเทพชั้นดาวดึงส์ผู้เจริญเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร พระผู้มี พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติ สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ แม้ที่ทรงบัญญัติไว้อย่างดี ก็เพียงเพื่อให้บรรลุกุศลธรรม สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ภิกษุนั้นเมื่อพิจารณา เห็นกายในกายภายในอยู่ ย่อมตั้งจิตมั่นโดยชอบ ย่อมผ่องใส โดยชอบในกายานุปัสสนานั้น ภิกษุนั้นตั้งจิตมั่นโดยชอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๕. ชนวนสภสูตร]

สติปัฏฐาน ๔ ประการ

ผ่องใสโดยชอบในกายานุปัสสนานั้นแล้ว ก็ย่อมบังเกิดมีญาณ- ทัสสนะ๑- ในกายอื่นภายนอก ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ภิกษุ นั้นเมื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่ ย่อมตั้ง จิตมั่นโดยชอบ ย่อมผ่องใสโดยชอบในเวทนานุปัสสนานั้น ภิกษุ นั้นตั้งจิตมั่นโดยชอบ ผ่องใสโดยชอบในเวทนานุปัสสนานั้นแล้ว ก็ย่อมบังเกิดมีญาณทัสสนะในเวทนาอื่นภายนอก ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ภิกษุนั้นเมื่อพิจารณา เห็นจิตในจิตภายในอยู่ ย่อมตั้งจิตมั่นโดยชอบ ย่อมผ่องใสโดย ชอบในจิตตานุปัสสนานั้น ภิกษุนั้นตั้งจิตมั่นโดยชอบ ผ่องใส โดยชอบในจิตตานุปัสสนานั้นแล้วก็ย่อมบังเกิดมีญาณทัสสนะ ในจิตอื่นภายนอก ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ภิกษุ นั้นเมื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่ ย่อมตั้ง จิตมั่นโดยชอบ ย่อมผ่องใสโดยชอบในธัมมานุปัสสนานั้น ภิกษุ นั้นตั้งจิตมั่นโดยชอบ ผ่องใสโดยชอบในธัมมานุปัสสนานั้นแล้ว ก็ย่อมบังเกิดมีญาณทัสสนะในธรรมอื่นภายนอก @เชิงอรรถ : @ ญาณทัสสนะ ในที่นี้หมายถึงความรู้และความเห็นตามความเป็นจริง อาจเรียกว่า มรรคญาณ ผลญาณ @สัพพัญญุตญาณ ปัจจเวกขณญาณ หรือวิปัสสนาญาณ ก็ได้ (ที.สี.อ. ๒๓๔/๑๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๕. ชนวนสภสูตร]

บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการ

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา- สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้แล เพื่อให้บรรลุ กุศลธรรม’ ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว จึงตรัสต่อไปว่า
บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการ๑-
[๒๙๐] ‘พวกเทพชั้นดาวดึงส์ผู้เจริญเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติบริขารแห่ง สมาธิ๒- ๗ ประการนี้ แม้ที่ทรงบัญญัติอย่างดี ก็เพียงเพื่อความเจริญ เพื่อความ บริบูรณ์แห่งสัมมาสมาธิ บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ท่านผู้เจริญทั้งหลาย สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียวซึ่งมีองค์ ๗ ประการนี้แวดล้อม เรียกว่า ‘อริยสัมมาสมาธิที่มีอุปนิสะ๓-’ บ้าง ว่า ‘อริยสัมมาสมาธิที่มีบริขาร’ บ้าง ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผู้มีสัมมาทิฏฐิ จึงมีสัมมาสังกัปปะ ผู้มีสัมมาสังกัปปะ จึงมีสัมมาวาจา ผู้มีสัมมาวาจา จึงมีสัมมากัมมันตะ ผู้มีสัมมากัมมันตะ จึงมี สัมมาอาชีวะ ผู้มีสัมมาอาชีวะ จึงมีสัมมาวายามะ ผู้มีสัมมาวายามะ จึงมีสัมมาสติ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๑, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๒๘/๒๘, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๔๕/๖๘ @ บริขารแห่งสมาธิ ในที่นี้หมายถึงบริวาร หรือองค์ประกอบของมรรคสมาธิ (ที.ม.อ. ๒๙๐/๒๕๗, @องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๒) @ อุปนิสะ หมายถึงอุปนิสัย ในที่นี้ได้แก่หมวดธรรมที่เป็นเหตุทำหน้าที่ร่วมกัน (ที.ม.อ. ๒๙๐/๒๕๗, @ที.ม.ฏีกา ๒๙๐/๒๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๕. ชนวนสภสูตร]

บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการ

ผู้มีสัมมาสติ จึงมีสัมมาสมาธิ ผู้มีสัมมาสมาธิ จึงมีสัมมาญาณะ ผู้มีสัมมาญาณะ จึงมีสัมมาวิมุตติ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงองค์ธรรมใดว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๑- ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้ เฉพาะตน’ ประตูแห่งอมตะจึงจะชื่อว่าเปิดแล้ว บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าว ถึงองค์ธรรมที่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้แลว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้ เฉพาะตน’ ประตูแห่งอมตะจึงจะชื่อว่าเปิดแล้ว ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชนเหล่าใดประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ชนเหล่านี้ เป็นโอปปาติกะ เป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแนะนำ(ให้ตั้งอยู่)ในธรรมแล้ว เป็นชาว มคธ มีจำนวนมากกว่า ๒,๔๐๐,๐๐๐ คน ผู้เคยบำรุงพระรัตนตรัยล่วงลับดับชีพ ไปแล้วเป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป ไม่มีทางตกต่ำ มีความ แน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า อนึ่ง ในชนจำนวนนั้น ผู้ที่เป็นพระสกทา- คามีก็มีอยู่ ข้าพเจ้ากลัวการพูดเท็จจึงไม่อาจคิดคำนวณว่า ‘ในจำนวนนั้น เหล่าชนนอกนี้๒- เป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ๓- (นั้นด้วยหรือไม่)’ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๕๘ หน้า ๑๐๓ ในเล่มนี้ @ เหล่าชนนอกนี้ หมายถึงพระอนาคามี (ที.ม.อ. ๒๙๐/๒๕๗) @ เป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ หมายถึงบังเกิดแล้วด้วยส่วนแห่งบุญ (ที.ม.อ. ๒๙๐/๒๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๕. ชนวนสภสูตร]

บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการ

[๒๙๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว เมื่อสนัง- กุมารพรหมตรัสเนื้อความนี้อยู่ ท้าวเวสวัณมหาราชทรงดำริอย่างนี้ว่า ‘น่าอัศจรรย์ จริง ไม่เคยปรากฏ จักมีพระศาสดาผู้ยิ่งเช่นนี้ จักมีการแสดงธรรมที่ยิ่งเช่นนี้ จักปรากฏการบรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งเช่นนี้’ ลำดับนั้น สนังกุมารพรหม ทรงทราบ พระดำริของท้าวเวสวัณมหาราชด้วยพระทัย จึงตรัสกับท้าวเวสวัณมหาราชดังนี้ว่า ‘เวสวัณมหาราชผู้เจริญเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร ในอดีตกาลก็ได้มีพระศาสดาผู้ยิ่ง เช่นนี้ ได้มีการแสดงธรรมที่ยิ่งเช่นนี้ ได้ปรากฏการบรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งเช่นนี้ ถึงใน อนาคตกาลก็จักมีพระศาสดาผู้ยิ่งเช่นนี้ จักมีการแสดงธรรมที่ยิ่งเช่นนี้ จักปรากฏ การบรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งเช่นนี้’ [๒๙๒] สนังกุมารพรหมได้ตรัสเนื้อความนี้แก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว ท้าวเวสวัณมหาราชทรงนำเนื้อความนี้ที่ได้ทรงสดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ของ สนังกุมารพรหมผู้ตรัสแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์มาตรัสบอกแก่บริษัทของพระองค์ ชนวสภยักษ์นำเนื้อความนี้ที่ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ของท้าวเวสวัณมหาราชที่ ตรัสแก่บริษัทของพระองค์มากราบทูลแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ทรง สดับรับเนื้อความนี้มาเฉพาะหน้าของชนวสภยักษ์ด้วย ทรงรู้แจ้งด้วยพระองค์เองด้วย แล้วตรัสบอกแก่ท่านพระอานนท์ ท่านพระอานนท์ได้สดับรับเนื้อความนั้นมาเฉพาะ พระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคแล้วบอกแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย พรหมจรรย์๑- นี้นั้น จึงบริบูรณ์กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี กระทั่ง เทพและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้’
ชนวสภสูตรที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา (ที.ม.อ. ๒๙๒/๒๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๒๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๒๑๓-๒๒๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=10&A=6203&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=10&siri=5              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=4465&Z=4870&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=187              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=10&item=187&items=22              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=10&item=187&items=22              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu10

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]