ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

การได้อัตตภาพ ๓ อย่าง

การได้อัตตภาพที่เป็นอดีตและการได้อัตตภาพที่เป็นอนาคตก็เปล่าไป’ เมื่อถูกถาม อย่างนี้ ข้าพระองค์ก็จะตอบอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” [๔๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอย่างนั้นแล จิตตะ ในเวลาที่มีการได้ อัตตภาพที่หยาบ ก็ไม่นับว่ามีการได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจและการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูป มีเพียงการได้อัตตภาพที่หยาบเท่านั้น ในเวลาที่มีการได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ ฯลฯ ในเวลาที่มีการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูป ก็ไม่นับว่ามีการได้อัตตภาพที่หยาบและการได้ อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ มีเพียงการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูปเท่านั้น [๔๔๐] จิตตะ เปรียบเหมือนนมสดมาจากแม่โค นมส้มมาจากนมสด เนยข้น มาจากนมส้ม เนยใสมาจากเนยข้น หัวเนยใสมาจากเนยใส ในเวลาที่ยังเป็นนมสด ก็ไม่นับว่าเป็นนมส้ม ไม่นับว่าเป็นเนยข้น ไม่นับว่าเป็นเนยใส ไม่นับว่าเป็นหัวเนยใส ยังเป็นนมสดเท่านั้น ในเวลาที่เป็นนมส้ม ฯลฯ ในเวลาที่เป็นเนยข้น ฯลฯ ในเวลาที่เป็น เนยใส ฯลฯ ในเวลาที่เป็นหัวเนยใส ไม่นับว่าเป็นนมสด ไม่นับว่าเป็นนมส้ม ไม่นับ ว่าเป็นเนยข้น ไม่นับว่าเป็นเนยใส ยังเป็นหัวเนยใสเท่านั้น ฉันใด จิตตะ เรื่องนี้ก็เช่น กัน ในเวลาที่มีการได้อัตตภาพที่หยาบ ก็ไม่นับว่ามีการได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ และการได้อัตตภาพที่มีรูป มีเพียงการได้อัตตภาพหยาบเท่านั้น ในเวลาที่มีการได้ อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ ฯลฯ ในเวลาที่มีการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูป ก็ไม่นับว่ามีการ ได้อัตตภาพหยาบและการได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ มีเพียงการได้อัตตภาพที่ไม่มี รูปเท่านั้น จิตตะ เหล่านี้แลเป็นโลกสมัญญา (ชื่อที่ชาวโลกใช้เรียก) เป็นโลกนิรุตติ (ภาษาของชาวโลก) เป็นโลกโวหาร (โวหารของชาวโลก) เป็นโลกบัญญัติ (บัญญัติ ของชาวโลก) ซึ่งตถาคตก็ใช้อยู่แต่ไม่ยึดถือ” [๔๔๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ โปฏฐปาทปริพาชกได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระ องค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรง ประกาศธรรม แจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทางหรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า คนมีตาดี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

จิตตะ หัตถิสารีบุตร ทูลขออุปสมบท

จักเห็นรูปได้ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่ วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
จิตตะ หัตถิสารีบุตร ทูลขออุปสมบท
[๔๔๒] ฝ่ายจิตตะ หัตถิสารีบุตร กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิต ของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระผู้มี พระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการ ต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูปได้ ข้าพระองค์นี้ขอถึง พระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเถิด” [๔๔๓] จิตตะ หัตถิสารีบุตร ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระ ภาคแล้วแล เมื่อท่านหัตถิสารีบุตรได้บรรพชาอุปสมบทแล้วไม่นาน จากไปอยู่ผู้ เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มุ่งมั่นพระนิพพานอยู่ ไม่นานนักทำให้แจ้งที่สุดแห่ง พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนไปบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ จึงเป็นอันว่าท่านพระหัตถิสารีบุตรได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระ อรหันต์ทั้งหลาย
โปฏฐปาทสูตรที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๙๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๑๙๕-๑๙๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=9&A=5755&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=9&siri=9              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=6029&Z=6776&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=275              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=9&item=275&items=39              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=9&item=275&items=39              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu9

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]