บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา [๑๙๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมาก เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมา จำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา คราวนั้น วัชชีชนบทเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนมีความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วนซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาว เกลื่อน ยากที่พระอริยะจะบิณฑบาตยังชีพได้ ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดว่า บัดนี้ วัชชีชนบทเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนมีความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปัน ส่วนซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาวเกลื่อน ยากที่พระอริยะจะบิณฑบาตยังชีพได้ ทำอย่างไรหนอ พวกเราจึงจะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำ พรรษาอย่างผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก ภิกษุบางพวกเสนอว่า ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกเรามาช่วยกันทำงาน ของพวกคฤหัสถ์ เมื่อช่วยทำงาน พวกเขาก็คงจะพอใจถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา โดยวิธีนี้แหละ พวกเราก็จะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกันอยู่จำพรรษา อย่างผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก ภิกษุอีกพวกเสนอว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ทำไมพวกเราจะต้องไปช่วย กันทำงานของพวกคฤหัสถ์ ขอให้พวกเรามาช่วยกันทำหน้าที่ทูตนำข่าวสารให้พวก คฤหัสถ์จะดีกว่า เมื่อทำอย่างนี้ พวกคฤหัสถ์ก็คงจะพอใจถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา โดยวิธีนี้แหละพวกเราก็จะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกันอยู่จำพรรษา อย่างผาสุกและบิณฑบาตไม่ลำบาก ภิกษุอีกพวกเสนอว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ทำไมพวกเราจะต้องไปช่วย กันทำงานหรือทำหน้าที่ทูตนำข่าวสารให้พวกคฤหัสถ์ ทางที่ดีพวกเรามากล่าวอวด อุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟังว่า ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน รูป โน้นได้ทุติยฌาน รูปโน้นได้ตติยฌาน รูปโน้นได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๗๗}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
รูปโน้นเป็นพระสกทาคามี รูปโน้นเป็นพระอนาคามี รูปโน้นเป็นพระอรหันต์ รูปโน้น ได้วิชชา ๓ รูปโน้นได้อภิญญา ๖ เมื่อพูดอย่างนี้ พวกคฤหัสถ์ก็คงจะพอใจถวาย บิณฑบาตแก่พวกเรา โดยวิธีนี้พวกเราจะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาอย่างผาสุกและบิณฑบาตไม่ลำบาก ในที่สุด ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดตกลงกันว่า ท่านทั้งหลาย วิธีที่พวกเราพากัน กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟังเป็นวิธีที่ดีกว่าวิธีอื่น [๑๙๔] ต่อมาภิกษุเหล่านั้นได้พากันกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกัน และกันให้พวกคฤหัสถ์ฟังว่า ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน ฯลฯ รูปโน้นได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน ฯลฯ รูปโน้นได้อภิญญา ๖ ครั้งนั้นแล ประชาชนก็พากันยินดีว่า เป็นลาภของพวกเราหนอ พวกเราได้ ดีแล้วหนอที่มีภิกษุทั้งหลายเช่นนี้มาอยู่จำพรรษา เพราะแต่ก่อนนี้พวกเราไม่มีภิกษุ ทั้งหลายที่มีคุณสมบัติ เหมือนอย่างภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านี้มาอยู่จำ พรรษาเลย โภชนะ (อาหาร) ... ขาทนียะ (ของขบเคี้ยว) ... สายนียะ (ของลิ้ม) ... ปานะ (เครื่องดื่ม) ชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่รับประทาน ไม่ขบเคี้ยว ไม่ลิ้ม ไม่ดื่มด้วยตนเอง ทั้งไม่ให้แก่มารดาบิดา บุตร ภรรยา คนรับใช้ กรรมกร มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิต ภิกษุเหล่านั้น จึงเป็นผู้มีน้ำมีนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีใบหน้าเอิบอิ่ม มีผิว พรรณผุดผ่อง มีประเพณีอยู่ว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้วจะไปเข้าเฝ้าพระผู้ มีพระภาค ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาครบ ๓ เดือนแล้วจึงเก็บเสนาสนะ ถือบาตร และจีวรออกเดินทางมุ่งไปสู่กรุงเวสาลี จาริกไปโดยลำดับ ถึงกรุงเวสาลี ผ่านป่ามหาวัน ไปถึงกูฏาคารศาลา แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วจึงถวายบังคม แล้วนั่งลงอยู่ ณ ที่สมควรภิกษุต่างทิศมาเข้าเฝ้า สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาอยู่ในทิศต่างๆ ดูซูบผอม ซอมซ่อ มีผิว พรรณหมองคล้ำ ซีด เหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง ส่วนภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทากลับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๗๘}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
มีน้ำมีนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีใบหน้าเอิบอิ่ม มีผิวพรรณผุดผ่อง อนึ่ง การที่พระผู้มี พระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลายนั่นก็เป็นพุทธประเพณี ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามพวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า ภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อม เพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุกหรือ และบิณฑบาตไม่ ลำบากหรือ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ยังสบายดีพระพุทธเจ้าข้า ยังพอเป็นอยู่ได้ พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้าพุทธประเพณี พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่อง ตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ทรง ทราบกาลอันควรตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ตรัสถามเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ตรัส ถามเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ เพราะพระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงขจัดเรื่องที่ไม่เป็น ประโยชน์เสียด้วยอริยมรรคแล้ว พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย สอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ จะทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จะทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกอย่างหนึ่ง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสถามภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า ทำ อย่างไร เธอทั้งหลายจึงพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษา ผาสุกและบิณฑบาตไม่ลำบาก ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมีคุณวิเศษนั่นจริงหรือ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่มีจริง พระพุทธเจ้าข้าทรงตำหนิ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของ พวกเธอไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๗๙}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
ไฉนพวกเธอจึงพากันกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟัง เพราะเห็นแก่ปากแก่ท้องเล่า พวกเธอใช้มีดชำแหละโคอันคมคว้านท้องยังดีกว่า การกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟัง เพราะอะไรเล่า เพราะผู้ใช้มีดชำแหละโคอันคมคว้านท้องก็จะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย เพราะการกระทำนั้นเป็นเหตุ หลังจากตายแล้วก็ไม่ต้องไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนผู้กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟัง หลังจากตาย แล้วก็จะต้องไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก โมฆบุรุษทั้งหลาย การทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้ เลย ที่จริง กลับจะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบาง พวกก็จะกลายเป็นอื่นไป ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ได้ทรงกระทำธรรมีกถาตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่ามหาโจร ๕ จำพวก [๑๙๕] ภิกษุทั้งหลาย มหาโจร ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก คือ ๑. มหาโจรบางคนในโลกนี้ ปรารถนาว่า เมื่อไรหนอ เราจึงจักมีบริวารเป็น ร้อยหรือเป็นพันห้อมล้อมแล้วท่องเที่ยวไปในคาม นิคม และราชธานี ทำการฆ่าเอง สั่งให้ผู้อื่นฆ่า ตัด(มือเท้าผู้อื่น)เอง สั่งให้ผู้อื่นตัด เผา(บ้าน)เอง สั่งให้ผู้อื่นเผา ต่อมา มหาโจรนั้น ก็ได้มีบริวารเป็นร้อยหรือเป็นพันห้อมล้อมแล้วท่องเที่ยวไปในคาม นิคม และราชธานี ทำการฆ่าเอง สั่งให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง สั่งให้ผู้อื่นตัด เผาเอง สั่งให้ผู้อื่นเผา ฉันใด ภิกษุชั่วบางรูปในธรรมวินัยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปรารถนาว่า เมื่อไรหนอ เรา จักมีภิกษุบริวารเป็นร้อยหรือเป็นพันห้อมล้อมแล้วท่องเที่ยวไปในคาม นิคม และราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรพชิตสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช ต่อมา ภิกษุนั้นก็ได้มีภิกษุบริวารเป็นร้อยหรือเป็น พันห้อมล้อมแล้วท่องเที่ยวไปในคาม นิคมและราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรพชิตสัก การะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช บริขาร ภิกษุทั้งหลาย นี้คือมหาโจรจำพวกที่ ๑ ที่มีปรากฏอยู่ในโลก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๘๐}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
๒. ภิกษุทั้งหลาย ยังมีภิกษุชั่วบางรูปในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนธรรมวินัยที่ ตถาคตประกาศแล้ว อวดอ้างว่าเป็นของตน ภิกษุทั้งหลาย นี้คือมหาโจรจำพวกที่ ๒ ที่มีปรากฏอยู่ในโลก ๓. ภิกษุทั้งหลาย ยังมีภิกษุชั่วบางรูปในธรรมวินัยนี้ โจทเพื่อนภิกษุผู้บริสุทธิ์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ด้วยเรื่องที่ทำลายพรหมจรรย์อันไม่มีมูล ภิกษุ ทั้งหลาย นี้คือมหาโจรจำพวกที่ ๓ ๔. ภิกษุทั้งหลาย ยังมีภิกษุชั่วบางรูปในธรรมวินัยนี้ สงเคราะห์ประจบ คฤหัสถ์ด้วยครุภัณฑ์ของสงฆ์คืออาราม พื้นที่อาราม วิหาร พื้นที่วิหาร เตียง ตั่ง ฟูก หมอน หม้อ โลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สว่าน เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้ามุงกระต่าย หญ้าแฝก หญ้าสามัญ ดินเหนียว เครื่องไม้ เครื่องดิน ภิกษุทั้งหลาย นี้คือมหาโจรจำพวกที่ ๔ ๕. ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมอันไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง จัดเป็นยอดมหาโจรในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น ฉันอาหารของ ชาวบ้านด้วยไถยจิตนิคมคาถา ภิกษุผู้ประกาศตนซึ่งมีภาวะเป็นอย่างหนึ่งให้ คนเข้าใจว่าเป็นอย่างอื่น ฉันอาหารด้วยไถยจิต เหมือนพรานนกลวงจับนกมากินฉะนั้น ภิกษุชั่ว จำนวนมากมีผ้ากาสายะพันที่คอ มีธรรมเลวทราม ไม่สำรวม พวกเธอย่อมตกนรก เพราะบาปกรรม ทั้งหลายที่เลวทราม ภิกษุทุศีลไม่สำรวม กินก้อน เหล็กที่ร้อนเหมือนเปลวไฟยังดีกว่า บริโภค อาหารของชาวบ้านไม่ดีเลย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๘๑}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๗๗-๑๘๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=1&siri=26 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=8520&Z=8642 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=227 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=227&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=1&A=12322 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=227&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=1&A=12322 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pj4/en/brahmali
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]