บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์]
๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. อนิยตกัณฑ์ ท่านทั้งหลาย ธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบทเหล่านี้ มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดง เป็นข้อๆ ตามลำดับ๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง เรื่องพระอุทายี [๔๔๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเป็นพระประจำ ตระกูลในกรุงสาวัตถี ไปมาหาสู่ตระกูลทั้งหลาย สมัยนั้น หญิงสาวตระกูลอุปัฏฐาก ของท่านพระอุทายีอันมารดาบิดาได้ยกให้ชายหนุ่มตระกูลหนึ่ง เวลาเช้าวันหนึ่ง ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรไปที่ตระกูลนั้น ครั้นถึงแล้วถาม ชาวบ้านว่า หญิงสาวชื่อนี้ไปไหน ชาวบ้านตอบว่า เขายกให้ชายหนุ่มตระกูลโน้นไปแล้ว เจ้าข้า ตระกูลนั้นก็เป็นอุปัฏฐากของท่านพระอุทายี ท่านจึงไปที่นั้นถามว่า หญิง สาวชื่อนี้อยู่ไหน ชาวบ้านตอบว่า นางนั่งอยู่ในห้องเจ้าข้า ท่านพระอุทายีเข้าไปหาหญิงสาวนั้น นั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้ เจรจา กล่าวธรรมเหมาะแก่กาลกับหญิงสาวนั้นสองต่อสองนางวิสาขามิคารมารดาตำหนิพระอุทายี สมัยนั้น นางวิสาขามิคารมารดา มีบุตรหลานมาก มีบุตรหลานล้วนไม่มีโรค ได้รับยกย่องว่าเป็นมิ่งมงคล พวกชาวบ้านเชิญนางวิสาขาไปบริโภคเป็นคนแรกใน งานบุญ งานมหรสพ งานฉลอง นางวิสาขามิคารมารดาได้รับเชิญไปสู่ตระกูลนั้น นาง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๗๓}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์]
๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท พระบัญญัติ
ได้เห็นท่านพระอุทายีนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับหญิงสาว ครั้น เห็นแล้วจึงกล่าวกับท่านพระอุทายีว่า พระคุณเจ้า การที่ท่านนั่งบนอาสนะที่กำบัง ในที่ลับ พอจะทำการได้กับมาตุคามสองต่อสองเช่นนี้ ไม่เหมาะ ไม่สมควร ท่านไม่ ปรารถนาด้วยธรรมนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ชาวบ้านที่ยังไม่เลื่อมใสก็ทำให้ เชื่อยาก ท่านพระอุทายี แม้ถูกนางวิสาขาว่ากล่าวตักเตือนก็ไม่เชื่อ นางวิสาขาจึงออกไปบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายีจึงนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคามสอง ต่อสองเล่า ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระอุทายีโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำ เรื่องนี้กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามท่านพระอุทายีว่า อุทายี ทราบว่า เธอนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะ ทำการได้กับมาตุคามสองต่อสอง จริงหรือ ท่านทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า โมฆบุรุษ การกระทำของเธอไม่สมควร ไม่ คล้อยตาม ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับ มาตุคาม สองต่อสองเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้ เลื่อมใส ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้พระบัญญัติ [๔๔๔] ก็ ภิกษุใดนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคาม สองต่อสอง อุบาสิกามีวาจาเชื่อถือได้ ได้เห็นภิกษุนั่งกับมาตุคามนั้นแล้วกล่าว โทษด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ ๓ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ภิกษุนั้นยอมรับการนั่ง พึงถูกปรับด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๗๔}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์]
๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
บรรดาอาบัติ ๓ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกาผู้มีวาจาเชื่อถือได้นั้น กล่าวโทษด้วยอาบัติใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วย อาบัตินั้น อาบัตินี้ชื่อว่า อนิยตเรื่องพระอุทายี จบ สิกขาบทวิภังค์ [๔๔๕] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่สัตว์ ดิรัจฉานตัวเมีย หญิงมนุษย์นั้นโดยที่สุดกระทั่งเด็กหญิงซึ่งเกิดในวันนั้น หญิงโตกว่า นี้ไม่ต้องกล่าวถึง คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน คำว่า สองต่อสอง ได้แก่ ภิกษุกับมาตุคาม ที่ชื่อว่า ที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตาและลับหู ที่ชื่อว่า ที่ลับตา หมายถึง ที่ซึ่งเมื่อ บุคคลขยิบตา ยักคิ้วหรือผงกศีรษะขึ้น ใครๆ ก็ไม่สามารถแลเห็นได้ ที่ชื่อว่า ที่ลับหู หมายถึง ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถได้ยินถ้อยคำที่พูดกันตามปกติได้ อาสนะที่ชื่อว่า ที่กำบัง คือ อาสนะที่กำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่าน ต้นไม้ เสา หรือพ้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง คำว่า พอจะทำการได้ คือ อาจจะเสพเมถุนธรรมกันได้ คำว่า นั่ง หมายความว่า เมื่อมาตุคามนั่ง ภิกษุนั่งใกล้หรือนอนใกล้ เมื่อ ภิกษุนั่ง มาตุคามนั่งใกล้หรือนอนใกล้ หรือนั่งทั้งสองคน หรือนอนทั้งสองคน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๗๕}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์]
๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า มีวาจาเชื่อถือได้ ถือ หญิงผู้บรรลุผล๑- ผู้ตรัสรู้ธรรม ผู้เข้าใจศาสนาดี ชื่อว่า อุบาสิกา ได้แก่ หญิงผู้ถึงพระพุทธเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ คำว่า ได้เห็น คือ ได้พบ อุบาสิกามีวาจาเชื่อถือได้ กล่าวโทษด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา อาบัติ ๓ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ภิกษุยอมรับการนั่ง พึงถูก ปรับ อาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ ๓ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส หรือ ปาจิตตีย์ อีกประการหนึ่ง อุบาสิกาผู้มีวาจาเชื่อถือนั้นกล่าวโทษด้วยอาบัติใด ภิกษุ นั้นพึงถูกปรับด้วยอาบัตินั้นบทภาชนีย์ ปฏิญญาตกรณะ๒- เห็นกำลังนั่งเสพเมถุน [๔๔๖] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งเสพ เมถุนกับมาตุคาม และภิกษุนั้นก็ยอมรับการนั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งเสพเมถุนกับ มาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า อาตมานั่งจริง แต่ไม่ได้เสพเมถุนธรรม พึง ปรับอาบัติเพราะนั่ง ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งเสพเมถุนกับ มาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า อาตมาไม่ได้นั่ง แต่นอน พึงปรับอาบัติ เพราะนอน @เชิงอรรถ : @๑ หญิงผู้บรรลุผล หมายเอาหญิงผู้ได้โสดาปัตติผลเป็นอย่างต่ำ (ดู วิ.อ. ๒/๔๔๕/๑๓๕) @๒ คำว่า ปฏิญญาตกรณะ แปลว่า ทำตามรับ ได้แก่ปรับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับความจริง, @สารภาพความจริง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๗๖}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์]
๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท บทภาชนีย์
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งเสพเมถุนกับ มาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า อาตมาไม่ได้นั่ง แต่ยืนอยู่ ไม่พึงปรับอาบัติเห็นกำลังนอนเสพเมถุน [๔๔๗] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอน เสพเมถุนกับมาตุคาม และภิกษุนั้นยอมรับการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนเสพเมถุนกับ มาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า อาตมานอนจริง แต่ไม่ได้เสพเมถุน พึง ปรับอาบัติเพราะนอน ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนเสพเมถุนกับ มาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า อาตมาไม่ได้นอน แต่นั่งอยู่ พึงปรับอาบัติ เพราะนั่ง ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนเสพเมถุนกับ มาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า อาตมาไม่ได้นอน แต่ยืนอยู่ ไม่พึงปรับอาบัติเห็นกำลังนั่งถูกต้องกาย [๔๔๘] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งถูก ต้องกายกับมาตุคาม และภิกษุนั้นยอมรับการนั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งถูกต้องกายกับ มาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า อาตมานั่งจริง แต่ไม่ได้ถูกต้องกาย พึงปรับ อาบัติเพราะการนั่ง ฯลฯ อาตมาไม่ได้นั่ง แต่นอนอยู่ พึงปรับอาบัติเพราะนอน ฯลฯ อาตมาไม่ได้นั่ง แต่ยืนอยู่ ไม่พึงปรับอาบัติเห็นกำลังนอนถูกต้องกาย ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนถูกต้องกาย กับมาตุคาม และภิกษุนั้นยอมรับการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๗๗}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์]
๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท บทภาชนีย์
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนถูกต้องกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า อาตมานอนจริง แต่ไม่ได้ถูกต้องกาย พึง ปรับอาบัติเพราะนอน ฯลฯ อาตมาไม่ได้นอนแต่นั่งอยู่ พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง ฯลฯ อาตมาไม่ได้นอน แต่ยืนอยู่ ไม่พึงปรับอาบัติเห็นนั่งในที่ลับ [๔๔๙] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งบนอาสนะ ที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคามสองต่อสอง และภิกษุนั้นยอมรับการนั่ง นั้น พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง ฯลฯ อาตมาไม่ได้นั่ง แต่นอนอยู่ พึงปรับอาบัติ เพราะนอน ฯลฯ อาตมาไม่ได้นั่ง แต่ยืนอยู่ ไม่พึงปรับอาบัติเห็นนอนในที่ลับ [๔๕๐] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนบนอาสนะ ที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคามสองต่อสอง และภิกษุนั้นยอมรับการ นอนนั้น พึงปรับอาบัติเพราะนอน ฯลฯ อาตมาไม่ได้นอน แต่นั่งอยู่ พึงปรับอาบัติ เพราะนั่ง ฯลฯ อาตมาไม่ได้นอน แต่ยืนอยู่ ไม่พึงปรับอาบัติ คำว่า อนิยต คือ ไม่แน่ว่าจะเป็นปาราชิก เป็นสังฆาทิเสส หรือเป็นปาจิตตีย์ [๔๕๑] ภิกษุยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ ภิกษุยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ ภิกษุยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง ภิกษุยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ ไม่พึงปรับอาบัติ ภิกษุไม่ยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ ภิกษุไม่ยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ ภิกษุไม่ยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๗๘}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๓. อนิยตกัณฑ์]
๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท นิทานวัตถุ
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ ไม่พึงปรับอาบัติปฐมอนิยตสิกขาบท จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๔๗๓-๔๗๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=1&siri=58 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=19219&Z=19394 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=631 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=631&items=13 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=3136 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=631&items=13 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=3136 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-ay1/en/brahmali
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]