ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๕. นิวาปสูตร
ว่าด้วยเหยื่อล่อเนื้อ
[๒๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย นายพรานเนื้อมิได้ปลูกหญ้าไว้สำหรับฝูงเนื้อด้วยคิดว่า ‘เมื่อ ฝูงเนื้อกินหญ้าที่เราปลูกไว้นี้จะมีอายุยั่งยืน มีผิวพรรณดี มีชีวิตอยู่ยืนนาน’ ที่แท้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๘๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๕. นิวาปสูตร

นายพรานเนื้อปลูกหญ้าไว้สำหรับฝูงเนื้อด้วยมีความประสงค์ว่า ‘ฝูงเนื้อที่เข้ามาสู่ทุ่งหญ้า ที่เราปลูกไว้นี้แล้วจักลืมตัวกินหญ้า เมื่อเข้ามาแล้วลืมตัวกินหญ้าก็จักเผลอตัว เมื่อ เผลอตัวก็จักเลินเล่อ เมื่อเลินเล่อก็จักถูกเราทำอะไรๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านี้’
ฝูงเนื้อที่ถูกนายพรานจับ
[๒๖๒] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาฝูงเนื้อเหล่านั้น เนื้อฝูงที่ ๑ เข้าไปสู่ทุ่งหญ้า ที่นายพรานปลูกไว้แล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็เผลอตัว เมื่อเผลอตัวก็เลินเล่อ เมื่อเลินเล่อก็ถูกนายพรานเนื้อทำอะไรๆ ได้ตามใจชอบใน ทุ่งหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงที่ ๑ นั้นก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อ ไปได้ [๒๖๓] ภิกษุทั้งหลาย เนื้อฝูงที่ ๒ คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ‘เนื้อฝูงที่ ๑ ที่เข้าไปในทุ่งหญ้าของนายพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกิน หญ้าอยู่ก็เผลอตัว เมื่อเผลอตัวก็เลินเล่อ เมื่อเลินเล่อก็ถูกนายพรานเนื้อทำอะไรๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงที่ ๑ ก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจ ของนายพรานเนื้อไปได้ ทางที่ดี เราควรงดกินหญ้าโดยสิ้นเชิง เมื่องดกินหญ้า ที่เป็นภัยแล้ว ควรหลีกไปอยู่ตามราวป่า’ แล้วจึงงดกินหญ้าโดยสิ้นเชิง เมื่องดกิน หญ้าที่เป็นภัยแล้ว ก็หลีกไปอยู่ตามราวป่า ครั้นถึงเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนซึ่งเป็น เวลาที่หญ้าและน้ำหมดสิ้นแล้ว ฝูงเนื้อฝูงนั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกาย ซูบผอม กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป จึงพากันกลับมาสู่ ทุ่งหญ้าที่นายพรานนั้นปลูกไว้อีก เนื้อฝูงนั้นพากันเข้าไปในทุ่งหญ้านั้น ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็เผลอตัว เมื่อเผลอตัวก็เลินเล่อ เมื่อเลินเล่อก็ถูก นายพรานเนื้อทำอะไรๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เนื้อฝูงที่ ๒ ก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ [๒๖๔] ภิกษุทั้งหลาย เนื้อฝูงที่ ๓ คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ‘เนื้อฝูงที่ ๑ เข้าไปในทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงที่ ๑ ก็ไม่รอด พ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ และเนื้อฝูงที่ ๒ คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๘๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๕. นิวาปสูตร

‘เนื้อฝูงที่ ๑ เข้าไปสู่ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงที่ ๑ ก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ ทางที่ดี พวกเราควรงดกินหญ้า โดยสิ้นเชิง เมื่องดกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ควรหลีกไปอยู่ตามราวป่า’ จึงงดกินหญ้า โดยสิ้นเชิง เมื่องดกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ก็หลีกไปอยู่ตามราวป่า ครั้นถึงเดือน สุดท้ายแห่งฤดูร้อนซึ่งเป็นเวลาที่หญ้าและน้ำหมดสิ้น เนื้อฝูงนั้นมีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบผอม กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป จึงพากัน กลับมาสู่ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้นอีก เนื้อฝูงนั้นพากันเข้าไปสู่ทุ่งหญ้านั้น ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็เผลอตัว เมื่อเผลอตัวก็เลิ่นเล่อ เมื่อเลินเล่อก็ถูกนายพรานเนื้อทำอะไรๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เนื้อฝูงที่ ๒ นั้นก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานไปได้ ทางที่ดี พวกเรา ควรซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ๆ ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น ครั้นแล้วเราจะไม่เข้าไป สู่ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น จักไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่เข้าไปแล้วไม่ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็จักไม่เผลอตัว เมื่อไม่เผลอตัวก็จักไม่เลินเล่อ เมื่อไม่เลินเล่อก็ จักไม่ถูกนายพรานเนื้อทำอะไรๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น’ แล้วจึงเข้าไปซุ่ม อาศัยอยู่ใกล้ๆ ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น ครั้นซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ๆ ทุ่งหญ้า นั้นแล้วก็ไม่เข้าไปสู่ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่ เข้าไปในทุ่งหญ้านั้นไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็ไม่เผลอตัว เมื่อไม่เผลอตัวก็ไม่เลินเล่อ เมื่อไม่เลินเล่อก็ไม่ถูกนายพรานเนื้อทำอะไรๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น นายพรานเนื้อกับบริวารมีความคิดว่า ‘เนื้อฝูงที่ ๓ นี้เป็นสัตว์ฉลาดเหมือนมีฤทธิ์ ไม่ใช่สัตว์ธรรมดา จึงกินหญ้าที่ปลูกไว้นี้ได้ เราไม่รู้ ทั้งทางมาและทางไปของพวกมัน ทางที่ดี พวกเราควรเอาไม้มาขัดเป็นตาข่ายล้อม รอบทุ่งหญ้าที่ปลูกไว้นี้ บางทีเราจะพบที่อยู่ของเนื้อฝูงที่ ๓ ในที่ซึ่งเราจะไปจับพวก มันได้’ พวกเขาจึงช่วยกันเอาไม้มาขัดเป็นตาข่ายล้อมรอบทุ่งหญ้าที่ปลูกไว้นั้น นายพรานเนื้อกับบริวารก็ได้พบที่อยู่ของเนื้อฝูงที่ ๓ ในที่ซึ่งเขาไปจับพวกมันได้แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เนื้อฝูงที่ ๓ นั้นก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๘๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๕. นิวาปสูตร

ฝูงเนื้อที่รอดมือนายพราน
[๒๖๕] ภิกษุทั้งหลาย เนื้อฝูงที่ ๔ คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่าเนื้อฝูงที่ ๑ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้เนื้อฝูงที่ ๑ ก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ และเนื้อฝูงที่ ๒ คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ‘เนื้อฝูงที่ ๑ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูง ที่ ๑ นั้นก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ ทางที่ดี พวกเราควรงด กินหญ้า โดยสิ้นเชิง เมื่องดกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ก็หลีกไปอยู่ตามราวป่า’ แล้วจึงงดกินหญ้า โดยสินเชิง ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เนื้อฝูงที่ ๒ นั้นก็ไม่รอด พ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ อนึ่ง เนื้อฝูงที่ ๓ คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ‘เนื้อฝูงที่ ๑ ฯลฯ เมื่อเป็น เช่นนี้ ‘เนื้อฝูงที่ ๑ นั้นก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานไปได้ และเนื้อฝูงที่ ๒ คิดเห็นร่วมกกันอย่างนี้ว่า ‘เนื้อฝูงที่ ๑ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงที่ ๑ นั้นก็ไม่รอด พ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ ทางที่ดี เราควรงดกินหญ้าโดยสิ้นเชิง เมื่อ งดกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ก็หลีกไปอยู่ตามราวป่า’ แล้วจึงงดกินหญ้าโดยสิ้นเชิง ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เนื้อฝูงที่ ๒ นั้นก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ ทางที่ดี พวกเราควรซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ๆ ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น ครั้นแล้ว เราจะไม่เข้าไปยังทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น จะไม่ลืมตัวกินหญ้า เมื่อไม่เข้าไปแล้ว ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็จักไม่เผลอตัว เมื่อไม่เผลอตัวก็จักไม่เลินเล่อ เมื่อไม่เลินเล่อ ก็จักไม่ถูกนายพรานเนื้อทำอะไรๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น’ แล้วจึงเข้าไปซุ่ม อาศัยอยู่ใกล้ๆ ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น ครั้นซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ๆ ทุ่งหญ้า นั้นแล้วไม่เข้าไปสู่ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่ เข้าไปยังทุ่งหญ้านั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็ไม่เผลอตัว เมื่อไม่เผลอตัวก็ไม่เลินเล่อ เมื่อไม่เลินเล่อก็ไม่ถูกนายพรานเนื้อทำอะไรๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น ครั้งนั้น นายพรานเนื้อกับบริวารมีความคิดว่า ‘เนื้อฝูงที่ ๓ นี้เป็นสัตว์ฉลาด เหมือนมีฤทธิ์ ไม่ใช่สัตว์ธรรมดา ฯลฯ นายพรานเนื้อกับบริวารก็ได้พบที่อยู่ของ เนื้อฝูงที่ ๓ ในที่ซึ่งเขาจะไปจับพวกมันได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เนื้อฝูงที่ ๓ นั้นก็ไม่ รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ ทางที่ดี พวกเราควรอาศัยอยู่ในที่ซึ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๘๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๕. นิวาปสูตร

นายพรานเนื้อกับบริวารไปไม่ถึง ครั้นแล้วไม่ควรเข้าไปยังทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อ ปลูกไว้นั้น เมื่อไม่ลืมตัวกินหญ้าก็จักไม่เผลอตัว เมื่อไม่เผลอตัวก็จักไม่เลินเล่อ เมื่อไม่เลินเล่อก็จักไม่ถูกนายพรานเนื้อทำอะไรๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น’ แล้ว จึงซุ่มอาศัยอยู่ในที่ซึ่งนายพรานเนื้อกับบริวารไปไม่ถึง ครั้นซุ่มอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปยังทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่เข้าไป ยังทุ่งหญ้านั้นไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็ไม่เผลอตัว เมื่อไม่เผลอตัวก็จักไม่เลินเล่อ เมื่อไม่ เลินเล่อก็จักไม่ถูกนายพรานเนื้อทำอะไรๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พรานเนื้อกับบริวารคิดเห็นว่า ‘เนื้อฝูงที่ ๔ นี้เป็นสัตว์ ฉลาดเหมือนมีฤทธิ์ ไม่ใช่สัตว์ธรรมดา จึงกินหญ้าที่ปลูกไว้นี้ได้ อนึ่ง เราไม่ทราบ ทางมาและทางไปของพวกมันเลย ทางที่ดี พวกเราควรเอาไม้มาขัดเป็นตาข่าย ล้อมรอบทุ่งหญ้าที่ปลูกไว้โดยรอบ บางทีเราจะพบที่อยู่ของเนื้อฝูงที่ ๔ ในที่ซึ่ง เราจะไปจับพวกมันได้’ พวกเขาจึงเอาไม้มาขัดเป็นตาข่ายล้อมรอบทุ่งหญ้าที่ปลูกไว้ นั้น แต่ก็ไม่พบที่อยู่ของเนื้อฝูงที่ ๔ ในที่ซึ่งตนจะไปจับเอา ครั้งนั้น นายพรานเนื้อ กับบริวารจึงคิดตกลงใจว่า ‘ถ้าเราจักขืนรบกวนเนื้อฝูงที่ ๔ ให้ตกใจ เนื้อเหล่านั้น ที่ถูกเราทำให้ตกใจแล้วก็จะพลอยทำให้เนื้อฝูงอื่นๆ ตกใจไปด้วย ฝูงเนื้อทั้งหลายคง จะไปจากทุ่งหญ้าที่ปลูกไว้จนหมดสิ้น ทางที่ดี พวกเราควรวางเฉยในเนื้อฝูงที่ ๔ เสีย เถิด’ นายพรานเนื้อกับบริวารก็วางเฉยเนื้อฝูงที่ ๔ เสีย เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงที่ ๔ จึงรอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ [๒๖๖] ภิกษุทั้งหลาย เราจะเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจเนื้อความได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในคำเปรียบเทียบนั้น มีคำอธิบายดังต่อไปนี้ คำว่า ทุ่งหญ้า นั้นเป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕ คำว่า นายพรานเนื้อ นั้นเป็นชื่อของมารผู้มีบาป คำว่า บริวารของนายพรานเนื้อ นั้นเป็นชื่อของบริวารของมาร คำว่า ฝูงเนื้อ นั้นเป็นชื่อของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๘๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๕. นิวาปสูตร

เปรียบเทียบนักบวชกับฝูงเนื้อ
[๒๖๗] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวก ที่ ๑ เข้าไปหากามคุณ ๕ ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิสแล้วลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ เมื่อเข้าไปหากามคุณ ๕ นั้น ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมาก็ประมาท เมื่อประมาทก็ถูกมารทำอะไรๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ ๕ นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ นั้นก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่ ๑ ว่า เปรียบเหมือนเนื้อฝูง ที่ ๑ นั้น [๒๖๘] ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่ ๒ คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ‘สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ เข้าไปหากามคุณ ๕ ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิสแล้ว ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ เมื่อเข้าไปหากามคุณ ๕ นั้นแล้วลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมาก็ประมาท เมื่อประมาทก็ถูกมารทำอะไรๆ ตามใจชอบใน กามคุณ ๕ นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ นั้นก็ไม่พ้นจาก อำนาจของมารได้ ทางที่ดี พวกเราควรงดบริโภคกามคุณ ๕ อันเป็นโลกามิสโดย สิ้นเชิง เมื่องดบริโภคที่เป็นภัยแล้ว ควรหลีกไปอยู่ในราวป่า’ แล้วจึงงดบริโภค กามคุณ ๕ อันเป็นโลกามิสโดยสิ้นเชิง เมื่องดบริโภคที่เป็นภัยแล้วก็หลีกไปอยู่ตาม ราวป่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีผักดองเป็นอาหารบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นอาหารบ้าง มีลูกเดือยเป็นอาหารบ้าง มีกากข้าวเป็นอาหารบ้าง มีสาหร่ายเป็นอาหารบ้าง มีรำเป็นอาหารบ้าง มีข้าวตังเป็นอาหารบ้าง มีกำยานเป็นอาหารบ้าง มีหญ้าเป็น อาหารบ้าง มีมูลโคเป็นอาหารบ้าง มีเหง้าไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง บริโภค ผลไม้ที่หล่นเอง ดำรงอัตภาพอยู่ในราวป่านั้น ครั้นถึงเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนซึ่ง เป็นเวลาที่อาหาร(ป่า)และน้ำหมดสิ้น เธอเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๘๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๕. นิวาปสูตร

ซูบ ผอม กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป เจโตวิมุตติ๑- ก็เสื่อม เมื่อเจโตวิมุตติเสื่อมแล้ว พวกเธอก็กลับหันหน้าเข้าหากามคุณ ๕ อันเป็นโลกามิส นั้นอีก เมื่อเข้าไปหาแล้วลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมาก็ประมาท เมื่อประมาทก็ถูกมารทำอะไรๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ ๕ นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้สมณพราหมณ์พวกที่ ๒ นั้น ก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่ ๒ นี้เปรียบเหมือนเนื้อฝูงที่ ๒ นั้น [๒๖๙] ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่ ๓ คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ‘สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ นั้น ก็ ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ และสมณพราหมณ์พวกที่ ๒ คิดเห็นร่วมกันอย่าง นี้ว่า ‘สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ นั้น ก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ ทางที่ดี พวกเราควรงดบริโภคกามคุณ ๕ อันเป็น โลกามิสโดยสิ้นเชิง เมื่องดบริโภคที่เป็นภัยแล้ว ควรหลีกไปอยู่ตามราวป่า’ แล้ว จึงงดบริโภคกามคุณ ๕ อันเป็นโลกามิสโดยสิ้นเชิง เมื่องดบริโภคที่เป็นภัยแล้วก็ หลีกไปอยู่ตามราวป่า เธอเหล่านั้นมีผักดองเป็นอาหารบ้าง ฯลฯ บริโภคผลไม้ที่ หล่นเองดำรงอัตภาพอยู่ในราวป่านั้น ครั้นถึงเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนซึ่งเป็นเวลา ที่อาหารและน้ำหมดสิ้น เธอเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบผอม กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป เจโตวิมุตติก็เสื่อม เมื่อเจโตวิมุตติ เสื่อมแล้ว พวกเธอก็กลับหันหน้าเข้าหากามคุณ ๕ อันเป็นโลกามิสนั้นอีก เมื่อ เข้าไปหาแล้วลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมาก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกมารทำอะไรๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ ๕ นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้สมณ- พราหมณ์พวกที่ ๒ นั้นก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ ทางที่ดี พวกเรา ควรจะ เข้าไปอาศัยอยู่ใกล้ๆ กามคุณ ๕ อันเป็นโลกามิสนั้น ครั้นอาศัยอยู่ใกล้ๆ @เชิงอรรถ : @ เจโตวิมุตติ ในที่นี้หมายถึงเพียงอัธยาศัย คือ การสละทรัพย์ ละการครองเรือนแล้วออกมาอยู่ป่า @(ม.มู.อ. ๒/๒๖๘/๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๙๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๕. นิวาปสูตร

แล้วก็ไม่เข้าไปหากามคุณ ๕ ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิส ไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ ก็จะไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมาก็จะไม่ประมาท เมื่อ ไม่ประมาทก็จะไม่ถูกมารทำอะไรๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ ๕ นั้น’ จึงอาศัยอยู่ใกล้ๆ กามคุณ ๕ ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิสนั้น ครั้นอาศัยอยู่ใกล้ๆ กามคุณ ๕ แล้วไม่เข้าไปหากามคุณ ๕ ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิส ไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมาก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ ประมาทก็ไม่ถูกมารทำอะไรๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณนั้น แต่สมณพราหมณ์ เหล่านั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตาย แล้วตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคต เกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด อีกก็มิใช่’ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่ ๓ นั้นก็ไม่พ้นจากอำนาจของ มารไปได้ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าสมณพราหมณ์พวกที่ ๓ นี้เปรียบเหมือนเนื้อฝูง ที่ ๓ นั้น [๒๗๐] ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่ ๔ มีความคิดเห็นร่วมกัน อย่างนี้ว่า ‘สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ นั้น ก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ และสมณพราหมณ์พวกที่ ๒ มีความคิด เห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ‘สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณ- พราหมณ์พวกที่ ๑ นั้น ก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ ทางที่ดี พวกเราควร งดบริโภคกามคุณ ๕ อันเป็นโลกามิสโดยสิ้นเชิง เมื่องดบริโภคที่เป็นภัยแล้ว ควรหลีกไปอยู่ตามราวป่า เธอเหล่านั้นงดเว้นจากกามคุณ ๕ ที่เป็นโลกามิส โดยสิ้นเชิง ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้สมณพราหมณ์พวกที่ ๒ นั้นก็ไม่พ้นจาก อำนาจของมารไปได้ อนึ่ง สมณพราหมณ์พวกที่ ๓ มีความคิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ‘สมณพราหมณ์ พวกที่ ๑ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ นั้นก็ไม่พ้นจากอำนาจ ของมารไปได้ และสมณพราหมณ์พวกที่ ๒ มีความคิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ‘สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ นั้นก็ไม่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๙๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๕. นิวาปสูตร

พ้นจากอำนาจของมารไปได้ ทางที่ดี พวกเราควรงดบริโภคกามคุณ ๕ อันเป็น โลกามิสโดยสิ้นเชิง เมื่องดบริโภคที่เป็นภัยแล้ว ควรหลีกไปอยู่ตามราวป่า เธอ เหล่านั้นงดบริโภคกามคุณ ๕ อันเป็นโลกามิส ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้ สมณพราหมณ์พวกที่ ๒ นั้นก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ ทางที่ดี พวกเรา ควรจะเข้าไปอาศัยอยู่ใกล้ๆ กามคุณ ๕ ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิส ครั้นอาศัย อยู่ใกล้ๆ กามคุณ ๕ แล้วก็ไม่เข้าไปหากามคุณ ๕ ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิส ไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่ มัวเมาก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทก็ไม่ถูกมารทำอะไรๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ ๕ นั้น’ แล้วจึงอาศัยอยู่ใกล้ๆ กามคุณ ๕ ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิสนั้น ครั้นอาศัย อยู่ใกล้ๆ กามคุณ ๕ แล้วก็ไม่เข้าไปหากามคุณ ๕ ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิส ไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่ มัวเมาก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทก็ไม่ถูกมารทำอะไรๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ ๕ นั้น แต่สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หรือหลัง จากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้ สมณพราหมณ์พวกที่ ๓ นั้นก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ ทางที่ดี พวกเรา ควรอาศัยอยู่ในที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง ครั้นอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้วก็ไม่ เข้าไปหากามคุณ ๕ ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิส ไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ เมื่อ ไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมาก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ ประมาทก็ไม่ถูกมารทำอะไรๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ ๕ นั้น’ แล้วจึงอาศัยอยู่ ในที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง ครั้นอาศัยในที่นั้นแล้วไม่เข้าไปหากามคุณ ๕ ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิสนั้น ไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ เมื่อไม่ลืมตัวบริโภค กามคุณ ๕ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมาก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทก็ไม่ถูกมารทำ อะไรๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ ๕ ซึ่งเป็นโลกามิสนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณ- พราหมณ์พวกที่ ๔ นั้น จึงพ้นจากอำนาจของมารไปได้ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าสมณพราหมณ์พวกที่ ๔ นี้เปรียบเหมือนเนื้อฝูงที่ ๔ นั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๙๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๕. นิวาปสูตร

แดนที่มารตามไปไม่ถึง
[๒๗๑] ที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ได้ทำมารให้ ตาบอด๑- คือ ทำลายดวงตาของมารเสียอย่างไม่มีร่องรอย ถึงการที่มารใจบาป มองไม่เห็น’ อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความ ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิอยู่ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ฯลฯ ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น’ อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ฯลฯ ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น’ อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไป ก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายดวงตาของมารเสียอย่างไม่มี ร่องรอย ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น’ อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต- สัญญาโดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายดวงตา ของมารเสียอย่างไม่มีร่องรอย ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น’ @เชิงอรรถ : @ ทำมารให้ตาบอด หมายถึงภิกษุนั้นมิได้ทำลายนัยน์ตาของมาร แต่จิตของภิกษุผู้เข้าถึงฌานที่เป็นบาทของ @วิปัสสนาอาศัยอารมณ์นี้เป็นไป (เกิดดับ) เหตุนั้น มารจึงไม่สามารถมองเห็น ทำลายดวงตาของมารเสีย @อย่างไม่มีร่องรอย หมายถึงทำลายโดยที่นัยน์ตาของมารไม่มีทาง หมดหนทาง ไม่มีที่พึ่ง ปราศจาก @อารมณ์โดยปริยายนี้ ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น หมายถึงโดยปริยายนั่นเอง มารจึงไม่สามารถมอง @เห็นร่างคือญาณของภิกษุผู้เข้าฌานซึ่งเป็นบาทของวิปัสสนานั้นด้วยมังสจักษุของตนได้ (ม.มู.อ. ๒/๒๗๑/๗๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๙๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๖. ปาสราสิสูตร

อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุ บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ฯลฯ ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น’ อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุ บรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ฯลฯ ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น’ อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุ บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ฯลฯ ถึงการที่มารใจ บาปมองไม่เห็น’ ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดย ประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ก็เพราะเห็นด้วยปัญญา เธอ ย่อมมีอาสวะสิ้นไป เราเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายดวงตา ของมารเสียอย่างไม่มีร่องรอย ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น และข้ามพ้นตัณหา อันเป็นเครื่องข้องอยู่ในโลกได้แล้ว” พระผู้มีพระภาคตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
นิวาปสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๒๘๔-๒๙๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=12&siri=25              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=5109&Z=5383                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=301              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=12&item=301&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=8&A=1728              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=12&item=301&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=8&A=1728                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i301-e1.php# https://suttacentral.net/mn25/en/sujato https://suttacentral.net/mn25/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :